แมลงตัวห้ำชนิดต่างๆ ...ผู้พิทักษ์พืชผักจากธรรมชาติ!
แม้ว่าแมลงจะมีการสืบพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถแพร่พันธุ์เพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว แต่แมลงก็มีศัตรูธรรมชาติมากมายที่คอยควบคุมประชากรของแมลงให้อยู่ในสมดุล ศัตรูธรรมชาติของแมลงได้แก่ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันตรายต่อแมลง และอีกอย่างได้แก่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่เป็นศัตรูของแมลง ที่สำคัญก็คือแมลงด้วยกันเอง แมลงหลายชนิดที่กินหรืออยู่ภายในหรือภายนอกตัวของแมลงชนิดอื่น แมลงเหล่านี้เราเรียกว่าตัวห้ำและตัวเบียนซึ่งปกติแล้วจะมีอยู่จำนวนมากพอที่จะควบคุมจำนวนประชากรของแมลงชนิดหนึ่ง ๆ ให้อยู่ในสมดุลคือ ไม่ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ แต่มาถึงปัจจุบันมนุษย์ได้ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ไปเสียมาก ทั้งที่ฆ่ามันโดยตรงและที่ไปรบกวนเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ ซึ่งกระทบกระเทือนต่อวงจรชีวิตของมัน จนทำให้แมลงตัวห้ำและตัวเบียนน้อยลงเรื่อย ๆ จนไม่เพียงพอจะกำจัดแมลงศัตรูพืช ปัจจุบันได้มีการช่วยเพิ่มปริมาณแมลงตัวห้ำและตัวเบียนเช่น การผลิตแมลงเหล่านี้แล้วนำไปปล่อยในธรรมชาติเรียกวิธีการนี้ว่า การป้องกันกำจัดแมลงแบบชีววิธี ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อมต่างๆ
แมลงตัวห้ำ คือ แมลงชนิดที่กินแมลงต่างๆในธรรมชาติเป็นอาหาร มีลักษณะที่เป็นความจำเพาะของตัวห้ำ คือ
1.) มักมีขนาดใหญ่กว่า หรือมีความเร็ว ความแข็งแรงกว่าเหยื่อ
2.) ชอบกินแมลงหรือตัวอ่อนแมลงเป็นอาหาร
3.) สามารถกินเหยื่อได้หลายชนิดหรือหลายตัวในวันหนึ่งๆ
4.) มักอาศัยอยู่บนที่สูงกว่าเหยื่อ
5.) มักไม่ทำลายหรือกินพืชเป็นอาหาร
แมลงตัวห้ำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.) ชนิดที่มีความว่องไวในการล่าเหยื่อ มักเป็นแมลงขนาดใหญ่กว่าเยื่อมาก ชอบอาศัยในที่สูง และออกหากินได้ไกล และหลายที่ในช่วงวันหนึ่งๆ มีอวัยวะที่มีความพิเศษในการล่าเหยื่อ เช่น ตั๊กแตนตำข้าว ที่มีสายตาว่องไว และมีขายื่นยาว ว่องไวในการล่าเหยื่อ
2.) ชนิดที่ล่าเหยื่ออยู่กับที่ เคลื่อนไหวช้า มีลักษณะขนาดเล็กกว่าชนิดแรกมาก ชอบกินล่าเหยื่อชนิดที่ไม่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวช้า และเป็นไขหรือตัวอ่อนของแมลง เช่น ด้วงเต่าลายที่ชอบกินเพลี้ยอ่อน
ลักษณะการกิน และการล่าเหยื่อของแมลงตัวห้ำมีทั้งประเภทที่กินเหยื่อทั้งตัวด้วยการแยกเหยื่อเป็นชิ้นๆ แล้วค่อยกัดกินเหยื่อ เช่น แมลงปอ และชนิดที่ใช้ปากแทงดูดกินของเหลวในตัวเหยื่อ เช่น มวนเพชฌฆาต บางชนิดถือเป็นแมลงตัวห้ำตั้งแต่เป็นตัวอ่อน เช่น ด้วงดิน แต่บางชนิดเป็นตัวห้ำเฉพาะในช่วงการเป็นตัวอ่อน เมื่อตัวเต็มวัยจะกินอาหารชนิดอื่น เช่น แมลงวันดอกไม้ นอกจากนี้บางชนิดจะเป็นตัวห้ำเฉพาะเมื่อโตเต็มวัย เช่น แมลงวันหัวบุบ
ตัวอย่าง แมลงตัวห้ำ
แมลงตัวห้ำที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ ได้แก่ ตั๊กแตนตำข้าว ตั๊กแตน ต่อ แตนชนิดต่างๆ แมลงปอ มวนเพชฌฆาต ด้วงดิน ด้วงเต่า ด้วงเสือ ด้วงก้นกระดก แมลงวันหัวบุบ แมลงวันดอกไม้ มด เป็นต้น
มวนเพชรฆาต
แมลงชนิดนี้ ชอบกินตัวหนอน และตัวเต็มวัยของแมลงชนิดต่างๆ เช่น หนอนกระทู้ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนผีเสื้อข้าวสาร มวนเขียว เพลี้ยจั็กจั่น เป็นต้น ถือเป็นแมลงที่มีประโยชน์ในแปลงผัก แปลงพืชไร่ และสวนผลไม้
มวนเพชรฆาต กำลังล่าหยื่อ (ภาพจากอินเตอร์เน็ต)
มวนเพชฌฆาต (Assassin bug) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sycanus collaris เป็นแมลงในวงศ์ Reduviidae อันดับ Hemiptera แมลงในอันดับนี้ มักเรียกว่า “มวน” หรือ “Bugs” เป็นกลุ่มแมลงที่มีมากเป็นอันดับที่ 6 ของแมลงทั้งหมด (ชั้น ; Class Insecta) มีจำนวนถึง 44 วงศ์ (Family) มีทั้งเป็นแมลงที่อาศัยอยู่บนบกและหลายชนิดอาศัยในน้ำ จัดเป็นแมลงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีสีดำหรือน้ำตาล และอาจแต้มด้วยสีอื่นๆ เช่น แดง เหลือง ส้ม และส่วนใหญ่จะมีลำตัวรูปไข่ แม้ว่าบางชนิดมีลำตัวยาวมากแมลงในวงศ์นี้ส่วนใหญ่เป็นตัวห้ำ ดูดกินของเหลวในตัวแมลงอื่นเป็นอาหาร และบางชนิดดูดกินเลือดสัตว์ หลายชนิดเรานำมาเป็นตัวห้ำทำลายแมลงศัตรูพืช แต่ก็มีหลายชนิดที่ให้โทษ ชอบดูดเลือดสัตว์ใหญ่ที่เป็นสัตว์เลือดอุ่น รวมทั้งคนเราด้วย เมื่อเราถูกมันต่อย จะทำให้เกิดเป็นแผลผื่นแดง และเจ็บปวด
ลักษณะทั่วไป
มวนเพชรฌฆาต มีลักษณะเด่น คือ มีหัวแคบและยาว ส่วนท้ายของหัวแคบคล้ายคอ จงอยปาก มี 3 ปล้อง และ โค้งงอ สอดเข้าไปในร่องใต้แผ่นแข็งของอกปล้องแรก มีหนวดยาวแบบเส้นด้าย มี 4 ปล้อง ส่วนมากมีตาเดี่ยว โคนขาคู่หน้า (Femur) มักจะขยายใหญ่ ส่วนขอบของบริเวณกลางส่วนท้องกว้างออก ทำให้ส่วนปีกคลุมไม่มิดสามารถมองเห็นส่วนนี้ได้ง่าย ตัวอ่อนมี 1-5 ระยะ ลำตัวมีสีแดงหลังลายดำ ตัวเต็มวัยจะเปลี่ยนเป็นสีดำ มีสีเหลืองหรือสีแดงแต้ม ตัวยาวประมาณ 3 ซ.ม. ลำตัว และ ท้องของเพศเมียจะใหญ่ ส่วนในเพศผู้ ลำตัวและท้องจะเล็ก ตัวอ่อนระยะที่ 3 ถึงตัวเต็มวัย จะมีพิษทำให้เราเจ็บปวดได้หากถูกมันต่อย
มวนเพชฌฆาต สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าธรรมชาติ มักพบเกาะอยู่ตามพื้นหญ้า พุ่มไม้เตี้ย และมักพบพวกมันเกาะตามต้นติ้วและต้นแต้วในป่า พบชุกชุมในช่วงเดือนกันยายน- พฤศจิกายน และ เมษายน- มิถุนายน
พฤติกรรมการกินอาหาร
มวนชนิดนี้ เป็นแมลงตัวห้ำ มีนิสัยดุร้าย โดยพวกมันดูดกินของเหลวภายในตัวเหยื่อเป็นอาหาร พวกมันสามารถกินอาหารได้หลายชนิด เช่น หนอนผีเสื้อกลางวัน หนอนผีเสื้อกลางคืน และ ตั๊กแตนในช่วงที่ลอกคราบใหม่ๆ
เมื่อตัวอ่อนเริ่มฟักออกมา ช่วง 2-3 วันแรก ตัวอ่อนยังไม่กินอาหาร มวนที่มีอายุน้อยมักอยู่และกินอาหารรวมกันเป็นกลุ่ม การเลี้ยงตัวอ่อนระยะที่ 1-2 นี้จะเลี้ยงด้วยหนอนที่ถูกทำให้ตายก่อน ส่วนการเลี้ยงมวนระยะที่ 3-5 จะให้อาหารเป็นตัวหนอนที่มีชีวิต เมื่อมวนเพชฌฆาต เริ่มแข็งแรงขึ้น มันจะสามารถกินแมลงทุกชนิดที่ปากของมันแทงเข้าไปได้
ลักษณะการกินอาหาร มวนจะยื่นจงอยปากออกแทงเหยื่อและปล่อยพิษใส่ เหยื่อจะตายและหลังจากนั้นจะดูดเหยื่อกินจนของเหลวในตัวแห้งและเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ในกล่องเลี้ยงพบว่า ตัวเต็มวัย 1 ตัวสามารถฆ่าหนอนได้ มากกว่าวันละ 5 ตัว
ด้วงเต่า
ด้วงเต่ามีมากกว่า 10 สายพันธุ์ ทั้งประเภทลายหยัก ลายจุดหรือสีพื้น เช่น สีส้ม สีแดง สีดำ มักเป็นแมลงที่มีอายุนานถึง 3 เดือน ชอบจับกินตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไก่แจ้ ไรกินพืช และไข่แมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ โดยสามารถกินเพลี้ยอ่อนได้ถึง 40 ตัว/ชั่วโมง เลยทีเดียว นอกจากนั้น หากเพลี้ยมีน้อยหรือหากินยาก ด้วงเต่าสามารถหาอาหารอื่นๆแทนได้ เช่น น้ำหวานจากตัวแมลง น้ำหวานจากดอกไม้
มวนเขียวดูดไข่
เป็นแมลงที่ชอบกินไข่ของเพลี้ยกระโดด และเพลี้ยจั๊กจั่น ทำให้ไข่แฟบ และเป็นศัตรูที่สำคัญของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
มวนจิงโจ้น้ำ
เป็นแมลงที่ชอบกินเพลี้ยกระโดด และเพลี้ยจั๊กจั่น และแมลงขนาดเล็กที่ตกลงบนผิวน้ำ เหมาะสำหรับแปลงเกษตรที่มีน้ำขัง เช่น นาข้าว การปลูกบัว เป็นต้น
มวนจิงโจ้น้ำกลาง
เป็๋นแมลงที่มีลักษณะสีเขียว มีลำตัวขนาดใหญ่กว่ามวนจิงโจ้น้ำ ตัวเต็มวัย และตัวอ่อน จะกินหนอนกอข้าว เพลี้ยกระโดด และเพลี้ยจั๊กจั่นที่ตกลงน้ำเป็นอาหาร
ด้วงดิน
เป็นแมลงที่อาศัยตามโคนต้นไม้ และหน้าดินที่ชื้น ชอบกินหนอน และเพลี้ยชนิดต่างๆ
แมงมุม
เป็นสัตว์จำพวกแมง มักพบมาในพื้นที่ต่างๆ ชอบกินเพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยกระโดด ผีเสื้อหนอนกอข้าว หนอนห่อใบข้าว หนอนแมลงวันข้าว ไร และแมลงศัตรูพืชเกือบทุกชนิด การล่าเหยื่อมักพบการสร้างใยแมงมุมขึงตามต้นไม้ นาข้าว หรือตามกิ่งไม้ขนาดเล็กเพื่อดักจับแมลงที่บินผ่าน แล้วดูดกินของเหลวภายในตัวเหยื่อ
แมลงช้างปีกใส
เป็นแมลงที่ในระยะตัวอ่อนสามารถช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชขนาดเล็กได้หลายชนิดมากกว่า 60 ตัว/ชั่วโมง เช่น ไข่ผีเสื้อกลางคืน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย และหนอนผีเสื้อขนาดเล็กต่างๆ เช่น หนอนคืบกระหล่ำปลี
แมลงปอ
เป็นแมลงที่ชอบกินเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั้๊กจั่น และแมลงขนาดเล็กที่บินตามท้องฟ้าหรือเหนือยอดหญ้า เช่น ผีเสื้อ หนอนห่อใบ
ด้วงก้นกระดก
เป็นแมลงที่มีความว่องไวในการล่าเหยื่อ ชอบกินเพลี้ยกระโดดเป็นอาหาร
มดคันไฟ
มักพบอาศัยทำรังตามพื้นดิน ชอบจับกินแมลงชนิดต่างๆ รวมถึงสัตว์ขนาดเล็ก และไข่ของแมลงอีกด้วย
ตั๊กแตน
เป็นแมลงขนาดใหญ่ ชอบกินเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั๊กกระจั่น ไข้ผีเสื้อ หนอนกอข้าว นอกจากนั้นบางชนิดชอบกินใบอ่อนของหญ้าที่เป็นวัชพืชได้อีกด้วย
////////
Relate topics
- เชื้อราเมธาไรเซียม ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ เช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ฯลฯเชื้อราเมธาไรเชียมคุณสมบัติหลักคือใช้กำจัดแมลงเช่นเดียวกันเชื้อราบิวเวอเรีย แต่เชื้อราเมธาไรเซียมมีความสามารถในการกำจัดแมลงได้ดีกว่าเชื้อราบิวเวอร์เรียเนื่องจากคุณสมบัติของเชื้อราเมธาไรเซียมทนอุณภุ
- เทคนิคปลูกแตงกวาระดับเซียน!แตงกวา หรือ แตงร้าน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-4
- เทคนิคทำให้ถั่วฝักยาวออกฝักมากถั่วฝักยาวนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรไทยมาช้านาน การปลูกเพื่อการค้าให้ถั่วฝักยาวมีผลิตที่คุ้มค่านั้นนอกจากการให้ปุ๋ย ให้น้ำ หมั่นกำจัดวัชพืช ให้การดูแลอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังมีเคล็ดลับในการทำ
- เพอร์มาคัลเจอร์ (Permaculture) !!! วิธีปลูกผักที่แทบจะไม่ต้องรดน้ำ ทำครั้งเดียวปลูกได้หลายปีถ้าเราออกแบบระบบการเกษตรให้เหมือนกับรูปแบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราก็จะได้ระบบการเกษตรที่สอดคล้องและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งยังได้ผลิตผลสูงและมีความยั่งยืนมากกว่าระบบที่เห็นธรรมชาติเป็นศัตรูที่ต้อ
- ข้าวโพดหวานสองสี (Bio Color Sweet Corn)ข้าวโพดหวานสองสี จัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Gramineae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. var. saccharata เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว มีจำนวน 8-20 ปล้อง มีขนาดเส้นผ่
- วิธีเพาะเห็ดปลวก (เห็ดโคน) จากจอมปลวก ได้กินทั้งปีวัฏจักรชีวิตของปลวกอีกแง่มุมหนึ่ง ที่สัมพันธ์พึ่งพากับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “เห็ดโคน” ![ คำอธิบายภาพ : 148115014313166400671170766264n ](http://sator4u.com/upload/pics/14811501431316640067
- มารู้จัก ชนิดของข้าวโพดหวานปัจจุบันประเทศไทย ส่งออกข้าวโพดหวานในรูปแบบต่างๆ สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และฮังการี ยอดส่งออก ข้าวโพดหวานของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาโดยตลอด จากปริมาณการส่งออก
- ฤดูการผลิตทุเรียนของประเทศไทยในอดีต ประเทศไทยสามารถผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ ๔ เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ผลิตได้ในภาคตะวันออก แล้วต่อช่วงฤดูการผลิตโดยผลผลิตจากภาคใต้ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิ
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (2) โรคจุดสีน้ำตาล (Brown Spot) โรคจุดสีน้ำต
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (1) โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย (Corn Downy Mildew)