เพอร์มาคัลเจอร์ (Permaculture) !!! วิธีปลูกผักที่แทบจะไม่ต้องรดน้ำ ทำครั้งเดียวปลูกได้หลายปี
ถ้าเราออกแบบระบบการเกษตรให้เหมือนกับรูปแบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราก็จะได้ระบบการเกษตรที่สอดคล้องและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งยังได้ผลิตผลสูงและมีความยั่งยืนมากกว่าระบบที่เห็นธรรมชาติเป็นศัตรูที่ต้องต่อสู้ เอาชนะ ควบคุมให้ได้อย่างใจเรา
เพอร์มาคัลเชอร์ เป็นเรื่องของแนวคิด วิธีคิด การออกแบบ เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนที่สุด นำเรื่องการออกแบบพลังงานในธรรมชาติมาใช้ร่วมกับการทำการเกษตรอย่างสร้างสรรค์ จึงเป็นเกษตรทางเลือกหนึ่งที่มีลูกเล่น มีสีสันที่ไปเชื่อมกับศาสตร์อื่นๆ เช่น สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ จึงไม่ใช่แค่เรื่องเกษตร แต่ต้องสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม หมั่นค้นคว้าและเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยา จนมองเห็นว่าถ้าเราออกแบบระบบการเกษตรให้เหมือนกับรูปแบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราก็จะได้ระบบการเกษตรที่สอดคล้องและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งยังได้ผลิตผลสูง และมีความยั่งยืนมากกว่าระบบที่เห็นธรรมชาติเป็นศัตรูที่ต้องต่อสู้ เอาชนะ ควบคุมให้ได้อย่างใจเรา !!!
'เพอร์มาคัลเชอร์' คืออะไร
เพอร์มาคัลเชอร์ (permaculture) เป็นแนวคิดและวิถีทางการเกษตรที่เน้นเรื่องความยั่งยืนของชีวิตและสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นในต่างประเทศเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว องค์ความรู้แบบฝรั่งนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการทำการเกษตร แต่ครอบคลุมถึงการออกแบบวิถีการดำรงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตรกรรม รวมถึงการใช้ชีวิตของผู้คนในรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ
" A design system for ecological and sustainable living, integrating plants, animals, buildings, people and communities. "
เพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture) อาจยังฟังดูเป็นคำศัพท์ใหม่สำหรับคนไทย หากเราลองค้นในกูเกิ้ลเป็นภาษาไทย อาจยังไม่เจอเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับเพอร์มาคัลเชอร์มากนัก แต่ถ้าพูดถึงชีวิตความเป็นอยู่แบบพอเพียง หรือเกษตรผสมผสาน คนไทยคงจะฟังดูคุ้นหูมากกว่า
เพอร์มาคัลเชอร์ ก็ไม่ได้มีแนวคิดแตกต่างไปจากสองคำไทยด้านบนมากนัก เรียกได้ว่าเป็นคำที่ชาวต่างชาติเริ่มนำมาให้ได้รู้จักกัน ตั้งแต่ราวปีค.ศ. 1978 โดย Bill Mollison ชาวออสเตรเลีย และ Masanobu Fukuoka ชาวญี่ปุ่น ได้ตั้งคำถามและคิดค้นแนวคิดนี้ ในเวลาไล่เลี่ยกัน ในสถานที่ห่างกันไกลคนละทวีป เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของโลกและของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่พวกเขาคุ้นเคยใกล้ชิด กำลังค่อยๆเปลี่ยนไปในแบบที่พวกเขาคิดว่าไม่ควรจะเป็น ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
ไม่ใช่แค่นำองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ไปใช้ปลูกพืชผักทำการเกษตรอย่างเดียวเท่านั้น แต่แนวคิดเพอร์มาคัลเชอร์ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกอาชีพ ตั้งแต่วิศวกรพลังงาน ไปจนถึงสถาปนิก
มั่นคงถาวร + เกษตรกรรม !!!
เพอร์มาคัลเชอร์ เกิดจากการรวมคำสองคำ คือ Permanent ที่แปลว่ามั่นคงถาวร กับ Agriculture ที่แปลว่าเกษตรกรรม คำนี้คิดค้นขึ้นโดย Bill Morrison และ David Holmgren นักนิเวศวิทยาและลูกศิษย์ชาวออสเตรเลีย เพื่อใช้เรียกระบบการทำการเกษตรที่คิดค้นขึ้นจากประสบการณ์การค้นคว้าและเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยา จนมองเห็นว่าถ้าเราออกแบบระบบการเกษตรให้เหมือนกับรูปแบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราก็จะได้ระบบการเกษตรที่สอดคล้องและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งยังได้ผลิตผลสูงและมีความยั่งยืนมากกว่าระบบที่เห็นธรรมชาติเป็นศัตรูที่ต้องต่อสู้ เอาชนะ ควบคุมให้ได้อย่างใจเรา
นอกจากจะเป็นระบบการเพาะปลูก ที่มีการจัดวางรูปแบบ เพื่อการสร้างทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเหมาะสม แล้ว ยังอาจจะเรียกได้ว่าเพอร์มาคัลเชอร์ เป็นวิถีทางการเกษตร เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเอื้ออำนวย ให้แก่แผ่นดิน น้ำ พืช สัตว์ และมนุษย์ มีชีวิต อยู่ร่วมกัน อย่างกลมกลืน สมดุล มีความสุข ได้อย่างต่อเนื่อง และยืนนาน
ในปลายทศวรรษที่ 1960 บิลมิลลิสันและเดวิดฮอลเกรนเริ่มพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเกษตรที่มีเสถียรภาพในรัฐเกาะทางใต้ของรัฐแทสเมเนีย นี่เป็นผลมาจากความเสี่ยงของการใช้วิธีการอุตสาหกรรมเกษตรอย่างรวดเร็ว ในมุมมองของพวกเขาวิธีการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่ไม่สามารถทดแทนได้ เป็นพิษต่อแผ่นดินและน้ำ ลดความหลากหลายทางชีวภาพ และลดพื้นที่หน้าดินอุดมสมบูรณ์นับพันล้านตันจากภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ก่อนหน้านี้ วิธีการออกแบบที่เรียกว่า permaculture เป็นคำตอบของพวกเขา และเป็นครั้งแรกที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยการตีพิมพ์หนังสือ Permaculture One ในปี 1978
Bill Mollison - Co-originator of permaculture, The Permaculture Research Institute.
David Holmgren, co-originator of the permaculture concept, environmental designer, author & futurist.
เน้นการพึ่งพาตัวเอง และเป็นตัวของตัวเองสุดๆ ไปเลยทีเดียว !
แนวคิดดังกล่าว จึงเป็นการอนุรักษ์และปรับใช้วิถีชีวิตของคนในแต่ละพื้นที่ ที่มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป ให้อยู่ได้ด้วยการผลิตปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ให้ได้ด้วยตัวเองให้มากที่สุด ไม่ว่าสภาพสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าใดก็ตาม
ในภาพรวมนั้น ผู้ปฏิบัติเพอร์มาคัลเชอร์ จึงดูเหมือนปลาที่ว่ายทวนกระแสน้ำ ในโลกที่ทุกวันนี้ มนุษย์เราห่างไกลจากการผลิตปัจจัย 4 ด้วยตัวเองออกไปทุกที
นั่นหมายถึง เพอร์มาคัลเชอร์ คือระบบหลักการออกแบบการเกษตรและสังคม ที่เลียนแบบมาจากระบบนิเวศน์ธรรมชาติ หรือไม่ก็เป็นการนำรูปแบบและลักษณะที่พบเห็นได้จริงในธรรมชาติ มาใช้เลยโดยตรงโดยไม่ต้องสร้างเลียนแบบขึ้นใหม่
แต่ที่จริงแล้ว เพอร์มาคัลเชอร์ไม่ใชเพียงระบบเกษตร แต่เป็นระบบการออกแบบที่ดิน ซึ่งส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการออกแบบฟาร์มเกษตร แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้เพอร์มาคัลเชอร์ในการออกแบบเมือง หรืออื่นๆ ได้ หลักการพื้นฐานในการออกแบบของเพอร์มาคัลเชอร์ประกอบด้วย 8 เรื่อง คือ
(1) ที่ตั้งแบบสัมพันธภาพ
(2) แต่ละองค์ประกอบมีหลายบทบาทหน้าที่
(3) หน้าที่สำคัญต้องมีหลายองค์ประกอบร่วมกัน
(4) ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ
(6) นำพลังงานธรรมชาติมาใช้ประโยชน์
(7) ใช้พื้นที่อย่างเข้มข้น โดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อย่างหลากหลายร่วมกัน
(8) ใช้ชายขอบและลวดลายธรรมชาติ
เพอร์มาคัลเชอร์จึงครอบคลุมเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น การออกแบบเชิงนิเวศน์ นิเวศน์วิศวกรรม การออกแบบที่อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างและการจัดการน้ำแบบบูรณาการ ที่จะนำไปสู่สถาปัตยกรรมอย่างยั่งยืน การสร้างที่อยู่อาศัยที่ซ่อมบำรุงรักษาตัวเองและสร้างตัวเองขึ้นใหม่ได้ และระบบการเกษตรที่ยืมรูปแบบนิเวศน์ในธรรมชาติมาใช้
จุดเด่นของ เพอร์มาคัลเชอร์
คือการปรับปรุงภูมิสถาปัตย์และนำเรื่องการออกแบบพลังงานในพื้นที่มาใช้ร่วมกับการทำการเกษตร ซึ่งเป็นการอธิบายที่เป็นวิชาการและวิทยาศาสตร์ ในขณะที่เกษตรยั่งยืนแบบไทยที่เน้นวิถีแห่งการพึ่งตนเอง จะเป็นลักษณะภูมิปัญญาดั้งเดิม มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับมิติทางจิตวิญญาณ นอกจากนั้น เพอร์มาคัลเชอร์ ยังเป็นระบบการดำเนินชีวิตที่อาศัยพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษใหม่ขึ้น และเป็นระบบที่นำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ทั่วไปมาใช้ผลิตอาหาร โดยไม่ทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นบนโลก เหตุนี้เอง จึงไม่จำเป็นว่าเฉพาะเกษตรกรเท่านั้นที่ควรนำเพอร์มาคัลเชอร์ไปใช้ แต่ใครๆ ก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ ไม่ว่าจะทำอะไร หรืออยู่ที่ไหนในโลก
Permaculture is an alternative agricultural method that strives to grow and raise ‘in sync’ with nature.
มาเริ่มจากเพอร์มาคัลเจอร์แบบง่ายๆ กันเถอะ !!!
ด้วยการใช้ท่อนซุงหรือพวกกิ่งไม้ เศษใบไม้ใบหญ้าต่างๆ ต่างๆ มากองเป็นฐานและก่อเป็นแปลงผักให้สูงขึ้นเพื่อใช้ในการปลูกผัก ซึ่งประโยชน์ของการปลูกผักโดยวิธีนี้ก็คือว่า พืชผักที่เราปลูกนั้นจะได้รับสารอาหารจากกิ่งไม้เศษไม้ที่เรากองไว้ด้านล่าง เป็นการช่วยให้อาหารและความชื้นตามธรรมชาติ โดยที่เรานั้นแทบจะไม่ต้องรดน้ำเลย หรือใช้น้ำน้อยมากในการรด
วิธีการปลูกผักแบบที่หลายคนอาจจะไม่เคยทำมาก่อน เป็นวิธีการของชาวต่างประเทศเขาทำกันมานานแล้ว ซึ่งมีประโยชน์มากๆ เพราะว่าเป็นการช่วยลดปริมาณการใช้น้ำ แต่ก็ยังปลูกผักได้ พื้นที่ไหนน้ำแล้งๆ หรือน้ำน้อยก็ลองเอาไปประยุกต์ใช้กันดูครับ
ปลูกผักแทบจะไม่ต้องรดน้ำ ทำครั้งเดียวปลูกได้หลายปี
วิธีการทำนั้นก็แสนจะง่ายดาย หลายวิธี ตามสภาพพื้นดิน และความต้องการของผู้ปลูกครับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ท้ายสุดการปลูกผักแบบ Hugelkulture หรือ เพอร์มาคัลเจอร์ เราจะต้องทำให้แปลงผักแบบกองสุมนี้ให้สูงเข้าไว้ครับ โดยให้สูงอย่างน้อย 2 เมตร เพื่อให้ได้กองปลูกผักที่ไม่ต้องรดน้ำเลยตลอดหน้าแล้งในปีที่ 2 ซึ่งถ้ากอง Hugelkulture ยิ่งสูงมาก จะมีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นที่ดีจนไม่ต้องรดน้ำเลยทีเดียวครับ
ใครที่มีเศษไม้ท่อนซุงเก่าๆ หรือไม้สดที่ไม่ได้ใช้งานก็สามารถนำมาทดลองทำกันได้ ที่น่าสนใจมากๆ อีกอย่างก็คือข้อมูลระบุว่าการทำแปลง Hugelkulture 1 ครั้งสามารถใช้งานได้ยาวนานเกิน 10 ปีเลยน่ะครับ เอาไปลองกันเลย
หลากหลายแนวคิด การนำเอาเทคนิคเพอร์มาคัลเจอร์มาปรับใช้กับการเกษตร ...
ข้อมูลและภาพจาก @ permaculture, bansuanporpeang , Youtube , เรียบเรียง @ บ้านผักยิ้มหวาน
Relate topics
- เชื้อราเมธาไรเซียม ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ เช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ฯลฯเชื้อราเมธาไรเชียมคุณสมบัติหลักคือใช้กำจัดแมลงเช่นเดียวกันเชื้อราบิวเวอเรีย แต่เชื้อราเมธาไรเซียมมีความสามารถในการกำจัดแมลงได้ดีกว่าเชื้อราบิวเวอร์เรียเนื่องจากคุณสมบัติของเชื้อราเมธาไรเซียมทนอุณภุ
- เทคนิคปลูกแตงกวาระดับเซียน!แตงกวา หรือ แตงร้าน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-4
- เทคนิคทำให้ถั่วฝักยาวออกฝักมากถั่วฝักยาวนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรไทยมาช้านาน การปลูกเพื่อการค้าให้ถั่วฝักยาวมีผลิตที่คุ้มค่านั้นนอกจากการให้ปุ๋ย ให้น้ำ หมั่นกำจัดวัชพืช ให้การดูแลอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังมีเคล็ดลับในการทำ
- ข้าวโพดหวานสองสี (Bio Color Sweet Corn)ข้าวโพดหวานสองสี จัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Gramineae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. var. saccharata เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว มีจำนวน 8-20 ปล้อง มีขนาดเส้นผ่
- วิธีเพาะเห็ดปลวก (เห็ดโคน) จากจอมปลวก ได้กินทั้งปีวัฏจักรชีวิตของปลวกอีกแง่มุมหนึ่ง ที่สัมพันธ์พึ่งพากับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “เห็ดโคน” ![ คำอธิบายภาพ : 148115014313166400671170766264n ](http://sator4u.com/upload/pics/14811501431316640067
- มารู้จัก ชนิดของข้าวโพดหวานปัจจุบันประเทศไทย ส่งออกข้าวโพดหวานในรูปแบบต่างๆ สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และฮังการี ยอดส่งออก ข้าวโพดหวานของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาโดยตลอด จากปริมาณการส่งออก
- ฤดูการผลิตทุเรียนของประเทศไทยในอดีต ประเทศไทยสามารถผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ ๔ เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ผลิตได้ในภาคตะวันออก แล้วต่อช่วงฤดูการผลิตโดยผลผลิตจากภาคใต้ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิ
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (2) โรคจุดสีน้ำตาล (Brown Spot) โรคจุดสีน้ำต
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (1) โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย (Corn Downy Mildew)
- การปลูกข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) ให้มีคุณภาพ การป้องกันโรคต่างๆ การดูแลอย่างถูกต้อง ข้าวโพดหวาน อยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียว