เชื้อราเมธาไรเซียม ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ เช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ฯลฯ
เชื้อราเมธาไรเชียมคุณสมบัติหลักคือใช้กำจัดแมลงเช่นเดียวกันเชื้อราบิวเวอเรีย แต่เชื้อราเมธาไรเซียมมีความสามารถในการกำจัดแมลงได้ดีกว่าเชื้อราบิวเวอร์เรียเนื่องจากคุณสมบัติของเชื้อราเมธาไรเซียมทนอุณภุมิได้สูงกว่า และยังอาศัยอยู่ในดิน แต่เชื้อราเมธาไรเซียมนั้นจะใช้เวลาในการติดเชื้อและทำให้แมลงตายนานกว่า
ปกติแล้วในธรรมชาติจะมีระบบนิเวศที่สามารถควบคุมกันเองไม่ให้มากหรือน้อยเกินไปเพื่อสร้างความสมดุลในระบบสิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีจำนวนมากทั้งยาฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อราและจุลินทรีย์ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะทำลายแมลงและจุลินทรีย์แทบทุกชนิดทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ต่อพืช ทำให้ระบบนิเวศถูกทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่มีประโยชน์ต่อพืชทั้งที่ช่วยผสมเกสรพืช จุลินทรีย์ทำหน้าที่ปรุงอาหารให้พืชถูกทำลายลงแต่แมลงศัตรูพืชและเชื้อราโรคพืชกลับพัฒนาตัวเองให้ต้านสารเคมีได้ นอกจากทำให้ผลผลิตลดลงพืชผักถูกทำลายแล้วสารเคมียังตกค้างอยู่ในตัวเกษตรกรเองรวมถึงผู้บริโภคอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรต้องหันกลับมาสร้างระบบนิเวศใหม่โดยเติมสารชีวภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อพืชและระบบนิเวศเข้าไปในระบบอีกครั้ง
ในที่นี้จะแนะนำวิธีการขยายเชื้อราเขียวไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุนในการผลิต เพื่อสุขภาพของเกษตรกร คนในครอบครัวรวมถึงผู้บริโภคและเพื่อคุณภาพของสารชีวภัณฑ์ที่ดีที่สุดนั้นคือเชื้อสดนั้นเอง
เชื้อราเมธาไรเซียม สามารถป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิเช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ด้วงหมัดผัก ตั๊กแตน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงปากกัดปีกแข็ง หนอนกระทู้คอรวง หนอนกอข้าว หนอนใยผัก หนอนม้วนใบ หนอนหนังเหนียวและแมลงวันผลไม้
เชื้อราเมธาไรเซียม เป็นเชื้อราที่มีสีเขียวหม่น เป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีการนำมาใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชหลายชนิด อย่างกว้างขวาง จัดเป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นอ้อย (Dorysthenes buqueti Guerin.) สามารถทำลายด้วงหนวดยาวได้ทุกระยะ ตั้งแต่ระยะที่เป็นไข่จนถึงตัวเต็มวัย สามรถทำลายระยะที่เป็นหนอนได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ จัดว่าเป็นการควบคุมโดยชีววิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง รวมทั้งเชื้อราเมธาไรเซียม สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นานกว่า 3 ปี ทำให้มีระยะการควบคุมได้นาน
การควบคุมและทำลาย
เชื้อราเมธาไรเซียม สามารถควบคุมและทำลายแมลงได้โดย เมื่อเชื้อราเมธาไรเซียม เข้าสู่แมลงทางผิวหนัง หรือช่องว่างของลำตัวรวมทั้งจะสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยผนังบางส่วนและงอกสปอร์แทงผ่านลำตัวเข้าไป เจริญ และเพิ่มปริมาณทำให้แมลงเกิดโรค ตายในที่สุด แมลงที่ตายด้วยเชื้อราเมธาไรเซียม จะมีลักษณะลำตัวแข็งมีเชื้อราขึ้นปกคลุมลำตัวภายนอกเป็นสีเขียว ซึ่งระยะเวลาในการทำลายจะเร็วหรือช้า ขึ้นกับสภาพแวดล้อมได้แก่อุณหภูมิ ความชื้นและแสงสว่าง ที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้น มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแสงแดด มีรังสียูวีจะมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา นอกจากนี้ความรุนแรงของเชื้อ จะรุนแรงมากหรือน้อย ยังขึ้นกับลักษณะพันธุกรรมของเชื้อ ความแข็งแรง หรือภูมิต้านทานของแมลงอีกด้วย
กลไกการเข้าทำลายแมลงของเชื้อราเมธาไรเซียม
เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลง ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม (ความชื้นสัมพัทธ์ 70 % ขึ้นไป) จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3 – 14 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของแมลง
เชื้อราเมธาไรเซียม ที่ตกที่ผนังลำตัวแมลง เมื่อมีสภาพที่เหมาะสมสปอร์จะงอกแทงทะลุผ่านลำตัวแมลงเข้าไปไชช่องว่างภายใน ลำตัวและเจริญเติบโตเป็นเส้นใยท่อนสั้นๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดในตัวของแมลง ทำให้แมลงเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด หลังจากแมลงตายแล้วเชื้อราจะสร้างสปอร์แพร่กระจายได้ตามธรรมชาติ เฝ้าระวังแปลงนาของเกษตรกรจากแมลงศัตรูข้าง เพราะสามารถทำลายแมลงได้ทุกระยะ
การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราเมธาไรเซียม
สปอร์เชื้อราตกติดอยู่กับผนังลำตัวแมลงเข้าสู่ตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผลบนผนังลำตัว ความชื้นเหมาะสมกับการงอก สปอร์จะแทงทะลุผิวหนังลำตัว เชื้อราจะงอกสู่ช่องว่างลำตัวแมลงเจริญเติบโตสร้างเส้นใยมากมายทำลายแมลง เมื่อแมลงตาย เส้นใยจะแทงผ่านผนังลำตัวแมลงออกสู่ภายนอกตัวแมลง สปอร์จะแพร่กระจายไปตามลม ฝนหรือติดกับตัวแมลง เชื้อราจึงสามารถขยายพันธุ์ต่อได้ และเมื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะทำลายแมลงศัตรูต่อไป
ลักษณะอาการของแมลงที่ถูกเชื้อราเมธาไรเซียม ทำลาย
แมลงที่ถูกทำลายจะแสดงอาการของการเป็นโรคคือ เบื่ออาหาร กินน้อยลง อ่อนเพลียและไม่เคลื่อนไหว สีผนังลำตัวแมลงมักจะเปลี่ยนไป ปรากฏจุดสีดำบนบริเวณที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย พบเส้นใย และผงสีขาว ของสปอร์ปกคลุมตัวแมลงที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย
การฉีดพ่นเชื้อราเมธาไรเซียม
การพ่นเชื้อราเมธาไรเซียม เพียงครั้งเดียวอาจไม่ได้ผล ต้องพ่นซ้ำ 2-3 ครั้งขึ้นไป และควรพ่นในช่วงที่แมลงยังตัวเล็กๆ การพ่นต้องให้ถูกตัวแมลงด้วย เนื่องจากเชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิต การออกฤทธิ์ของเชื้อราไม่เหมือนสารเคมีซึ่งสามารถดูดซึมผ่านไปยังเนื้อเยื่อได้ เมื่อแมลงมาดูดกินก็จะได้รับสารเคมีทำให้แมลงตาย ในกรณีที่แมลงเกาะอยู่ใต้ใบ หากพ่นเชื้อราไปตกอยู่บนใบ เชื้อราจะไม่ออกฤทธิ์ฆ่าแมลงได้ ดังนั้นการพ่นเชื้อราต้องให้สปอร์ไปตกหรือถูกตัวแมลงเท่านั้นจึงจะทำลายแมลงได้ อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงช่วงเวลา แสง อุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสมดังกล่าวเป็นสำคัญ สปอร์จึงจะงอกเส้นใยออกมาแทงทะลุเข้าไปในตัวแมลงได้
Powerful Natural Biological Pesticide: Metarhizium
การใช้อุปกรณ์พ่นสารเคมีร่วมกับอุปกรณ์พ่นเชื้อรา
สามารถใช้อุปกรณ์ตัวเดียวกันได้ แต่จะต้องเปิดรูหัวฉีดให้กว้างขึ้น ถ้าเราไม่ปรับหัวฉีดให้รูกว้างขึ้น อาจทำให้อุปกรณ์ส่วนอื่นอุดตันได้ โดยเฉพาะที่หัวฉีด เพราะการใช้เชื้อราพวกนี้ต้องการความชื้นมาก จึงจำเป็นต้องเปิดรูให้กว้างขึ้น ปริมาณน้ำที่ใช้ผสมจะต้องมากกว่าการพ่นสารเคมี จึงจะทำให้มีความชื้นมากและต้องพ่นให้เปียกโชก ควรผสมสารจับใบสำหรับชีวภัณ์ด้วยเพื่อให้สปอร์เกาะพืชดีขึ้น
เชื้อราเมตตาไรเซียม ตัวช่วยกำจัดศัตรูพืช
ดังนั้น เกษตรกรที่จะใช้เชื้อราเมธาไรเซียม ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยหรือแมลงศัตรูพืช จะต้องศึกษาและเข้าใจในธรรมชาติของเชื้อรา และแมลงศัตรูพืชแต่ละชนิด และใช้ให้ถูกวิธีการกำจัดจึงจะได้ผล
การใช้เชื้อราเมธาไรเซียม ควบคุมศัตรูพืชอย่างถูกต้อง
เนื่องจากเชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิต การนำไปใช้จะได้ผลหรือไม่ ต้องอาศัยปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องหลายอย่าง ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น แสงกับช่วงเวลา และตัวของแมลงเอง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเชื้อราเมธาไรเซียม จะทำให้เชื้อรางอกสปอร์ได้ดี จะอยู่ในระหว่าง 25-30องศาเซลเซียส ความชื้น ความชื้นที่เหมาะสมสำหรับพ่นเชื้อราเมธาไรเซียม ต้องมีความชื้นสูงมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
ความชื้นที่เหมาะสมที่สุด คือช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ในบรรยากาศมีความชื้นสูง เนื่องจากความชื้นจะไปกระตุ้นให้สปอร์งอกออกมาและแทงทะลุผ่านเข้าไปในตัวแมลงหรือตัวเพลี้ย แต่ถ้าจะพ่นในช่วงฤดูฝนต้องดูว่าช่วงนั้นเพลี้ยระบาดหรือเปล่า เพราะโดยธรรมชาติฝนจะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยอยู่แล้ว หากแมลงระบาดในช่วงแล้ง ซึ่งอุณหภูมิและความชื้นไม่เหมาะต่อการพ่นเชื้อรา ดังนั้นเกษตรกรจะต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนี้ จึงจะสามารถใช้เชื้อราให้เกิดประสิทธิผล
แสงกับช่วงเวลา
การที่จะพ่นเชื้อราเมธาไรเซียม ให้ได้ผล คือ ต้องเป็นช่วงเวลาเย็นที่อากาศมีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ การที่เลือกเวลาพ่นเชื้อราในตอนเย็น ก็เพื่อไม่ให้โดนแสงแดด เพราะแสงแดดจะทำให้เชื้อราเสื่อมคุณภาพเร็วยิ่งขึ้น
เรียบเรียง โดย ###บ้านผักยิ้มหวาน
Relate topics
- เทคนิคปลูกแตงกวาระดับเซียน!แตงกวา หรือ แตงร้าน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-4
- เทคนิคทำให้ถั่วฝักยาวออกฝักมากถั่วฝักยาวนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรไทยมาช้านาน การปลูกเพื่อการค้าให้ถั่วฝักยาวมีผลิตที่คุ้มค่านั้นนอกจากการให้ปุ๋ย ให้น้ำ หมั่นกำจัดวัชพืช ให้การดูแลอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังมีเคล็ดลับในการทำ
- เพอร์มาคัลเจอร์ (Permaculture) !!! วิธีปลูกผักที่แทบจะไม่ต้องรดน้ำ ทำครั้งเดียวปลูกได้หลายปีถ้าเราออกแบบระบบการเกษตรให้เหมือนกับรูปแบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราก็จะได้ระบบการเกษตรที่สอดคล้องและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งยังได้ผลิตผลสูงและมีความยั่งยืนมากกว่าระบบที่เห็นธรรมชาติเป็นศัตรูที่ต้อ
- ข้าวโพดหวานสองสี (Bio Color Sweet Corn)ข้าวโพดหวานสองสี จัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Gramineae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. var. saccharata เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว มีจำนวน 8-20 ปล้อง มีขนาดเส้นผ่
- วิธีเพาะเห็ดปลวก (เห็ดโคน) จากจอมปลวก ได้กินทั้งปีวัฏจักรชีวิตของปลวกอีกแง่มุมหนึ่ง ที่สัมพันธ์พึ่งพากับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “เห็ดโคน” ![ คำอธิบายภาพ : 148115014313166400671170766264n ](http://sator4u.com/upload/pics/14811501431316640067
- มารู้จัก ชนิดของข้าวโพดหวานปัจจุบันประเทศไทย ส่งออกข้าวโพดหวานในรูปแบบต่างๆ สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และฮังการี ยอดส่งออก ข้าวโพดหวานของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาโดยตลอด จากปริมาณการส่งออก
- ฤดูการผลิตทุเรียนของประเทศไทยในอดีต ประเทศไทยสามารถผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ ๔ เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ผลิตได้ในภาคตะวันออก แล้วต่อช่วงฤดูการผลิตโดยผลผลิตจากภาคใต้ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิ
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (2) โรคจุดสีน้ำตาล (Brown Spot) โรคจุดสีน้ำต
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (1) โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย (Corn Downy Mildew)
- การปลูกข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) ให้มีคุณภาพ การป้องกันโรคต่างๆ การดูแลอย่างถูกต้อง ข้าวโพดหวาน อยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียว