ฤดูการผลิตทุเรียนของประเทศไทย
ในอดีต ประเทศไทยสามารถผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ ๔ เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ผลิตได้ในภาคตะวันออก แล้วต่อช่วงฤดูการผลิตโดยผลผลิตจากภาคใต้ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ ๙ เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม โดยแบ่งเป็นผลผลิตจากพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
ทุเรียนก่อนฤดูในพื้นที่จังหวัดระยอง และจันทบุรี เกษตรกรประสบความสำเร็จ ในการผลิตทุเรียนก่อนฤดูในเชิงการค้า โดยใช้สารแพกโคลบิวทราโซล เร่งให้ทุเรียนออกดอกได้ ในเดือนสิงหาคม และสามารถเก็บเกี่ยวได้ ในเดือนกุมภาพันธ์ นอกจากนี้ ยังทำให้มีผลผลิต ออกสู่ตลาดในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ก่อนที่ผลผลิตตามฤดูกาลปกติ จะออกสู่ตลาด ในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
ทุเรียนล่าในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และชุมพร เกษตรกรในเขตอำเภอโป่งน้ำร้อน ประสบความสำเร็จในการผลิตทุเรียนล่า และมีผลผลิตออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคม -สิงหาคมได้ เช่นกันกับเกษตรกรในจังหวัดชุมพรสามารถผลิตทุเรียนล่าออกสู่ตลาดได้ ในเดือนกันยายน - ตุลาคม
ทุเรียนทวาย เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนทวาย สามารถทยอยตัดผลผลิตสู่ตลาดได้ตลอดทั้งปี โดยพิจารณาจากภาวะการตลาด เช่น เทศกาลต่างๆ และพยายามหลีกเลี่ยงการผลิต มิให้ผลผลิตออกมาในช่วงที่เป็นฤดูการผลิตปกติระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาผลิตผลทุเรียนตกต่ำ
๑. การผลิตทุเรียนก่อนฤดู
การผลิตทุเรียนก่อนฤดู ทำได้โดยการฉีดพ่นต้นทุเรียน ด้วยสารแพกโคลบิวทราโซล ความเข้มข้น ๑,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ส่วนต่อล้านส่วน ความเข้มข้นของสารที่ใช้ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของต้นทุเรียน ถ้าต้นมีความสมบูรณ์มาก ซึ่งจะสังเกตได้จากใบแก่มีขนาดใบใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน มีการแตกใบอ่อนมากหลายชั้นใบในช่วงที่ผ่านมา ความยาวข้อระหว่างใบแต่ละชั้นมาก ให้ฉีดพ่นด้วยความเข้มข้นสูง ในการฉีดพ่นต้องใช้สารจับใบทุกครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารแพกโคลบิวทราโซลของพืชให้ดีขึ้น
๒. การผลิตทุเรียนล่า
การผลิตทุเรียนล่า คือ การควบคุมให้ผลทุเรียนสุกแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายฤดู การผลิต เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาผลิตผลตกต่ำ ในช่วงที่ผลผลิตทุเรียนโดยทั่วไปจะออกมาชุก ในระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน (ภาคตะวันออก) หรือระหว่างเดือน กรกฎาคม - สิงหาคม (ภาคใต้) วิธีการผลิตทุเรียนล่าอาจกระทำได้โดย
(ก) ยืดเวลาสุกแก่ของผลที่เกิดจากดอกที่ออกตามฤดูปกติ
(ข) โดยการทำลายดอกรุ่นแรก ด้วยการเด็ดดอกทิ้ง หรือใช้สารเคมี แล้วรักษาดอกรุ่นที่ ๒ หรือรุ่นที่ ๓ ที่ออกตามมาในระยะหลัง
(ค) เลื่อนการออกดอกรุ่นแรกให้ล่ากว่าปกติ โดยวิธีการให้น้ำและปุ๋ยแก่ต้นทุเรียน ในขณะที่สภาพภูมิอากาศเริ่มแล้ง พร้อมจะชักนำการออกดอกตามฤดูกาลปกติ หรืออาจใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช
๓. การผลิตทุเรียนทวาย
ทุเรียนทวาย คือ ทุเรียนที่ทยอยสุกแก่ออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนทวาย โดยใช้หลักการดังนี้
๑) ราดสารแพกโคลบิวทราโซลลงดิน ในอัตรา ๒๐ - ๘๐ กรัม/ต้น ทุเรียนจะทยอยออกดอก ตามกิ่งประเภทต่างๆ ทั้งปี
๒) เลือกกิ่ง เพื่อใช้ในการติดผลตามสภาพความพร้อมของต้น และสภาพความพร้อมของกิ่งประเภทต่างๆ
๓) จัดการปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย น้ำ การอารักขาพืช การผสมเกสร และการตัดแต่งดอก ผล ฯลฯ ตามขั้นตอนของเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้สอดคล้องกับสภาพต้น และความพร้อมด้านต่างๆ ของแต่ละกิ่ง
๔) จากการใช้สารแพกโคลบิวทราโซลราดดิน ต้นทุเรียนจะมีสภาพใบเล็กและข้อสั้นตลอดเวลา ซึ่งสภาพดังกล่าวสามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้โดยการฉีดพ่นสารที่มีส่วนประกอบของไซโตไคนิน (Cytokinin) อยู่ด้วย ๒ - ๓ ครั้ง รวมทั้งการจัดการปัจจัยการผลิตด้านต่างๆควบคู่ไปด้วย เช่น การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ และการอารักขาพืชด้านโรคและแมลง
Relate topics
- เชื้อราเมธาไรเซียม ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ เช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ฯลฯเชื้อราเมธาไรเชียมคุณสมบัติหลักคือใช้กำจัดแมลงเช่นเดียวกันเชื้อราบิวเวอเรีย แต่เชื้อราเมธาไรเซียมมีความสามารถในการกำจัดแมลงได้ดีกว่าเชื้อราบิวเวอร์เรียเนื่องจากคุณสมบัติของเชื้อราเมธาไรเซียมทนอุณภุ
- เทคนิคปลูกแตงกวาระดับเซียน!แตงกวา หรือ แตงร้าน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-4
- เทคนิคทำให้ถั่วฝักยาวออกฝักมากถั่วฝักยาวนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรไทยมาช้านาน การปลูกเพื่อการค้าให้ถั่วฝักยาวมีผลิตที่คุ้มค่านั้นนอกจากการให้ปุ๋ย ให้น้ำ หมั่นกำจัดวัชพืช ให้การดูแลอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังมีเคล็ดลับในการทำ
- เพอร์มาคัลเจอร์ (Permaculture) !!! วิธีปลูกผักที่แทบจะไม่ต้องรดน้ำ ทำครั้งเดียวปลูกได้หลายปีถ้าเราออกแบบระบบการเกษตรให้เหมือนกับรูปแบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราก็จะได้ระบบการเกษตรที่สอดคล้องและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งยังได้ผลิตผลสูงและมีความยั่งยืนมากกว่าระบบที่เห็นธรรมชาติเป็นศัตรูที่ต้อ
- ข้าวโพดหวานสองสี (Bio Color Sweet Corn)ข้าวโพดหวานสองสี จัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Gramineae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. var. saccharata เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว มีจำนวน 8-20 ปล้อง มีขนาดเส้นผ่
- วิธีเพาะเห็ดปลวก (เห็ดโคน) จากจอมปลวก ได้กินทั้งปีวัฏจักรชีวิตของปลวกอีกแง่มุมหนึ่ง ที่สัมพันธ์พึ่งพากับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “เห็ดโคน” ![ คำอธิบายภาพ : 148115014313166400671170766264n ](http://sator4u.com/upload/pics/14811501431316640067
- มารู้จัก ชนิดของข้าวโพดหวานปัจจุบันประเทศไทย ส่งออกข้าวโพดหวานในรูปแบบต่างๆ สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และฮังการี ยอดส่งออก ข้าวโพดหวานของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาโดยตลอด จากปริมาณการส่งออก
- โรคเมอร์ส (MERS) Middle East Respiratory syndromeโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) หรือ โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนา (Coronavirus) ที่มีการศึกษาและรู้จักมายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เป็นตระกูลไวรัสที
- “ทุเรียน” ที่ได้รับขนานนามว่า “King of fruits" หรือ “ราชาแห่งผลไม้” มีดีกว่าที่คิด!!!เมืองไทยของเราไม่ว่าจะฤดูกาลไหน ก็มีของอร่อยๆ มาให้รับประทานกันได้ไม่ขาดปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทุเรียน” ที่ได้รับขนานนามว่า “King of fruits" หรือ “ราชาแห่งผลไม้” เป็นที่นิยมของคนไทยตลอดกาลเลยทีเดียว
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (2) โรคจุดสีน้ำตาล (Brown Spot) โรคจุดสีน้ำต