เทคนิคปลูกแตงกวาระดับเซียน!
แตงกวา หรือ แตงร้าน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-45 วัน แตงกวาสามารถนำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิดเช่น แกงจืด ผัด กินกับน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แตงกวามีรากแก้ว แตกแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถามีขนขึ้นมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร มีหนวดเกาะบริเวณข้อโดยส่วนปลายของหนวดไม่มีการแตกแขนง ใบมีก้านใบยาว 5 – 15 เซนติเมตร ใบหยาบมีขนใบ มีมุมใบ 3 ถึง 5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่มี เส้นใบ 5 – 7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวผู้เป็นดอกเดี่ยว ผลแตงกวามีลักษณะเรียวยาวทรงกระบอก มีใส้ภายในผล ความยาวระหว่างผล 5- 40 เซนติเมตร
ฤดูกาลที่เหมาะสม
แตงกวาเป็นพืชเถาเลื้อย ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือ ให้การเจริญเติบโตทางลำต้นอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน และติดผลในระยะเริ่มฤดูหนาวจะให้ผลผลิตดี ในฤดูร้อนบางช่วงอาจจะพบปัญหาดอกร่วง ทำให้ผลผลิตลดลง สำหรับฤดูหนาว ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส แตงกวาจะมีอาการชะงักการเจริญเติบโต
ประโยชน์
แตงกวามีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 96 จึงมีคุณสมบัติแก้กระหาย และเพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยการกำจัดของเสียตกค้างในร่างกาย นอกจากนี้แตงกวามีสารอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ วิตามินซี กรดคาเฟอิก กรดทั้ง 2 นี้ป้องกันการสะสมน้ำเกินจำเป็นในร่างกาย เปลือกแตงกวามีกากใยอาหาร และแร่ธาตุจำเป็น เช่น ซิลิกา โพแทสเซียม โมลิบดีนัม แมงกานีส และแมกนีเซียม
ซิลิกาเป็นแร่ธาตุที่เสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น และกระดูก ปริมาณ เส้นใย ธาตุโพแทสเซียมและแมงกานีส ในเปลือกแตงกวาช่วยควบคุมความดันเลือดและความ สมดุลของสารอาหารในร่างกาย ธาตุแมกนีเซียมช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และระบบการไหลเวียนโลหิต เส้นใยอาหารควบคุมระดับคอเลสเตอรอล และช่วยระบบขับถ่ายโดยมีพลังงานต่ำเหมาะ กับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ทนทานต่อสารมลพิษอินทรีย์แต่สามารถส่งเสริมการย่อยสลายสารพิษในไรโซสเฟียร์ได้ดี โดยสามารถส่งเสริมการย่อยสลาย เอนโดซัลแฟน ซัลเฟต[4] แอนทราซีนและฟลูออรีนได้
ปลูกโดยใช้เคมี
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโตได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส
แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากแต่ขาดน้ำไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ควรมีความเป็นกรด ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ในสภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัด จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้น ควรจะวิเคราะห์หาค่าความต้องการปูนก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ใน ปริมาณที่เหมาะสม
การเตรียมดิน ก่อนการปลูกแตงกวา ไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออก แล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่ แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป ปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกำหนดระยะระหว่างต้น ประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้นในบางแหล่งอาจใช้ พลาสติกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลงไม่ให้เข้ามาทำลายแตงกวาได้
การเตรียมพันธุ์ ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์ นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปลูกแตงกวา ซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้
การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือ มีการบรรจุหีบห่อ เมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้น หรืออากาศ จากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทำการทดสอบความงอกก่อน
การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 ต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสำหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป
ทำการบ่มเมล็ด โดยนำเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ ผสมอัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อทำลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนำมาแช่น้ำ 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น บ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปเพาะต่อไป
การหยอดเมล็ดลงถุง นำเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จำนวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร
การดูแลรักษากล้า หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว ให้น้ำทันที โดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปริมาณน้ำที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อน ควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้น้ำทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระ ทบต้นกล้ามากเกินเกินไปเมื่อแตงกวา เริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกำจัดโดยเร็ว และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ จะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก
การปลูกโดยไม่ใช้ค้าง
การปลูกโดยใช้ค้าง สำหรับแตงกวาบางชนิด
การปลูก วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น
สำหรับการย้ายกล้าปลูกนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวด ล้อมได้ดียิ่งขึ้น
การให้น้ำ หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้
การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้
ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่
หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร พรวนดิน
โรคและแมลง ที่สำคัญ
1) โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า “โรคใบลาย”
เชื้อสาเหตุ : Peronospora cubensis
ลักษณะอาการ :
เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ
แผลลามไปทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกน้ำค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทำให้มีความชื้นสูง
ในบริเวณปลูก จะพบว่าใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดำ
การป้องกันกำจัด :
คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน
หรือริโดมิลเอ็มแซดก่อนปลูกหรือจะนำเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายน้ำเจือจางเป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้
เมื่อมีโรคระบาดในแปลงและในช่วงนั้นมีหมอกและน้ำค้างมาก ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ยาไซเนบ มาเนบ
ไม่ควรใช้ยาเบนโนมิล หรือยาเบนเลท เพราะไม่สามารถกำจัดโรคนี้ได้ ซึ่งควรฉีด Curzate M8, Antrachor
สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ ต้นที่เป็นโรคให้ตัดใบและกำจัดต้นที่เป็นโรคออกไปทำลายโดยการเผา
2) โรคใบด่าง (Mosaic)
เชื้อสาเหตุ : Cucumber mosaic virus
ลักษณะอาการ :
ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบตะปุ่มตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ
ใบหงิกเสียรูปร่าง ยอดที่แตกใหม่จะมีสีซีดและอาการ่างมากขึ้น ใบจะมีขนาดเล็ดลง มีรูปร่างผิดปกติ
ติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
การป้องกันกำจัด :
ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส
อาจทำได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทำความสะอาดแปลงปลูกพร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้
สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและแมลงพาหะ การติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วเพราะมีการปลูกที่ระยะใกล้กันมาก
แมลงจะเป็นพาหะนำเชื้อนี้จึงควรป้องกันด้วยการไม่ปลูกชิดกันจนเกินไป
เมื่อพบต้นที่แสดงอาการให้รีบถอนแยกเสียทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นอันขาด
3) โรคผลเน่า (Fruit rot)
เชื้อสาเหตุ : Pythium spp., Rhizoctonia solani, Botrytis cinerea
ลักษณะอาการ :
มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทำให้เกิดแผลก่อน จะพบมากในสภาพที่เย็นและชื้น
กรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉ่ำน้ำเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุม
กรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ๊อกโทเนียจะเป็นแผลเน่าฉ่ำน้ำบริเวณผิวของผลที่สัมผัสดิน
แผลจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้น บริเวณส่วนปลายของผลที่เน่า
จะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
การป้องกันกำจัด :
ทำลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล
4) โรคราแป้ง (Powdery mildew)
เชื้อสาเหตุ : Oidium sp.
ลักษณะอาการ :
มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่เป็นหย่อม ๆ กระจายทั่วไป
เมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
มักพบการระบาดในสภาพที่มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสัมพัทธ์ภายในอากาศต่ำ
การป้องกันกำจัด :
ควรป้องกันก่อนการระบาด ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเขื้อราในกลุ่มของ ไดโนแคป ในอัตรา 30 กรัม / น้ำ
20 ลิตรเมื่อพบอาการเริ่มแรก หลังจากนั้นฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน หรือฉีดพ่นด้วยสารละลายกำมะถัน ในอัตรา 30 กรัม / น้ำ 20
ลิตร แต่ต้องพ่นในเวลาเย็นหรืออากาศไม่ร้อน เป็นต้น หรือเมื่อว่ามีการระบาดควรฉีดพ่นด้วย เบนเลท เดอโรซาล
Diametan หรือ Sumilex
5) เพลี้ยไฟ (Thrips: Haplothrips floricola)
ลักษณะ :
เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอก และผลอ่อน
การทำลาย :
ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทาง
ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา
การป้องกันกำจัด : ให้น้ำเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก โดยให้น้ำเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น
จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้
ใช้สารฆ่าแมลง : คาร์โบฟูราน ได้แก่ ฟูราดาน 3 จี หรือ คูราแทร์ 3 จี 1 ช้อนชาต่อหลุม ใส่พร้อมกับการหยอดเมล็ด
จะป้องกันได้ประมาณ 2 สัปดาห์ กรณีที่เริ่มมีการระบาดให้ใช้สารฆ่าแมลง พวก โมโนโครโตฟอส เมทโธมิล อะบาเม็กติน
ฟอร์มีทาเนท พอสซ์เมซูโรล แลนเนท ไดคาร์โซล ออลคอล อะโซดริน โตกุไทออน หรือทามารอน ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน
เป็นต้น
6) เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii)
ลักษณะ :
เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลำตัว 2 ท่อน
เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเหลืองอมเขียว รูปร่างคล้ายรูปไข่ มีปากยื่นยาวไปใต้ส่วนอก
เมื่อโตขึ้นจะมีสีคล้ำเป็นสีเขียวอมเทา ตัวแก่สีดำและมีปีกบินได้ ระยะตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้ใช้เวลา 5-41 วัน
ตลอดชีวิตตัวเต็มวัยตัวหนึ่งๆสามารถออกลูกได้ 15-450 ตัว
การทำลาย :
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนำไวรัสด้วย
มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ โดยมีมดเป็นตัวนำหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่
บริเวณที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายจะค่อยๆมีสีเหลืองจนในที่สุดจะมีสีเหลืองซีดและหลุดร่วงหล่นจากต้น
การเจริญเติบโตของพืชจะหยุดชะงัก
นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนของพืชที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายอาจมีราดำเกิดขึ้นและเมื่อราดำระบาดมากๆปกคลุมส่วนยอดและใบ
อ่อนก็จะทำให้กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชดำเนินไปได้ยาก มีผลทำให้การเจริญเติบโตของพืชไม่เป็นไปตามปกติ
การป้องกันกำจัด : ถ้าพบต้นที่มีเพลี้ยอ่อนระบาดทำลายให้ถอนแล้วนำไปทำลายโดยการเผาไฟ
ถ้าระบาดมากอาจใช้ยาป้องกันกำจัดมลงฉีดพ่น ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเช่นเดียวกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
7) ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.)
ลักษณะ : ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
การทำลาย :
ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทำให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทำลายร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน
มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ
การป้องกันกำจัด : ใช้สารเคมีกำจัดไร ได้แก่ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์ เป็นต้น
8) เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills) และ เต่าแตงดำ (Black cucurbit beetle: A. frontalis)
ลักษณะ :
เป็นแมลงปีกแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดำเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม.
อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนา หรือตามกอหญ้า
การทำลาย :
กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโต
ทำให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้น ตัวหนอนกัดกินราก
การป้องกันกำจัด:
ควรทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน
คาร์โบน๊อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน 3 จี หรือคูราแทร์ 3 จี
ใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ 2 สัปดาห์
9) หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring caterpillar : Helicoverpa armigera)
ลักษณะ :
หนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมีเส้นแถบสีขาวตามยาว 2
เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมีขนาดใหญ่กว่า
ลำตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลดำ มีรอยต่อปล้องชัดเจน
การทำลาย : กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผลและเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทำลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า
การป้องกันกำจัด : ใช้สารเคมี เช่น อโซดริน แลนเนท ทามารอน โตกุไทออน บุก หรือ อะโกรน่า เป็นต้น
ปลูกแบบอินทรีย์ หรือ ไม่ใช้สารเคมี
การผลิตพืชอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตพืชที่พื้นที่ที่ใช้ในการผลิตนั้นไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่มีการใช้ปัจจัยการผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์ พันธุ์พืชตัดแต่งพันธุกรรม เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติหมุนเวียนในไร่นา รวมถึงการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสดีต่อประเทศไทย เพราะว่ายังมีการใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมี ทั้งปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอยู่ในอัตราต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทำให้มีศักยภาพในการผลิตพืชอินทรีย์ แต่การขยายตัวของเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยเป็นไปค่อนข้างช้ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ที่เป็นผู้นำการเกษตรที่ใช้สารเคมีการเกษตรแต่ขณะนี้ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการเกษตรอินทรีย์ที่ก้าวหน้า เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป และออสเตรเลีย ฯลฯ ทั้งๆ ที่ประเทศดังกล่าวน่าจะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงเสียดทาน และต่อต้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์มากกว่าประเทศไทย เนื่องจากมีบริษัทที่ผลิตสารเคมีการเกษตร ซึ่งมีผลประโยชน์มากมายอยู่ในประเทศต่างๆ ดังกล่าว สาเหตุที่เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยพัฒนาไปได้ช้ามาก ส่วนหนึ่งเกิดจากตัวเกษตรกรเองที่เคยชินกับการใช้สารเคมีทางการเกษตร ด้วยเกรงว่าหากจะผลิตแล้วผลผลิตอาจจะลดลงส่งผลให้รายได้ลดลง รวมทั้งการค้นคว้าวิจัยการเกษตรของประเทศไทยที่ผ่านมา ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของเทคโนโลยีการเกษตรแบบแยกส่วน เน้นการเพิ่มผลผลิตแบบใช้ปัจจัยที่ได้จากการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ เนื่องจากการปรับเปลี่ยนสู่ระบบอินทรีย์ในระยะแรก ผลผลิตของพืชจะลดลง
การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเขตกรรม โดยศึกษาระยะปลูก และการจัดการต้นเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพในการผลิตแตงกวาอินทรีย์ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตของพืชได้ โดยทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษก่อน หลังจากนั้นนำผลการทดลองที่ได้ผลดีไปทดสอบในไร่เกษตรกรที่มีการผลิตพืชในระบบอินทรีย์ โดยใช้วิธีการผลิตแตงกวาอินทรีย์ของเกษตรกรเป็นวิธีการเปรียบเทียบ เพื่อทดสอบหาวิธีที่เหมาะสม และจะได้นำเทคโนโลยีที่ได้รับไปถ่ายทอดสู่เกษตรกรผู้สนใจต่อไป การผลิตแตงกวาอินทรีย์ โดยใช้เมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสม ทำการทดลอง 2 ฤดูกาล คือ ในฤดูหนาวและฤดูฝน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 - กันยายน 2552 ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี
ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ปี 2549 - 2550 ประกอบด้วยวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้
วิธีที่ 1 คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.3x0.8 ม.+2 ต้น/หลุม
วิธีที่ 2 คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.3x0.8 ม.+1 ต้น/หลุม
วิธีที่ 3 คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.5x0.8 ม.+2 ต้น/หลุม
วิธีที่ 4 คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.5x0.8 ม.+1 ต้น/หลุม
วิธีที่ 5 ไม่คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.3x0.8 ม.+2 ต้น/หลุม
วิธีที่ 6 ไม่คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.3x0.8 ม.+1 ต้น/หลุม
วิธีที่ 7 ไม่คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.5x0.8 ม.+2 ต้น/หลุม
วิธีที่ 8 ไม่คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.5x0.8 ม.+1 ต้น/หลุม
ทำการทดลองที่ไร่เกษตรกร จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2551 – 2552 ประกอบด้วยวิธีการ ดังนี้
วิธีที่ 1 คลุมแปลง ระยะปลูก 0.30 x 0.80 เมตร (ระยะต้น x ระยะแถว) ปลูก 2 ต้นต่อหลุม เป็นวิธีแนะนำ
วิธีที่ 2 คลุมแปลง ระยะปลูก 0.50 x 0.75 เมตร ปลูก 3 ต้นต่อหลุม เป็นวิธีเปรียบเทียบ
การปลูก จะปลูกแถวคู่ แบบหยอดเมล็ดในแปลง และไม่ทำค้าง
การเตรียมแปลงปลูก ใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ได้แก่
ปุ๋ยมูลไก่ไข่ อัตรา 2 ตัน/ไร่ * พื้นที่แปลงขนาด 1x 10 เมตร ใช้ 12.5 กก.
ปุ๋ยมูลค้างคาว อัตรา 100 กก./ไร่
ปูนโดโลไมท์ อัตรา 200 กก./ไร่
หินภูเขาไฟ อัตรา 20 กก./ไร่
เชื้อไตรโคเดอร์มา อัตรา 50 กรัม/หลุม
หลังปลูก 1 เดือน ใส่ ปุ๋ยมูลไก่ไข่ อัตรา 1 ตัน/ไร่
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง พ่นเชื้อบาซิลลัส ซับติลิส เพื่อป้องกันโรคทางใบ พ่นเชื้อบาซิลลัส ทูริงเยนซิส เมื่อพบการระบาดของหนอน
ตารางแสดงผลผลิต (ตัน/ไร่)
สรุปผลการทดลองการปลูกแตงกวาอินทรีย์
การคลุมแปลงด้วยฟางข้าว ให้ผลผลิตรวมทั้งหมดของแตงกวาสูงกว่าการไม่คลุมแปลงสถิติ และให้ผลผลิตที่ได้มาตรฐานสูงกว่าการไม่คลุมแปลง การคลุมแปลงด้วยฟางข้าวโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว จะช่วยรักษาความชื้นในดินได้เป็นอย่างดี ส่วนในฤดูฝนการคลุมแปลงและไม่คลุมแปลงให้ผลผลิตแตงกวาไม่แตกต่าง แต่มีแนวโน้มว่า การคลุมแปลงให้ผลผลิตสูงกว่าไม่คลุมแปลงตามค่าเฉลี่ย ดังนั้น การปลูกแตงกวาอินทรีย์ในช่วงฤดูฝน ไม่มีความจำเป็นต้องคลุมแปลงปลูก เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทั้งค่าฟางข้าวและแรงงาน
จำนวนต้นต่อหลุม ในฤดูหนาว ระยะปลูกที่เท่ากัน การปลูก 2 ต้นต่อหลุม ให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูก 1 ต้นต่อหลุม สำหรับในช่วงฤดูฝน จำนวนต้นต่อหลุมไม่มีผลต่อผลผลิตของแตงกวา ดังนั้น การปลูกแตงกวาอินทรีย์ในช่วงฤดูฝน สามารถลดจำนวนต้นต่อหลุม เพื่อลดต้นทุนการผลิตของค่าเมล็ดพันธุ์
ระยะปลูก พบว่า ในจำนวนต้นที่เท่ากัน ทั้งคลุมแปลงและไม่คลุมแปลง และในทุกช่วงฤดูกาลผลิต การปลูกระยะระหว่างต้น 0.3 เมตร ให้ผลผลิตสูงกว่า ระยะระหว่างต้น 0.5 เมตร
การผลิตแตงกวาอินทรีย์ในไร่เกษตรกร ในฤดูหนาว ถ้าเกษตรกรไม่สามารถดูแลรักษาแปลง โดยเฉพาะการให้น้ำเพื่อรักษาความชื้นในดินได้เพียงพอ การปลูกแตงกวาในระยะชิดอาจไม่เหมาะสม แต่การปลูกวิธีแนะนำ โดยใช้ระยะปลูก 0.30 x 0.80 เมตร และปลูก 2 ต้นต่อหลุม มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง ให้รายได้และผลตอบแทนต่อปีสูงที่สุด ในการผลิตแตงกวาอินทรีย์ ดินจะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น มีปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน เปอร์เซ็นต์โพแทสเซียมในรูปที่เป็นประโยชน์ และเปอร์เซ็นต์ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น
ขอขอบคุณ @ chilliseedsthailand , wikipedia , thongthaiseeds , ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ , รูป @ yimwanorganichouse
Relate topics
- เชื้อราเมธาไรเซียม ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ เช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ฯลฯเชื้อราเมธาไรเชียมคุณสมบัติหลักคือใช้กำจัดแมลงเช่นเดียวกันเชื้อราบิวเวอเรีย แต่เชื้อราเมธาไรเซียมมีความสามารถในการกำจัดแมลงได้ดีกว่าเชื้อราบิวเวอร์เรียเนื่องจากคุณสมบัติของเชื้อราเมธาไรเซียมทนอุณภุ
- เทคนิคทำให้ถั่วฝักยาวออกฝักมากถั่วฝักยาวนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรไทยมาช้านาน การปลูกเพื่อการค้าให้ถั่วฝักยาวมีผลิตที่คุ้มค่านั้นนอกจากการให้ปุ๋ย ให้น้ำ หมั่นกำจัดวัชพืช ให้การดูแลอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังมีเคล็ดลับในการทำ
- เพอร์มาคัลเจอร์ (Permaculture) !!! วิธีปลูกผักที่แทบจะไม่ต้องรดน้ำ ทำครั้งเดียวปลูกได้หลายปีถ้าเราออกแบบระบบการเกษตรให้เหมือนกับรูปแบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราก็จะได้ระบบการเกษตรที่สอดคล้องและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งยังได้ผลิตผลสูงและมีความยั่งยืนมากกว่าระบบที่เห็นธรรมชาติเป็นศัตรูที่ต้อ
- ข้าวโพดหวานสองสี (Bio Color Sweet Corn)ข้าวโพดหวานสองสี จัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Gramineae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. var. saccharata เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว มีจำนวน 8-20 ปล้อง มีขนาดเส้นผ่
- วิธีเพาะเห็ดปลวก (เห็ดโคน) จากจอมปลวก ได้กินทั้งปีวัฏจักรชีวิตของปลวกอีกแง่มุมหนึ่ง ที่สัมพันธ์พึ่งพากับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “เห็ดโคน” ![ คำอธิบายภาพ : 148115014313166400671170766264n ](http://sator4u.com/upload/pics/14811501431316640067
- มารู้จัก ชนิดของข้าวโพดหวานปัจจุบันประเทศไทย ส่งออกข้าวโพดหวานในรูปแบบต่างๆ สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และฮังการี ยอดส่งออก ข้าวโพดหวานของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาโดยตลอด จากปริมาณการส่งออก
- ฤดูการผลิตทุเรียนของประเทศไทยในอดีต ประเทศไทยสามารถผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ ๔ เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ผลิตได้ในภาคตะวันออก แล้วต่อช่วงฤดูการผลิตโดยผลผลิตจากภาคใต้ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิ
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (2) โรคจุดสีน้ำตาล (Brown Spot) โรคจุดสีน้ำต
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (1) โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย (Corn Downy Mildew)
- การปลูกข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) ให้มีคุณภาพ การป้องกันโรคต่างๆ การดูแลอย่างถูกต้อง ข้าวโพดหวาน อยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียว