สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

เมนูเด็ด!!! สำหรับพืชผักในช่วงหน้าฝน ได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ต้องกังวลเรื่องสารพัด "โรคเชื้อรา" มากวนใจ

ฤดูฝน นอกจากจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ และการเริ่มตนชีวิตของพืชหลากหลายชนิดแลว ยังเปนฤดูที่นำมาซึ่งการระบาดโรคหลากหลายชนิดที่มาพร้อมกับสายฝนอันชุ่มฉ่ำอีกด้วย บ้านผักยิ้มหวานฯ ขอนำเสนอ เมนูเด็ด! สำหรับพืชผักในช่วงหน้าฝน ได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ต้องกังวลเรื่องสารพัดโรคกวนใจอีกต่อไป


 คำอธิบายภาพ : pic557718d858ba7


โดยการนำหัวเชื้อราเขียวไตรโคเดอร์ม่า (ป่นผง) 300 กรัม และ มูลไก่แกลบ (บ่มไว้ 1 เดือน) 1 กระสอบ (25 กิโลกรัม) ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วราดน้ำหมักฮอร์โมนไข่+ไคโตซาน 30 ซีซีผสมน้ำ 10 ลิตร ทำการผสมให้เข้ากันจนมีความชื้นประมาณ 35% (โดยทดลองกำดู) หลังจากนั้นสามารถนำไปรองก้นหลุม หรือหากต้องการให้เชื้อราฯขยายตัวดี ให้นำไปบ่มเอาไว้ 3-7 วัน ก็สามารถนำมาใส่ผัก หรือใส่ต้นไม้ได้ จุลินทรีย์ในน้ำหมักช่วยย่อยและให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตและสร้างภูมิกันโรค ส่วนเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคของพืช ทั้งพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด


 คำอธิบายภาพ : pic55771bcf52606

 คำอธิบายภาพ : pic55771bcf52d3c

 คำอธิบายภาพ : pic55771bcf53492

โดยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าป้องกันและยับยั้งการเกิดเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium spp.) โรคก้นเน่าหอมแบ่ง , โรคเหี่ยวของพืช - ผัก ตระกูลแตง ไม้ดอก ไม้ประดับ , โรครากเน่า - โคนเน่า ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว โรคกล้าไหม้ เชื้อราสเคลอโรเทียม (Sclerotium rolfsii ) โรครากเน่าของพืชผัก , โรคราเมล็ดผักกาด มะเขือเทศ เชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) โรคเน่าคอดินของพืชผัก และต้นกล้า , โรคยอดเน่าของต้นกล้า , โรคฝักเน่าพืชตระกูลถั่ว และโรคผลเน่าพืชผักตระกูลแตง เชื้อราไรซ็อกโทเนีย (Rhizoctonia solani ) โรคหัวเน่า ต้นเน่ามันฝรั่ง และพืชผัก เช่น พริก มะเขือ แตง , โรคเน่าคอดินพืชผัก ไม้ผล , โรครากเน่า , โรคแคงเกอร์บนลำต้น เชื้อราไฟท็อปธอร่า (Phytopthora spp.) โรครากเน่า - โคนเน่าของส้ม ทุเรียน ทั้งโรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น โรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน (โรคกล้ายุบ) รากเน่า หัวหรือแง่งเน่า และโคนเน่า เป็นต้น โรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่เหนือดินไม่ว่าจะเป็นส่วนของ กิ่ง ผล ใบ หรือดอก เช่น โรคลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่ง โรคแคงเกอร์ของมะนาว โรคราดำของมะเขือเทศ โรคใบปื้นเหลืองและโรคดอกสนิมของกล้วยไม้ โรคแอนแทรคโนสของมะม่วงและพริกทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต


นอกจากนี้ยังสามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่าของพืชผักสลัดและผักกินใบต่างๆที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร (ระบบไฮโดรโพนิกส์) และจากผลการวิจัยพบว่าการแช่เมล็ดข้าวเปลือกก่อนใช้หว่านลงในนาข้าว ช่วยลดการเกิดโรคเมล็ดด่าง เมล็ดลีบ ของข้าวที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราหลายชนิด ตลอดจนช่วยเพิ่มความสมบูรณ์และน้ำหนักเมล็ด และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ด้วยครับ


Posted by    Yim-Wan Organic House on 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 6782
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง