มวนแดงฝ้าย (Red Cotton Stainer Bug) ...ดูสวยสด แต่พิษสงร้ายกาจเชียว
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากสมอเมื่อสมอยังอ่อนทำให้สมอร่วง แคระแกร็นหรือแตกก่อนกำหนด และอาจจะนำเชื้อรามาสู่สมอฝ้ายที่ยังไม่แตกปุย
มวนแดงฝ้าย (Red Cotton Bug หรือ Cotton Stainer Bug)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Dysdercus cingulatus Fabricius
ชื่อสามัญ : Cotton stainer, Red cotton bug, Red cotton steiner, มวนแดง (Red Bug)
ชื่อท้องถิ่น ชื่อไทย : มวนแดงฝ้าย, มวนแดง, แมงนุ่น (ภาคใต้)
รูปร่าง/ลักษณะ ขนาด : ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 15 มม. สี: ไข่สีขาวคล้ายสีครีม ตัวเต็มวัยหัวสีแดง อกสีส้ม พื้นผิว: ตัวเต็มวัยมีเส้นสีขาวพาดตามขางระหว่างอกกับหัว สามเหลี่ยมสันหลังดำ ปีกส่วนแข็งสีส้ม ปีกส่วนบางสีดำและมีจุดดำค่อนข้างกลมบนส่วนแข็งของปีกข้างละจุด หนวดและขาสีดำ ด้านล่างของลำตัวมีสีแดงปนส้ม มีเส้นสีขาวพาดตามขวางหลายเส้นตลอดลำตัว อาหาร: ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากตา ยอด ใบอ่อน สมอฝ้าย และเมล็ดของฝ้าย นุ่น มะเขือมอญ กะหล่ำปลี น้ำเต้า กระเจี๊ยบ การให้ลูก: วางไข่เป็นกระจุกบนผิวหรือใต้ผิวดินเล็กน้อย หรือตามเศษหญ้าต่างๆ ไข่มีจำนวน 80-100 ฟอง, ตัวเต็มวัยจะวางไข่ไว้ตามผิวดินหรือเศษขยะ ไข่จะอยู่เป็นกลุ่ม ความยืนยาวของชีวิต: ระยะไข่ 6 วัน, ตัวอ่อนลอกคราบ 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 6-10 วัน, วงจรชีวิตจากไข่-ตัวเต็มวัยประมาณ 7 สัปดาห์, เป็นมวนตัวค่อนข้างโต ตัวเต็มวัยมีลักษณะลำตัวยาวประมาณ 15 มม. กว้าง 4.5 มม. หัวสีแดง ปีกแข็ง ส่วนหน้าสีส้ม มีจุดดำตรงกึ่งกลางข้างละจุด ส่วนปลายสีดำ ท้องสีแดงพาดขาว ตัวเต็มวัยจะวางไข่ไว้ตามผิวดินหรือเศษขยะ ไข่จะอยู่เป็นกลุ่ม ตัวอ่อนที่ฟักออกมาใหม่ๆ จะมีสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีส้ม
ลักษณะการเข้าทำลายต้นพืช : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากสมอเมื่อสมอยังอ่อนทำให้สมอร่วง แคระแกร็นหรือแตกก่อนกำหนด และอาจจะนำเชื้อรามาสู่สมอฝ้ายที่ยังไม่แตกปุย ทำให้เส้นใยสกปรกและคุณภาพเส้นใยไม่ดี นอกจากนั้นยังกัดกินเมล็ดทำให้เมล็ดฝ้ายเสื่อมคุณภาพในด้านความงอก หรือถ้านำไปสกัดน้ำมันก็จะสูญเสียทั้งปริมาณและคุณภาพน้ำมัน
ศัตรูธรรมชาติ : ศัตรูธรรมชาติของมวนชนิดนี้ เป็นตัวห้ำที่อยู่ในดิน เช่น ด้วง Carabid มวน reduviid และแตนเบียน Tachinid
Relate topics
- เชื้อราเมธาไรเซียม ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ เช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ฯลฯเชื้อราเมธาไรเชียมคุณสมบัติหลักคือใช้กำจัดแมลงเช่นเดียวกันเชื้อราบิวเวอเรีย แต่เชื้อราเมธาไรเซียมมีความสามารถในการกำจัดแมลงได้ดีกว่าเชื้อราบิวเวอร์เรียเนื่องจากคุณสมบัติของเชื้อราเมธาไรเซียมทนอุณภุ
- เทคนิคปลูกแตงกวาระดับเซียน!แตงกวา หรือ แตงร้าน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-4
- เทคนิคทำให้ถั่วฝักยาวออกฝักมากถั่วฝักยาวนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรไทยมาช้านาน การปลูกเพื่อการค้าให้ถั่วฝักยาวมีผลิตที่คุ้มค่านั้นนอกจากการให้ปุ๋ย ให้น้ำ หมั่นกำจัดวัชพืช ให้การดูแลอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังมีเคล็ดลับในการทำ
- เพอร์มาคัลเจอร์ (Permaculture) !!! วิธีปลูกผักที่แทบจะไม่ต้องรดน้ำ ทำครั้งเดียวปลูกได้หลายปีถ้าเราออกแบบระบบการเกษตรให้เหมือนกับรูปแบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราก็จะได้ระบบการเกษตรที่สอดคล้องและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งยังได้ผลิตผลสูงและมีความยั่งยืนมากกว่าระบบที่เห็นธรรมชาติเป็นศัตรูที่ต้อ
- เผาแกลบให้เป็นเงิน โดยใช้เตาขนาด 200 ลิตรกรรมวิธีการเผาแกลบให้เป็นขี้เถ้าแกลบโดยใช้ถังขนาด 200 ลิตร ซึ่งเป็นขบวนการที่ง่าย ได้ขี้เถ้าแกลบที่เป็นแกลบกัมมันหรือแอคติเวเต็ดคาร์บอน มีน้ำหนักเบา รูพรุนมาก สามารถนำมาเป็นถ่านอัดแท่งพลังงานสู
- ข้าวโพดหวานสองสี (Bio Color Sweet Corn)ข้าวโพดหวานสองสี จัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Gramineae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. var. saccharata เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว มีจำนวน 8-20 ปล้อง มีขนาดเส้นผ่
- วิธีเพาะเห็ดปลวก (เห็ดโคน) จากจอมปลวก ได้กินทั้งปีวัฏจักรชีวิตของปลวกอีกแง่มุมหนึ่ง ที่สัมพันธ์พึ่งพากับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “เห็ดโคน” ![ คำอธิบายภาพ : 148115014313166400671170766264n ](http://sator4u.com/upload/pics/14811501431316640067
- มารู้จัก ชนิดของข้าวโพดหวานปัจจุบันประเทศไทย ส่งออกข้าวโพดหวานในรูปแบบต่างๆ สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และฮังการี ยอดส่งออก ข้าวโพดหวานของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาโดยตลอด จากปริมาณการส่งออก
- ฤดูการผลิตทุเรียนของประเทศไทยในอดีต ประเทศไทยสามารถผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ ๔ เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ผลิตได้ในภาคตะวันออก แล้วต่อช่วงฤดูการผลิตโดยผลผลิตจากภาคใต้ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิ
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (2) โรคจุดสีน้ำตาล (Brown Spot) โรคจุดสีน้ำต