ไตรโคเดอร์ม่า เชื้อรามหัศจรรย์ ผู้พิทักษ์พืชผักผลไม้ตัวจริง !!!
เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิตปฏิชีวนสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรค
ไตรโคเดอร์ม่า เป็นเชื้อราปฎิปักษ์ที่สามารถควบคุมเชื้อรา ไฟท๊อปธอร่า เชื้อสเคลอโรเทียม พิเทียม ไรซ็อคโทเนีย และฟิวซาเรียม ที่เป็นสาเหตุท าให้เกิดโรครากเน่า-โคนเน่า โรคเน่าคอดิน และโรคเหี่ยว ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าจะเข้าท าลาย เส้นใยเชื้อราไฟท๊อปธอร่าด้วยการพันรัดหรือแทงเข้าไปภายในเส้นใยของเชื้อราไฟท๊อปธอร่า ทำให้เส้นใยเชื้อราไฟท๊อปธอร่าเหี่ยวแฟบแล้ว สลายตัวไปในที่สุด หรือเพื่อการมีชีวิตของเชื้อโรคพืช กลไกการควบคุมโรคของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า มีกลไกการควบคุมเชื้อโรคพืช โดย
1.) เป็นปาราสิตและแข่งขันการใช้แหล่งอาหารและปัจจัยต่าง ๆ ของเชื้อโรคพืช
2.) เส้นใยของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พันรัดรอบเส้นใยของเชื้อโรคและอาจแทงเข้าสู่เส้นใยของเชื้อโรคพืช เส้นใยเชื้อโรคพืชที่ถูกพันรัดจะเกิดช่องว่างหรือเหี่ยวแฟบแล้วสลายตัวไปในที่สุด
3.) เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าบางชนิดผลิตเอนไซม์ ทำให้เกิดการเหี่ยวสลายของเส้นใยเชื้อโรคพืช
ชนิดของพืชที่เหมาะสำหรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคพืช โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคได้แบ่งออกเป็น
1.) ไม้ผล
โรคไม้ผลที่เกิดจากเชื้อรา ไฟท็อปธอร่า เกิดอาหารโรครากเน่า โคนเน่า ในทุเรียนและส้ม ควบคุมโรคได้โดยใช้เชื้อราไตรโค
เดอร์ม่า พร้อมส่วนผสมรองก้นหลุมก่อนปลูกหรือโรยรอบโคนต้นตามรัศมีทรงพุ่มไม้ผล
2.) พืชไร่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ยาสูบ หม่อน มันส าปะหลัง ฝ้าย ที่เกิดอาการโรคยอดเน่าของต้นกล้า โรครากเน่า - โคนเน่า โรคโคนและต้นเน่า โรคเน่าคอดิน ควบคุมโรคโดยการโรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พร้อมส่วนผสมรอบโคนต้นพืช หรือคลุกเมล็ดในพืชบางชนิด เช่น ฝ้ายก่อนน าไปปลูก
3.)พืชผัก - พืชสวน
มะเขือเทศ พริก มะเขือเปราะ แตง กระเจี๊ยบ ถั่วฝักยาว หอมใญ่ เกิดอาการ โรคราเมล็ดผักกาด โรคเหี่ยว รากเน่า - โคนเน่า เน่าคอดิน ควบคุมโรคโดยการโรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พร้อมส่วนผสมรอบโคนต้นหรือคลุกเมล็ดก่อนปลูก 4. ไม้ดอกไม้ประดับ มะลิ ซ่อนกลิ่น โป๊ยเซียน เยอบีร่า กล้วยไม้พันธุ์ Mokara เกิดอาการโรคเหี่ยว ควบคุมโดยโรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พร้อมส่วนผสมโรยรอบโคนต้น
ิวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
1.) นำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่เจริญบนเมล็ดข้าวฟ่างผสมกับรำและปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกตาม อัตราส่วนดังนี้ เชื้อรา 1 กก. + ร า 4 กก. + ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 100 กก. คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน นำไปหว่านในแปลงหรือรองก้นหลุม
2.) นำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่เจริญบนเมล็ดข้าวฟ่าง 1 กิโลกรัมผสมกับน้ า 200 ลิตร ฉีดพ่นรอบ ๆ ทรงพุ่ม และโคนต้น การควบคุมโรคข้าวด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า การควบคุมโรคข้าวควรเริ่มต้นจากการปลูกข้าวด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สมบูรณ์เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง การแช่เมล็ดข้าวเปลือกในน้ำ 1 คืน ก่อนนำไปแช่ในน้ำชื้อสดของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ได้จากการใช้เชื้อสด 1 กิโลกรัม (หรือเชื้อชนิดน้ า 1 ลิตร) ผสมน้ า 100 ลิตร ยกถุงเมล็ดพันธุ์ข้าวให้สะเด็ดน้ าเชื้อก่อนน าไปบ่มในสภาพชื้น (หุ้มข้าว)
เพื่อให้เมล็ดงอก วิธีนี้จะช่วยให้ได้กล้าข้าวที่สมบูรณ์แข็งแรง เมื่อนำไปหว่านในข้าว เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะช่วยปกป้องรากข้าวจากการเข้าท าลายของเชื้อรา และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกล้าข้าวได้ด้วย ในระยะข้าวเริ่มแตกกอ การปล่อยเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปตามน้ าที่สูบเข้านา เป็นวิธีที่สะดวกอัตราของเชื้อที่ใช้คือ 2 กิโลกรัมต่อไร่ (หรือเชื้อชนิดน้ำ 2 ลิตร) จำนวน 1 – 2 ครั้ง โดยนำเชื้อสดผสมน้ำในถังแล้วกวนให้เชื้อหลุดจากเมล็ดข้าว ก่อนจะตักหรือเทตรงบริเวณที่น้ำออกจากปากท่อ ขณะที่สูบน้ าเข้านา เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะแพร่กระจายไปทั่วทั้งพื้นที่ ช่วยป้องกันเชื้อราที่เกิดกับกอข้าว เช่น โรคกาบใบแห้ง เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา จะมีน้ำหนักเบาและลอยไปตามผิวน้้ำได้เช่นเดียวกับส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุโรคกาบใบแห้ง เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะยับยั้งเชื้อโรคไม่ให้สามารเจริญและเข้าทำลายได้ทำให้การเกิดโรคกาบใบแห้งลดลง ในระหว่างที่ข้าวกำลังเจริญเติบโตจนถึงระยะตั้งท้อง การฉีดพ่นข้าวด้วยน้ าเชื้อสด ทุก 10 – 15 วัน ด้วยอัตราเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด 1 กิโลกรัม (หรือเชื้อชนิดน้ำ 1 ลิตร) ต่อน้ำ 200 ลิตร (ผสมน้ำยาจับใบ) จะช่วยป้องกันโรคใบจุด ใบไหม้ ที่เกิดจากเชื้อราชนิดต่าง ๆ ได้ช่วยให้ต้นข้าวมีความแข็งแรง สามารถออกรวงได้ตามปกติ การพ่นน้ าเชื้อสดอัตราเดียวกัน หลังจากข้าวตั้งท้องจนถึงข้าวเริ่มออกรวง อีก 1-2 ครั้ง เป็นช่วงที่ส าคัญควรพ่นเชื้อสดจะช่วยป้องกันการ
เกิดโรคใบจุด และโรคเมล็ดด่าง ซึ่งเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคหลายชนิด ทำให้ได้เมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ช่วยเพิ่มน้ าหนักของผลผลิตโดยรวมได้
ข้อควรระวัง : ฟางข้าวที่ได้จากนา
ข้าวที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ไม่ควรนำไปใช้ในการเพาะเห็ดใดๆ เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ติดอยู่กับฟางข้าวจะแย่งอาหารจากกองเห็ด แล้วเจริญอย่างรวดเร็วทำให้เห็ดเจริญไม่ดีเท่าที่ควร แต่การกระจายฟางเหล่านี้กลับสู่แปลงนา หรือการนำไปใช้คลุมแปลงปลูกผัก จะเกิดประโยชน์อย่างมากเพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มา จะช่วยทำลายเชื้อสาเหตุโรคพืชในนาหรือแปลงผักจนมีปริมาณลดลงได้
ลักษณะของเชื้อ
เป็นเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์หรือเป็นศัตรูต่อเชื้อราสาเหตุโรครากเน่า - โคนเน่า ของพืชหลายชนิด เส้นใยระยะแรกมีสีขาวเมื่อเจริญเต็มที่จะมีสีเขียว พบได้ทั่วไปในดินและบนซากอินทรีย์วัตถุตามธรรมชาติ ชอบสภาพดินที่ชื้นแต่ไม่แฉะมีคุณสมบัติในการควบคุม ยับยั้ง และท าลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินโดยการใช้เส้นใยพันรอบ และแทงเส้นใยเชื้อราโรคพืชรวมทั้งแย่งอาหาร ท าให้เส้นใยเชื้อราโรคพืชเหี่ยวสลายและตายในที่สุด
ประโยชน์ของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ใช้ในการควบคุมป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโตและการเข้าท าลายเชื้อรา สาเหตุของโรคพืชใน ผัก ผลไม้ ได้แก่
1.) เชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium spp.) โรคก้นเน่าหอมแบ่ง , โรคเหี่ยวของพืช - ผัก ตระกูลแตง ไม้ดอก ไม้ประดับ , โรครากเน่า - โคนเน่า ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว โรคกล้าไหม้
2.) เชื้อราสเคลอโรเทียม (Sclerotium rolfsii ) โรครากเน่าของพืชผัก , โรคราเมล็ดผักกาด มะเขือเทศ
3.) เชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) โรคเน่าคอดินของพืชผัก และต้นกล้า , โรคยอดเน่าของต้นกล้า , โรคฝักเน่าพืชตระกูลถั่ว และโรคผลเน่าพืชผักตระกูลแตง
4.) เชื้อราไรซ็อกโทเนีย (Rhizoctonia solani ) โรคหัวเน่า ต้นเน่ามันฝรั่ง และพืชผัก เช่น พริก มะเขือ แตง , โรคเน่าคอดินพืชผัก ไม้ผล , โรครากเน่า , โรคแคงเกอร์บนล าต้น
5.) เชื้อราไฟท็อปธอร่า (Phytopthora spp.) โรครากเน่า - โคนเน่าของส้ม ทุเรียน
อัตราส่วนและวิธีการผสมก่อนน าไปใช้
ปัจจุบันเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถผลิตได้ทั้งในรูปของเชื้อสดบนเมล็ดธัญพืช (ข้าวฟ่าง) และผลิตเพื่อการค้าในรูปของสปอร์
หรือผงแห้ง (สปอร์ 100,000,000 ต่อกรัม) โดยมีอัตราส่วนผสมก่อนน าไปใช้ควบคุมโรคพืช ดังนี้
1.) ในรูปของเชื้อสดที่ผลิตขยายบนเมล็ดธัญพืช ควรใช้เชื้อที่มีอายุ 7-10 วัน หลังเขี่ยเชื้อ อัตราส่วนเชื้อราไตรโคเดอร์มา : ร า : ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 : 10 : 40 ส่วน (โดยน้ าหนัก) ผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 1-3 คืน เพื่อให้เชื้อราเจริญ แล้วจึงน าไปควบคุมโรคพืช
2.) ในรูปของสปอร์หรือผงแห้ง สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กรัมต่อน้ า 1 มิลลิลิตร หรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาผสมกับสารเสริมสำเร็จรูป ที่มีมาพร้อมกับเชื้อรา ผสมตามคำแนะน ำในฉลากแล้วนำไปใช้ควบคุมโรคพืช
ข้อแนะนำ
ควรให้ส่วนผสมมีความชื้นเล็กน้อย แต่ไม่ควรให้แฉะ จะช่วยให้เชื้อราเจริญได้ดียิ่งขึ้น
วิธีการใช้
1.) การใส่ลงดิน ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผสมแล้วตามอัตราส่วน น าไปใส่ในแปลงปลูกพืช โดย
- คลุกเคล้าขณะเตรียมดินปลูกหรือรองก้นหลุมก่อน ปลูกโดยพืชต้นเล็ก ใช้ 50 - 100 กรัม (ประมาณ 1 กำมือ) ต่อต้น หรือในไม้ผล ใช้ 3-5 ก.ก. ต่อต้น
- ใช้โรยบริเวณโคนต้น หว่านในแปลง ในพืชที่ปลูกแล้ว 50 - 100 กรัม/ตารางเมตร
- ใช้ผสมดินปลูก หรือแปลงเพาะกล้า
2.) ใช้คลุกเมล็ดพันธุ์ใช้ไตรโคเดอร์มาชนิดผงคลุกเมล็ดอัตรา 10-20 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
เติมน้ าหรือสารจับติด (Sticker) ลงไปเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ผงเชื้อจับติดเมล็ดได้ดีขึ้นและควรน าไปปลูกทันที
ข้อดีและข้อด้อยของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีความปลอดภัยทั้งต่อผู้ใช้ผู้บริโภคผลผลิต และต่อสภาพแวดล้อม เป็นประโยชน์ต่อการควบคุม การเกิดโรคในระยะยาว แต่มีข้อจ ากัด คือ ออกฤทธิ์ช้ากว่าการใช้สารเคมีเนื่องจากเชื้อราต้องอาศัยระยะเวลาในการเจริญ เพื่อเพิ่มปริมาณแล้วเข้าทำลายเชื้อโรคพืช
การเก็บรักษา
ควรเก็บรักษาเชื้อราไตรโคเดอร์มาไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ า หรือเก็บรักษาในห้องเย็นอุณหภูมิประมาณ 7-10 องศาเซลเซียส
ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับสารเคมีกำจัดเชื้อราในเวลาเดียวกัน ในกรณีจำเป็นควรใช้ก่อนหรือหลังการใช้สารเคมีดังกล่าว อย่างน้อย 7-10 วัน และไม่ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่มีเชื้ออื่นปนเปื้อน
Relate topics
- เชื้อราเมธาไรเซียม ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ เช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ฯลฯเชื้อราเมธาไรเชียมคุณสมบัติหลักคือใช้กำจัดแมลงเช่นเดียวกันเชื้อราบิวเวอเรีย แต่เชื้อราเมธาไรเซียมมีความสามารถในการกำจัดแมลงได้ดีกว่าเชื้อราบิวเวอร์เรียเนื่องจากคุณสมบัติของเชื้อราเมธาไรเซียมทนอุณภุ
- เทคนิคปลูกแตงกวาระดับเซียน!แตงกวา หรือ แตงร้าน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-4
- เทคนิคทำให้ถั่วฝักยาวออกฝักมากถั่วฝักยาวนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรไทยมาช้านาน การปลูกเพื่อการค้าให้ถั่วฝักยาวมีผลิตที่คุ้มค่านั้นนอกจากการให้ปุ๋ย ให้น้ำ หมั่นกำจัดวัชพืช ให้การดูแลอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังมีเคล็ดลับในการทำ
- เพอร์มาคัลเจอร์ (Permaculture) !!! วิธีปลูกผักที่แทบจะไม่ต้องรดน้ำ ทำครั้งเดียวปลูกได้หลายปีถ้าเราออกแบบระบบการเกษตรให้เหมือนกับรูปแบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราก็จะได้ระบบการเกษตรที่สอดคล้องและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งยังได้ผลิตผลสูงและมีความยั่งยืนมากกว่าระบบที่เห็นธรรมชาติเป็นศัตรูที่ต้อ
- เผาแกลบให้เป็นเงิน โดยใช้เตาขนาด 200 ลิตรกรรมวิธีการเผาแกลบให้เป็นขี้เถ้าแกลบโดยใช้ถังขนาด 200 ลิตร ซึ่งเป็นขบวนการที่ง่าย ได้ขี้เถ้าแกลบที่เป็นแกลบกัมมันหรือแอคติเวเต็ดคาร์บอน มีน้ำหนักเบา รูพรุนมาก สามารถนำมาเป็นถ่านอัดแท่งพลังงานสู
- ข้าวโพดหวานสองสี (Bio Color Sweet Corn)ข้าวโพดหวานสองสี จัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Gramineae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. var. saccharata เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว มีจำนวน 8-20 ปล้อง มีขนาดเส้นผ่
- วิธีเพาะเห็ดปลวก (เห็ดโคน) จากจอมปลวก ได้กินทั้งปีวัฏจักรชีวิตของปลวกอีกแง่มุมหนึ่ง ที่สัมพันธ์พึ่งพากับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “เห็ดโคน” ![ คำอธิบายภาพ : 148115014313166400671170766264n ](http://sator4u.com/upload/pics/14811501431316640067
- มารู้จัก ชนิดของข้าวโพดหวานปัจจุบันประเทศไทย ส่งออกข้าวโพดหวานในรูปแบบต่างๆ สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และฮังการี ยอดส่งออก ข้าวโพดหวานของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาโดยตลอด จากปริมาณการส่งออก
- ฤดูการผลิตทุเรียนของประเทศไทยในอดีต ประเทศไทยสามารถผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ ๔ เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ผลิตได้ในภาคตะวันออก แล้วต่อช่วงฤดูการผลิตโดยผลผลิตจากภาคใต้ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิ
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (2) โรคจุดสีน้ำตาล (Brown Spot) โรคจุดสีน้ำต