โรคราน้ำค้างของข้าวโพด (Corn Downy Mildew)
“โรคราน้ำค้าง (Downy Mildew) ” หรือโรคใบลาย เป็นโรคที่ทำความเสียหายให้แก่ข้าวโพดอย่างใหญ่หลวง ทำให้ผลผลิตของข้าวโพดลดลงมาก บางครั้งทำให้การปลูกข้าวโพดไม่ได้ผลเลย
โรคราน้ำค้าง เกิดจากเชื้อรา Peronospora manshurica (Aoum) syd.ex Gaum พบครั้งแรกที่จังหวัดนครสวรรค์เมื่อปี 2511 และในปีต่อมาได้ระบาดไปพื้นที่อื่นๆ อย่างรวดเร็ว ขณะนี้มีพบระบาดเกือบทุกจังหวัดที่มีการปลูกข้าวโพด ซึ่งโรคนี้เป็นได้กับข้าวโพดทุกสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเทียน ข้าวโพดข้าวเหนียว และพันธุ์พระพุทธบาท 5 เป็นต้น
อาการของโรค เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน ถึงแม้จะมีอาการของโรคบางชนิดเหมือนอาการขาดอาหารพืชบางอย่าง แต่ก็มีความแตกต่างเห็นได้ง่าย และถ้ามีโอกาสเห็นจากของจริงเพียงครั้งเดียวก้จำได้ อาการที่สำคัญของโรคดังนี้
บริเวณใบข้าวโพดตามทางยาวจะมีทางลายสีเหลือง สีเขียวอ่อน และสีเขียวแก่สลับกันอย่างไม่เป็นระเบียบ อาการนี้จะปรากฏเมื่อข้าวโพดมีอายุตั้งแต่ 1 สัปดาห์ขึ้นไป และเมื่อเป็นนานเข้าตามรอยที่มีสีเหลืองอาจเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และมีอาการใบไหม้แห้งตายในที่สุด
บริเวณผิวใบที่มีอาการผิดปกติโดยเฉพาะด้านล่าง จะมีใยสีขาวเป็นเชื้อราจับเป็นฝ้าคล้ายหยากไย่ มองเห็นชัดด้วนตาเปล่า และจะพบมากในเวลาใกล้รุ้ง ซึ่งมีน้ำค้างมากและอากาศค่อนข้างเย็น
ข้าวโพดต้นจะมีปล้องสั้นลง มีฝักดกบางที่มีมากกว่า 5 ฝัก แต่เป็นฝักที่ไม่ติดเมล็ด มีแต่เปลือกที่มีลักษณะคล้ายใบและต้นข้าวโพดจะเล็กแคระแกรน
ข้าวโพดบางต้นจะมีปล้องยาวชะลูด ทำให้มีลำต้นสูงกว่าปกติ ใบและขนาดของฝักก็จะยาวผิดปกติ แต่เป็นฝักที่ไม่ติดเมล็ด
ดอกตัวผู้ซึ้งอยู่ที่ปลายต้นของข้าวโพดบางต้น จะแตกแขนงออกเป็นใบเล็กๆ เป็นช่อมีลักษณะคล้ายไม้กวาดหรือหญ้าหงอนไก่ และจะไม่มีฝัก
สภาพที่เหมาะแก่การระบาดและแพร่เชื้อของโรคราน้ำค้าง
เชื้อโรคนี้จะระบาดลุกลามได้ดีในระยะที่ฝนตกชุก ดินและอากาศมีความชุมชื้นสูง หรือดินมีน้ำขังและช่วงใกล้ๆ รุ่งสว่าง ซึ่งมีน้ำค้างตกชุกและอากาศค่อนข้างเย็นจัด
เชื้อโรคจะปลิวไปตามลม ฉะนั้นต้นและใบข้าวโพดที่กำลังแสดงอาการโรคนี้จะเป็นแหล่งแพร่เชื้ออย่างดี ส่วนใหญ่เชื้อโรคจะเข้าทำลายต้นข้าวโพดในระยะตั้งแต่เริ่มงอกจนถึงอายุประมาณ 1 เดือนแต่บางทีก็แก่กว่านี้
เชื้อโรคอาจจะอาศัยข้ามปีอยู่ในรากของต้นข้าวโพดที่เคยเป็นโรค ทั้งพวกที่อยู่บนดินหรือไถ่กลบอยู่ใต้ดิน
เชื้อโรคอาจอาศัยข้ามปีอยู่ในวัชพืชพื้นเมือง เช่น อ้อ พง แขม เดือยน้ำ หญ้าหางหมาขาว ข้าวฟ่างหางกระรอก เป็นต้น ที่ขึ้นอยู่ในแปลงหรือใกล้เคียงกับแปลงข้าวโพด พืชเหล่านี้เมื่อเป็นโรคราน้ำค้างจะมีอาการคล้ายคลึงกับอาการของข้าวโพด
วิธีป้องกันและรักษา
ควรปลูกข้าวโพดตั้งแต่ต้นฤดู ไม่ควรปลูกข้าวโพดในระยะที่มีฝนตกชุกจนเกินไป หรือปลูกปลายฤดูฝน (หลังกรกฏาคม) และไม่ควรปลูกข้าวโพดในบริเวณที่มีน้ำขังและระบายน้ำไม่ได้ เพราะเชื้อโรคนี้ระบาดได้ง่ายในสภาพเช่นนั้น
ในเขตที่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน ควรศึกษาให้รู้จักกับอาการของโรคนี้ ถ้าหากพบเพียงจำน้อยให้ถอนทิ้งแล้วนำไปเผาไฟเสีย ข้าวโพดที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการให้เห็นในระยะ 1-6 สัปดาห์หลังจากงอก จึงควรหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอ
เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ควารเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ตากแห้งสนิท
ควรปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกสูงและแข็งแรง
ไม่ควรนำเมล็ดพันธุ์มาจากเขตปลูกข้าวโพดที่มีการระบาดของเชื้อโรค
เนื่องจากต้นข้าวโพดอ่อนจะติดเชื้อได้ง่ายมาก ฉะนั้นหากบริเวณรัศมีโดยรอบมีต้นข้าวโพดหรือพืชชนิดอื่นที่ขึ้นเอง หรือหลงค้างแปลงอยู่กำลังเป็นโรคนี้ จะต้องทำลายหรือไถ่ทิ้งให้หมดเสียก่อน หรือถ้าพบว่าบริเวณใกล้เคียงมีไร่ข้าวโพดของเพื่อนบ้านเป็นโรคนี้จำนวนมากไม่ควรปลูกข้าวโพดระยะนั้นเด็ดขาด ควรปลูกพืชอื่นแทน
สามารถปฏิบัติได้ควรเปลี่ยนแปลงข้าวโพดที่เคยเป็นโรคราน้ำคางเมื่อฤดูที่แล้วไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน เช่น ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วเขียว เป็นต้น
ใช้พันธุ์ต้านทาน ปัจจุบันพบว่า ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 พันธุ์สุวรรณ 2 และพันธุ์ไทย DMR 6 เป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้างดีกว่าพันธุ์อื่นๆ
ใช้ยาเคมี เอพรอน 35% คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดก่อนปลูกในอัตรายาเคมี 7 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
ที่มา @ นักวิชาการฝ่ายโรคพืช กองป้องกันกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับที่ 4/2524
Relate topics
- เชื้อราเมธาไรเซียม ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ เช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ฯลฯเชื้อราเมธาไรเชียมคุณสมบัติหลักคือใช้กำจัดแมลงเช่นเดียวกันเชื้อราบิวเวอเรีย แต่เชื้อราเมธาไรเซียมมีความสามารถในการกำจัดแมลงได้ดีกว่าเชื้อราบิวเวอร์เรียเนื่องจากคุณสมบัติของเชื้อราเมธาไรเซียมทนอุณภุ
- เทคนิคปลูกแตงกวาระดับเซียน!แตงกวา หรือ แตงร้าน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-4
- เทคนิคทำให้ถั่วฝักยาวออกฝักมากถั่วฝักยาวนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรไทยมาช้านาน การปลูกเพื่อการค้าให้ถั่วฝักยาวมีผลิตที่คุ้มค่านั้นนอกจากการให้ปุ๋ย ให้น้ำ หมั่นกำจัดวัชพืช ให้การดูแลอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังมีเคล็ดลับในการทำ
- เพอร์มาคัลเจอร์ (Permaculture) !!! วิธีปลูกผักที่แทบจะไม่ต้องรดน้ำ ทำครั้งเดียวปลูกได้หลายปีถ้าเราออกแบบระบบการเกษตรให้เหมือนกับรูปแบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราก็จะได้ระบบการเกษตรที่สอดคล้องและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งยังได้ผลิตผลสูงและมีความยั่งยืนมากกว่าระบบที่เห็นธรรมชาติเป็นศัตรูที่ต้อ
- ข้าวโพดหวานสองสี (Bio Color Sweet Corn)ข้าวโพดหวานสองสี จัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Gramineae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. var. saccharata เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว มีจำนวน 8-20 ปล้อง มีขนาดเส้นผ่
- วิธีเพาะเห็ดปลวก (เห็ดโคน) จากจอมปลวก ได้กินทั้งปีวัฏจักรชีวิตของปลวกอีกแง่มุมหนึ่ง ที่สัมพันธ์พึ่งพากับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “เห็ดโคน” ![ คำอธิบายภาพ : 148115014313166400671170766264n ](http://sator4u.com/upload/pics/14811501431316640067
- มารู้จัก ชนิดของข้าวโพดหวานปัจจุบันประเทศไทย ส่งออกข้าวโพดหวานในรูปแบบต่างๆ สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และฮังการี ยอดส่งออก ข้าวโพดหวานของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาโดยตลอด จากปริมาณการส่งออก
- ฤดูการผลิตทุเรียนของประเทศไทยในอดีต ประเทศไทยสามารถผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ ๔ เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ผลิตได้ในภาคตะวันออก แล้วต่อช่วงฤดูการผลิตโดยผลผลิตจากภาคใต้ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิ
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (2) โรคจุดสีน้ำตาล (Brown Spot) โรคจุดสีน้ำต
- โรคที่สำคัญของข้าวโพด การดูแลและป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี (1) โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย (Corn Downy Mildew)