สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

เซลล์ไฮโดรเจน!!! เชื้อเพลิงสะอาด พลังงานแห่งอนาคต Hydrogen Fuel Cell ...Energy of the Future!!!

photo  , 623x571 pixel , 84,877 bytes.

การใช้พลังงานจะเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปีตามความเจริญเติบโตของสังคมโลก โดยพลังงานหลักเป็นพลังงานฟอสซิลที่มาจาก 3 แหล่งคือ น้ำมัน ถ่านหิน และแก๊สธรรมชาติ การที่ใช้พลังงานฟอสซิลเพิ่มขึ้นนี้ ก่อให้เกิดปัญหาระดับโลกต่อประเทศต่าง ๆ  3 ประการคือ  ประการแรก ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วยต่างอยู่ในสภาพขาดความมั่นคงทางด้านพลังงาน (Energy security) เพราะไม่มีแหล่งพลังงานฟอสซิลทั้ง 3 ชนิดเป็นของตนเอง พลังงานถูกควบคุมโดยต่างประเทศ คือมีเพียง 8 ประเทศเป็นเจ้าของปริมาณน้ำมันดิบ 81% ของโลก  จำนวนเพียง 6 ประเทศ เป็นเจ้าของ 70% ของแก๊สธรรมชาติสำรอง  และเพียง 8 ประเทศเท่านั้นมีปริมาณถ่านหินสำรองรวมกันถึง 89% ฃองโลก


นอกจากนี้ ผลกระทบที่รุนแรงต่อสังคมอีก 2 อย่างที่ทราบกันทั่วไป  คือประการที่สอง เกิดปัญหากระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic development) ที่สัมพันธ์โดยตรงกับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชากรโลก เนื่องจากพลังงานฟอสซิลมีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และปัญหาประการที่สาม คือ การเกิดผลกระทบต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมจากภาวะโลกร้อน (Environmental conservation) ที่เกิดจากแก๊สเรือนกระจกหรือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์อันเป็นผลพ่วงที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานฟอสซิลอย่างมากมายในปัจจุบัน ปัญหาระดับโลกทั้ง 3 ประการนี้เป็นแรงผลักดันให้จำเป็นต้องลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงอย่างชัดเจนภายใน 50 ปีข้างหน้านี้ โดยทุกประเทศจะต้องหันไปใช้พลังงานอื่น และเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานฟอสซิลให้สูงขึ้นเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของแต่ละประเทศ พร้อมกับรักษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  มิฉนั้นจะเกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตความป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมจากการพิ่มอุณหภูมิของบรรยากาศในโลก โดยที่ประมาณการว่าการเพิ่มปริมาณความต้องการพลังงานในอนาคตจะทำให้ปริมาณน้ำมันที่มีอยู่ยังคงใช้ได้อีก 40-60 ปี แก๊สธรรมชาติมีใช้ได้อีก ถึง 100 ปีข้างหน้ และมีถ่านหินใช้ได้อีก 300 ปีในอนาคต  ส่วนอุณหภูมิโลกอาจเพิ่มถึง 4 องศาเซลล์เซียส


การพัฒนาพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทนจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีเป้าหมายชัดเจนว่าเป็นการบูรณาการในการแก้ปัญหาทั้ง 3 อย่างของโลกไปด้วยกัน  แนวทางของคำตอบที่ทราบกันอยู่คือจะต้องเริ่มการหันไปหาพลังงานชนิดต่าง ๆ ที่มีอะตอมคาร์บอนเป็นองค์ประกอบน้อยลงและเป็นสิ่งที่มีอยู่ในประเทศต่าง ๆ หลาย ๆ ประเทศมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน  รักษาการเจริญทางเศรษฐกิจ และลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งมีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนและไฮโดรเจน เมื่อเผาไหม้กับออกซิเจนจะได้พลังงานและกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากอะตอมคาร์บอนด้วย  ดังนั้น  หากใช้เชื้อเพลิงที่มีไฮโดรเจนมาก คือมีอะตอมคาร์บอนน้อย หรือไม่มีอะตอมคาร์บอนเลย(ดูตารางที่ 1) ก็จะเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลงหรือไม่เกิดเลย  ดังนั้นพลังงานไฮโดรเจนจึงเป็นที่จับตามองว่าจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบในด้านความยั่งยืนของพลังงานและลดปัญหาทั้ง 3 อย่างของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ ในระยะถัดไปจากนี้ โลกจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low carbon economy) และปรับเปลี่ยนเป็นยุคเศรษฐกิจไฮโดรเจน (Hydrogen economy) ในที่สุด โดยประเมินว่าในอนาคต ไฮโดรเจนจะมีปริมาณพอเพียงและมีความยั่งยืนเป็นระยะเวลาอันยาวนานกว่าที่จะคาดคะเนถึงได้ในอนาคต  การเปลี่ยนถ่ายยุคพลังงานนี้ไม่เกิดได้โดยง่าย จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ หลายอย่างให้สามารถใช้งานได้สะดวกและเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนและการเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ หากไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายได้จะเกิดปัญหาอื่น ๆ ทางสังคมในประเทศต่างๆ อย่างมากมายในระยะ 50 ปีนี้

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 8789
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง