Single Gateway ...ข้อดี VS. ข้อเสีย เมื่อไทยต้องเชื่อมโลกทั้งใบ ด้วยหลอดเพียง 1 อัน หรือ ประตูเพียงบานเดียว!!!
“ซิงเกิ้ล เกตเวย์” หมายถึงแนวคิดที่จะให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั้งประเทศที่ออกสู่ต่างประเทศทำผ่าน International Internet Gateway (IIG) หรือ “ประตูทางผ่าน” ประตูเดียว แทนที่ปัจจุบันซึ่งมีมากกว่าสิบเกตเวย์
โดยรัฐบาลไทยเดินหน้า Single Gateway แนะให้กลุ่มคัดค้านศึกษาให้ดีเสียก่อน อ้างเพื่อแก้ปัญหาเด็กติดเกม และด้านความมั่นคงของชาติเป็นสำคัญ!! รองนายกรัฐมนตรี พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง ได้ยืนยันว่า รัฐบาลจะเดินหน้านโยบาย Single Gateway ต่อไปและย้ำว่านโยบายนี้เป็นคำสั่งของนายกรัฐมนตรีโดยตรง ให้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและให้นโยบายความชัดเจนภายในปีนี้ สำหรับกลุ่มคนที่ออกมาคัดค้านให้ทำการศึกษา Single Gateway ให้ดีเสียก่อน (30 ก.ย. 2558)
สะตอฟอร์ยู ขอนำเพื่อนๆ ไปรู้จัก Single Gateway ประตูเปิดโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หากประเทศไทยติดตั้ง Single Gateway ขึ้นมาใช้จริง ก็คงเหมือนเชื่อมโลกอินเตอร์เน็ตทั้งโลกด้วยหลอดเพียง 1 อัน ซึ่งย่อมต้องมีผลกระทบทั้งข้อดีและข้อเสียที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน!!!
การที่ประเทศไทยจะนำเอา "Single Gateway" มาใช้นั้น ดูเหมือนว่าจะมีการพูดเรื่องนี้กันมาสักระยะหนึ่ง แต่เพิ่งจะเริ่มตื่นตัวกันจริง ๆ ไม่นานมานี้ หลังรัฐบาลเริ่มผลักดันการใช้ Single Gateway อย่างจริงจัง ทำให้หลายฝ่ายมีการถกเถียงถึงผลกระทบที่จะตามมา ซึ่งหลายคนอาจยังสงสัยว่า Single Gateway คืออะไร และหากประเทศไทยนำเทคโนโลยีที่ว่านี้มาใช้นั้น จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างไรบ้าง
Single Gateway คืออะไร
หากอธิบายคำว่า Single Gateway คงต้องแยกทั้ง 2 คำออกจากกันก่อน โดยคำว่า "Gateway" หมายถึง ประตูทางผ่าน หรือศัพท์ในวงการไอที หมายถึง ประตูเชื่อมระหว่างเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง และเป็นตัวที่เชื่อมต่อโครงข่ายของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยผู้ให้บริการ Gateway อยู่มากมาย เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
แต่เมื่อเติมคำว่า "Single" เข้าไป กลายเป็น Single Gateway ก็จะแปลได้ว่า จะสามารถเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตผ่านประตูแค่บานเดียว หรือ บีบบังคับให้ข้อมูลไหลผ่านแค่หลอดเดียว นั่นก็จะเท่ากับการมีผู้ให้บริการเครือข่ายเพียงเจ้าเดียว ทำให้สามารถควบคุม ดักจับข้อมูลเมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านประตูบานนี้ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย
การเชื่อมต่อปกติ (Multi-Internet Gateway)
ภาพจาก @ TPBSการเชื่อมต่อประตูบานเดียว หรือ Single Gateway
ภาพจาก @ TPBSประเทศที่ใช้ Single Gateway
ปัจจุบันมีประเทศที่ใช้ Single Gateway คือ ลาว จีน เกาหลีเหนือ และประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นประเทศที่ภาครัฐสามารถควบคุมดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชนได้สะดวก โดยเฉพาะจีนที่รัฐบาล ควบคุมไม่ให้ประชาชนในประเทศเล่นสื่อโซเชียลอย่าง Facebook รวมถึงการห้ามใช้ Google นั่นเอง
และแน่นอนว่าในอดีตประเทศไทยก็เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้ Single Gateway เช่นกัน ในสมัยแรก ๆ ที่การใช้อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายมากนัก โดยเวลาที่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทุกจุดเชื่อมต่อก็จะต้องมารวมกันที่ กสท. ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงผู้ให้บริการเพียงเจ้าเดียว แต่หลังจากเกิดวิกฤติไอเอ็มเอฟ ในปี 2540 ก็ได้มีการสั่งให้ประเทศไทยเปิดเสรีโทรคมนาคม ทำให้ Gateway ในไทยเพิ่มมากขึ้นจนตอนนี้มีถึงสิบกว่า Gateway แล้ว
รัฐบาลไทย ผลักดันจัดตั้ง Single Gateway
เริ่มแรกเกิดจากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีนโยบายเตรียมผลักดันการจัดตั้ง Single Gateway โดยมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีรับผิดชอบ ในการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือบล็อกข้อมูลที่ให้เกิดความวุ่นวาย รวมทั้งเพื่อป้องกันจากโจมตีทางไซเบอร์ด้วยการก่อการร้าย ซึ่งมีการสั่งงานของรัฐบาลเป็นระยะ คือ
- วันที่ 30 มิถุนายน 2558 มีการมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงยุติธรรมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการจัดตั้ง Single Gateway เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
- วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ให้กระทรวงไอซีทีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการจัดตั้ง Single Gateway ตามมติคณะรัฐมนตรี (30 มิถุนายน 2558) โดยด่วนต่อไป
- วันที่ 4 สิงหาคม 2558 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานความคืบหน้าการจัดตั้ง Single Gateway ให้ทุกส่วนราชการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทุกอย่างของรัฐบาลให้แก่ประชาชนตั้งแต่เริ่มแรก
- วันที่ 25 สิงหาคม 2558 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเร่งรัดการดำเนินการเรื่องการจัดตั้ง Single Gateway และรายงานความคืบหน้าให้นายกรัฐมนตรีทราบภายในเดือนกันยายน 2558 ต่อไปด้วย
ข้อดี หลังการติดตั้ง Single Gateway
- รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนในประเทศ ทำให้สามารถคัดกรองข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้ รวมถึงป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม
- ส่งเสริมความมั่นคงในประเทศชาติ ยากต่อการก่อการร้าย เพราะรัฐบาลจะรู้ก่อน
- ควบคุมข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลจากต่างประเทศเข้ามาทางอินเทอร์เน็ต
ภาพจาก @ รายการตอบโจทย์
ข้อเสีย หลังการติดตั้ง Single Gateway
- อินเตอร์เน็ตช้าลงแน่นอน เนื่องจากมี Gateway เดียว
- หาก Gateway ล่มก็จะล่มกันหมดทั้งประเทศ เพราะจะไม่มี Gateway ตัวอื่นรองรับ
- ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปถูกจำกัดการใช้เครือข่ายกับต่างประเทศมากขึ้น และต้องระวังการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน เช่น การถูกรัฐบาลบล็อก แบน แสกน การใช้งานอินเทอร์เน็ต
- รัฐบาลสามารถปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลที่ประชาชนค้นหาได้อย่างรวดเร็วเต็มประสิทธิภาพ ด้วยป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่รัฐบาลไม่ต้องการ
- มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องสร้าง Gateway ที่มีขนาดใหญ่รองรับปริมาณการใช้งานทั้งประเทศ และต้องใหญ่พอที่จะรองรับปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
- บริษัทข้ามชาติลังเลที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากไม่มั่นใจด้านความมั่นคงและรู้สึกไม่ปลอดภัยในการให้บริการอินเทอร์เน็ต กังวลถึงข้อมูลทางการค้าที่ถูกล้วงความลับได้ง่าย
- ประเทศไทยขาดโอกาสการเป็นฮับทางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน
ชาวเน็ตรวมพลัง ลงชื่อต่อต้าน และนัดเปิดศึกปฏิบัติการ DDoS การติดตั้ง Single Gateway
จากผลเสียที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ประชาชนหลายคนไม่เห็นด้วยกับความคิดของรัฐบาล จนเกิดการรวมตัวของชาวออนไลน์ตั้งแคมเปญขึ้นมาให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยลงชื่อผ่านเว็บไซต์ โดยใช้ชื่อว่า ต่อต้านการตั้งซิงเกิลเกตเวย์ Go against Thai govt to use a Single Internet Gateway ซึ่งภายในเว็บไซต์ยังรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Single Gateway ไว้ให้ผู้ที่สนใจเข้าไปร่วมศึกษาได้อีกด้วย
โดยในค่ำคืนวันที่ 30 กันยายน 2558 ได้มีการรายงานข่าวในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ว่ามีเว็บหน่วยงานภาครัฐ ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ คาดว่าชาวเน็ตเปิดศึกปฏิบัติการ DDoS (Distributed Denial-of-Service) ถล่มเว็บไซต์รัฐบาล เพื่อคัดค้านโครงการ ซิงเกิล เกตเวย์ อย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เว็บไซต์กระทรวงไอซีทีระบบล่มเมื่อช่วงเย็นของวันนี้ (30 ก.ย.) ซึ่งคาดว่าเกิดจากโจมตีของชาวเน็ตที่นัดรวมตัวกันผ่านการส่งต่อข้อความในโลกออนไลน์ (ไอซีทีเว็บล่ม! ชาวเน็ตนัดเปิดศึก ต่อต้าน 'ซิงเกิล เกตเวย์') ต่อมาเวลาประมาณ 20.45 น. พบว่าเว็บไซต์ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม หรือ CAT ระบบล่ม ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้เช่นเดียวกับเว็บไซต์ของกระทรวงไอซีที
ล่าสุดมีการแชร์ข้อความว่าจะดำเนินการถล่มเว็บไซต์ของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. เป็นเว็บที่ 3 โดยระบุว่าจะเริ่มโจมตีในเวลา 21.30 น. แต่ยังไม่ถึงเวลานัด กลับพบว่าเว็บไซต์ของ กอ.รมน. ไม่สามารถเข้าชมได้ ล่มตามไปเป็นเว็บที่ 3 ตามมาด้วยเว็บไซต์ของ สำนักนายกรัฐมนตรี ระบบล่มประมาณ 22.15 น. รวมไปถึงเว็บไซต์ บริษัท ทีโอที จำกัด และกระทรวงการคลัง ก็ไม่สามารถเข้าถึงได้เช่นกัน
ผู้เชี่ยวชาญชี้ "ซิงเกิล เกทเวย์" ทำให้ไทยเสียหายทางธุรกิจ-อดเป็นฮับเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มีนักวิชาการหลายฝ่าย รวมถึงคนแวดวงไอทีต่างวิตกกังวลพอสมควร ได้ออกมาถกโต้เถียงถึงการจัดตั้ง Single Gateway มองว่าจะทำให้ไทยเกิดความเสียหายทางธุรกิจ หรือขาดโอกาสการเป็นฮับทางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน ซึ่งในอนาคตแนวโน้มเรื่องดังกล่าวจะมีความเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด คงต้องรอดูความเคลื่อนไหวจากรัฐบาลอย่างใกล้ชิดต่อไป
ขอขอบคุณ และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมจาก @ thaipbs , change.org , cabinet.soc.go.th
ขอขอบคุณ และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมจาก @ thaipbs , change.org , cabinet.soc.go.th
Relate topics
- รู้ก่อนใคร! 10 โปรเจกต์ “เฟซบุ๊ค” กำลังซุ่มเงียบพัฒนาอยู่เชื่อว่าเราทุกคนคงรู้ดีว่า Facebook นั้นขยันอัพเดทฟีเจอร์ใหม่ค่อนข้างบ่อยถึงบ่อยมาก เพื่อสร้างประสบการณ์ให้เราตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา ต่อไปนี้ คือ 10 โปรเจกต์ที่ Facebook กำลังซุ่มเงียบพัฒนาอยู่
- นวัตกรรมสุดเจ๋ง!! “กระเบื้องหลังคาโซลาร์เซลล์” เทคโนโลยีสำหรับอนาคต เพื่อการประหยัดพลังงานอย่างแท้จริงนวัตกรรมสุดเจ๋ง!! “กระเบื้องหลังคาโซลาร์เซลล์” เทคโนโลยีสำหรับอนาคต เพื่อการประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง ![ คำอธิบายภาพ : solar-roof-tile-technology-4 ](http://www.sator4u.com/upload/pics/so
- กูเกิลเตรียมปล่อยบอลลูนเน็ตในออสเตรเลียกูเกิลเตรียมทดสอบปล่อยบอลลูนเน็ตในออสเตรเลีย จำนวน 20 ลูก ก่อนที่จะให้บริการจริงในเดือนธันวาคม บริษัทไอทีชื่อดัง กูเกิล เตรียมทดสอบการปล่อยบอลลูน ในโครงการ โปรเจกต์ ลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- "กูเกิล" เสิร์ชเอนจินรายใหญ่เตรียมให้บริการด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่กับผู้ใช้ในสหรัฐโดยตรงในเร็ว ๆ นี้สำนักข่าวเอเอฟพีคาดว่า ความเคลื่อนไหวนี้จะสร้างความสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ให้แก่ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสหรัฐ โดยอาจจะทำให้มีการตัดราคาและปรับปรุงความเร็วของบริการ ดิ อินฟอร์เมชั่น วารสารข่าวเทคโนโลยีล
- 'หมอลี่' ค้านปิดซิมเติมเงิน หลังเลยกำหนดลงทะเบียนกรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ชี้มาตรการบังคับลงทะเบียนซิมต้องไม่ลงโทษผู้บริโภค ย้ำควรเน้นทำก่อนเปิดใช้งาน ไม่ใช่อนุญาตผู้ให้บริการ ปิดซิม หลังถึงกำหนดวันที่ 31 ก.ค.2558... นายแพทย์ประวิทย์
- กสทช.ออกประกาศให้ผู้ใช้ซิมแบบเติมเงิน ลงทะเบียนซิมแสดงตัวตน ตั้งแต่ 1 ก.พ.-31 ก.ค.58 หากไม่มาลงทะเบียนซิมจะไม่สามารถใช้งานได้ ...เมื่อวันที่ 21 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ประชุมหารือร่วมกับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5 ราย ได้แก่ เอไอเอ
- แอร์บัสจ่อสร้าง 'เบลลูก้า' รุ่น 2 รองรับตลาดเครื่องบินเติบโตแอร์บัสวางแผนปลดระวาง เครื่องบินขนส่งรูปทรงวาฬหัวโหนก 'เบลลูก้า' ม้างานสำคัญที่ใช้ขนชิ้นส่วนเครื่องบินป้อนโรงงานที่มีอายุมากออก และจะสร้าง 'เบลลูก้า 2' ลำใหม่แบบ เอ330-200 ที่ใหญ่กว่าเดิมมาแทน คาดจะเส
- ไม่ใช่แค่เทคโนโลยี! 'บิ๊กดาต้า' เทรนด์ฮอตปี 58 ที่ยังขาดบุคลากรสถาบันไอเอ็มซี แนะภาครัฐลงทุน 'บิ๊กดาต้า' ชี้เป็นเทคโนโลยีสุดฮอตแห่งปี องค์กรจำต้องใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูล แนะเร่งวางแผนหาเทคโนโลยี และสร้างบุคลากรที่ยังขาดแคลน… นายธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำ
- ลือ! ไอโฟน 6s มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมและอาจมากับ iOS9สื่อนอกเผยข่าวลือ ระบุว่า ไอโฟน 6s มาพร้อมกับแรมแบบ LPDDR4 ขนาด 2GB เป็นความจริง เท่ากับว่า ประสิทธิภาพการทำงานมัลติทาส์กกิ้งดีกว่าเดิม จึงมีประสิทธิภาพสูงกว่าไอโฟน 6 เดิม และอาจมาพร้อมระบบปฏิบัติการใ
- 5 ครูโลกไอที! สละไอเดีย ปั้นเทคโนโลยี พลิกชีวิตมนุษย์ไปรู้จักกับบุคคลที่ควรได้รับการยกย่อง ที่นำความรู้ความสามารถของตัวเองออกมาเปลี่ยนแปลงโลก… 16 มกราคม ของทุกปี เป็นวันครูแห่งชาติ... นอกจากคุณครูในแวดวงการเรียนการศึกษา ที่ถูกเปรียบเป็นเรือจ้าง เ