สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

กูเกิลเตรียมปล่อยบอลลูนเน็ตในออสเตรเลีย

by sator4u_team @23 ม.ค. 58 13:21 ( IP : 1...11 ) | Tags : ไอที - เทคโนโลยี
photo  , 500x275 pixel , 15,082 bytes.

กูเกิลเตรียมทดสอบปล่อยบอลลูนเน็ตในออสเตรเลีย จำนวน 20 ลูก ก่อนที่จะให้บริการจริงในเดือนธันวาคม


บริษัทไอทีชื่อดัง กูเกิล เตรียมทดสอบการปล่อยบอลลูน ในโครงการ โปรเจกต์ ลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล ทางภาคตะวันตกของรัฐควีนส์แลนด์ในออสเตรเลีย จำนวน 20 ลูก ก่อนที่จะให้บริการจริงในเดือนธันวาคม ซึ่งโครงการนี้มีบริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย เทลสตรา เป็นหุ้นส่วนในการทดสอบ การส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตมายังพื้นโลกอีกด้วย


โครงการดังกล่าว จะปล่อยบอลลูนขึ้นไปบนฟ้าที่ความสูง 20 กิโลเมตรจากพื้นดิน ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ ที่ไม่มีก้อนเมฆหรือสิ่งรบกวนต่อบอลลูน ซึ่งบอลลูนนี้จะวัดตำแหน่งจากระบบจีพีเอส ให้สามารถเคลื่อนที่อยู่ภายในพื้นที่ให้บริการ โดยไม่ลอยไปกับกระแสลมเสียก่อน ขณะเดียวกันบอลลูนจะส่งคลื่นลงไปมายังภาคพื้นดิน และซึ่งใช้จะต้องรับสัญญาณด้วยจานดาวเทียมของกูเกิล และการทดลองครั้งนี้ กูเกิลได้ซื้อคลื่นความถี่ 2.6 กิกะเฮิร์ตซ์ จากเทลสตราอีกด้วย


บอลลูนดังกล่าว พัฒนาโดยแผนกพัฒนาและวิจัยการทดลองของกูเกิล หรือ กูเกิลเอ็กซ์ ซึ่งเคยนำมาทดสอบในสหรัฐและนิวซีแลนด์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ผลการทดลองกลับไม่ประสบความสำเร็จนัก เพราะเคยเกี่ยวสายไฟจนทำให้ชาวบ้านไม่มีไฟฟ้าใช้หลายครัวเรือน ส่วนในนิวซีแลนด์ บอลลูนกลับตกลงในทะเล


ทั้งนี้กูเกิลต้องการให้โปรเจกต์ลูนสามารถปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่ห่างไกลทั่วโลกมีโอกาสใช้อินเทอร์เน็ตได้ครั้งละจำนวนมาก เพื่อให้เข้าถึงข้อมูล และยกระดับชีวิต

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 8494
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง