สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

แอร์บัสจ่อสร้าง 'เบลลูก้า' รุ่น 2 รองรับตลาดเครื่องบินเติบโต

by sator4u_team @21 ม.ค. 58 10:55 ( IP : 113...78 ) | Tags : ไอที - เทคโนโลยี
  • photo  , 770x430 pixel , 37,862 bytes.

แอร์บัสวางแผนปลดระวาง เครื่องบินขนส่งรูปทรงวาฬหัวโหนก 'เบลลูก้า' ม้างานสำคัญที่ใช้ขนชิ้นส่วนเครื่องบินป้อนโรงงานที่มีอายุมากออก และจะสร้าง 'เบลลูก้า 2' ลำใหม่แบบ เอ330-200 ที่ใหญ่กว่าเดิมมาแทน คาดจะเสร็จในปี 2020…


ถ้าใครได้เดินทางไปชมโรงงานผลิตเครื่องบินของบริษัทแอร์บัส อินดัสทรี ที่เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส จะได้พบเจอกับเครื่องบินรูปร่างประหลาดคล้ายวาฬหัวโหนกสีขาว หรือ เบลลูก้า ที่มีลำตัวสีขาวใหญ่ ลำตัวอ้วน หัวเครื่องบินคล้อยลงต่ำ บินขึ้นลงตลอดทั้งวัน ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะเครื่องบินลำนี้มันชื่อ 'เบลลูก้า' จริงๆ


 คำอธิบายภาพ : NjpUs24nCQKx5e1DGz2tOyCRA5y2de7MYvKZffQeBTC รูปร่างที่เป็นเอกลักษณ์


 คำอธิบายภาพ : 4DQpjUtzLUwmJZZC0ON8xIlYP0uE5xmYKbQhk6PoBLX7 เบลลูก้าหมายเลข 1


แอร์บัส เบลลูก้า (Airbus Beluga) เป็นเครื่องบินขนส่งที่ดัดแปลงจากโครงสร้างพื้นฐานของเครื่องบินโดยสารแอร์บัส เอ300-600 รุ่นแจ้งเกิดสร้างชื่อให้กับแอร์บัสเมื่อทศวรรษที่ 90 โดยแอร์บัสนำเอาเบลลูก้าเข้ามาทดแทนเครื่องบินขนส่งสินค้าลำตัวกว้างแบบซุปเปอร์กัปปี้ ที่เป็นเครื่องใบพัด 4 เครื่องยนต์รุ่นโบราณที่ผลิตโดยโบอิ้ง ที่เก่า บินช้า และเปลืองเชื้อเพลิงมาก มาใช้ขนส่งชิ้นส่วนเครื่องบินจากโรงงานแอร์บัสในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป เพื่อลำเลียงมาประกอบที่โรงงานหลักในเมืองตูลูส สำหรับเบลลูก้า เป็นการขยายห้องโดยสารให้กว้างและสูงกว่าเดิมเพื่อบรรทุกชิ้นส่วนลำตัวของเครื่องบิน หรือแพนหาง เครื่องบินได้ เรียกว่า Super Transporter เป็นรุ่น A300-600ST ถูกสร้างมาทั้งหมด 5 ลำ และยังคงใช้งานอยู่จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ยังเป็นความภูมิใจของแอร์บัสที่ใช้เครื่องบินของตัวเองบินขนส่งชิ้นส่วนด้วย


 คำอธิบายภาพ : 4DQpjUtzLUwmJZZC0ON8xIlYP0uE5xmZMaLhz7K4QQ8t อายุมากกว่า 20 ปี แล้วสำหรับเบลลูก้า


 คำอธิบายภาพ : 4DQpjUtzLUwmJZZC0ON8xIlYP0uE5xmcQOKYSqeXLhQK ประตูระวางบรรทุกด้านหน้า และห้องนักบินที่อยู่ด้านล่าง


รูปทรงของเบลลูก้าส่วนหัวจะอยู่ต่ำกว่าช่วงลำตัว โดยลำตัวด้านบนจะมีประตูระวางบรรทุกอยู่ด้านหน้า เพื่อใช้เป็นช่องทางลำเลียงชิ้นส่วนต่างๆ โดยใช้งานร่วมกับรถโหลดเดอร์พร้อมเครนพิเศษ เบลลูก้าสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 47 ตัน หรือบรรทุกชิ้นส่วนปีกของแอร์บัส เอ340 หรือ ลำตัว (ไม่รวมส่วนหัว) ของ เอ350 เข้าไปได้สบายๆ แต่สำหรับ เอ380 เบลลูก้าไม่สามารถขนชิ้นส่วนไปได้ เพราะขนาดใหญ่มาก แอร์บัสจึงใช้วิธีขนส่งทางเรือ และรถยนต์แทนการใช้เบลลูก้า


 คำอธิบายภาพ : NjpUs24nCQKx5e1DGz2tOyCRA5y2det7vScz7IYUKRi ม้างานหลักในการขนชิ้นส่วนเครื่องบินเข้าโรงงานเพื่อประกอบ


 คำอธิบายภาพ : NjpUs24nCQKx5e1DGz2tOyCRA5y2dfCpDdxinae6KGn อุปกรณ์สายพานโหลดสัมภาระ ที่ใช้ร่วมกับเบลลูก้า


 คำอธิบายภาพ : NjpUs24nCQKx5e1DGz2tOyCRA5y2de2SRf01nPw9nX6 ลำตัวของแอร์บัส เอ350 ก็บรรทุกได้


นอกจากนี้ ที่สนามบินใกล้โรงงานแอร์บัสที่เมืองตูลูส จะมีจุดสำหรับเหล่าคนถ่ายภาพเครื่องบิน หรือ plane-spotters ได้ยืนถ่ายรูปเครื่องบินขึ้น-ลง อยู่ที่บริเวณหัวสนามบิน และเบลลูก้าก็เป็นหนึ่งในเครื่องบินที่เหล่า plane-spotters ชื่นชอบด้วยรูปร่าง และความพิเศษของมัน


เมื่อสายการบินทั่วโลกเริ่มปลดระวาง เครื่องบินโดยสารแอร์บัส เอ300-600 เท่ากับว่าเวลาของเบลลูก้ารุ่นแรก เริ่มเหลือน้อยลง อายุการใช้งานที่มากขึ้นบวกกับการใช้งานที่หนักตลอดปี และคาดว่าจะยิ่งมากขึ้นในปี 2017 เมื่อยอดการสั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัสมีมากมายจนทั้งฝูงบินต้องบินถึง 66,000 เที่ยวตลอด 20 ปี ทำให้แอร์บัสเร่ิมมองหา เบลลูก้าลำใหม่ หรือ เบลลูก้ารุ่นที่ 2 ที่จะมาทดแทนลำเดิม โดยมีการพิจารณา แอร์บัส เอ330-200 ที่เป็นรุ่นยอดนิยมสำหรับเครื่องบินขนส่งสินค้า โดยเบลลูก้ารุ่นใหม่จะเริ่มใช้งานในปี 2019 และจะทดแทนเบลลูก้าเก่าครบหมด 5 ลำในปี 2025


 คำอธิบายภาพ : 4DQpjUtzLUwmJZZC0ON8xIlYP0uE5xmbNdorlWXGx3Oy ภายในระวางบรรทุก


ทั้งนี้ มีปัจจัยสำคัญในการเลือกเครื่องบินที่จะมาเป็นเครื่องขนส่ง รุ่นต่อไป คือ จะต้องสามารถบินขึ้นจากรันเวย์ 04 ของสนามบินฮาวาร์เดนท์ ในเวลส์ ที่มีระยะทางเพียง 1,663 เมตรได้ เพราะแอร์บัสต้องลำเลียงชิ้นส่วนจากเวลส์มายังฝรั่งเศส


ข้อมูลจำเพาะ แอร์บัส เบลลูก้า (Airbus Beluga)


 คำอธิบายภาพ : NjpUs24nCQKx5e1DGz2tOyCRA5y2desfMhugK4TOHMx สามารถขนชิ้นส่วนต่างๆได้หนักถึง 47 ตัน


พัฒนาจากแบบโครงสร้างของ เครื่องบินโดยสารลำตัวกว้างแบบ แอร์บัส เอ300-600

ลูกเรือ : 2 คน ความจุ : 1,410 ลูกบาศก์เมตร (50,000 คิวบิกฟุต) ระวางบรรทุก : 47 ตัน (103,616 ปอนด์) ลำตัวยาว : 56.15 เมตร (184 ฟุต 3 นิ้ว) ปีกยาว : 44.84 เมตร (147 ฟุต 1 นิ้ว) สูง : 17.24 เมตร (56 ฟุต 7 นิ้ว) พื้นที่ปีก: 258.80 ตารางเมตร (2,786 ตารางฟุต) น้ำหนักเครื่องเปล่า : 86 ตัน (189,595 ปอนด์) น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 155 ตัน (341,713 ปอนด์) เครื่องยนต์ : เทอร์โบแฟน เจเนอรัล อิเล็กทริก CF6-80C2A8 จำนวน 2 เครื่อง ให้แรงขับต่อเครื่อง 232 - 276 กิโลนิวตัน (52,200-61,960 ปอนด์)


 คำอธิบายภาพ : NjpUs24nCQKx5e1DGz2tOyCRA5y2de8WCkoLy0HALra เป็นที่ถูกใจของบรรดาคนถ่ายรูปเครื่องบิน


สมรรถนะ


  ความเร็วสูงสุด : 0.82 มัค   พิสัยการบิน : 2,779 กิโลเมตร (1,501 นอติคอลไมล์) พร้อมน้ำหนักบรรทุก 40 ตัน และ 4,632 กิโลเมตร (2,501 นอติคอลไมล์) เมื่อบรรทุกหนัก 26 ตัน.





ภาพจาก ทวิตเตอร์ @Airbus , ข้อมูลที่มา: สำนักข่าว CNN, Via @ ไทยรัฐออนไลน์

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 5787
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง