สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

พระมหากรุณาธิคุณ ก่อเกิด "มูลนิธิราชประชานุเคราะห์" พระผู้เป็นกำลังใจ มหาวาตภัยแหลมตะลุมพุก "แฮเรียต" ถล่มภาคใต้ ปี พ.ศ. 2505

by sator4u_team @16 ต.ค. 59 03:21 ( IP : 223...182 ) | Tags : พ่อหลวงของชาวปักษ์ใต้

เพียงเวลาไม่นานนัก ประชาชนที่รับฟังข่าวจากวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต ต่างก็หอบหิ้วสิ่งของ ตามที่มีอยู่และซื้อหามาได้ ทั้งถุงข้าว เสื้อผ้า จอบ เสียม หม้อ กระทะ เข้าสู่พระราชตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นทิวแถว ได้ข้าวของมากมายกองเต็มไปหมด



 คำอธิบายภาพ : A9424663-3


ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ร.ส.พ. รถไฟ เครื่องบินของกองทัพอากาศ เรือของกองทัพเรือ รถยนต์ของหน่วยราชการ ทั้งหมดที่มีที่ช่วยได้ ก็ระดมกันมาช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายเป็นการด่วน และเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้เกิด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานเงินบริจาค ให้นำไปบรรเทาทุกข์อย่างทั่วถึง แล้วยังมีเงินเหลืออยู่ จึงทรงพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ ขอจดทะเบียนตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2506 โดยได้พระราชทานเงินจำนวน 3 ล้านบาท ให้เป็นทุนประเดิม ของมูลนิธิฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที


มีการบริจาคเงิน ช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยอย่างคึกคัก ทั้งทางสถานีวิทยุ และสภากาชาดไทย


จากเหตุการณ์วันมหาวิปโยค เกิดวาตภัยขึ้นที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2505 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และชีวิตประชาชนเป็นอย่างมากมาย เหลือที่จะคณานับ ยังความเศร้าสลดใจ แก่พี่น้องประชาชนชาวไทย โดยทั่วไป การนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงห่วงใยในความทุกข์ ความเดือดร้อนของมวลราษฎรผู้ประสบชะตากรรมจากภัยธรรมชาติอันหฤโหดในครั้งเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รัฐบาล จัดการช่วยเหลือเขาเหล่านั้น โดยเร่งด่วน


พระผู้เป็นกำลังใจ



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยความโทมนัสพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต กระจายข่าวอย่างละเอียด เชิญชวนให้ประชาชน ร่วมบริจาคกับในหลวง รวบรวมสิ่งของ เครื่องใช้ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และเงินตามศรัทธา เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยดังกล่าว เพียงเวลาไม่นานนัก ประชาชนที่รับฟังข่าวจากวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต ต่างก็หอบหิ้วสิ่งของ ตามที่มีอยู่และซื้อหามาได้ ทั้งถุงข้าว เสื้อผ้า จอบ เสียม หม้อ กระทะ เข้าสู่พระราชตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นทิวแถว ได้ข้าวของมากมายกองเต็มไปหมด


ก่อเกิด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ



ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ร.ส.พ. รถไฟ เครื่องบินของกองทัพอากาศ เรือของกองทัพเรือ รถยนต์ของหน่วยราชการ ทั้งหมดที่มีที่ช่วยได้ ก็ระดมกันมาช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายเป็นการด่วน และเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้เกิด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานเงินบริจาค ให้นำไปบรรเทาทุกข์อย่างทั่วถึง แล้วยังมีเงินเหลืออยู่ จึงทรงพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ ขอจดทะเบียนตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2506 โดยได้พระราชทานเงินจำนวน 3 ล้านบาท ให้เป็นทุนประเดิม ของมูลนิธิฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที


"ให้ไปให้ความอบอุ่น ไปช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยฉับพลับ ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลือมีกำลังใจที่จะปฏิบัติงานต่อไป"


จากน้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ของราษฎรเสมอมา มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2506 ตามพระบรมราโชบายที่ว่า.."ให้ไปให้ความอบอุ่น ไปช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยฉับพลับ ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลือมีกำลังใจที่จะปฏิบัติงานต่อไป"


 คำอธิบายภาพ : ki8b6a98kibah9ac65aib 50 ปี มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ น้ำพระทัยรวมใจปวงราษฎร์


มูลนิธิราชประชานุเคราะห์มีวัตถุประสงค์มุ่งช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบสาธารณภัยทั่วไป ในประเทศโดยฉับพลัน ซึ่งยังผลให้กองทุนนี้ที่มีเพียงแค่ 3 ล้านบาทในปีแรกเพิ่มขึ้นมาถึง 12 ล้านบาท ภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกเหนือไปจากการที่มีบรรดาอาสาสมัครซึ่งผ่านการอบรมโดยทุนทรัพย์ของตนเองและพร้อมที่จะออกไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในยามที่มูลนิธิต้องการมากถึง 600 คน


25 ตุลาคม 2505 วันมหาวิปโยค



เมื่ออดีต 25 ตุลาคม 2505 เป็นวันมหาวิปโยค เหตุการณ์มหาวาตภัยครั้งนั้นระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งเกิดลมพายุโซนร้อนเป็นพายุหมุนพัดเข้าเต็มพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีความเร็วประมาณ 180-200 กม.ต่อชั่วโมง ทั้งแรงลมที่พัดใส่อาคารบ้านเรือนโยกคลอน หลังคาหลุดปลิวและลอยทั่วไปทั้งจังหวัด แล้วแรงคลื่นยักษ์ ซึ่งสูงกว่า 2-3 เมตร ยังโถมพัดเข้าใส่แหลมตะลุมพุกจนหมู่บ้านขนาดประชากร 4,000 คนราบเรียบเหลืออยู่เพียง 5 หลังเท่านั้น พายุโซนร้อนแฮเรียตเริ่มพัดเข้าใส่จังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2505 ตั้งแต่ยังเป็น ดีเปรสชั่นจนทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในบ่ายวันที่ 25 ตุลาคมนั้น ประมาณ 16.00 น. ทางขอบฟ้าตะวันออกและทิศใต้ ก็พลันมืดคลุ้มเหมือนอย่างผืนม่านกั้นแล้วเกิดเป็นสายๆ หลายสายแบบลมงวงช้างหรือลมป่องหรือลมหางหนู แต่ครั้งนี้มีเกิดหลายสายอย่างไม่เคยมีมาก่อน จากนั้นฝนคงตกหนักต่อไปจนค่ำเวลาประมาณ 19.00 น. ก็เกิดมีลมพัดอู้แรง จากทางทิศเหนือ บ้านหลายหลังเริ่มพังในขณะที่ทางทิศเหนือนั้นปรากฎเป็นเสียงดังลั่น เห็นแสงสว่างจ้าและน้ำก็ไหลเชี่ยวกรากเป็นฟองแตกพุ่งเข้าใส่แหลมตะลุมพุก แม้ที่ปากพนังน้ำในแม่น้ำก็ล้นท่วมเมืองเช่นกัน ลม ฝนและน้ำคลื่นยักษ์จากทาง ทิศเหนือนี้พัดกระหน่ำอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วสงบลงโดยผู้คนเกิดสับสนอลหม่าน บ้านพังบ้างแล้ว ที่เจ็บตายก็ช่วยเหลือกันไป ที่ยังรอดอยู่ต่างก็อพยพไปอยู่บ้านหลังที่ใหญ่มั่นคงแข็งแรงกว่า บางหลังอยู่กันเป็นร้อยคนเฉพาะที่โรงพระจีน นั้นอยู่กันถึง 300 คน แต่ลมพายุสงบเพียง 5 นาทีเท่านั้น น้ำที่ท่วมอยู่ประมาณ 2-3 เมตร ลดลงเพียง 1 คืบ ก็บังเกิดลมจากทางทิศใต้พัดหวีดหวือเข้ามาใหม่ คราวนี้ทั้งแรงกว่าและระดับคลื่นก็สูงกว่าบ้านที่ถูกทิ้งโยกไว้นั้นพังในพริบตาขณะที่บ้านหลังมั่นคง จุดอพยพของคนนับร้อยๆ ค่อยๆ ถูกน้ำท่วมท้นจนมิด หรือไม่ก็หลุดลอยย้ายตำแหน่ง แตกรานกระทั่งไปกระทบต้นไม้ หลายหลังถูกคลื่นซัดพาลงไปกลางทะเล โดยทุกหลังล้วนแต่มีผู้คนแออัดยัดเยียดติดไปด้วย จากคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิตจากบางหลังๆ ละเพียง 2-3 ชีวิต เล่าว่าต่างกระเสือกกระสนดิ้นรนไม่ผิดกับแมวที่ถูกจับใส่กล่องโยน น้ำ ระลอกหลังนี้พายุพัดอยู่อีก 1 ชั่วโมง จึงสงบพร้อมกับระดับน้ำที่ลดลงทิ้งซากผู้คนสิ่งของที่ลอยไว้ตามยอดมะพร้าวและป่าแสม รวมทั้งผู้ที่รอดชีวิตทั้งหลายด้วยส่วนบนพื้นนั้น ซากศพ อาคารบ้านเรือนสิ่งของต่างๆ ระเกะระกะไปทั่ว มหาวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกคราวนั้น มีคนตายและสูญหายถึง 1,030 คน บาดเจ็บสาหัส 422 คน ไร้ที่อยู่อาศัย 16,170 คน อาคารบ้านเรือนทั่วทั้งจังหวัดพังทั้งหลัง 22,296 หลัง ชำรุด 50,775 หลัง สวนยางสวนผลไม้เสียหายประมาณ 791 ล้านต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชานุเคราะห์ผู้ประสบวาตภัยในครั้งนี้หลายๆ ประการ รวมทั้งการก่อกำเนิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ก็เกิดขึ้นในครั้งนี้เช่นกัน


 คำอธิบายภาพ : pic5802f57745e4epic5


 คำอธิบายภาพ : pic5802f577406bbpic5


สรุปเหตุการณ์ "มหาวาตภัยถล่มภาคใต้" ปี พ.ศ. 2505



เมื่อวันที่ 25-26 ตุลาคม พ.ศ.2505 ได้เกิดมหาวาตภัยขึ้น ในภาคใต้ของประเทศไทย โดยที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการสูญเสียอย่างหนักกว่าที่ใด คลื่นใหญ่มหึมาม้วนตัวจากทะเลขึ้นบนบก กวาดสรรพสิ่งที่กีดขวาง ไม่ว่าจะเป็นเรือแพที่จอดอยู่ หรือบ้านเรือนริมทะเล ต้นไม้ ชีวิตคน สัตว์เลี้ยง ล้วนถูกคลื่นยักษ์ม้วนหายลงไปในทะเล โดยไม่มีโอกาสได้รู้ตัวล่วงหน้า ที่อยู่ห่างชายฝั่งลึกเข้าไปในแผ่นดิน ก็ถูกพายุโถมกระหน่ำโครมเดียว ปลิวว่อนบาดเจ็บล้มตายนับไม่ถ้วน คลื่นยักษ์กวาดบ้านเรือนและราษฎร ลงไปในทะเลเกือบทั้งตำบล เรียกว่าวาตภัยในครั้งนี้ มีความร้ายแรงที่สุด ในรอบศตวรรษเลยทีเดียว ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีอายุ 70-80 ปี บอกว่า เกิดมาก็เพิ่งเคยเห็น ความร้ายแรงของธรรมชาติ และเคยเห็นความเสียหายอย่างมากครั้งนี้เอง จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในสภาพเหมือนถูกปล่อยเกาะ เส้นทางที่จะติดต่อกับจังหวัดอื่น ถูกทำลายพินาศหมด ทั่วทุกหัวระแหงในจังหวัด อยู่ในสภาพขาดแคลนทั้งเสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค ไฟฟ้าในจังหวัดก็ดับหมด


กองทัพเรือออกปฏิบัติการ ช่วยเหลือค้นหาเรือประมง ในหลายจังหวัดทางภาคใต้ ที่สูญหายไปเป็นจำนวนมาก และได้ค้นพบศพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในทะเลและบนบก


รองอธิบดีกรมตำรวจสั่งการไปยังหน่วยบิน และหน่วยปฏิบัติการใต้น้ำ แห่งกองบังคับการตำรวจน้ำ ออกค้นหา แต่ต้องเผชิญกับอุปสรรคคลื่นลมพายุ จนหมดความสามารถ ที่จะค้นหาผู้รอดชีวิตในทะเลได้


การรถไฟแห่งประเทศไทย ประกาศงดเดินขบวนรถด่วนสายใต้ เพราะภูเขาดินพังทลาย ทับรางระหว่างสถานีช่องเขา กับสถานีร่อนพิบูลย์ ในทะเลศพเริ่มลอยเกลื่อน ไม่เหลือผู้รอดชีวิตให้ช่วยเหลือ จากเครื่องบินหรือเรือรบเลย และผู้ที่เหลือรอด เผชิญกับปัญหาความอดอยาก และพบซากเรือแตกทั่วท้องทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราชเวลากลางคืน มืดทึบไปหมดทั้งเมือง เพราะไฟฟ้าใช้การไม่ได้


จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ปราศรัยถึงผู้ประสบวาตภัยว่า รู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้ง คนไทยทั้งชาติ รวมทั้งต่างชาติ อาทิ อังกฤษ, อิตาลี, เวียดนาม, สวีเดน, สหรัฐ ฯลฯ ตกตะลึงต่อข่าวมหาวิปโยค ต่างก็เข้ามาช่วยเหลือ และบริจาคให้กับผู้ประสบภัย ที่รอดชีวิตในครั้งนั้น


สรุปยอดความเสียหาย ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคใต้ จากเหตุการณ์แหลมตะลุมพุก พ.ศ. 2505 เสียชีวิต 911 คน(บ้างก็ว่า1,500 คน) สูญหาย 142 คน บาดเจ็บสาหัส 252 คน ไม่มีที่อยู่อาศัย 10,314 คน บ้านเสียหาย 42,409 หลังคาเรือน โรงเรียน 435 หลัง รวมมูลค่าความเสียหาย 100-377 ล้านบาท


ภาพจริงของความเสียหาย



 คำอธิบายภาพ : pic5802f57746584pic5


 คำอธิบายภาพ : pic5802f57746c70pic5


 คำอธิบายภาพ : pic5802f577472ddpic5


 คำอธิบายภาพ : pic5802f57747955pic5


 คำอธิบายภาพ : pic5802f57747fdapic5


 คำอธิบายภาพ : pic5802f57748650pic5


 คำอธิบายภาพ : pic5802f58d5813fpic5


 คำอธิบายภาพ : pic5802f5d20c192pic5


 คำอธิบายภาพ : pic5802f58d58ebfpic5


อ้างอิง @ ข้อมูลภาพ ปากพนัง นครศรีฯ

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 8089
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง