จากความวิปโยค คืนสู่ความสมบูรณ์ ด้วยพระมหากรุณธิคุณ “อ่างเก็บน้ำกะทูน” สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้
อ่างเก็บน้ำกะทูนเป็นอีกหนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สามารถพลิกวิกฤตจากน้ำท่วมใหญ่ในอดีตให้เป็นโอกาส ช่วยชะลอน้ำ สร้างชีวิตใหม่ให้กับพสกนิกร
จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทาง “อุทกธรณีภัย” คือ น้ำท่วมและแผ่นดินถล่มที่สะเทือนใจคนในหมู่บ้าน ณ เวลานั้นเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยเหตุเกิดตอนกลางดึกในขณะที่คนในหมู่บ้านต่างนอนหลับ ซึ่งมีแผ่นดินถล่มและน้ำท่วมพัดพาไม้ซุงมาทับบ้านเรือนทั้ง 3 หมู่บ้าน กว่า 400 ครัวเรือนเสียหาย
พิบัติภัยทางธรรมชาติครั้งนี้ทำให้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมากทั้งนาข้าว สวนยางพารา และมีชาวบ้านเสียชีวิตกว่า 200 ราย ส่วนคนที่รอดชีวิตนั้นต้องอพยพไปอยู่ตามที่ต่างๆ นอกจากนี้ที่แห่งนี้ยังเป็นถนนสายแร่ดีบุกซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ในขณะนั้นประกอบอาชีพทำเหมืองแร่ และที่หมู่บ้านแห่งนี้ยังมีถนนที่เป็นเส้นทางหลักที่ใช้เดินทางไป จ.สุราษฎร์ธานี ที่สำคัญในขณะนั้นอีกด้วย
จากเหตุการณ์ภัยพิบัติดังกล่าว ประกอบกับพื้นที่ที่เป็นแอ่งกระทะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความทุกข์ยากของชาวบ้านในขณะนั้น จึงทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานสร้าง “อ่างเก็บน้ำกะทูน” ขึ้นที่ ต.กะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาพิบัติภัยจากธรรมชาติ
อ่างเก็บน้ำกะทูนเป็นอีกหนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สามารถพลิกวิกฤตจากน้ำท่วมใหญ่ในอดีตให้เป็นโอกาส ช่วยชะลอน้ำ สร้างชีวิตใหม่ให้กับพสกนิกร
อ่างเก็บน้ำกะทูน มีพื้นที่กว่า 12,500 ไร่ นับว่าเป็นอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่ง ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการพระราชดำริพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อประโยชน์ในการบรรเทาอุทกภัย ในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำตาปีตอนล่าง
จากการสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าวทำให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำนี้มากมาย อาทิ บรรเทาอุทกภัยพื้นที่เพาะปลูก และบ้านเรือนประชาชนสองฝั่งแม่น้ำตาปี, ใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก, เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดขนาดใหญ่และเป็นแหล่งการทำประมงพื้นบ้าน เช่น การยกยอ ทอดแห เป็นต้น
นอกจากนี้อ่างเก็บน้ำกะทูนยังถูกขนานนามให้เป็น “สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้” เพราะมีบรรยากาศและทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งทางจังหวัดนครศรีธรรมราชและสายการบินแอร์เอเชียร่วมกันส่งเสริมผลักดันให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้
โดยอ่างเก็บน้ำแห่งนี้มีทิวทัศน์ที่งดงามแปลกตาเพราะสามารถมองเห็นซากของหมู่บ้านที่จมอยู่ใต้น้ำได้ และประกอบกับทิวเขาที่เรียงตัวกันเป็นแนวยาวทั้ง 4 ด้านโอบล้อมบริเวณอ่างเก็บน้ำ ทอดตัวยาวไปถึงอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฏร์ธานี และวิถีชีวิตของชาวบ้านในแถบนั้นที่ยังหว่านแห หาปลา นั่งเรือเล่น จึงทำให้ผู้ที่ไปรู้สึกผ่อนคลายเป็นอย่างมาก
ปัจจุบัน “อ่างเก็บน้ำกะทูน” เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยสามารถปั่นจักรยานเที่ยวรอบอ่างเก็บน้ำชมบรรยากาศของทะเลภูเขา ล่องเรือในยามเช้าหรือยามเย็นชมสายหมอกที่ปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณ และสามารถตกปลา หรือฝึกให้อาหารปลา รวมทั้งชมซากหมู่บ้านใต้น้ำตามคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยต้องติดต่อเรือล่วงหน้า นอกจากนี้ในช่วงเดือนธันวาคมจนถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีทัศนียภาพที่สวยงามที่สุดจะมองเห็นฝูงนกนางนวลแกลบอพยพมาอยู่ที่นี่เป็นจำนวนมาก และกิจกรรมสำหรับผู้ที่ชอบการท้าทายอย่าง กิจกรรมเดินป่า ท่องไพร ชมน้ำตกหนานน้ำฟุ้งซึ่งมีความงดงามมาก ก็เป็นทางเลือกที่ดีทีเดียว
นอกจากกิจกรรมต่างๆ ที่มีที่อ่างเก็บน้ำแห่งนี้แล้ว ที่นี่ยังมีร้านอาหารที่จับปลาแบบสดๆ ริมอ่างเก็บน้ำให้ได้ทานกัน รวมถึงร้านกาแฟ กับบรรยากาศที่มองลงมาแล้วเห็นสันอ่างเก็บน้ำในมุมกว้าง และรีสอร์ตหลากหลายให้ได้เลือกพักผ่อนกันตามอัธยาศัยอีกด้วย
อ่างเก็บน้ำคลองกะทูนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช
พระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยต่อปัญหาและความเสียหาย เนื่องจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นครั้งนี้อย่างยิ่ง จึงพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับวิธีการบรรเทาอุทกภัยและฟื้นฟูพื้นที่ ซึ่งได้รับความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ชลประทานและสำนักเลขานุการ กปร.เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ณ อาคารชัยพัฒนาในสวนจิตรดา ให้กรมชลประทานร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาสภาพพื้นที่ บริเวณบ้านกะทูนเหนือและบ้านกะทูนใต้ และพื้นที่เพาะปลูกจำนวนหลายพันไร่สองฝั่งคลองกะทูน ในเขตอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเมื่อคราวเกิดอุทกภัยน้ำได้ไหลลงมาจากภูเขาอย่างรุนแรงแล้วเกิดกัดเซาะและพัดพา ดิน ทรายกรวด ตลอดจนก้อนหิน กิ่งไม้ ต้นไม้ จำนวนมากมายตามน้ำลงมาจนเกิดการทับถมพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่หมู่บ้าน ซึ่งอยู่ติดเชิงเขาเป็นบริเวณกว้าง เป็นเหตุให้พื้นที่ดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะทราย กรวด และก้อนหินที่ทับถมมีความหนามาก จนยากที่จะฟื้นฟูพื้นที่กลับสู่สภาพที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ดังเดิม หรือตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างปลอดภัยต่อไปได้ จึงสมควรพิจารณาให้ใช้พื้นที่บริเวณซึ่งได้รับความเสียหายเหล่านั้นมาสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ สำหรับบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำตาปีตอนล่าง ในเขตอำเภอพิปูน และอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ด้วยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้กรมชลประทานสร้างอ่างเก็บน้ำคลองกะทูนในพื้นที่ประสบภัย กระทั่งแล้วเสร็จในปี 2540
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุทกภัยรุนแรงเนื่องมาจาก
1 - ฝนตกหนัก ตามปกติจะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน และปรากฏมีน้ำท่วมทุกปีในช่วงดังกล่าว แต่ในปี 2531 นับว่าฝนตกมีปริมาณมากกว่าทุกปีที่ผ่านมาจึงมีน้ำไหลป่าลงมาท่วมหมู่บ้านและพื้นที่เพาะปลูกมากเป็นประวัติการณ์
2 - พื้นที่ลาดเขามีความชันมาก ประกอบมีการตัดไม้ทำลายป่าธรรมชาติอย่างกว้างขวางในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ จึงมีการพังทลายของภูเขา เนื่องจากดินไม่สามารถต้านแรงกัดเซาะของน้ำฝนที่ตกปริมาณมากได้ ตะกอนทราย ทราย กรวด ก้อนหิน และไม้ต่าง ๆ ได้ไหลเทรวมมากับน้ำและตกตะกอนทับถม ณ พื้นที่เชิงเขาตอนล่างเป็นบริเวณกว้างอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ราษฎรหมู่บ้านดังกล่าวเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
3 - คลองกะทูนช่วงที่ไหลผ่านหมู่บ้านมีแนวโค้งและคดเคี้ยว ประกอบกับถนนที่สร้างผ่านหมู่บ้านนั้นได้สร้างตั้งฉากขวางกับแนวน้ำไหลและมีสะพานข้ามคลอง ซึ่งไม่สามารถระบายน้ำหลากจำนวนมากให้ไหลผ่านไปได้ทัน น้ำจึงล้นตลิ่งตัดบริเวณค้างตรงไปหาที่ต่ำ ขณะเดียวกันตามแนวลำน้ำเดิม ตะกอนทรายและต้นไม้นานาชนิดได้ปะทะอุดทางน้ำที่บริเวณสะพาน ถนน และตามโค้งลำน้ำ หลังจากนั้นน้ำด้านเหนือถนน จึงเอ่อสูงไหลบ่าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เพาะปลูกกระจายไปเป็นบริเวณกว้างอย่างรวดเร็ว
ความเสียหายจากโคลนถล่มปี2531
วัตถุประสงค์ของโครงการ
การก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองกะทูนนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการบรรเทาอุทกภัยในเขตพื้นที่ของลุ่มน้ำตาปีตอนล่าง และเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานประมาณ 12,500 ไร่ นอกจากนั้นพื้นที่น้ำในอ่างเหนือเขื่อนยังใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดและใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดได้อีกด้วย
ฝายกั้นแม่น้ำตาปี
โคลนถล่ม อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช
ช่วง “ประวัติศาสตร์ที่หายไป” วันนี้ ย้อนหลังกลับไปเมื่อปี 2531 เกิดเหตุการณ์ดินโคลนถล่มมาพร้อมกับท่อนซุงจำนวนหลายร้อยท่อน และมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนที่ อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช
ก่อนวันเกิดเหตุ 3-4 วันได้เกิดพายุดีเปรสชั่น มีฝนตกปรอยๆ ต่อเนื่องมาหลายวัน ทำให้พื้นดินรวมทั้งเชิงเขาที่ชาวบ้านขึ้นไปปลูกยางพารา บนพื้นที่เดิมที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ จนในที่สุดหมดขีดความสามารถในการอุ้มน้ำ และทำให้ดินมีน้ำหนักมากขึ้น
เมื่อมีฝนระลอกใหญ่ตกเพิ่มเติมลงมาในวันนั้น ทำให้พื่นที่ที่หมดขีดความสามารถในการอุ้มน้ำ ส่วนบนบางส่วน พังทลายลงมาในรูปของโคลนถล่ม พร้อมต้นไม้ไหลทลายทับถมลงมา ลักษณะโดมิโน ท่อนไม้ที่ไหลทะลักภายในไม่กี่นาทีบ้านเรือนถูกกลืนหายไปในพริบตา
แอ่งตำบลกะทูน มีพื้นที่ประมาณ 70 ตร.กม. มีทางน้ำและลำธารหลายสาย ซึ่งรับน้ำจากเชิงเขาโดยรอบ จึงเป็นพื้นที่รับน้ำและแอ่งเขา ทำให้โคนและซุงมารวมกัน สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้ ที่เที่ยวใหม่เมืองนครศรีฯ
อ่างเก็บน้ำแห่งนี้มีทิวทัศน์ของทะเลสาบและขุนเขาที่สวยงาม ได้รับการขนานนามว่าเป็น สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้ ใครที่ได้มานอนค้าง และฟังประวัติชุมชนที่นี้จะรู้สึกว่าที่นี้มีหลายสิ่ง ที่น่าประทับใจ เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้านควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
บริเวณริมอ่างเก็บน้ำ มีร้านอาหารเรียงรายตามถนนเส้นคลองกะทูนใต้ รวมถึงรีสอร์ทน่าพักหลายแห่ง มีกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ อาทิ
1 - กิจกรรมเข้าค่ายพักแรม ชุมชนมีการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดแคมป์ไฟเดินป่า พร้อมกับมีวิทยากรนำชม พื้นที่ประวัติศาสตร์ชุมชน ที่เคยเป็นค่ายคอมมิวนิสต์ และพื้นที่เคยโดยน้ำท่วมในอดีต
2 - กิจกรรมล่องเรือชมภูมิทัศน์และฟังประวัติชุมชน
3 - กิจกรรมตกปลารวมถึงฝึกให้อาหารปลาด้วย
นอกจากนี้ยังได้แวะชม และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิตจากโครงการเซรามิค สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มี จาน ชาม ถาด แจกันสวยงามที่มีลายหายาก สอบถามรายละเอียด ได้ที่ ศูนย์ประสานงานการจัดการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมบ้านกะทูนใต้ โทร 08 6050 9784 หรือสถานที่พักบริเวณอ่างเก็บน้ำกะทูน
ขอขอบคุณ @ อ่างเก็บน้ำคลองกะทูน, 27 ปี โคลนถล่มกะทูน จากความวิปโยค คืนสู่ความสมบูรณ์ @ อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช, สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Relate topics
มังคุดคัด (มังคุดเสียบไม้) ของดีคู่เมืองนครศรีธรรมราช"มังคุดคัด" เป็นเหมือนของคู่กับวัดมหาธาตุฯ เมืองนครศรีธรรมราชไปซะแล้ว ผ่านไปทีไรก็เป็นอันต้องแวะไปกินมังคุดคัดทุกที มีขายประจำที่วัดมหาธาตุฯ เมืองนคร นี่แหล่ะ ไปถึงปุ๊บ ก็เจอปั๊บ แม่ค้าถือถาดมังคุดคั
แกล้งดิน พระอัจฉริยภาพด้านดิน-น้ำ แก้จนยั่งยืน ที่ “ศูนย์ฯ พิกุลทอง” จ.นราธิวาสอย่างที่อำเภอตากใบ ก็มีปัญหานี้ ชาวบ้านทำได้แค่ปลูกพืชได้เป็นหย่อมๆ ผลผลิตไม่ดี ปลูกข้าวได้ไร่ละไม่ถึง 10 ถัง ก็ได้นำความรู้เรื่องแกล้งดินไปปรับปรุงพัฒนาพื้นที่จนเขียวขจีไปทั้งพื้นที่ ![ คำอ
ด้วยพระบารมี ชุมพรวันนี้สุขร่มเย็น น้ำไม่ท่วม !!!ปลายเดือนตุลาคม 2540 พายุไต้ฝุ่น “ลินดา” ได้ก่อตัวขึ้นและเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย และคาดว่าจะขึ้นฝั่งที่บริเวณจังหวัดชุมพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จังหวัดชุมพรเร่งขุดค
พระมหากรุณาธิคุณ ก่อเกิด "มูลนิธิราชประชานุเคราะห์" พระผู้เป็นกำลังใจ มหาวาตภัยแหลมตะลุมพุก "แฮเรียต" ถล่มภาคใต้ ปี พ.ศ. 2505เพียงเวลาไม่นานนัก ประชาชนที่รับฟังข่าวจากวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต ต่างก็หอบหิ้วสิ่งของ ตามที่มีอยู่และซื้อหามาได้ ทั้งถุงข้าว เสื้อผ้า จอบ เสียม หม้อ กระทะ เข้าสู่พระราชตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นทิว
หาดใหญ่พ้นภัยด้วยน้ำพระทัยจากในหลวง โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ตามแนวพระราชดำริ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาที่หาดใหญ่ ที่น้ำท่วมอย่างมากมายเช่นนี้ ท่านผู้ที่อยู่ในท้องที่ก็ได้เห็นด้วยตาของตนเอง แต่ว่าไม่ทันรู้ว่ามันมาอย่างไร ถ้าถามผู้อยู่ที่หาดใหญ่เองทั้งประชาชน ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและพลเรือน ว่าน้ำน
พระราชปณิธานที่จะให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สามารถพูดภาษาไทยได้การศึกษาที่นี่สำคัญมาก ให้พยายามจัดให้ดี ให้พลเมืองสามารถพูดภาษาไทยได้ แม้จะพูดได้ไม่มากนักเพียงแต่พอรู้เรื่องกันก็ยังดี เท่าที่ผ่านมาคราวนี้มีผู้ไม่รู้ภาษาไทย ต้องใช้ล่ามแปลควรให้พูดเข้าใจกันได้ เ
รัชกาลที่ 9 พระราชกรณียกิจด้านแร่ในภาคใต้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งเลียบฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่ระนองถึงภูเก็ต ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเห็นภูมิประเทศอันเป็นแหล่งกำเนิดแร่ดีบุก ทั้งภูเขาและลานแร่ พระองค์ทรงเข้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ “เสด็จเมืองระนอง ๒๕๐๒”พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ “เสด็จเมืองระนอง ๒๕๐๒” ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๖ – ๒๖ มีนาคม ปี พุทธศักราช ๒๕๐๒ ![ คำอธ
พ่อของแผ่นดินกับพสกนิกรชาวไทยมุสลิม" อิสลามิกชนมีพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน อันประกอบพร้อมด้วยบทบัญญัติทางศีลธรรม จริยธรรม นิติธรรม เป็นแม่บทศักดิ์สิทธิ์สำหรับการประพฤติปฏิบัติและการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่จึงมีชีวิตที่เจริญมั่นคง มีความฉลาด
สงขลาใต้ร่มพระบารมีปี ๒๕๐๒ เสด็จสงขลา ครั้งแรก เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวสงขลาเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ครั้งแรก