สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

รัชกาลที่ 9 พระราชกรณียกิจด้านแร่ในภาคใต้

เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งเลียบฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่ระนองถึงภูเก็ต ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเห็นภูมิประเทศอันเป็นแหล่งกำเนิดแร่ดีบุก ทั้งภูเขาและลานแร่ พระองค์ทรงเข้าพระทัยได้ดีถึงความยากลำบากและวิริยะอุตสาหะของผู้ทำเหมือง



 คำอธิบายภาพ : pic580276fe4b1a3pic5


ทรงสนพระทัยในกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และมีพระราชดำริที่จะให้อุตสาหกรรมเหมืองแร่พัฒนาก้าวหน้าเป็นประโยชน์โดยตรงต่อประเทศ


ข้อความต่อไปนี้ นายวิชา เศรษฐบุตร อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและอดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ได้เขียนถึงเหตุการณ์เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จประภาสภาคใต้ เมื่อ ปี พ.ศ.2502 ไว้ดังนี้


“ พ.ศ.2502 เป็นปีประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของกรม ที่กรมได้รับแรงบันดาลใจให้พัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศให้ครบวงจร โครงการตั้งโรงถลุงแร่ดีบุกเชิงพาณิชย์ก็เป็นผลส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ด้วย เดือนีนาคมปีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จประพาสภาคใต้ นับเป็นการปรกอบพระราชภารกิจตามโบราณราชประเพณีทีสืบกันมาว่า หลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระมหากษัตริย์จะต้องเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคต่างๆ ของประเทศ หมายกำหนดการครั้งนั้นมีว่า มีพระราชประสงค์จะเสด็จพระราชดำเนินชมการทำเหมืองแร่ดีบุกอันเป็นอาชีพหลักของภาคใต้ ทางกรมโลหกิจได้จัดแผนให้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการทำเหมืองแร่ดีบุกด้วยเรทอขุดของ บริษัท ไซมีสทีน เดรดยิ่ง จำกัด ที่ตำบลบางนอน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2502 เพราะเป็นเรือขุดลำเดียวที่กำลังขุดอยู่ใกล้ทางหลวงที่ขบวนเสด็จจะผ่าน และในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2502 ได้ทอดพระเนตรการทำเหมืองสูบของเหมืองเจ้าฟ้าที่อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต


การเด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ เป็นการเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งเลียบฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่ระนองถึงภูเก็ต ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเห็นภูมิประเทศอันเป็นแหล่งกำเนิดแร่ดีบุก ทั้งภูเขาและลานแร่ พระองค์ทรงเข้าพระทัยได้ดีถึงความยากลำบากและวิริยะอุตสาหะของผู้ทำเหมือง ไม่ว่าบริษัทใหญ่ของเศรษฐีหรือชาวบ้านที่ร่อนแร่ผู้หาเช้ากินค่ำ ที่เหมืองเจ้าฟ้าของคุณหลวงอนุภาษภูเก็ตการ เจ้าของเหมืองได้ปรับเนินดินด้านหนึ่งของหุบเขากะทู้ สร้างศาลาที่ประทับชั่วคราวบนเนินนั้น สำหรับเป็นที่ประทับทอดพระเนตรชมการฉีดดินในขุมเหมืองด้วยแรงน้ำ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงซักถามผู้ที่เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดเลยไปถึงเรื่องใหญ่กว่า คือ ปัญหาที่ว่าทำไมไทยเราจึงทำแต่เหมืองแร่ดีบุกในภาคใต้เท่านั้น ในเมื่อภูเขาชนิดเดียวกันก็มีในภาคอื่น เช่น ภาคเหนือบ้าง ทำไมเราต้องส่งแร่ไปขายโรงถลุงที่ปีนัง ทำไมไม่ถลุงเป็นโลหะใช้เสียเองในประเทศ หรือเราทำแผ่นเหล็กชุบดีบุกใช้เป็นกระป๋องบรรจุอาหารที่ฝรั่งเขาทำมาขายเรา จะได้มีโรงงานเกิดขึ้นในประเทศ ราษฎรจะได้มีงานทำมากขึ้น แล้วถ่านหิน น้ำมันเล่า จะไม่มีในประเทศเราบ้างเชียวหรือ ฯลฯ


ราชปุจฉาเหล่านี้ หมายถึง พระราชปณิธานที่จะได้เห็นประเทศไทยนั้นพัฒนาอุตสาหกรรมแร่ให้กว้างขวางเจริญเติบโตในรัชสมัยของพระองค์


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมกิจการโรงถลุงแร่ไทยซาโก้ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2511


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ โดยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโรงงานปูนซีเมนต์ท่าหลวง ของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เมื่อปี พ.ศ.2501 และต่อมาในปี พ.ศ.2504 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 และสมเด็จพระราชินีอินกริด แห่งประเทศเดนมาร์กเสด็จทอดพระเนตรโรงงานแห่งนี้


ต่อมาเมื่อบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ได้ดำเนินกิจการครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการของบริษัทด้วย โดยพระองค์ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัส มีความตอนหนึ่ง ซึ่งอันเชิญมา ดังนี้


“บริษัทนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพราะว่าเรามีวัตถุก่อสร้างที่จะใช้โดยไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศ แต่นอกจากนี้ก็มีประโยชน์ในด้านการจัดการ ความจริงได้พิสูจน์ว่า ในเมืองไทยบริษัทใหญ่ๆ ตั้งได้ และดำเนินการได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งจะเป็นตัวอย่างและเป็นการแสดงให้เห็นว่า ถ้าเราตั้งใจทำอะไรก็ต้องทำได้”


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้สร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังไอน้ำขนาดใหญ่หลายโรงโดยใช้ถ่านหินเป็นพลังงานเชื้อเพลิง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอออยู่หัวเสด็จพราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลับลักษณ์ อัครราชกุมารี มาทรงเปิดโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2528 ในการนี้ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมเหมืองแม่เมาะ โดยพลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในขณะนั้นถวายคำอธิบาย


ที่มา @ ศูนย์การเรียนรู้อุตสาหกรรมเหมืองแร่

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 8089
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง