พ่อของแผ่นดินกับพสกนิกรชาวไทยมุสลิม
" อิสลามิกชนมีพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน อันประกอบพร้อมด้วยบทบัญญัติทางศีลธรรม จริยธรรม นิติธรรม เป็นแม่บทศักดิ์สิทธิ์สำหรับการประพฤติปฏิบัติและการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่จึงมีชีวิตที่เจริญมั่นคง มีความฉลาด รู้ผิดชอบชั่วดี มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และนับเป็นบุคคลที่มีคุณค่า ถ้าแต่ละคนจะพยายามศึกษาพระคัมภีร์ให้เข้าใจถ่องแท้ยิ่งขึ้น พร้อมกับเอาใจใส่วิทยาการด้านอื่นๆให้กว้างขวางและก้าวหน้าอยู่เสมอ ก็จะส่งเสริมให้เป็นผู้มีความดี มีความรู้ความสามารถครบถ้วนสมควรยิ่งที่จะเป็นหลักและเป็นกำลังในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม "
นายวาเด็ง ปูเต๊ะ หรือเป๊าะเด็ง สามัญชนไทยมุสลิมผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นพระสหายในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในหลวงเสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดชายแดนทางภาคใต้หลายครั้ง โดยจะเสด็จแปรพระราชฐานประทับ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในช่วงประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคม
คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด คณะกรรมการมัสยิด และชาวไทยมุสลิมทั้งที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ต่างรอรับเสด็จแม้ว่าจะมีฝนตก ทุกคนต่างก็เต็มใจรอรับเสด็จ
จนมีอยู่ครั้งหนึ่งในหลวงทรงทราบว่ามีราษฎรยืนตากฝนรอรับเสด็จอยู่ จึงทรงมีรับสั่งให้เข้าไปหลบฝนก่อนที่คณะเสด็จจะเสด็จผ่าน
เนื่องจากชาวไทยมุสลิมยังใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ เมื่อในหลวงทรงรับสั่งถามถึงทุกข์สุขและการทำมาหาเลี้ยงชีพ ชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่จะไม่กล้าถวายคำตอบเนื่องจากเกรงว่าจะพูดโดยใช้ภาษาไม่เหมาะสม พวกเขาได้แต่ยิ้มด้วยความดีใจ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงจึงทรงรับสั่งให้ใช้ภาษาท้องถิ่นธรรมดาสามัญไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ แล้วจะมีผู้แปลความถวายให้ พระราชกรณียกิจในการเสด็จเยี่ยมราษฎรนั้น ทำให้ในหลวงทรงทราบถึงความแห้งแล้งของการขาดน้ำ สภาพดินเค็มดินเปรี้ยวในการทำนาทำสวน จึงทรงมีพระราชดำริให้มีโครงการต่างๆขึ้น ทรงพระราชทานพันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์ให้ชาวไทยมุสลิมนำไปเลี้ยงเป็นอาหารประจำวันและสามารถนำไปเป็นอาชีพประจำได้ต่อไป
ถ้าในบริเวณนั้นมีศาสนสถาน หรือโรงเรียนสอนศาสนา ในหลวงจะเสด็จเยี่ยมพระราชทานเวชภัณฑ์ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่ศาสนสถาน และโรงเรียนสอนศาสนา ยิ่งกว่านั้นยังทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์หลวงทำการรักษาผู้ป่วย และผู้ป่วยบางรายหากไม่สามารถรักษาในท้องถิ่นได้ ก็จะทรงรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์
ในปีพ.ศ. 2533 ในหลวงทรงแปรพระราชฐานประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ทรงเยี่ยมราษฎรในหมู่บ้านชาวไทยมุสลิม ณ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ที่นั่นมีมัสยิดเล็กๆหลังหนึ่ง ชื่อมัสยิด นูรุ้ลเอียะห์ซาน หมู่บ้านนี้เป็นชาวไทยมุสลิมยากจนที่อพยพมาจากที่อื่นเพื่อมาประกอบอาชีพ อิหม่ามได้กราบบังคมทูลเชิญในหลวงเสด็จประทับในมัสยิด ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดิน 1 ไร่ แต่ยังไม่สามารถจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลามได้ เนื่องจากที่ดินไม่ใช่ที่ของมัสยิด จึงขอพระราชทานที่ดินตรงนั้นให้เป็นที่ของมัสยิด
ในหลวงได้พระราชทานตามคำกราบทูล และยังมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเพิ่มให้อีก 5 ไร่ พร้อมทั้งมีรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ช่วยดำเนินการให้เป็นของมัสยิดอย่างถูกต้องเรียบร้อยด้วย
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 เป็นต้นมา ในหลวงจะเสด็จเยี่ยมมัสยิด นูรุ้ลเอียะห์ซาน และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้มัสยิดนี้เป็นประจำทุกครั้งที่เสด็จ เพื่อสมทบทุนสร้างโรงเรียนสอนศาสนา
ในปีพ.ศ. 2539 มัสยิดนูรุ้ลเอียะห์ซาน ชำรุดทรุดโทรมมากและคับแคบ อิหม่ามจึงขอพระบรมราชานุญาต สร้างมัสยิดหลังใหม่แทนหลังเก่าบนที่ดินพระราชทาน ในหลวงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งแสนบาทในการสร้างให้ นับเป็นมัสยิดแห่งแรกที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ และเป็นมัสยิดที่อิหม่ามได้ทูลเกล้าฯถวายให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ มัสยิดแห่งนี้ก่อสร้างขึ้นใหม่ด้วยความประณีตงดงาม โดยสร้างแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นปีแห่งมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ก่อนปีพ.ศ. 2505 จะเป็นปีใดไม่แน่ชัด ท่านกงสุลแห่งประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้เข้าเฝ้าถวายพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับที่มีความหมายเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อในหลวงทอดพระเนตรและทรงศึกษาดู ทรงมีพระราชดำริว่าควรจะมีพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับความหมายภาษาไทย ให้ปรากฏเป็นศรีสง่าแก่ประเทศชาติ
เมื่อนายต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรีในสมัยนั้น เป็นผู้นำผู้แทนองค์การ สมาคม และกรรมการอิสลามเข้าเฝ้าถวายพระพรในนามของชาวไทยมุสลิมในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีนั้น ในหลวงทรงมีพระกระแสรับสั่งให้จุฬาราชมนตรี แปลความหมายของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน จากพระมหาคัมภีร์ฉบับภาษาอาหรับโดยตรง สิ่งนี้เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อศาสนาอิสลาม และทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกอย่างแท้จริง
ในช่วงเวลาที่จุฬาราชมนตรีแปลพระมหาคัมภีร์ถวาย ทุกครั้งที่เข้าเฝ้า ในหลวงจะทรงแสดงความห่วงใยตรัสถามถึงความคืบหน้า อุปสรรค ปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้พิมพ์เผยแพร่
ในปีพ.ศ. 2511 อันเป็นปีครบ 14 ศตวรรษแห่งอัลกุรอาน ประเทศมุสลิมทุกประเทศต่างก็จัดงานเฉลิมฉลองกันอย่างสมเกียรติ ประเทศไทยแม้จะไม่ใช่ประเทศมุสลิม แต่ก็ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลอง 14 ศตวรรษแห่งอัลกุรอานขึ้น ณ สนามกีฬากิตติขจร เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2511 เป็นวันเดียวกันกับการจัดงานเมาลิดกลาง ในปีนั้นในหลวงพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธี และในวันนั้นเป็นวันเริ่มแรกที่พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับความหมายภาษาไทย ได้พิมพ์ถวายตามพระราชดำริและได้พระราชทานแก่มัสยิดต่างๆ ทั่วประเทศ
ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสในงานเฉลิมฉลอง14 ศตวรรษ แห่งอัลกุรอาน ว่า
“คัมภีร์อัลกุรอาน มิใช่จะเป็นคัมภีร์ที่สำคัญในศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ยังเป็นวรรณกรรมสำคัญของโลกเล่มหนึ่ง ซึ่งมหาชนรู้จักยกย่อง และได้แปลเป็นภาษาต่างๆ อย่างแพร่หลายแล้วด้วย การที่ท่านทั้งหลาย ได้ดำเนินการแปลออกเผยแพร่เป็นภาษาไทยครั้งนี้ เป็นการสมควรชอบด้วยเหตุผล อย่างแท้จริง เพราะจะเป็นการช่วยเหลือในอิสลามิกบริษัทในประเทศไทยที่ไม่รู้ภาษาอาหรับ ได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมมะในศาสนาได้สะดวกและแพร่หลาย ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาส ให้ประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษา ทำความเข้าใจหลักคำสอนของศาสนาอิสลามอย่างถูกต้อง และกว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่า คัมภีร์อัลกุรอาน มีอรรถรสลึกซึ้ง การที่จะแปลออกมาเป็นภาษาไทยโดยพยายามรักษาใจความแห่งคัมภีร์เดิม ไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ และพิมพ์ขึ้นให้แพร่หลายเช่นนี้ จึงเป็นที่ควรอนุโมทนาสรรเสริญ และร่วมมือสนับสนุนอย่างยิ่ง ...”
ในปีพ.ศ. 2512 พระราชกรณียกิจอีกประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมการศึกษาของชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแต่เดิมเยาวชนไทยมุสลิมจะมีการศึกษาภาคสามัญอย่างสูง เพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นภาคบังคับแล้วจะเข้าเรียนภาคศาสนา
เนื่องด้วยผู้ปกครองเกรงว่าบุตรหลานของตนจะไม่รู้ศาสนา ไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ โรงเรียนสอนศาสนาในสมัยนั้น ก็ยังเรียนกันแบบปอเนาะ คือ นักเรียนต้องไปอยู่กับโต๊ะครู ช่วยอาชีพและเรียนหนังสือ อย่างไม่มีหลักสูตรว่านักเรียนจะต้องใช้เวลาเรียนกี่ปี ด้วยเหตุที่ชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่จะถนัดใช้ภาษาท้องถิ่น ไม่สามารถเขียนอ่านภาษาไทย และใช้ภาษาไทยในการติดต่อราชการได้
ในหลวงทรงเป็นห่วงใยในเรื่องนี้ จึงมีพระกระแสรับสั่งให้กระทรวงศึกษาธิการ หาหนทางส่งเสริมและปรับปรุงการเรียนการสอนภาคสามัญให้ดีขึ้น มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับบรรดาโต๊ะครูปอเนาะ จัดให้มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งยังจัดให้มีการดูงานการศึกษาในกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงด้วย ปอเนาะต่างๆจึงเริ่มมีการพัฒนาปรังปรุงดีขึ้น ปอเนาะใดที่มีการพัฒนาปรับปรุงถึงเกณฑ์ ก็จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนที่มีการบริหารการเรียนการสอนดีเด่น และเข้ารับพระราชทานรางวัลประจำปี นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2512 เป็นต้นมา
ในหลวงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวไทยมุสลิมด้านการส่งเสริมอาชีพ ทรงให้มีโครงการศูนย์ศึกษาและพัฒนาการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ฯที่ชาวไทยมุสลิมได้รับประโยชน์ เช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส ทำให้ชาวไทยมุสลิมที่เคยยากจนเพราะไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นจนสามารถยกระดับฐานะครอบครัวให้ดีขึ้นเหมือนกับชาวไทยภาคอื่นๆ
ขอขอบคุณ @ บทความเรื่อง “พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมุสลิม” โดยท่านผู้หญิงสมร ภูมิณรงค์, ไทยมุสลิม
Relate topics
มังคุดคัด (มังคุดเสียบไม้) ของดีคู่เมืองนครศรีธรรมราช"มังคุดคัด" เป็นเหมือนของคู่กับวัดมหาธาตุฯ เมืองนครศรีธรรมราชไปซะแล้ว ผ่านไปทีไรก็เป็นอันต้องแวะไปกินมังคุดคัดทุกที มีขายประจำที่วัดมหาธาตุฯ เมืองนคร นี่แหล่ะ ไปถึงปุ๊บ ก็เจอปั๊บ แม่ค้าถือถาดมังคุดคั
แกล้งดิน พระอัจฉริยภาพด้านดิน-น้ำ แก้จนยั่งยืน ที่ “ศูนย์ฯ พิกุลทอง” จ.นราธิวาสอย่างที่อำเภอตากใบ ก็มีปัญหานี้ ชาวบ้านทำได้แค่ปลูกพืชได้เป็นหย่อมๆ ผลผลิตไม่ดี ปลูกข้าวได้ไร่ละไม่ถึง 10 ถัง ก็ได้นำความรู้เรื่องแกล้งดินไปปรับปรุงพัฒนาพื้นที่จนเขียวขจีไปทั้งพื้นที่ ![ คำอ
ด้วยพระบารมี ชุมพรวันนี้สุขร่มเย็น น้ำไม่ท่วม !!!ปลายเดือนตุลาคม 2540 พายุไต้ฝุ่น “ลินดา” ได้ก่อตัวขึ้นและเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย และคาดว่าจะขึ้นฝั่งที่บริเวณจังหวัดชุมพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จังหวัดชุมพรเร่งขุดค
จากความวิปโยค คืนสู่ความสมบูรณ์ ด้วยพระมหากรุณธิคุณ “อ่างเก็บน้ำกะทูน” สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้อ่างเก็บน้ำกะทูนเป็นอีกหนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สามารถพลิกวิกฤตจากน้ำท่วมใหญ่ในอดีตให้เป็นโอกาส ช่วยชะลอน้ำ สร้างชีวิตใหม่ให้กับพสกนิกร ![ คำอธิบายภาพ : pic5803
พระมหากรุณาธิคุณ ก่อเกิด "มูลนิธิราชประชานุเคราะห์" พระผู้เป็นกำลังใจ มหาวาตภัยแหลมตะลุมพุก "แฮเรียต" ถล่มภาคใต้ ปี พ.ศ. 2505เพียงเวลาไม่นานนัก ประชาชนที่รับฟังข่าวจากวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต ต่างก็หอบหิ้วสิ่งของ ตามที่มีอยู่และซื้อหามาได้ ทั้งถุงข้าว เสื้อผ้า จอบ เสียม หม้อ กระทะ เข้าสู่พระราชตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นทิว
หาดใหญ่พ้นภัยด้วยน้ำพระทัยจากในหลวง โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ตามแนวพระราชดำริ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาที่หาดใหญ่ ที่น้ำท่วมอย่างมากมายเช่นนี้ ท่านผู้ที่อยู่ในท้องที่ก็ได้เห็นด้วยตาของตนเอง แต่ว่าไม่ทันรู้ว่ามันมาอย่างไร ถ้าถามผู้อยู่ที่หาดใหญ่เองทั้งประชาชน ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและพลเรือน ว่าน้ำน
พระราชปณิธานที่จะให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สามารถพูดภาษาไทยได้การศึกษาที่นี่สำคัญมาก ให้พยายามจัดให้ดี ให้พลเมืองสามารถพูดภาษาไทยได้ แม้จะพูดได้ไม่มากนักเพียงแต่พอรู้เรื่องกันก็ยังดี เท่าที่ผ่านมาคราวนี้มีผู้ไม่รู้ภาษาไทย ต้องใช้ล่ามแปลควรให้พูดเข้าใจกันได้ เ
รัชกาลที่ 9 พระราชกรณียกิจด้านแร่ในภาคใต้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งเลียบฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่ระนองถึงภูเก็ต ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเห็นภูมิประเทศอันเป็นแหล่งกำเนิดแร่ดีบุก ทั้งภูเขาและลานแร่ พระองค์ทรงเข้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ “เสด็จเมืองระนอง ๒๕๐๒”พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ “เสด็จเมืองระนอง ๒๕๐๒” ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๖ – ๒๖ มีนาคม ปี พุทธศักราช ๒๕๐๒ ![ คำอธ
สงขลาใต้ร่มพระบารมีปี ๒๕๐๒ เสด็จสงขลา ครั้งแรก เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวสงขลาเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ครั้งแรก