โร้แล้วหม้าย! "เคย" ไม่ใช่เท่าแต่หรอย แต่ยังมีข้อดีถึง 10 อย่าง!!!
"เคย" คำเรียกสั้นๆ แต่หรอยแรง
เคยก็คือกะปิ หรือ shrimp paste, shrimp sauce ในภาษาอังกฤษ เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดอยู่คู่ครัวใต้มาแต่โบราณ และ "เคย" ก็ยังแพร่หลายในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนใต้ของประเทศจีนอีกด้วยเช่นกัน สำหรับคำว่า "กะปิ" ถูกใช้กันแพร่หลายทั้งในไทย ลาว และกัมพูชา ส่วนในอินโดนีเซีย เรียกกะปิว่า เตอราซี terasi (หรือ trassi, terasie) , มาเลเซีย เรียกว่า เบลาจัน belacan (หรือ belachan, blachang) , เวียดนาม เรียกว่า mắm tôm , ฟิลิปปินส์ เรียกว่า bagoong alamang (หรือ bagoong aramang) และ ภาษาจีนฮกเกี้ยน เรียกว่า hom ha หรือ hae ko (POJ: hê-ko)
แล้วตกลง "เคย" คือไอไหร ?
หากจะถามว่า ‘เคย’ คืออะไร สืบค้นใน Wikipedia บอกว่า เคย หรือ เคอย (ภาษาอังกฤษเรียก Krill) เป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกุ้งที่อยู่ในกลุ่มกุ้ง-กั้ง-ปู ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มแพลงก์ตอน (plankton) ตัวเคย จะมีตัวเล็กกว่ากุ้งและไม่มีกรีแหลมๆ ที่บริเวณหัว มีตัวสีขาวใส มีตาสีดำ มีขนาดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีเปลือกบางและนิ่ม อาศัยอยู่ตามบริเวณรากไม้ตามป่าชายเลน เช่น ต้นโกงกาง แสม ลำพู ในแถบขั้วโลกใต้จะเป็นแพลงก์ตอนที่มีขนาดใหญ่ มันเป็นอาหารที่สำคัญของปลาวาฬ ส่วนในอ่าวไทยเป็นแพลงก์ตอนที่มีขนาดเล็กอยู่ตามชายฝั่ง ในนากุ้งและบ่อปลา และยังมีมากในทะเลอันดามัน ลักษณะที่สำคัญคือ ในเคยตัวเมีย จะมีถุงไข่ติดอยู่กับท้องตั้งแต่เกิด จึงมีชื่อเรียกว่า กุ้งโอปอสซั่ม (Opossum shrimp) ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณป่าชายเลนชาวประมงที่จับสัตว์เหล่านี้มาได้บางครั้งก็ต้องการที่จะเก็บไว้รับประทานได้นานๆ จึงหาวิธีที่จะทำการแปรรูปเพื่อที่จะเก็บรักษากุ้งเคยเหล่านี้ ซึ่งเป็นที่มาของการทำ "เคย" หรือกะปิในเวลาต่อมานั่นเอง
แต่ถ้าจะให้นิยามคำว่า เคย ตามประสาคนปักษ์ใต้ ก็น่าจะหมายถึง กุ้งเคยตัวเอียดๆ (กุ้งเคยตัวเล็กๆ) นั่นเอง
กุ้งเคยสดๆ วัตถุดิบจากทะเลที่จะทำกะปิชั้นดี
ตัวเคยหรือกุ้งเคยนั้นจะเรียกต่างกันออกไป ได้แก่
เคยน้ำแรก (กะปิน้ำแรก) จะอยู่ในช่วงเดือนมกราคม หรือเป็นช่วงแรก ๆ ตัวเคยที่จับได้จะมีความบริสุทธิ์สูง มีความสะอาด เป็นตัวเคยล้วน ๆ เพราะใช้ตักที่ผิวน้ำแทนการรุนที่มักจะมีทรายเลนปนมากับตัวเคย เคยน้ำแรกจะมีราคาสูง คุณภาพดีที่สุด
เคยน้ำสอง (เคยรุนหัว) อยู่ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป การเก็บช่วงนี้ใช้วิธีรุนเคย จึงมีลูกปลาเล็ก ๆ ชนิดต่าง ๆปนมาด้วยด่อนข้างมาก เคยที่ได้จะมีราคาปานกลาง คุณภาพปานกลาง
เคยน้ำสาม จะจับต่อกันมากับเคยน้ำสอง การเก็บใช้วิธีรุนเคยเช่นกัน ตัวเคยที่ได้จะมีขนาดใหญ่ขึ้น มักจะมีลูกปลาลูกหอยปนมาด้วย เคยน้ำสามจะมีราคาต่ำที่สุด
เคยปักษ์ใต้ของไทย มี 3 แบบด้วยกัน คือ
เคยกุ้ง เป็นการหมักเกลือกับกุ้งเคยไว้ 1 คืน แล้วนำไปตากแดด นำมาบดหรือโม่ให้ละเอียด แล้วตากแดดอีกครั้ง จากนั้นจึงนำไปใส่เข่งหรือตะกร้าที่มีใบตองรองอีก 7 วัน แล้วจึงเก็บไว้รับประทาน
เคยปลา เป็นกะปิที่ทำมาจากปลาน้ำจืด ที่มีชื่อเสียงคือเคยปลาจากทะเลน้อย การทำเหมือนเคยกุ้ง โดยตัดหัวปลาและขอดเกล็ดออกก่อนหมักกับเกลือ
เคยกุ้งหวาน ทำเหมือนเคยกุ้ง แต่ตำให้ละเอียดแล้วตากแดดสามครั้ง ครั้งสุดท้ายตำรวมกับน้ำตาลแว่น
เคยเจี้ยน หรือ กะปิคั่ว หนึ่งในเมนูหรอยแรงของปักษ์ใต้
ถึงแม้ "เคย" จะเป็นหนึ่งในส่วนผสมหลักที่ทรงอิทธิพลเป็นอย่างมากกับอาหารไทยมานมนาน โดยเฉพาะอาหารปักษ์ใต้ แต่ข้อเสียที่หลายคนไม่ชอบก็คือกลิ่นอันรุนแรง และสีสันไม่น่าดึงดูดใจสักเท่าไหร หากแต่ในแง่ของคุณค่าทางอาหารนั้นอุดมไปด้วยประโยชน์รอบด้าน ซึ่ง "โรงพยาบาลราชวิถี" ได้สาธยายคุณประโยชน์ทั้ง 10 ข้อ ต่อไปนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว ใครที่คิดเบือนหน้าหนี คงต้องหันกลับมาเทใจให้กับ "เคยแท้ๆ" ของดีจากแดนสะตอฟอร์ยูเป็นแน่แท้เชียวครับ ..
ข้อดี 10 อย่างของ "เคย"
1.) บำรุงกระดูก แคลเซียมจะถูกปลดปล่อยจากกะปิถ้าผ่านความร้อน เช่น ตอนปิ้งกะปิหรือทำข้าวคลุกกะปิด้วยข้าวสวยร้อน ๆ ถ้าเบื่อดื่มนมมากก็ขอให้ลองหากะปิมาทานบ้างเพราะให้แคลเซียมมากกว่านมวัวหลายเท่านัก
2.) ถูกกับเลือดจาง กะปิมีวิตามินบี 12 ซึ่งต้องได้จากภายนอกเท่านั้ ร่างกายเราสร้างเองไม่ได้ แต่มีในกะปิ วิตามินชนิดนี้ดีกับเลือดมาก หากขาดจะทำให้ป่วยเลือดจางได้เช่นเดียวกับท่านที่กินมังสวิรัติ
3.) ไม่ให้ร้างฟัน มีการศึกษาโดยคุณหมอฟันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่า กะปิที่ผ่านความร้อนช่วยให้ฟันไม่ผุ ทำให้ชาวใต้ที่รับประทานกะปิและน้ำบูดูบ่อย ไม่ค่อยพบปัญหาฟันผุฟันสึกมากเหมือนพี่น้องภาคอื่นๆ
4.) บำรุงมันปลา มีน้ำมันโอเมก้า 3 ชนิดเดียวกับที่อยู่ในปลาน้ำลึกมาก เพราะเป็นตัวแม่ที่แท้จริงที่สร้างน้ำมันดีชนิดนี้ แถมมีมากและดูดซึมได้ดีด้วย ลองช่วยกินสลับกับปลาสดบ้างก็ดี ไม่ต้องกลัวธาตุเค็ม หรือ โซเดียม เกินจากกะปิ เพราะถ้าเทียบกันแล้วอาหารใกล้ตัวหลายอย่างมีมากกว่า อย่างปลาเค็ม ไส้กรอก แหนมและขนมกรุบ กรอบใส่ผงชูรส
5.) หาจุลินทรีย์ เป็นเชื้อดีที่หมักอยู่ในกะปิมีสารพัดจุลินทรีย์ที่ช่วยเป็น ?โปรไบโอติกส์? ในลำไส้ เสริมภูมิให้เชื้อผู้ร้ายไม่มาแผ้วพาน แต่ข้อสำคัญคือต้องเลือกกะปิที่สะอาดดีจริงไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นเพิ่มเชื้อร้ายให้ท้องไส้เสียกันไปได้
6.) มีป้องกันตา มีแอนตี้ออกซิแดนท์สำคัญคือ แอสตาแซนทิน กินแล้วช่วยคลายเครียดให้ตา ให้ไม่เหนื่อยล้าเมื่อยตา และล้างสนิมแก่ออกจากตาได้ดี
7.) พาวิตามินดี นอกจากแสงแดดแล้วกะปิเป็นแหล่งวิตามินดีที่แสนดีที่นอกจากช่วยกระดูกแล้ว ยังช่วยคลายเครียดให้อารมณ์ผ่องใสได้ เพราะคนที่ไร้วิตามินดีมาก ๆ นั้นจะมีอารมณ์ออกไปทางซึมเศร้าเฉาชีวิต
8.) ไม่มีเลือดหนืด ด้วยอานิสงส์จากน้ำมันดีในกะปิอีกแล้วที่ช่วยหล่อลื่นให้เลือดไหลปรูดปราดไม่ขาดช่วง ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันตามที่สำคัญอย่างหัวสมองและหัวใจ ออกฤทธิ์คล้าย ๆ พี่ใหญ่แอสไพรินทีเดียว
9.) ไม่จืดความคิด โอเมก้า 3 ช่วยหล่อลื่นให้สมองแล่นไวเหมือนกับได้น้ำมันออโต้ลู้บบำรุงสมอง และน้ำมันในกะปิเป็นของที่ละลายผ่านไขมันได้ดี จะช่วยบำรุงส่วนประสาทที่มีชั้นไขมันเคลือบอยู่ได้มาก
10.) พิชิตโรคใจ ทั้งปกป้องห้องหัวใจและป้องกันหัวสมองที่เป็นดั่งดวงใจ ยกเว้นว่าอย่าทานเค็มจัดเกินไปเพราะในกะปิมีตัวช่วยสำคัญคือน้ำมันที่ช่วยหลอดเลือดอยู่ ทั้งในสมองและหัวใจเป็นเสมือนชุมทาง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก @ โรงพยาบาลราชวิถี, th.wikipedia.org, รูป กุ้งเคย จาก krungshing.com
Relate topics
- 10 เมนู "ยำ" แดนสะตอ ที่ร่ำลือกันว่า ...หรอยจังฮู้วววว!เคล็ดลับ! สำคัญอยู่ที่วัตถุดิบพื้นบ้านที่สดใหม่ ผสมผสานกับเครื่องยำที่เข้มข้น รสชาติโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะปักษ์ใต้สไตส์สะตอ มีทั้ง เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม และแน่นอน ต้อง "เผ็ด" ด้วยนานาพืชผักสมุนไ
- ไอย๊ะ หรอยอย่างแรง! 15 Unseen เมนูหรอยแดนสะตอ ที่ชาตินี้ พันพรื่อ! คุณต้องลองให้ได้!! ![ คำอธิบายภาพ : pic5583a6cf629dc ](http://sator4u.com/upload/pics
- ขนมจีนแกงปักษ์ใต้ ขนมจีน เป็นอาหารพื้นบ้าน ที่คนไทยทุกภาคทุกท้องถิ่นรู้จักกันดีขนม
- สาหร่ายผมนาง หรือสาย ...สูตรเด็กปักษ์ใต้ ลวกจุ้มน้ำชุบก็หรอย เอามายำสูตรเกาะยอก็หรอยสาย ชื่อเรียกสำเนียงบ้านๆในพื้นถิ่นปักษ์ใต้ ก็คือ สาหร่าย ในภาษากลางนั่นเอง ยำสาหร่าย หรือ "สายลวก" เป็นที่นิยมมากในแถบชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยการเลือกเอาสาหร่ายที่สดใหม่ นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วน
- แกงคั่วหอยขม ...สุดยอดแกงใต้ รสชาดจัดจ้านสะใจ!เมนูเด็ด แกงคั่วหอยขม ส่วนผ
- ว่ากันด้วยเรื่อง "แกงส้ม" -ชาวปักษ์ใต้แกงส้ม เป็นอาหารไทย ประเภทแกงที่มีรสเปรี้ยว โดยเป็นแกงที่ใส่เนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นปลาหรือกุ้ง ผักที่ใช้อาจเป็นผักบุ้ง มะละกอ หัวไชเท้า กะหล่ำดอก ดอกแค หรือไข่เจียวชะอม ใช้น้ำพริกแกงส้มละลายน้ำ ต้มให้
- คั่วสมรม แกงคั่วสมรม สุดยอดความอร่อยแดนใต้แกงคั่วสมรม เป็น แกงกะทิ แบบแกงคั่ว น้ำขลุกขลิก โดยคำว่า สมรม เป็นภาษาใต้ หมายถึง การนำเอาผักและส่วนผสมนานาชนิดมาผสมกันในตัวแกง เช่น กุ้งสด ปลาย่าง หน่อไม้สับ มะเขือยาว เห็ดแครง เป็นแกงที่เป็นพระเอ
- แป้งแดง อาหารที่ชาวสงขลาในแถวอำเภอระโนด สทิงพระ กระแสสินธุ์ สิงหนคร อำเภอเมือง อำเภอหาดใหญ่ นิยมกิน..แป้งแดง อาหารที่ชาวสงขลาชอบกินอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ "แป้งแดง" ชาวสงขลาในแถวอำเภอระโนด สทิงพระ กระแสสินธุ์ สิงหนคร อำเภอเมือง อำเภอหาดใหญ่ นิยมกินแป้งแดง แป้งแดงเป็นอาหารหมักดองชนิดหนึ่งส่วนมากทำจากปลา เ
- กุ้งส้ม ...อีกหนึ่งของหรอยของชาวสงขลากุ้งส้ม ...อีกหนึ่งของหรอยของชาวสงขลา ชาวจังหวัดสงขลา โดยเฉพาะคนที่อยู่ในอำเภอที่ติดฝั่งทะเลอ่าวไทย เช่น ระโนด สทิงพระ กระแสสินธุ์ สิงหนครและอำเภอเมือง ได้สั่งสมภูมิปัญญาในการถนอมอาหารไว้รับประทานม
- “เต้าคั่ว" หรือ "ท่าวขั้ว" อาหารว่างแสนอร่อยของชาวสงขลา ถึงขนาดตั้งชื่อสวยเก๋ว่า "สลัดทะเลสาบ"“เต้าคั่ว" หรือ "ท่าวขั้ว" อาหารว่างแสนอร่อยของชาวสงขลา ถึงขนาดตั้งชื่อสวยเก๋ว่า "สลัดทะเลสาบ" ในตลาดควนเนียงเรียก "เปรี้ยวหวาน" และยังเป็นที่นิยมแพร่หลายในจังหวัดภาคใต้ อาทิ สุราษฎร์ธานี เรียกว่า