“อาจารย์ณรงค์ตะลุงบัณฑิต” จากนายหนังนักอนุรักษ์สู่ทำเนียบศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง)
คำประกาศเกียรติคุณ นายณรงค์ จันทร์พุ่ม ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง)
นายณรงค์จันทร์พุ่ม ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) นายณรงค์จันทร์พุ่ม สมญา “หนังอาจารย์ณรงค์ตะลุงบัณฑิต” ปัจจุบันอายุ ๗๕ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ที่ตำบลนาชุมเห็ด จังหวัดตรัง จบการศึกษาวิชาเอกภูมิศาสตร์ วิชาโทประวัติศาสตร์ จากวิทยาลัยการศึกษาบางแสน (มหาวิทยาลัยบูรพา) เริ่มรับราชการครั้งแรก ที่โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และย้ายมาสังกัดโรงเรียนวิเชียรมาตุ ตำแหน่งสุดท้ายก่อนลาออกจากราชการ คือ
อาจารย์๒ ระดับ ๗ โรงเรียนกันตังรัษฎาศึกษา อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
นายณรงค์ จันทร์พุ่ม มีความรักชอบในการเล่นหนังตะลุงมาตั้งแต่วัยเยาว์ ได้เรียนรู้โดยวิธีการจำจากคุณตาบ้าง การสอบถามจากผู้รู้บ้าง จนได้มีโอกาสแสดงหนังตะลุงครั้งแรกในงานส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ วิทยาลัยวิชาการการศึกษาบางแสน จังหวัดชลบุรี จนกระทั่งรับราชการอยู่ที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง สอนรายวิชาหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการเล่นหนังตะลุงอย่างจริงจัง ได้ใช้สื่อพื้นบ้านหนังตะลุง ผสมผสานกับวิชาการโดยเน้นความต้องการและระดับการรับรู้ของผู้ชมในท้องถิ่น ทำให้เป็นที่สนใจและรู้จักของชาว จังหวัดตรังอย่างกว้างขวาง ได้แสดงหนังตะลุงตลอดมาควบคู่กับการเป็นอาจารย์สอน จนในปี๒๕๒๓ ได้เข้าพิธีครอบ มือกับหนังแผ้ว เสียงเสน่ห์และหนังเม่ง เพื่อทำพิธีเป็นนายหนังที่สมบูรณ์ถูกต้องตามประเพณีต่อมาได้ปฏิบัติหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของจังหวัดตรังไปสู่ประชาชนในท้องที่ต่างๆ เช่น การต่อต้านยาเสพติด สาธารณสุข กฎหมาย รณรงค์การรู้หนังสือ ในนาม “คณะหนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต”
ความโดดเด่นที่ทำให้หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต คือการพัฒนาเทคนิคการแสดงตลอดเวลา ทดลองสร้างตัวหนังตะลุงให้ทันสมัยแต่ไม่เสียเอกลักษณ์ มีดนตรีสมัยใหม่ผสมกับของเดิม พัฒนาแสงสีเทคโนโลยี ในการแสดงแต่ละครั้ง มีการเชื่อมโยงศิลปะการแสดงของ แต่ละภูมิภาคเข้าด้วยกัน เช่น น าเอาเซิ้งภาคอีสาน หมอล า ล าตัด ลิเก มาผสมผสานผ่านตัวละครอย่างกลมกลืน จนได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปในประเทศไทย และด้วยความหมั่นศึกษาข้อมูลใหม่ๆ ทำให้การแสดงในแต่ละครั้ง สามารถเข้าถึงผู้ชมได้โดง่าย
นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบในการแสดง รู้จักวิเคราะห์รสนิยมของ ผู้ชมในแต่ละท้องที่จนได้รับการยกย่องอย่างแพร่หลาย ได้มีโอกาสเดินทางไปแสดงมาแล้วเกือบทั่วทุกจังหวัด ในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน หนังตะลุงอาจารย์ณรงค์มีเอกลักษณ์ตรงบทเจรจาที่หลักแหลมคมคาย สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของผู้คนธรรมดาสามัญได้อย่างตรงไปตรงมา มีบทตลกที่ไม่ลามกหยาบคาย แต่เรียกเสียง หัวเราะจากผู้ชมได้อย่างสนุกสนาน เนื้อเรื่องที่น าเสนอมักจะสอดแทรกความรู้และคุณธรรมต่างๆ ให้แง่คิดที่ดีงามให้ผู้ชมได้นำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นอกจากการให้ความรู้ในฐานะวิทยากรผู้เชี่ยวชาญหนังตะลุงตามสถาบันต่าง ๆ ยังได้รับรางวัลจากหน่วยราชการมากมายในฐานะผู้ที่อุทิศตัวมาอย่างยาวนานเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคใต้อย่างแท้จริง กอปรกับเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ในการแสดงหนังตะลุงอย่างโดดเด่น
บทความ / ข่าว โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 20 มกราคม 2558 @ “อาจารย์ณรงค์ตะลุงบัณฑิต” จากนายหนังนักอนุรักษ์สู่ทำเนียบศิลปินแห่งชาติ"
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) กระทรวงวัฒนธรรม ได้พิจารณารายชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2557 วานนี้ (19 ม.ค.) โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ผลงาน ตลอดจนความเหมาะสมทุกประการ โดยมีผู้สมควรที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ 3 สาขา จำนวน 12 คน
สาขาทัศนศิลป์ เสนอรายชื่อ จำนวน 94 คน ผ่านการเห็นชอบ จำนวน 5 คน ได้แก่ นายปัญญา วิจินธนสาร (จิตรกรรม) นายชวลิต เสริมปรุงสุข (จิตรกรรม) นายบุญช่วย หิรัญวิทย์ (ประณีตศิลป์) นายนิจ หิรัญชีระนันทน์ (ออกแบบผังเมือง) นายจรูญ อังศวานนท์ (สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์)
สาขาวรรณศิลป์ เสนอรายชื่อ 90 คน ผ่านการเห็นชอบ จำนวน 1 คน ได้แก่ นางชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง) สาขาศิลปะการแสดง เสนอรายชื่อ 129 คน ผ่านการเห็นชอบ จำนวน 6 คน ได้แก่ นายสะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ (โทรทัศน์และภาพยนตร์) นางดุษฎี บุญทัศนกุล (ดนตรีสากล) นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ (ดนตรีไทย) นายพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา (ดนตรีไทยลูกทุ่ง) นางภัทราวดี มีชูธน (ละครเวทีและภาพยนตร์) นายณรงค์ จันทร์พุ่ม (หนังตะลุง)
สำหรับนายณรงค์ จันทร์พุ่ม หรือหนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดตรัง ได้บันทึกประวัติไว้ว่า ย้อนไปกว่า 25 ปี ชาวตรัง และจังหวัดใกล้เคียงจะได้ยินชื่อนายหนังตะลุง เรียกกันว่า ตะลุงบัณฑิต หรืออาจารย์หนังณรงค์ จันทร์พุ่ม ซึ่งเป็นครูโรงเรียนวิเชียรมาตุ จ.ตรัง
หนังณรงค์ ได้สร้างสรรค์ศิลปะเพื่อประชาชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสืบทอดศิลปะพื้นบ้านได้ทันยุคจากภาวะวิกฤตด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ทำให้อาจารย์หนังณรงค์ตระหนักและแสดงออกในการเล่นหนังตะลุงอยู่ตลอดเวลาได้สอดแทรกความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม การเมือง การไปใช้สิทธิ ใช้เสียง การวางแผนครอบครัว โดยนำความรู้มาประสานกับลีลากลอน และบทบาทของเงารูปหนังตะลุงให้กลมกลืนเป็นที่เข้าใจง่าย เป็นผู้อนุรักษ์และสืบทอดภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นมาโดยตลอด พัฒนาหนังตะลุงให้เป็นที่นิยมของคนในยุคปัจจุบัน ทั้งยังถ่ายทอดการแสดงของหนังตะลุง และเขียนบทหนังตะลุงให้แก่ผู้สนใจทั่วไป เพื่อส่งเสริมศิลปะการเล่นหนังตะลุง และการอนุรักษ์ภาษาถิ่นให้เป็นมรดกไทยสืบไป
หนังณรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2490 ที่ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านโหละคล้า อ.ย่านตาขาว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวชิรนุกูล และมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จ.สงขลา ปริญญาการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน (มหาวิทยาลัยบูรพา)
ด้านครอบครัว สมรสกับนางมาลี เจริญกุล มีบุตร 1 คน ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 109 หมู่ 6 ต.กันตังใต้ อ.กันตัง จ.ตรัง เริ่มการแสดงหนังตะลุงขณะที่ศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสนในครั้งนั้น ได้รับความอนุเคราะห์ให้ยืมอุปกรณ์จากนายวีระ มุกสิกพงศ์ เพื่อนร่วมรุ่น นามนายหนังณรงค์ จันทร์พุ่ม จึงเป็นที่คุ้นหูในวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ.2513 เป็นต้นมา
พ.ศ.2520 เป็นครูสอนวิชาสังคมศึกษา ที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ เล่นหนังตะลุงเป็นงานอดิเรก จนถึงพ.ศ.2531 นายผัน จันทรปาน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ขอตัวไปประจำฝ่ายประชาสัมพันธ์ของจังหวัด ให้เล่นหนังตะลุงเพื่อการประชาสัมพันธ์โดยตรง พ.ศ.2533 ร่วมจัดการแข่งขันหนังตะลุง เพื่อสร้างแนวร่วมด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด มีหนังตะลุงเข้าแข่งขันจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง และตรัง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้สนับสนุนมอบจอหนังติดคำขวัญ “พิทักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อถนอมชีวิตท่าน” ให้แก่นายหนังที่มาร่วมการแข่งขัน และคณะละครกันตนาได้บันทึกเทปหนังนำไปเผยแพร่ด้วย
หนังณรงค์ เป็นผู้พยายามเรียกร้องสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตของศิลปินด้วยกัน และได้รับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล สำหรับสมาชิกหนังตะลุง สร้างขวัญกำลังใจแก่บรรดาศิลปินหนังตะลุง เพื่อสืบสานสายใยให้ศิลปะพื้นบ้านหนังตะลุงได้เชิดรูปบนจอต่อไปอีกนาน
จอหนังตะลุงยุคแรกที่ อ.ณรงค์ ใช้จัดแสดงโดยเน้นหาด้านการปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ ประกาศเกียรติคุณจากกรมการศึกษานอกโรงเรียน ในฐานะสื่อพื้นบ้านที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างดียิ่ง เมื่อ 10 มีนาคม 2533, โล่ศิลปินยอดนิยมของชาวใต้ จากชมรมส่งเสริมคนดีศรีสุราษฎร์ จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อ พ.ศ.2526, ประกาศเกียรติคุณจากเจ้าคณะจังหวัดตรัง ในฐานะศิลปินหนังตะลุงภาคใต้ที่สามารถใช้หลักธรรมะในทางพุทธศาสนาเข้ากับนิทานที่แสดง ทำให้ผู้ฟังมีความซาบซึ้งในรสพระธรรมเป็นอย่างดีเมื่อ 5 ธันวาคม 2536
รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นด้านภาษาและวรรณกรรมไทย เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2538, โล่เกียรติคุณจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ในฐานะผู้ใช้สื่อพื้นบ้านหนังตะลุง รณรงค์เพื่อให้ประชาชนไปใช้สิทธิประชาธิปไตยได้อย่างดียิ่ง เมื่อ 8 เมษายน 2538
ประกาศเกียรติคุณจากนายอำเภอหาดใหญ่ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนการสร้างรั้วที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2537, เกียรติบัตรศิษย์เก่าดีเด่น เนื่องในโอกาสจัดงาน 40 ปี มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อ 8 กรกฎาคม 2538, เกียรติบัตรจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะเป็นศิลปินดีเด่น สาขาการแสดงพื้นบ้าน (หนังตะลุง) ประจำปี 2540, เกียรติบัตรจากสำนักกิจการนักศึกษา สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ในฐานะผู้สนับสนุนโครงการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาไทยคดีศึกษา เมื่อ 26 สิงหาคม 2541, เกียรติบัตรในฐานะที่ได้อุปการะและสนับสนุนโครงการหนังตะลุงเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ
งานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของหนังณรงค์ คือ การเป็นแกนนำก่อตั้งชมรมศิลปินพื้นบ้านที่ อ.กันตัง เพื่อเป็นที่พบปะและฝึกสอนศิลปะการแสดงพื้นบ้านให้ผู้สนใจทั่วไป ด้วยเจตจำนงที่จะให้ศิลปินพื้นบ้านทั้งหลายได้มีศูนย์รวมเพื่อแลกเปลี่ยนทรรศนะ และแสดงร่วมกันอย่างน้อยปีละครั้ง นั่นคือการรักษาไว้ซึ่งศิลปะพื้นบ้าน
อ.ณรงค์ จันทร์พุ่ม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2557
หลังได้รับการประกาศชื่อเป็นศิลปินแห่งชาติ นายณรงค์ จันทร์พุ่ม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง กล่าวว่า ภูมิใจที่ได้รางวัล ตนเป็นนายหนังตะลุงมา 38 ปี จะสร้างงานหนังตะลุงต่อไปเพื่อให้คนรุ่นใหม่รู้สึกว่ามีความทันสมัย ไม่ล้าหลัง การสร้างงานของตนเองจะรับสิ่งใหม่ๆ โดยไม่ละทิ้งศิลปะดั้งเดิม หากได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ หนังตะลุงจะเป็นสื่อในการเรียนรู้ ปลูกฝังให้คนรักวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และไม่ยุ่งเกี่ยวอบายมุข ฝากให้กระทรวงวัฒนธรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอย่างครบวงจร ไม่เฉพาะหนังตะลุง รวมถึงลิเกด้วย เพื่อพัฒนาศักยภาพศิลปินตามภูมิภาคให้มีฝีมือดียิ่งขึ้น
ผลงานส่วนหนึ่งของหนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต ที่ได้รับการบันทึกลงในแผ่น VCD
สำหรับผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติจะได้รับเงินตอบแทนเดือนละ 20,000 บาท และสามารถเบิกเงินสวัสดิการเพื่อการรักษาพยาบาลได้ตามระเบียบราชการ รวมทั้งมีค่าช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัยครั้งละไม่เกิน 50,000 บาท และหากเสียชีวิต จะมีค่าบำเพ็ญกุศลศพ 20,000 บาท และค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิต 150,000 บาท เป็นต้น
ทั้งนี้ ศิลปินแห่งชาติทั้ง 12 คน จะเข้ารับพระราชทานโล่ และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันศิลปินแห่งชาติ วันที่ 24 ก.พ.นี้ พร้อมทั้งจะมีงานเลี้ยงแสดงความยินดีแก่ศิลปินแห่งชาติ และการจัดกิจกรรมการแสดงและนิทรรศการศิลปินแห่งชาติ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยด้วย การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติดำเนินการตั้งแต่ปี 2528-2556 มีจำนวน 246 คน เสียชีวิตไปแล้ว 110 คน มีชีวิตอยู่ 136 คน
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เรื่องกระบี่เฉือนคม
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เรื่องกระบี่เฉือนคม
หนังตะลุง อาจาร์ณรงค์ ตะลุงบัณทิต เรื่อง หลงทางรัก
หนังตะลุง อาจาร์ณรงค์ ตะลุงบัณทิต เรื่อง หลงทางรัก
หนังอ.ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต สัจจะสวรรค์
หนังอ.ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต สัจจะสวรรค์
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เรื่อง น้ำใจแม่
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เรื่อง น้ำใจแม่ ตอนที่ 1
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เรื่อง น้ำใจแม่ ตอนที่ 2
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เรื่อง น้ำใจแม่ ตอนที่ 3
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เรื่อง น้ำใจแม่ ตอนที่ 4
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เรื่อง น้ำใจแม่ ตอนที่ 5
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เสียงสะอื้นจากบ้านเชียง
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เสียงสะอื้นจากบ้านเชียง 1
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เสียงสะอื้นจากบ้านเชียง 2
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เสียงสะอื้นจากบ้านเชียง 3
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เสียงสะอื้นจากบ้านเชียง 4
หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เสียงสะอื้นจากบ้านเชียง 5
ขอขอบคุณที่มา @ ASTV ภาคใต้ , วีดีโอ @ nakhontv , ธนศักดิ์ เธียรโชติ , peternakorn , ครูโลม มูสิกะปาละ พัทลุง , fb @ หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต
Relate topics
- บรรจง นะแส คนกล้าแห่งท้องทะเลใต้ ผู้พิทักษ์ทรัพยากรชายฝั่งไทย !!!หลังจากที่ได้คลุกคลีกับชุมชนชาวประมง ก็ได้พบว่า วิถีชีวิตของพวกเขาถูกทำลาย เช่น สมัยก่อนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาวบ้านแค่ใช้เบ็ด 2 ตา หย่อนลงไปหาปลาในทะเล วันหนึ่งเขาก็จับปลาอินทรีย์ได้แล
- รู้จักเธอยัง? "จุ้มจิ้ม" ทายาทหมื่นล้าน ′พิธานกรุ๊ป′ ดารานักธุรกิจ-เจ้าหญิงห้างฯไดอาน่า แห่งมหานครหาดใหญ่"จุ้มจิ้ม" วรนันท์ จันทรัศมี หลายคนคุ้นเคยในบทบาทดารา นักแสดง พิธีกรในโลกวงการบันเทิง ![ คำอธิบายภาพ : pic55097248ab723 ](http://sator4u.com/upload/pics/pic55097248ab723.jpg "ชื่อภาพ : pic5509724
- โนราเติม (เติม อ๋องเซ่ง) เสน่ห์แห่งบทกลอนแห่งเมืองตรัง บรมย์ครูยอดมโนราห์ต้นแบบแดนใต้โนราเติม ชื่อนายเติม อ๋องเซ่ง เกิดปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ที่ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษจังหวัดตรัง เป็นบุตรของนายตั้ง นางอบ อ๋องเซ่ง สัญชาติไทย เชื้อชาติจีน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ ๖ จากโรงเรียนวิเชียรมาตุ
- ยิญชัย ปะหณัณ ...กับบทเพลงบทเพลงเพื่อชีวิตที่มีกลิ่นไอสะท้อนปัญหาสังคม ความเหงา ความคิดถึง ความสวยงามและการอนุรักษ์ธรรมชาติยิญชัย ปะหณัณ ( นายศรวิษฐ์ แสงนวล ) ภูมิลำเนาอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ปัจจุบันรับราชการ ชอบร้องเพลง เล่นกีตาร์ และฝึกฝนมาโดยตลอด ต่อมาปี พ.ศ.2551 เริ่มเขียนเพลงจากความรู้สึกเหงา ความค
- สาวใต้เมืองคอน "เมญ่า" นนธวรรณ ทองเหล็ง มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2014สาวใต้เมืองคอน "เมญ่า" นนธวรรณ ทองเหล็ง มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2014 เมญ่า อายุ 22 ปี และกำลังศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะการจัดการธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด อินเตอร์เนชั่
- “ศรัทธา แซ่ด่าน” วีรชนผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยหนุ่มแดนใต้สุดปลายด้ามขวานยะลา - “ศรัทธา แซ่ด่าน” วีรชนผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยหนุ่มแดนใต้สุดปลายด้ามขวาน แกนนำ กปปส.ยะลา ที่ถูกยิงเสียชีวิตในเหตุการณ์รัฐบาลจัดชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมทางการเมืองที่กรุงเทพฯ วัน
- เปิดประวัติ “สุทิน ธราทิน“ วีรชนคนดี ชาวนครศรีธรรมราชนายสุทิน ธราทิน เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2504 อายุ 52 ปี ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนเข้ากรุง เรียนและเป็นนักกิจกรรมรามฯ เคยทำงานกับพรรคไทยรักไทย แกนนำรัฐบาลทั้งภูมิธรรม จาตุรนต์ มาก่อน เป็นเอ็นจีโอ
- ประวัติสุเทพ เทือกสุบรรณ ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ และครอบครัวประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ ภรรยาคนปัจจุบัน พร้อมครอบครัว ผู้ซึ่งเป็นกำลังใจให้ นายสุทพ แกนนำผู้ชุมนุมค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หากกล่าวถึงสถานการณ์บ้านเมืองอันร้อนระอุในช่วงเดือนพฤศจ
- นายกั้น ทองหล่อ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง)กั้น ทองหล่อ (พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2531) ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) เมื่อพ.ศ. 2529 ประวัติชีวิตและผลงาน นายกั้น ทองหล่อ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะก
- นายอิ่ม จิตต์ภักดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) ประจำปี 2540หนังอิ่มเท่ง (อิ่ม จิตต์ภักดี) เกิดเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา ที่บ้านคลองช้าง ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา บิดาชื่อ นายฉิม จิตต์ภักดี เป็นชาว