แหลมหยงสตาร์ @ ปะเหลียน ตรัง
หยงสตาร์ หรือชื่อเต็มว่า ตันหยงสตาร์ หมายความว่า แหลมที่ยื่นไปในทะเล (ตันหยงแปลว่าแหลม) มีที่มาจาก ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีแหลมยื่นไปในทะเล โอบรอบหมู่บ้านไว้ เพราะพื้นที่ของตันหยงสตาร์ มีลักษณะเป็นแหลมยื่นลงสู่ทะเลอันดามันโดยมีแหลมหยงสตาร์อยู่ตรงปลายสุด ถ้ามองจากภาพถ่ายดาวเทียมจะเห็นชุมชนตันหยงสตาร์คล้ายหัวเผือก คือ คอดกิ่วด้านบนแล้วค่อย ๆ ป่องออกตรงกลางพอไปด้านล่างจะค่อย ๆ เรียวเล็กลงตรงจุดปลายแหลม
แหลมหยงสตาร์
เป็นแหลมหินที่ยื่นลงไปในทะเล พื้นน้ำหน้าแหลมหยงสตาร์มีลักษณะเป็นอ่าวที่มีท่าเทียบเรือที่ยื่นออกไปในอ่าว ยามเย็นจะมีร้านค้ามาขายอาหารบริเวณท่าเทียบเรือนี้ บรรยากาศร่มรื่น ชมพระอาทิตย์ตกดินเป็นภาพที่สวยงามยิ่งนัก และที่สำคัญยังมีฝูงนกยาง นับร้อยตัวมาหากินในช่วงน้ำลงของทุกวัน
หินหัวช้าง
หินหัวช้างอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแหลมหยงสตาร์ เป็นกลุ่มหินริมทะเลวางเรียงรายกันอยู่ บ้างก้อนมีลักษณะคล้ายหัวช้างจึงเป็นที่มา หินหัวช้าง ชาวบ้านแถบนี้มีความเชื่อว่า มีทวดศักดิ์สิทธิ์สถิตย์อยู่ตามหมู่หินเหล่านี้ ทุกวันจะมีนักท่องเที่ยวมาเก็บภาพธรรมชาติที่หินหัวช้างนี้
เกาะตะบันหรือเกาะสะระบัน
เป็นเกาะหินปูน ลักษณะเป็นภูเขาสูงกลางทะเลห่างจากแหลมหยงสตาร์ไปทางทิศตะวันกเฉียงใต้ เกาะตะบัน เป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวแม่ไก่นับพันตัว ในช่วงเย็นจะเห็นฝูงค้าวคาวบินรอบๆเกาะตะบัน เป็นอีกจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวจะมาถ่ายภาพความประทับใจไว้
ปลาเค็มผลิตภัณฑ์จากชุมชน
ที่ชุมชนหยงสตาร์มีผลิตภัณฑ์ปลาเค็มปลอดสารพิษ ชาวบ้านจะตากปลาเค็มจากแสงแดดตามธรรมชาติ สามารถพบเห็นวิถีชีวิตชุมชนได้อย่างแท้จริง ปลาเค็มที่นี่จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นของฝากจากชุมชน
สำหรับผู้ที่สนใจท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ ซึมซับวิถีของชุมชนชาวใต้ หยงสตาร์เป็นอีกที่หนึ่งที่รอคอยนักเดินทาง นักท่องเที่ยวทุกท่าน มาเยี่ยมเยือน ตามคำขวัญที่ว่า "หยงสตาร์แหล่งเรียนรู้ศึกษา ภูมิปัญญาชาวบ้าน ประวัติศาสตร์ยาวนาน สถานที่ท่องเที่ยวพัฒนา ผลิตสินค้าชั้นนำ วัฒนธรรมยังรักษา กระโจมไฟสูงสง่า ตันหยงสตาร์เมืองท่าโบราณ"
หมู่บ้านตันหยงสตาร์เป็นชุมชนที่มีมาแต่โบราณนับพันปี และมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศด้านชายฝั่งตะวันตก เช่น สิงคโปร์ ปีนัง และหัวเมืองชายฝั่งอื่นๆ ด้านคาบสมุทรมลายู การทำมาค้าขายย่อมอาศัยความรู้ทางคณิตศาสตร์ จำเป็นที่จะต้องรู้ภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษามลายู ภาษาจีนเป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2440 สมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภัคดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเมืองตรังเสียใหม่ อำเภอท่าพญาซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านท่าพญาก็ถูกย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านหยงสตาร์ พร้อมกับเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็นอำเภอปะเหลียน มีหลวงพิทักษ์โยธา (ปาน) เป็นนายอำเภอ เมื่ออำเภอปะเหลียนตั้งอยู่บ้านหยงสตาร์ (ปัจจุบันเป็นชุมชนตันหยงสตาร์)
เหตุผลที่พระยารัษฏานุประดิษฐ์มหิศรภัคดี ย้ายอำเภอจากท่าพญา มาตั้งที่บ้านหยงสตาร์ น่าจะเป็นเพราะบ้านหยงสตาร์นั้นเจริญมากกว่าเป็นชุมชนใหญ่ มีอ่าวจอดเรือระหว่างปากคลองหยงสตาร์กับเกาะเหลาตรง (ปุเลาตะฮง) มีเรือขนาดใหญ่เข้ามาจอด
ภูมิประเทศของชุมชนตันหยงสตาร์ มีส่วนสำคัญต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ และขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนนิสัยใจคอ เพราะพื้นที่ของตันหยงสตาร์ มีลักษณะเป็นแหลมยื่นลงสู่ทะเลอันดามันโดยมีแหลมหยงสตาร์อยู่ตรงปลายสุด ถ้ามอบจากภาพถ่ายดาวเทียมจะเห็นชุมชนตันหยงสตาร์คล้ายหัวเผือก คือ คอดกิ่วด้านบนแล้วค่อย ๆ ป่องออกตรงกลางพอไปด้านล่างจะค่อย ๆ เรียวเล็กลงตรงจุดปลายแหลม
ทิศเหนือ จดคลองท่าข้ามโดยมีคลองเล็ก ๆ เชื่อมต่อมาจากคลองสังหลัง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก และมีคลองใหญ่ที่อยู่อีกคลองหนึ่ง คือคลองหลักขัน ด้านนี้มีสะพานท่าข้าม เป็นตัวเชื่อมสู่โลกภายนอก
ทิศตะวันออก จดคลองหลักขันและปากคลองมีตะกอน และสันดรทราย ตั้งแต่อดีตนับพันล้านปีจนเกิดเป็นเกาะ คือ เกาะเหลาตรงและบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง หอย ปู ปลา ทิศตะวันออกมีอ่าวที่ลึกเข้าไปถึงอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ทิศตะวันตก จดทะเลอันดามัน ซึ่งมีแนวชายฝั่งที่ยาวเป็นแหล่งสัตว์น้ำหลายชนิด โดยเฉพาะ หอยแครง ลอเนาะ ฝั่งนี้ในอดีตเคยมีกุ้งชุกชุมและมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ หัวแหลมและหินหัวช้าง ห่างออกไปไม่ไกลมีเกาะค้างคาว ซึ่งคงเป็นดินตะกอน และทรายที่พัดตามน้ำมาจากคลองสุโสะซึ่งเป็นคลองใหญ่อีกคลองหนึ่ง
ทิศใต้ จดทะเลอันดามัน โดยมีหัวแหลมอยู่ปลายสุดของพื้นที่ ทั้งหมดห่อหุ้มไปด้วยป่าชายเลน แต่ปัจจุบันแปลสภาพเป็นพื้นที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำบางส่วนโดยเฉพาะฝั่งตะวันตก ส่วนตรงกลางเป็นที่ราบสูง ดังนั้น ชุมชนตันหยงสตาร์ จึงไม่มีภัยธรรมชาติจากวาตภัย เพราะมีป่าชายเลนห่อหุ้ม และไม่มีอุทกภัย เพราะตั้งอยู่ในทำเลที่สูงจากระดับน้ำทะเล จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและไม่มีภัยธรรมชาติจึงอยู่กันด้วยความสงบสุข
ปัจจุบันตัวอำเภอที่เคยตั้งอยู่ที่บ้านหยงสตาร์ ได้ย้ายมาอยู่ที่ตำบลท่าข้าม ซึ่งที่ตั้งอำเภอใหม่นี้อยู่ในจุดที่สูงมาก สามารถมองเห็นทะเล และหมู่เกาะต่างๆ รอบหยงสตาร์ได้อย่างชัดเจน
เศรษฐกิจของหมู่บ้านหยงสตาร์ในปัจจุบัน คือ การทำประมง ทำสวนยางพารา และรับราชการ เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่เป็นเกาะมีน้ำทะเลล้อมรอบ ทำให้เอื้อในการประกอบอาชีพการทำประมง ส่งผลให้อาหารทะเล ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปู ปลา อุดมสมบูรณ์มาก และมีหลายครอบครัวที่ทำสวนยางพารา แม้พื้นที่ของหยงสตาร์จะไม่มากนัก แต่ก็ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และคนหยงสตาร์ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างยิ่ง แทบทุกบ้านจะมีคนที่จบการศึกษาค่อนข้างสูง และรับราชการกันมากทั้งในพื้นที่ และนอกพื้นที่ ทำให้บ้านหยงสตาร์ไม่ค่อยมีปัญหาทางด้านสังคม แม้จะเป็นชุมชนขนาดเล็ก แต่มีความเข้มแข็ง เพราะมีพื้นฐานการศึกษาที่ดีนั่นเอง
สามารถสอบถามรายละเอียดการท่องเที่ยวได้ที่ ... @ ศูนย์ประสานการท่องเที่ยวโดยชุมชนหยงสตาร์ ต.ท่าข้าม อ.ปะเหลียน จ.ตรัง โทร 075-289277
Cr. // รูปภาพสวยๆ จาก fb @ fah bluedoll และ ตรังโซน
Relate topics
- โนราเติม (เติม อ๋องเซ่ง) เสน่ห์แห่งบทกลอนแห่งเมืองตรัง บรมย์ครูยอดมโนราห์ต้นแบบแดนใต้โนราเติม ชื่อนายเติม อ๋องเซ่ง เกิดปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ที่ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษจังหวัดตรัง เป็นบุตรของนายตั้ง นางอบ อ๋องเซ่ง สัญชาติไทย เชื้อชาติจีน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ ๖ จากโรงเรียนวิเชียรมาตุ
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- ขึ้นบัญชีดำ! แม่ค้าริมหาดปางเมงไล่นักท่องเที่ยว หากทำซ้ำอีกสั่งห้ามขายทันทีตรัง - หน.อุทยานฯ หาดเจ้าไหม จ.ตรัง เผยเหตุโผล่คลิปแม่ค้าวัย 60 ปี ริมหาดปากเมง จ.ตรัง ไล่นักท่องเที่ยวนั่งปูเสื่อริมหาดแต่ไม่สั่งอาหาร รับสร้างความเสื่อมเสียต่อการท่องเที่ยวมาก สั่งขึ้นบัญชีดำหากกระท
- กระแส 'เหนียวไก่' ฉุดไม่อยู่ ตำรวจสตูลเร่งตรวจสอบวงจรปิดหาคนขโมยเหนียวไก่น้องล่าแล้วกระแส 'เหนียวไก่' ฉุดไม่อยู่ ตำรวจสตูลเร่งตรวจสอบวงจรปิดหาคนขโมยเหนียวไก่น้องล่าแล้ว ขณะที่ ข้าวเหนียวไก่จังหวัดตรังขายดี ยอดขายเพิ่ม วัยรุ่นแห่กินเกาะกระแสเหนียวไก่น้องล่า... วันนี้ (13 พ.ย.57)
- ตรัง - ผอ.รพ.วังวิเศษ ชี้เหตุทารกตายหลังคลอดเกิดจากภาวะแท้งคุกคาม แม้แพทย์-พยาบาลจะช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้วจากกรณีที่ นางสุวพิชช์ หนองหัด อายุ 24 ปี อยู่บ้านเลขที่ 221 หมู่ที่ 6 ต.คลองปาง อ.รัษฎา จ.ตรัง พร้อมกับสามี ได้เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อ สภ.วังวิเศษ จ.ตรัง เพื่อให้ดำเนินคดีต่อแพทย์ และพยาบาลโร
- ยายเด็กทารกฝาแฝดรับหลานกลับบ้านแล้ว หลังถูกแม่ใจยักษ์ทิ้งกลาง รพ.ตรังตรัง - ยายของเด็กชายฝาแฝด อายุเพียง 20 วัน เข้ารับตัวหลานกลับบ้านแล้ว หลังถูก น.ส.จีรพันธ์ ผู้เป็นแม่อายุเพียง 15 ปี ทิ้งกลาง รพ.ตรัง โดยผู้เป็นแม่เด็กหายไปไม่ยอมกลับเข้ามาให้นมลูกตามปกติ คาดหอบกระเป๋
- พิลึก! แม่วัย 15 คลอดลูกแฝด 19 วัน ทิ้งลูกคา รพ.ตรังตรัง - ตามหาแม่วัยรุ่น 15 ปี หลังคลอดลูกชายแฝดได้ 19 วัน แล้วปล่อยทิ้งไว้ เจ้าหน้าที่งง คาดขึ้นรถไปหาสามีที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่โชคดีที่ผู้เป็นยายยินดีรับเลี้ยงดูหลานทั้งคู่แทน วานนี้ (30 ก.ย.
- หนูน้อยอาการทรุดหนักตู้เอทีเอ็มไฟช็อตตรัง 13 ส.ค.- แพทย์ รพ.ตรังเผยอาการเด็ก 2 ขวบยังน่าห่วง ล่าสุดทรุดลงกว่าเดิมถูกไฟรั่วจากตู้เอทีเอ็ม ด้านธนาคารพร้อมช่วยเหลือดูแลเต็มที่ พ.ญ วันทนา ไทรงาม รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ตรัง เปิด
- จ.ตรัง เริ่มแล้วรณรงค์บังคับใช้มาตรการ 5 จอม ในเขตเทศบาลนครตรัง 3 จุด พบส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องจอมล้ำมากที่สุด เตรียมขยายผลไปยังจุดอื่นๆ เพิ่มเติมตรัง/ตรังไทม์ - ร.ต.อ.ภูมิทัศน์ ชัยศร สารวัตรจราจร สภ.เมืองตรัง ร.ต.อ.ปรมัตถ์ แสงปรี รอง สว.จร.สภ.เมืองตรัง พร้อมเจ้าหน้าที่จราจร สภ.เมืองตรัง ได้เริ่มรณรงค์บังคับใช้มาตรการ 5 จอม ตามนโยบายตำรวจแห่งชา
- ตรัง - กปภ.ตรัง แจงเหตุ น้ำประปาไม่ไหลเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 ก.ค. นายศุภธรรม ธำรงเทพพิทักษ์ หัวหน้างานผลิต การประปาส่วนภูมิภาค สาขาตรัง เผยถึงกรณีที่มีการร้องเรียนจากประชาชนว่า เกิดปัญหาน้ำประปาไม่ไหล ทั่วอำเภอเมือง อำเภอนาโยง และพื