ลุ่มน้ำตรัง
ลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำตรัง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเขาวังหีบเทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความยาวประมาณ 175 กิโลเมตร มีพื้นที่รับน้ำรวม 3,449.27 ตารางกิโลเมตร และแม่น้ำประเหลียน เกิดจากเทือกเขาบรรทัด เขตอำเภอประเหลียน จังหวัดตรัง มีความยาวรวมประมาณ 77 กิโลเมตร มีพื้นที่รับน้ำรวม 1,047.15 ตารางกิโลเมตร ตลอดลำน้ำส่วนที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลและบริเวณแนวชายฝั่งมีป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศเด่น
คุณภาพน้ำบริเวณลุ่มน้ำตรัง (จากบริเวณปากแม่น้ำตรังและแม่น้ำปะเหลียนถึงบริเวณทะเลเปิดห่างฝั่งประมาณ 5 กิโลเมตร) โดยทั่วไป มีค่าเป็นไปตามปัจจัยที่กำหนดในมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 1 เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยมีความผันแปรตามฤดูกาล ปริมาณสารอาหารประเภทฟอสเฟตมีค่าเกินมาตรฐานช่วงฤดูแล้งในบ้างพื้นที่ ส่วนชวงฤดูฝนตะกอนแขวนลอยและปริมาณสารอาหารประเภทไนเตรทสูงเกินค่ามาตรฐานในบางบริเวณ ตะกอนดินบริเวณชายฝั่งลุ่มน้ำตรังเป็นทรายละเอียด (fine sand) ยกเว้นบริเวณปากแม่น้ำตรังส่วนใหญ่เป็นทรายละเอียดมาก (very fine sand) ขนาดอนุภาคตะกอนดินมีความผันแปรเชิงพื้นที่ตามฤดูกาล ลักษณะตะกอนดินบริเวณแหล่งหญ้าทะเลซึ่งพบได้บริเวณด้านเหนือและด้านตะวันออกของเกาะตะลิบงเป็นทรายละเอียด ส่วนบริเวณปากแม่น้ำตรัง และทะเลเปิดเป็นทรายขนาดปานกลาง (medium sand) สำหรับปริมาณสารอินทรีย์สารในตะกอนดินโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีความผันแปรเชิงพื้นที่ตามฤดูกาล โดยปริมาณสารอินทรีย์สารจะต่ำในช่วงฤดูแล้ง ยกเว้นบริเวณปากแม่น้ำตรัง ส่วนในฤดูฝนปริมาณสารอินทรีย์สารจะมีปริมาณสูงบริเวณใกล้ร่องน้ำและใกล้ปากแม่น้ำ เพราะมีการชะล้างตะกอนดินที่มาจากฝั่งลงสู่ทะเล
ความหลากหลายทางชีวภาพของลุ่มน้ำตรัง โดยเฉพาะในส่วนของระบบนิเวศป่าชายเลนยังคงจัดว่าอยู่ในระดับที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก และยังมีศักยภาพในการเอื้อต่อการใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะด้านการประมงของชุมชนท้องถิ่นในละแวกลุ่มน้ำ ชุมชนท้องถิ่นค่อนข้างมีความเข้มแข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ ตัวอย่างเชิงประจักษ์ คือ การที่ชุมชนได้ร่วมกับภาครัฐในการกำหนดเขตอนุรักษ์และมาตรการด้านการใช้ประโยชน์สำหรับหอยตลับ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหอยหวาน หรือหอยไฟไหม้ (Meretrix casta) ในบริเวณพื้นที่ตอนกลางของแม่น้ำปะเหลียน ผลการสำรวจในบริเวณนี้ก็พบว่าเป็นพื้นที่ที่ยังมีหอยชนิด ดังกล่าวอยู่ค่อนข้างชุกชุมทั้งขนาดที่เป็นตัวเต็มวัยและลูกหอย ซึ่งช่วยบ่งชี้ว่าแนวทางการอนุรักษ์ดังกล่าวมีความเหมาะสมและยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นการผลักดันด้วยจิตสำนึกร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น
พรรณพืช ป่าชายเลนของลุ่มน้ำตรัง พบขึ้นอยู่ตามริมแม่น้ำสายหลัก และคลองสาขา โดยพื้นที่ป่าชายเลนด้านที่ติดกับทะเลมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น และมีจำนวนชนิดต้นไม้มากกว่าบริเวณที่ห่างจากทะเลขึ้นไป หรืออยู่ทางด้านต้นน้ำจืด พบพันธุ์ไม้ชายเลนจำนวน 29 ชนิด ใน 12 สกุล 13 วงศ์ มีความหนาแน่นเฉลี่ยรวม 411.5 ตันต่อไร่ เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 10.9 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ย 8.06 เมตร มีโกงกางใบเล็กเป็นพันธุ์ไม้ชนิดเด่นพันธุ์ไม้อื่นๆ ที่สามารถพบได้โดยทั่วไป ได้แก่ ตะบูนขาว ตะบูนดำ โปรงแดง ถั่วขาว แสมขาว และแสมดำ เป็นต้น ส่วนพันธุ์ไม้ที่พบได้ยาก ได้แก่ ลำแพน โพทะเล ปอทะเล โปรงขาว ฝาดดอกแดง หงอนไก่ทะเล พังกาหัวสุมดอกแดง (สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน, 2551)
สัตว์พื้นทะเล ประชาคมสิ่งมีชีวิตในพื้นป่าชายเลน หมายถึงสัตว์ทั้งกลุ่มมีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นป่าชายเลน โดยบางชนิดอาศัยอยู่พื้นดิน บางชนิดฝังตัวอยู่ในดิน ซึ่งสัตว์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศป่าชายเลนรวมไปถึงระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ผลการสำรวจพบสัตว์ในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณลุ่มน้ำตรัง รวม 28 ชนิดจาก 16 วงศ์ ใน 4 ไฟลัม โดยกลุ่มปูและหอยเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายทางชนิดและความหนาแน่นมากที่สุด กลุ่มปูที่พบเด่น ได้แก่ ปูก้ามดาบ ปูแสม ปูม้า และปูทะเล หอยที่พบเด่น ได้แก่ กลุ่มหอยสอง-ฝา เช่น หอยนางรม หอยแครง และหอยจอบ ซึ่งอาจพบฝังตัวในดินหรือเกาะตามรากและลำต้นของพรรณไม้-ชายเลน กลุ่มหอยฝาเดียว เช่น หอยน้ำพริก หอยจุ๊บแตง หอยขี้นก หรือหอยเจดีย์ มักพบกระจายตามพื้นและแหล่งที่มีน้ำชื้นแฉะ
ประชาคมปลาและทรัพยากรประมง ประชาคมสิ่งมีชีวิตในมวลน้ำ ซึ่งหมายถึงสัตว์น้ำที่มักพบอาศัยอยู่ในน้ำและตามพื้นของแพรก/ลำคลองป่าชายเลน โดยพบว่าบริเวณลุ่มน้ำตรังยังคงเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำหลากหลายกลุ่ม โดยปลาเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด พบรวม 93 ชนิด จาก 34 วงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) เป็นกลุ่มปลาที่พบชุกชุมมากและมีความหลากหลายของชนิดมากถึง 31 ชนิด สำหรับปลาที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ปลาซิวข้าวสาร (Oryzias javanicus) เมื่อพิจารณาในแต่ละแม่น้ำพบว่า บริเวณลำคลองป่าชายเลนของแม่น้ำตรังมีปลา 58 ชนิด ชนิดที่ พบเด่น คือ ปลากระทุงแม่หม้าย (Dermogenys siamensis) และปลาปักเป้าเขียวประดำ (Tetraodon nigroviridis) ส่วนบริเวณแม่น้ำปะเหลียน พบปลา 54 ชนิด ชนิดที่พบเด่นคือ ปลาแป้นแก้วชนิดต่างๆ (Ambassis spp.) และปลาบู่ชนิดต่างๆ (Acentrogobius spp.) สำหรับกลุ่มสัตว์น้ำอื่นๆ ในลำคลองป่าชายเลนที่เป็นสัตว์กลุ่มไม่มีกระดุกสันหลัง พบทั้งหมด 5 ไฟลัม ได้แก่ กลุ่มไส้เดือนทะเล (Annelida: Polycheata) กลุ่มกุ้งปูและกั้ง (Arthopoda: Crustacea) กลุ่มดอกไม้ทะเล (Cnidaria) กลุ่มดาวเปราะ (Echinodermata) และกลุ่มหอยชนิดต่างๆ (Mollusca) โดยสัตว์กลุ่มกั้งปูและกั้งจัดเป็นสัตว์กลุ่มเด่น พบมีความชุกชุมตัวมากถึงร้อยละ 99 ของจำนวนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังทั้งหมด โดยร้อยละ 90 เป็นกุ้งคาริเดียน (Caridean shirmps) กลุ่มกุ้งฝอยน้ำจืด (Caridina propinqua, Leptocarpus potamicus และ Macrobrachium equidens) ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป นอกจากนี้ ยังพบกุ้งทะเลเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ เช่น กุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) กุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) กุ้งกุลาลาย (Penaeus semisulcatus) และกุ้งตะกาดชนิดต่างๆ (Metapenaeus spp.) โดยกุ้งแชบ๊วยและกุ้งตะกาดสามารถพบได้โดยทั่วไปบริเวณลุ่มน้ำตรัง ส่วนกุ้งกุลาดำพบน้อยมาก โดยพยเฉพาะตอนกลางของแม่น้ำปะเหลียน ในขณะที่กุ้งกุลาลายพบเฉพาะบริเวณแม่น้ำปะเหลียนเท่านั้น ซึ่งกุ้งทะเลทั้งหมดที่พบเป็นกุ้งในระยะที่ยังไม่สมบูรณ์เพศ นอกจากนี้ยังพบกั้งทะเลและลูกแมงดาทะเลกระจายทั่วไปบริเวณลุ่มน้ำอีกด้วย
สิ่งมีชีวิตอื่นๆ สำหรับข้อมูลที่ประมวลจากผลการศึกษาอื่นในพื้นที่ (สำหรับอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง,ไม่ระบุปีที่พิมพ์) ทำให้ทราบถึงความหลากหลายของสัตว์กลุ่มอื่นๆ ในระบบนิเวศป่าชายเลนของลุ่มน้ำแห่งนี้ เช่น แมลง นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยพบว่าแมลงในป่าชายเลนที่พบในเวลากลางวัน มีความหลากหลายทางชนิดอยู่ในเกณฑ์สูง พบรวม 82 ชนิด จาก 40 วงศ์ ใน 9 อันดับ โดยแมลงกลุ่มผึ้ง ต่อ แตน และมด (อันดับ Hymenoptera) เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายทางชนิดมากที่สุด ส่วนแมลงซึ่งออกหากินในเวลากลางคืน ก็พบมีความหลากหลายทางชนิดอยู่ในเกณฑ์สูงเช่นกัน พบรวม 92 ชนิด จาก 24 วงศ์ ใน 7 อันดับ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผีเสื้อกลางคืน (อันดับ Lepidoptera) นกในป่าชายเลนมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงทั้งชนิดพันธุ์และจำนวน ซึ่งพบรวม 54 ชนิด จาก 41 สกุล 28 วงศ์ ใน 11 อันดับ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนกกระสาในอันดับ Ciconiformes ได้แก่ นกยางรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) นกยางเขียว (Butorides striata) นกยางโทนน้อย (Mesophoyx intermedia) นกยางโทนใหญ่ (Casmerodius albus) และนกยางเปีย (Egretta garzetta) กลุ่มนกตีนเทียน นกอีก๋อยในอันดับ Charadriiformes ได้แก่ นกหัวโต-ทรายเล็ก (Charadrius mongolus) นกเด้าดิน (Actitis hypoleucos) นกอีก๋อยเล็ก (Numenius phaeopus) และนกอีก๋อยใหญ่ (Numenius arquata) และกลุ่มนกตะขาบในอันดับ Coraciformes เช่น นกกินเปี้ยว (Todiramphus chloris) สัตว์เลื้อยคลานในป่าชายเลนที่พบบริเวณลุ่มน้ำตรัง คือ ตะกวดหลายชนิดและหลายขนาด ในบางพื้นที่พบตัวเหี้ย หรือในภาคใต้เรียกว่าตัวแลน (monitor lizard) ขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป และยังพบกลุ่มงูบกอาศัยทั่วไปในป่าชายเลน ได้แก่ งูพังกา งูปล้องทอง และงูเหลือม สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในป่าชายเลนที่พบในระบบนิเวศบริเวณลุ่มน้ำตรัง ได้แก่ ลิงแสม ค้างคาวกินผลไม้ หรือค้างคาวแม่ไก่ ค้างคาวกินแมลง และหนู
Relate topics
- โนราเติม (เติม อ๋องเซ่ง) เสน่ห์แห่งบทกลอนแห่งเมืองตรัง บรมย์ครูยอดมโนราห์ต้นแบบแดนใต้โนราเติม ชื่อนายเติม อ๋องเซ่ง เกิดปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ที่ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษจังหวัดตรัง เป็นบุตรของนายตั้ง นางอบ อ๋องเซ่ง สัญชาติไทย เชื้อชาติจีน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ ๖ จากโรงเรียนวิเชียรมาตุ
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- ขึ้นบัญชีดำ! แม่ค้าริมหาดปางเมงไล่นักท่องเที่ยว หากทำซ้ำอีกสั่งห้ามขายทันทีตรัง - หน.อุทยานฯ หาดเจ้าไหม จ.ตรัง เผยเหตุโผล่คลิปแม่ค้าวัย 60 ปี ริมหาดปากเมง จ.ตรัง ไล่นักท่องเที่ยวนั่งปูเสื่อริมหาดแต่ไม่สั่งอาหาร รับสร้างความเสื่อมเสียต่อการท่องเที่ยวมาก สั่งขึ้นบัญชีดำหากกระท
- กระแส 'เหนียวไก่' ฉุดไม่อยู่ ตำรวจสตูลเร่งตรวจสอบวงจรปิดหาคนขโมยเหนียวไก่น้องล่าแล้วกระแส 'เหนียวไก่' ฉุดไม่อยู่ ตำรวจสตูลเร่งตรวจสอบวงจรปิดหาคนขโมยเหนียวไก่น้องล่าแล้ว ขณะที่ ข้าวเหนียวไก่จังหวัดตรังขายดี ยอดขายเพิ่ม วัยรุ่นแห่กินเกาะกระแสเหนียวไก่น้องล่า... วันนี้ (13 พ.ย.57)
- ตรัง - ผอ.รพ.วังวิเศษ ชี้เหตุทารกตายหลังคลอดเกิดจากภาวะแท้งคุกคาม แม้แพทย์-พยาบาลจะช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้วจากกรณีที่ นางสุวพิชช์ หนองหัด อายุ 24 ปี อยู่บ้านเลขที่ 221 หมู่ที่ 6 ต.คลองปาง อ.รัษฎา จ.ตรัง พร้อมกับสามี ได้เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อ สภ.วังวิเศษ จ.ตรัง เพื่อให้ดำเนินคดีต่อแพทย์ และพยาบาลโร
- ยายเด็กทารกฝาแฝดรับหลานกลับบ้านแล้ว หลังถูกแม่ใจยักษ์ทิ้งกลาง รพ.ตรังตรัง - ยายของเด็กชายฝาแฝด อายุเพียง 20 วัน เข้ารับตัวหลานกลับบ้านแล้ว หลังถูก น.ส.จีรพันธ์ ผู้เป็นแม่อายุเพียง 15 ปี ทิ้งกลาง รพ.ตรัง โดยผู้เป็นแม่เด็กหายไปไม่ยอมกลับเข้ามาให้นมลูกตามปกติ คาดหอบกระเป๋
- พิลึก! แม่วัย 15 คลอดลูกแฝด 19 วัน ทิ้งลูกคา รพ.ตรังตรัง - ตามหาแม่วัยรุ่น 15 ปี หลังคลอดลูกชายแฝดได้ 19 วัน แล้วปล่อยทิ้งไว้ เจ้าหน้าที่งง คาดขึ้นรถไปหาสามีที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่โชคดีที่ผู้เป็นยายยินดีรับเลี้ยงดูหลานทั้งคู่แทน วานนี้ (30 ก.ย.
- หนูน้อยอาการทรุดหนักตู้เอทีเอ็มไฟช็อตตรัง 13 ส.ค.- แพทย์ รพ.ตรังเผยอาการเด็ก 2 ขวบยังน่าห่วง ล่าสุดทรุดลงกว่าเดิมถูกไฟรั่วจากตู้เอทีเอ็ม ด้านธนาคารพร้อมช่วยเหลือดูแลเต็มที่ พ.ญ วันทนา ไทรงาม รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ตรัง เปิด
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป