กวนข้าวมธุปายาส วัดคลองแห จ.สงขลา
งานกวนข้าวมธุปายาส ที่วัดคลองแหจัดต่อเนื่องมาทุกปี ปีนี้มาจัดที่โคกนกคุ่ม เป็นปีที่สอง ปีก่อนเจอลมฝนแถมยังไม่รู้ขั้นตอนการกวน กว่าจะแล้วเสร็จเล่นเอาทุลักทุเลแทบแย่ ปีนี้ได้คุณยายนำประสบการณ์จากภาคเหนือมาสอน เป็นแม่งานคุมการกวน ทำให้เสร็จเร็ว แถมนำข้าวเหนียวนึ่งมาใส่ ไม่ถึงสองชั่วโมงก็กวนแล้วเสร็จ เพียงแต่เหลวไปหน่อย เพราะใส่หางกะทิมากไปและข้าวเหนียวน้อยเกินไป ปีหน้าค่อยเอาใหม่
ประเพณีกวนมธุปายาสยาคู เชื่อกันว่าแต่เดิมนั้นกระทำโดยพราหมณ์ ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ เพราะพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นทางกลางอิทธิพลพราหมณ์ซึ่งเกิดขึ้นก่อน เมื่อมีพราหมณ์จำนวนมากเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา ก็นำเอาพิธีการต่างๆ ซึ่งตนเคยทำมาปฎิบัติต่อไปด้วยความเคยชิน พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า พิธีการทางศาสนาพราหมณ์บางพิธีนั้นไม่ทำให้เสียหายแก่ผู้ปฎิบัติ กลับทำให้เกิดความศรัทธาในความดีงามและบำรุงกำลังใจ ก็ไม่ทรงห้ามการปฎิบัติกิจเหล่านั้นแต่ประการใด ดังนั้นพุทธศาสนิกชนสมัยหลังๆมา จึงพบว่า ประเพณีพราหมณ์เข้ามาปะปนอยู่ในพุทธศาสนามากจนบางครั้งก็ไม่รู้ว่าในชั้นต้นนั้นเป็นประเพณีอันเนื่องด้วยศาสนาพุทธ หรือศาสนาพราหมณ์กันแน่
ที่มาของประเพณีกวนมธุปายาสยาคูนั้น มีผู้สันนิษฐานต่างกันออกไปเป็น 2 แนว คือ
แนวแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกล่าวไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนว่า ประเพณีนี้มีที่มาปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ธรรมบทแห่งหนึ่ง และในคัมภีร์ มโนถบุรณีอีกแห่งหนึ่ง ทั้งสองคัมภีร์มีเนื้อหาตรงกันว่า พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงบุพชาติของ อัญญโกณฑัญญะ ผู้ซึ่งมีความประสงค์อันแน่วแน่ที่จะศึกษาธรรมเพื่อให้บรรลุพระอรหันต์ก่อนผู้อื่น จุดมุ่งหมายในการแสดงของพระพุทธองค์ ก็เพื่อที่จะให้พระภิกษุได้ฟังพระองค์ได้แสดงว่า เมื่อพระพุทธวิปัตสีอุบัติขึ้นในโลก มีกฏุมพีสองคนพี่น่อง คนพี่ชื่อ มหากาฬ ส่วนคนน้องชื่อว่า จุลกาฬ ทั้งสองทำข้าวสาลีในนาแปลงเดียวกัน เมื่อข้าวกำลังจะออกรวง (ท้อง) จุลกาฬไปในนา เอาท้องข้าวนั้นมากินก็รู้ว่าหวานอร่อยมาก เลยจะเอาข้าวนั้นไปถวายพระภิกษุ จึงไปบอกพี่ชาย พี่ชายไม่เห็นด้วย อ้างว่าไม่มีใครเคยทำ ทำไปก็สูญเสียข้าวไปเปล่าๆ แต่จุลกาฬก็รบเร้าอยู่ทุกวัน จนมหากาฬไม่พอใจมากขึ้นทุกที ในที่สุดก็แบ่งนาออกเป็น 2 ส่วน แบ่งกันคนละส่วน จุลกาฬให้ชาวบ้านช่วยเก็บข้าวของตน ซึ่งกำลังตั้งท้องนั้นไปผ่าแล้วต้มด้วยน้ำนมสด ไม่มีน้ำปะปนเลย ผสมเนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด เป็นต้น นำไปถวายพระพุทธองค์และพระสาวก โดยอธิษฐานว่า ผลทานนั้นจงเป็นเครื่องให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อน
คนทั้งปวง เมื่อจุลกาฬทำทานแล้วกลับไปดูนา เห็นเต็มไปด้วยข้าวสาลีก็ยินดีเป็นยิ่งนัก หลังจากนั้นก็ทำบุญในวาระต่างๆอีก รวม 9 ครั้ง จุลกาฬซึ่งมาเป็นพระอัญญาโกณฑัญญะ ก็ทำทานและมีความมุ่งมั่นเช่นเดิมมาตลอด จนในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหันต์ก่อนพุทธสาวกทั้งปวง จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่า ประเพณีการกวนข้าวมธุปายาส น่าจะเนื่องมาจากอรรถกถาที่กล่าวมาแล้วนี้
แนวที่สอง เป็นความเชื่อของชาวนคร ซึ่งเป็นความเชื่อที่เนื่องกับพระพุทธศาสนาเช่นกัน เป็นความเชื่อที่สอดคล้องกับพุทธประวัติ ตอนที่นางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาส ก่อนอภิสัมโพธิกาล ดังหลักฐานที่ปรากฏในพุทธประวัติเล่ม 1 ปุริมกาล ปริเฉทที่ 5 ตอนหนึ่งว่า
“ในเช้าวันนั้น นางสุชาดา บุตรีกฏุมพีนายใหญ่แห่งชาวบ้านเสนานิคม ณ ตำบลอุรุเวลา ปรารถนาจะทำการบวงสรวงเทวดา หุงข้าวมธุปายาส คือ ข้าวสุก หุงด้วยน้ำนมโคล้วนเสร็จแล้วจัดลงในถาดทอง นำไปที่โพธิพฤษ์ เห็นพระมหาบุรุษนั่งอยู่ สำคัญว่าเทวดา จึงน้อมข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย ในเวลานั้นบาตรของพระองค์เผอิญอันตรธานหาย พระองค์จึงทรงรับข้าวมธุปายาสนั้นทั้งถาดด้วยพระหัตถ์แล้วทอดพระเนตรแลดูนาง นางทราบพระอาการ จึงทูลถวายทั้งถาดแล้วกลับไป พระมหาบุรุษทรงถือถาดข้าวปายาสเสด็จไปสู่ท่าแห่งแม่น้ำเนรัญชรา สรงแล้วเสวยข้าวปายาสหมดแล้ว ทรงลอยถาดเสียในกระแส...”
หลังจากพระองค์ ทรงเสวยข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาแล้ว ก็ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณในคืนนั้นเอง เหตุนี้ชาวพุทธโดยทั่วไปในเมืองนครจึงเชื่อกันว่า ข้าวมธุปายาสนี่เองที่ส่งผลให้พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ จึงเห็นข้าวมธุปายาสเป็นของดีวิเศษที่บันดาลความสำเร็จได้อย่างเอก เพราะเห็นว่าเมื่อพระพุทธองค์ทรงเสวยข้าวมธุปายาสแล้วทำให้พระองค์เห็นแจ้งในธรรม แสดงว่าข้าวมธุปายาสช่วยเพิ่มพูนพลัง จึงก่อให้เกิดปัญญา สมองแจ่มใสปลอดโปร่งเป็นอย่างยิ่ง จึงเห็นได้ว่า ข้าวมธุปายาสก็คือยาขนานวิเศษนั่นเอง
ด้วยความเชื่อดังกล่าวนี้ ประเพณีกวนมธุปายาสยาคูจึงเป็นประเพณีที่ชาวนครปฎิบัติสืบทอดกันมาอย่างแน่นแฟ้น
แต่เดิมนั้นการกวนข้าวมธุปายาส มักจะทำกันในเดือนสิบบ้าง เดือนหกบ้าง แต่ปัจจุบันนี้ทำกันในวันขึ้น 13 ค่ำ และขึ้น 14 ค่ำเดือน 3 การกระทำนั้นแต่เดิมใช้ผู้หญิงพราหมณ์และเชื้อพระวงศ์ผู้หญิง ซึ่งเป็นพรมจารีเป็นผู้กวน แต่ต่อมาไม่ได้ยึดถือในเรื่องนี้กันนัก ซึ่งในปัจจุบันนี้ชาวเมืองมักจะหาเครื่องปรุงมาร่วมกันกวนที่วัด แทนที่จะเป็นตามบ้านเรือนของแต่ละคน
Cr. // ขอขอบคุณ บทความดีๆ จาก blog @ ชาคริต โภชเรือง และ ภาพสวยๆ "กวนข้าวมธุปายาส วัดคลองแห ประจำปี 2557" จาก fb @ Panumas Nontapan , ชาคริต โภชะเรือง
Relate topics
- มังคุดคัด (มังคุดเสียบไม้) ของดีคู่เมืองนครศรีธรรมราช"มังคุดคัด" เป็นเหมือนของคู่กับวัดมหาธาตุฯ เมืองนครศรีธรรมราชไปซะแล้ว ผ่านไปทีไรก็เป็นอันต้องแวะไปกินมังคุดคัดทุกที มีขายประจำที่วัดมหาธาตุฯ เมืองนคร นี่แหล่ะ ไปถึงปุ๊บ ก็เจอปั๊บ แม่ค้าถือถาดมังคุดคั
- แกล้งดิน พระอัจฉริยภาพด้านดิน-น้ำ แก้จนยั่งยืน ที่ “ศูนย์ฯ พิกุลทอง” จ.นราธิวาสอย่างที่อำเภอตากใบ ก็มีปัญหานี้ ชาวบ้านทำได้แค่ปลูกพืชได้เป็นหย่อมๆ ผลผลิตไม่ดี ปลูกข้าวได้ไร่ละไม่ถึง 10 ถัง ก็ได้นำความรู้เรื่องแกล้งดินไปปรับปรุงพัฒนาพื้นที่จนเขียวขจีไปทั้งพื้นที่ ![ คำอ
- ด้วยพระบารมี ชุมพรวันนี้สุขร่มเย็น น้ำไม่ท่วม !!!ปลายเดือนตุลาคม 2540 พายุไต้ฝุ่น “ลินดา” ได้ก่อตัวขึ้นและเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย และคาดว่าจะขึ้นฝั่งที่บริเวณจังหวัดชุมพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จังหวัดชุมพรเร่งขุดค
- จากความวิปโยค คืนสู่ความสมบูรณ์ ด้วยพระมหากรุณธิคุณ “อ่างเก็บน้ำกะทูน” สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้อ่างเก็บน้ำกะทูนเป็นอีกหนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สามารถพลิกวิกฤตจากน้ำท่วมใหญ่ในอดีตให้เป็นโอกาส ช่วยชะลอน้ำ สร้างชีวิตใหม่ให้กับพสกนิกร ![ คำอธิบายภาพ : pic5803
- หาดใหญ่พ้นภัยด้วยน้ำพระทัยจากในหลวง โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ตามแนวพระราชดำริ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาที่หาดใหญ่ ที่น้ำท่วมอย่างมากมายเช่นนี้ ท่านผู้ที่อยู่ในท้องที่ก็ได้เห็นด้วยตาของตนเอง แต่ว่าไม่ทันรู้ว่ามันมาอย่างไร ถ้าถามผู้อยู่ที่หาดใหญ่เองทั้งประชาชน ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและพลเรือน ว่าน้ำน
- พระราชปณิธานที่จะให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สามารถพูดภาษาไทยได้การศึกษาที่นี่สำคัญมาก ให้พยายามจัดให้ดี ให้พลเมืองสามารถพูดภาษาไทยได้ แม้จะพูดได้ไม่มากนักเพียงแต่พอรู้เรื่องกันก็ยังดี เท่าที่ผ่านมาคราวนี้มีผู้ไม่รู้ภาษาไทย ต้องใช้ล่ามแปลควรให้พูดเข้าใจกันได้ เ
- รัชกาลที่ 9 พระราชกรณียกิจด้านแร่ในภาคใต้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งเลียบฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่ระนองถึงภูเก็ต ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเห็นภูมิประเทศอันเป็นแหล่งกำเนิดแร่ดีบุก ทั้งภูเขาและลานแร่ พระองค์ทรงเข้
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ “เสด็จเมืองระนอง ๒๕๐๒”พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ “เสด็จเมืองระนอง ๒๕๐๒” ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๖ – ๒๖ มีนาคม ปี พุทธศักราช ๒๕๐๒ ![ คำอธ
- พ่อของแผ่นดินกับพสกนิกรชาวไทยมุสลิม" อิสลามิกชนมีพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน อันประกอบพร้อมด้วยบทบัญญัติทางศีลธรรม จริยธรรม นิติธรรม เป็นแม่บทศักดิ์สิทธิ์สำหรับการประพฤติปฏิบัติและการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่จึงมีชีวิตที่เจริญมั่นคง มีความฉลาด
- สงขลาใต้ร่มพระบารมีปี ๒๕๐๒ เสด็จสงขลา ครั้งแรก เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวสงขลาเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ครั้งแรก