ขนมเจาะหู หรือ ขนมเจาะรู ในบางท้องถิ่นเรียกว่า ขนมดีซำ
ขนมเจาะหู หรือ ขนมเจาะรู ในบางท้องถิ่นเรียกว่า ขนมดีซำ ขนมชนิดนี้รูปร่างหน้าตาจะเหมือนโดนัทอันเล็ก ใช้ในงานบุญสารทเดือนสิบ (ชิงเปรต) ของภาคใต้
เป็นสัญลักษณ์แทนเงิน เบี้ย สำหรับใชัสอย ถือเสมือนเป็นเครื่องประดับจำพวกตุ้มหูหรือต่างหู หรือเงินรูสมัยโบราณ เหตุเพราะรูปทรงของขนมคล้ายเบี้ยหอย ขนมเจาะหูนี้จะใช้ในช่วงใช้ในการทำบุญสารทเดือนสิบหรือที่รู้จักกันดีว่าคืองานทำบุญชิงเปรต
เชื่อว่าขนมนี้เป็นเหมือนเงินที่จะนำไปใช้ในนรก ฟังเรื่องราวแล้วอาจน่ากลัวสักหน่อย แต่เป็นเรื่องของพิธีกรรมและความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นที่จะแตกต่างกันไป สะท้อนออกมาผ่านวัฒนธรรมการกิน
สะตอฟอร์ยู นำเอาวิธีการทำมาฝากเพื่อนๆด้วยนะ...
เริ่มจาก ส่วนผสม ก่อนเลย ...
1. แป้งข้าวเหนียว 1 ช้อนโต๊ะ
2. แป้งข้าวเจ้า 250 กรัม
3. น้ำตาลโตนด 80 กรัม
4. น้ำตาลทราย 200 กรัม
5. น้ำเปล่า ½ ถ้วย
หมายเหตุ : บางพื้นถิ่น นิยมใส่ไข่ไก่ หรือ หัวมันต้ม (หัวมันหลาต้ม) หรือ ฟักทองต้ม และ งาคั่ว เพิ่มเติมลงไปเพื่อเพิ่มสีสันและรสชาติ
เมื่อได้วัตถุดิบแล้ว ก็มาเริ่มลงมือกันเลย...
1.) แป้งข้าวเจ้ากับแป้งข้าวเหนียวผสมกันพักไว้
2.) ผสมน้ำตาลทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน ยกขึ้นตั้งไฟ เติมน้ำเปล่าลงไป เคี่ยวให้น้ำที่ได้มีลักษณะเหนียวข้น ระวังอย่าให้ตกทราย
3.) น้ำตาลที่เคี่ยวได้ทิ้งไว้ให้เริ่มอุ่น ใส่แป้งที่ผสมรวมกันไว้ลงไปนวด นวดประมาณ 30 นาที ให้มีลักษณะขึ้นเงา ทิ้งแป้งไว้ 1 คืน
4.) นำแป้งที่ได้ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ให้มีขนาดเท่าๆกัน เตรียมใบตอง (วิธีแบบดั้งเดิม) ทาน้ำมันลงไปเล็กน้อยบนใบตอง
5.) ปั้นแป้งที่ได้จนหมด คลึงบนใบตองกดให้แบน แล้วทำเป็นรูตรงกลาง ลักษณะจะคล้ายการเจาะหู
6.) เทน้ำมันพืชใส่กระทะตั้งไฟปานกลางค่อนข้างอ่อน พอน้ำมันร้อนดี ใส่แป้งที่ปั้นไว้ลงไปทอด ทอดจนเหลืองทองทั้งสองด้าน ตักออกซับน้ำมันออก จัดใส่จานได้
Relate topics
- มังคุดคัด (มังคุดเสียบไม้) ของดีคู่เมืองนครศรีธรรมราช"มังคุดคัด" เป็นเหมือนของคู่กับวัดมหาธาตุฯ เมืองนครศรีธรรมราชไปซะแล้ว ผ่านไปทีไรก็เป็นอันต้องแวะไปกินมังคุดคัดทุกที มีขายประจำที่วัดมหาธาตุฯ เมืองนคร นี่แหล่ะ ไปถึงปุ๊บ ก็เจอปั๊บ แม่ค้าถือถาดมังคุดคั
- แกล้งดิน พระอัจฉริยภาพด้านดิน-น้ำ แก้จนยั่งยืน ที่ “ศูนย์ฯ พิกุลทอง” จ.นราธิวาสอย่างที่อำเภอตากใบ ก็มีปัญหานี้ ชาวบ้านทำได้แค่ปลูกพืชได้เป็นหย่อมๆ ผลผลิตไม่ดี ปลูกข้าวได้ไร่ละไม่ถึง 10 ถัง ก็ได้นำความรู้เรื่องแกล้งดินไปปรับปรุงพัฒนาพื้นที่จนเขียวขจีไปทั้งพื้นที่ ![ คำอ
- ด้วยพระบารมี ชุมพรวันนี้สุขร่มเย็น น้ำไม่ท่วม !!!ปลายเดือนตุลาคม 2540 พายุไต้ฝุ่น “ลินดา” ได้ก่อตัวขึ้นและเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย และคาดว่าจะขึ้นฝั่งที่บริเวณจังหวัดชุมพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จังหวัดชุมพรเร่งขุดค
- จากความวิปโยค คืนสู่ความสมบูรณ์ ด้วยพระมหากรุณธิคุณ “อ่างเก็บน้ำกะทูน” สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้อ่างเก็บน้ำกะทูนเป็นอีกหนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สามารถพลิกวิกฤตจากน้ำท่วมใหญ่ในอดีตให้เป็นโอกาส ช่วยชะลอน้ำ สร้างชีวิตใหม่ให้กับพสกนิกร ![ คำอธิบายภาพ : pic5803
- หาดใหญ่พ้นภัยด้วยน้ำพระทัยจากในหลวง โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ตามแนวพระราชดำริ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาที่หาดใหญ่ ที่น้ำท่วมอย่างมากมายเช่นนี้ ท่านผู้ที่อยู่ในท้องที่ก็ได้เห็นด้วยตาของตนเอง แต่ว่าไม่ทันรู้ว่ามันมาอย่างไร ถ้าถามผู้อยู่ที่หาดใหญ่เองทั้งประชาชน ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและพลเรือน ว่าน้ำน
- พระราชปณิธานที่จะให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สามารถพูดภาษาไทยได้การศึกษาที่นี่สำคัญมาก ให้พยายามจัดให้ดี ให้พลเมืองสามารถพูดภาษาไทยได้ แม้จะพูดได้ไม่มากนักเพียงแต่พอรู้เรื่องกันก็ยังดี เท่าที่ผ่านมาคราวนี้มีผู้ไม่รู้ภาษาไทย ต้องใช้ล่ามแปลควรให้พูดเข้าใจกันได้ เ
- รัชกาลที่ 9 พระราชกรณียกิจด้านแร่ในภาคใต้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งเลียบฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่ระนองถึงภูเก็ต ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเห็นภูมิประเทศอันเป็นแหล่งกำเนิดแร่ดีบุก ทั้งภูเขาและลานแร่ พระองค์ทรงเข้
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ “เสด็จเมืองระนอง ๒๕๐๒”พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ “เสด็จเมืองระนอง ๒๕๐๒” ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๖ – ๒๖ มีนาคม ปี พุทธศักราช ๒๕๐๒ ![ คำอธ
- พ่อของแผ่นดินกับพสกนิกรชาวไทยมุสลิม" อิสลามิกชนมีพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน อันประกอบพร้อมด้วยบทบัญญัติทางศีลธรรม จริยธรรม นิติธรรม เป็นแม่บทศักดิ์สิทธิ์สำหรับการประพฤติปฏิบัติและการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่จึงมีชีวิตที่เจริญมั่นคง มีความฉลาด
- สงขลาใต้ร่มพระบารมีปี ๒๕๐๒ เสด็จสงขลา ครั้งแรก เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวสงขลาเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ครั้งแรก