หรอยแรง! เภสัชฯ มอ. ค้นพบครั้งแรกในโลก "ใบส้มมวง" ยาต้านมะเร็งในอนาคต !!!
มีการค้นพบสารชนิดใหม่จากใบชะมวง และได้มีการตั้งชื่อว่า “ชะมวงโอน” (Chamuangone) ซึ่งสารดังกล่าวมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งได้ดี (ทดสอบกับเซลล์มะเร็งปอดและเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว) ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางเดินอาหาร (เชื้อ Helicobacter pylori) ช่วยยับยั้งเชื้อโปรโตรซัวว์ Leishmania major (เป็นโรคระบาดที่เคยพบในภาคใต้) ได้เป็นอย่างดี
"ใบชะมวงโอน" ยาต้านมะเร็งในอนาคต
คณะเภสัชฯ มอ.ค้นพบสารชนิดใหม่ใน "ใบชะมวง" ออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง นับเป็นการค้นพบครั้งแรกของโลก พร้อมตั้งชื่อว่า "ชะมวงโอน" ระบุใช้เป็นสารต้นแบบที่นำไปพัฒนาโครงสร้างสู่ยาต้านมะเร็งในอนาคต
รศ.ดร.ภก.ภาคภูมิ พาณิชยปการนันท์ ผอ.สถานวิจัยยาสมุนไพรและเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลา นครินทร์ (มอ.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับนายอภิรักษ์ สกุลปักษ์ นักศึกษาทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ ทำการศึกษาวิจัยคุณสมบัติมีฤทธิ์ต้านมะเร็งและต้านแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารจาก "ใบชะมวง" ได้สำเร็จ เป็นครั้งแรกของโลก หลังจากใช้เวลาศึกษาค้นคว้านานกว่า 2 ปี ซึ่งผลงานดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Food Chemistry ซึ่งเป็นวารสารที่ได้รับความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการอย่างกว้างขวาง
สำหรับการวิจัยดังกล่าวได้เก็บรวบรวมผักพื้นบ้านจำนวน 22 ชนิด มาทำการสกัดและทดสอบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Helicobacier pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารหรือไม่ โดยพบว่าชะมวงเป็นพืชที่ออกฤทธิ์ดีที่สุด จึงนำมาแยกสารที่ต้องการจนสามารถได้สารซึ่งมีฤทธิ์ในระดับดีมาก เป็นสารที่มีค่าความเข้มข้นต่ำที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ หรือ MIC ประมาณ 7.8 ไมโครกรัมต่อมิลลิเมตร ซึ่งถือว่าเป็นสารตัวใหม่ที่ยังไม่มีการค้นพบมาก่อน โดยตั้งชื่อว่า "ชะมวงโอน" (Chamuangone) เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นการค้นพบในประเทศไทย
ทั้งนี้ ยังได้ศึกษาต่อถึงความเป็นไปได้ในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อโปรโตซัวร์ ซึ่งเป็นโรคระบาดที่พบบ่อยในภาคใต้ โดยสารชะมวงโอน สามารถยับยั้งโปรโตซัวร์ได้ดี จึงนำชะมวงโอนไปทดสอบกับเซลล์มะเร็งปอด และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว จนพบว่าสารชะมวงโอนมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้ดี ความสำเร็จจากงานวิจัยที่ได้โครงสร้างใหม่ของสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งจากชะมวงโอนครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ดัดแปลงพัฒนาต้านมะเร็งที่ออกฤทธิ์ดีขึ้น และลดอาการข้างเคียงต่อเซลล์ปกติ แม้ว่าขั้นตอนการนำสารดังกล่าวไปใช้รักษาโรคมะเร็งยังต้องมีกระบวน การวิจัยเพิ่มเติมอีกหลายขั้นตอน เพื่อการรักษาที่ได้ผลมากขึ้น หรือลดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา" รศ.ดร.ภก.ภาคภูมิ กล่าว
ชะมวง หรือ ส้มมวง ใบไม้รสเปรี้ยว มากด้วยคุณค่า
ชะมวง หรือ ส้มมวง ในชื่อเรียกพื้นถิ่นปักษ์ใต้ มีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ใบและผลรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาระบาย ฟอกโลหิต รากใช้แก้ไข้ ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทางภาคตะวันออกใช้ปรุงรสเปรียวในหมูชะมวง ทางภาคใต้ นำไปใบใส่ปรุงรสเปรี้ยวในต้มเนื้อชะมวง, หมูชะมวง, แกงส้มเนื้อย่างใบชะมวง...
ชะมวง ชื่อสามัญ Cowa ชะมวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia cowa Roxb. หรือ Garcinia cowa Roxb. ex DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Garcinia cowa Roxb. ex Choisy) จัดอยู่ในวงศ์ CLUSIACEAE (GUTTIFERAE) เช่นเดียวกับกระทิง ติ้วเกลี้ยง ติ้วขน บุนนาค มะดัน มะพูด มังคุด รงทอง ส้มแขก และสารภี สมุนไพรชะมวง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ส้มป้อง มะป่อง (คนเมือง), หมากโมก (อุดรธานี), มวงส้ม (นครศรีธรรมราช), กะมวง มวง ส้มมวง (ภาคใต้), กานิ (มลายู-นราธิวาส), ตระมูง (เขมร), ยอดมวง, ส้มม่วง, ส้มโมง, ส้มป่อง เป็นต้น
ต้นชะมวง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำทรงสูง มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 15-30 เมตร ลำต้นเกลี้ยงและแตกกิ่งใบตอนบนของลำต้น กิ่งย่อยผิวเรียบ เปลือกลำต้นเป็นสีดำน้ำตาลมีลักษณะขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีขมพูถึงแดง มีน้ำยางสีเหลืองขุ่นไหลเยิ้มออกมาจากเปลือกต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง พบทั่วไปตามป่าชื้นที่ระดับต่ำ เป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี มีเขตการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นตามที่ลุ่มต่ำทั่วไป และจะพบได้มากทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูงเหนือ ระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตรขึ้นไป
ใบชะมวง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมใบหอกหรือแกมขอบขนาน โคนใบสอบแหลม ปลาย ใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีความกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร ใบอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมสีม่วงแดง ส่วนใบแก่เป็นสีเขียวเข้ม (สีน้ำเงินเข้ม) บริเวณปลายกิ่งมักแตกเป็น 1-3 ยอด หลังใบเรียบลื่นเป็นมัน ท้องใบเรียบ เนื้อใบมีลักษณะค่อนข้างหนาและเปราะ เส้นใบเห็นได้ไม่ชัด แต่ด้านหลังใบจะเห็นเส้นกลาง ส่วนก้านใบเป็นสีแดงมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
ดอกชะมวง ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ออกดอกตามซอกใบและตามกิ่ง ดอกตัวผู้จะออกตามกิ่งเป็นกระจุก มีดอกย่อยประมาณ 3-8 ดอก ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมากเรียงกันเป็นรูปสีเหลี่ยม ส่วนกลีบดอกเป็นสีเหลืองนวลและมีกลิ่นหอม มีกลีบดอกแข็งหนา 4 กลีบ และกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายกลีบกลม ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ส่วนดอกตัวเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยวตามปลายกิ่ง ดอกมีเกสรตัวผู้เทียมเรียงอยู่รอบรังไข่ มีก้านเกสรติดกันเป็นกลุ่ม ปลายก้านมีต่อม 1 ต่อม โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพพันธ์ถึงเดือนเมษายน
ผลชะมวง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวผลเรียบเป็นมัน มีขนาดประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงส้มหม่น และตามผลมีร่องตื้นๆ ประมาณ 5-8 ร่อง ด้านบนปลายบุ๋ม และมีชั้นกลีบเลี้ยงประมาณ 4-8 แฉกติดอยู่ เนื้อหนา สีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ประมาณ 4-6 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรีหนา เรียงตัวกันเป็นวงรอบผล ผลสุกมีรสเปรี้ยวใช้รับประทานทานได้ แต่มียางมากและทำให้ติดฟันได้ โดยจะติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
สรรพคุณอันน่าตลึง! ในชะมวง
ช่วยฟอกโลหิต (ผลอ่อน,ใบ) แก้โลหิต (ใบ)
ช่วยรักษาธาตุพิการ (ผล,ใบ,ดอก)
ราก ใบ และผลอ่อนมีรสเปรี้ยว สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อน (ผลอ่อน,ใบ,ดอก,ราก)
ช่วยถอนพิษไข้ (ราก)
ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก)
ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ผล,ใบ)
ช่วยแก้อาการไอ (ผล,ใบ) บ้างก็ว่าเนื้อไม้มีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอได้เช่นกัน (เนื้อไม้)
ช่วยแก้เสมหะ กัดเสมหะ กัดฟอกเสมหะ (ผลอ่อน,ใบ,ดอก,ราก) เสมหะเป็นพิษ (ราก) ช่วยขับเสมหะ (เนื้อไม้)
ใช้เป็นยาระบายท้อง (ผลอ่อน,ใบ,ดอก) ส่วนตำยาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากชะมวง ผสมกับรากกำแพงเจ็ดชั้น รากตูมกาขาว และราก
ปอด่อน นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระบาย (ราก) บ้างก็ว่าเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาระบายเช่นกัน
ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก)
รากช่วยแก้บิด (ราก) หรือจะใช้ผลนำมาหั่นเป็นแว่นตากแห้ง ใช้ดินเป็นยาแก้บิดก็ได้เช่นกัน (ผล)
ใบชะมวงใช้ผสมกับยาชนิดอื่นๆ ใช้ปรุงเป็นยาขับเลือดเสีย (ใบ)
ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี (ใบ)
ช่วยแก้ดีพิการ (ดอก)
แก่นใช้ฝนหรือแช่กับน้ำดื่ม มีสรรพคุณช่วยแก้อาการเหน็บชา (แก่น)
สารชนิดใหม่ใน "ใบชะมวง" ออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง นับเป็นการค้นพบครั้งแรกของโลก พร้อมตั้งชื่อว่า "ชะมวงโอน" ระบุใช้เป็นสาร
ต้นแบบที่นำไปพัฒนาโครงสร้างสู่ยาต้านมะเร็งในอนาคต
องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ลดไขมันของใบชะมวง
สารสกัดเอทานอนจากใบชะมวง มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ Caco-2 ได้ร้อยละ 14.6 ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Pancreatic lipase ด้วยค่า IC50 196.60 มคก./มล. และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG CoA reductase ได้ร้อยละ 97.06 เมือนำสารสกัดเอทานอลจากใบมาแยกเป็นส่วนสกัดย่อยด้วยวิธีการ Partition จะได้เป็นสารสกัดเฮกเซน สารสกัดไดคลอโรมีเทน สารสกัดบิวทานอล และสารสกัดน้ำ ซึ่งจากผลการทดสอบฤทธิ์ลดไขมันในหลอดทดลองพบว่า ที่ความเข้มข้น 100 มคก./มล. สารสกัดเฮกเซนและสารสกัดไดคลอโรมีเทนสามารถยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ Caco-2ได้ร้อยละ 36.74 และ 32.80 ตามลำดับ สารสกัดเฮกเซนและสารสกัดไดคลอโรมีเทนมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ pancreatic lipaseด้วยค่า IC5067.45 และ 352.80 มคก./มล. ตามลำดับ ที่ความเข้มข้น 10 มคก./มล. สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG CoA reductase ร้อยละ 114.34 และ 80.55 ตามลำดับ และเมื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดไดคลอโรมีเทนจากใบชะมวงด้วยวิธีทางโครมาโทกราฟีและทำการพิสูจน์โครงสร้างทางเคมีของสารบริสุทธิ์ที่แยกได้ได้วิธี NMR spectrometry และเปรียบเทียบข้อมูลสเปกตรัมกับสารที่เคยมีรายงานในอดีต พบว่า สารสกัดไดคลอโรมีเทนจากใบชะมวงมีสารกลุ่ม flavonoid C-glycoside 2 ชนิด คือ orientin และ vitexin และยังพบ ß-sitosterol เป็นองค์ประกอบอีกด้วย
คุณประโยชน์มากมาย
ผลชะมวงสุกสีเหลืองใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ โดยจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน หรือจะนำผลมาหั่นเป็นแว่นตากแดดใส่ปลาร้าเพื่อเพิ่มรสชาติก็ได้
ยอดอ่อนหรือใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ป่นแจ่ว หรือนำไปใช้ปรุงอาหาร เช่น
ต้มส้ม ต้มส้มปลาไหล ต้มส้มปลาแห้ง ทำแกงชะมวง ต้มซี่โครงหมูใบชะมวง ใช้แกงกับหมู หมูชะมวง หรือนำมาใส่ในแกงอ่อม เป็นต้น
ผลและใบอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน โดยจะมีรสเปรี้ยวคล้ายกับมะดัน (การรับประทานมากๆ จะเป็นยาระบายท้องเหมือนดอกขี้เหล็ก)
ผลและใบแก่เมื่อนำมาหมักจะให้กรด ซึ่งนำมาใช้สำหรับการฟอกหนังวัวหรือหนังควายที่ใช้แกะสลักรูปหนังตะลุงได้เป็นอย่างดี
ต้นชะมวงสามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ และไม้ให้ร่มเงาได้ดี
ลำต้นหรือเนื้อไม้ชะมวง สามารถนำมาแปรรูปใช้ในงานก่อสร้างต่างๆ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง ฯลฯ
เปลือกต้นและยางของต้นชะมวง จะให้สีเหลืองที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้สกัดทำสีย้อมผ้า
น้ำยางสีเหลืองจากต้นชะมวง สมัยก่อนนำมาใช้ผสมในน้ำมันชักเงา
ยอดอ่อนชะมวงเมื่อนำไปหมักกับจุลินทรีย์ จะทำให้เกิดรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาปราบศัตรูพืชได้ เช่น เพลี้ย
คุณค่าทางโภชนาการของใบชะมวง ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 51 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 1.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม เส้นใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม เถ้า 0.6 กรัม น้ำ 84.1 กรัม วิตามินเอ 7,333 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 29 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม
แนะนำ! เมนูหรอยๆ จากใบส้มมวง คู่ครัวปักษ์ใต้
ต้มช่อตีนวัวกับใบส้มมวง
แกงส้มหมูสามชั้นใบส้มมวง
ต้มช่อตีนหมูส้มมวง
ต้มโดกหมูส้มมวง
ขอขอบคุณ @ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, Wikipedia, YouTube @ ทูชูททูคัท
Relate topics
- มังคุดคัด (มังคุดเสียบไม้) ของดีคู่เมืองนครศรีธรรมราช"มังคุดคัด" เป็นเหมือนของคู่กับวัดมหาธาตุฯ เมืองนครศรีธรรมราชไปซะแล้ว ผ่านไปทีไรก็เป็นอันต้องแวะไปกินมังคุดคัดทุกที มีขายประจำที่วัดมหาธาตุฯ เมืองนคร นี่แหล่ะ ไปถึงปุ๊บ ก็เจอปั๊บ แม่ค้าถือถาดมังคุดคั
- แกล้งดิน พระอัจฉริยภาพด้านดิน-น้ำ แก้จนยั่งยืน ที่ “ศูนย์ฯ พิกุลทอง” จ.นราธิวาสอย่างที่อำเภอตากใบ ก็มีปัญหานี้ ชาวบ้านทำได้แค่ปลูกพืชได้เป็นหย่อมๆ ผลผลิตไม่ดี ปลูกข้าวได้ไร่ละไม่ถึง 10 ถัง ก็ได้นำความรู้เรื่องแกล้งดินไปปรับปรุงพัฒนาพื้นที่จนเขียวขจีไปทั้งพื้นที่ ![ คำอ
- ด้วยพระบารมี ชุมพรวันนี้สุขร่มเย็น น้ำไม่ท่วม !!!ปลายเดือนตุลาคม 2540 พายุไต้ฝุ่น “ลินดา” ได้ก่อตัวขึ้นและเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย และคาดว่าจะขึ้นฝั่งที่บริเวณจังหวัดชุมพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จังหวัดชุมพรเร่งขุดค
- จากความวิปโยค คืนสู่ความสมบูรณ์ ด้วยพระมหากรุณธิคุณ “อ่างเก็บน้ำกะทูน” สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้อ่างเก็บน้ำกะทูนเป็นอีกหนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สามารถพลิกวิกฤตจากน้ำท่วมใหญ่ในอดีตให้เป็นโอกาส ช่วยชะลอน้ำ สร้างชีวิตใหม่ให้กับพสกนิกร ![ คำอธิบายภาพ : pic5803
- หาดใหญ่พ้นภัยด้วยน้ำพระทัยจากในหลวง โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ตามแนวพระราชดำริ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาที่หาดใหญ่ ที่น้ำท่วมอย่างมากมายเช่นนี้ ท่านผู้ที่อยู่ในท้องที่ก็ได้เห็นด้วยตาของตนเอง แต่ว่าไม่ทันรู้ว่ามันมาอย่างไร ถ้าถามผู้อยู่ที่หาดใหญ่เองทั้งประชาชน ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและพลเรือน ว่าน้ำน
- พระราชปณิธานที่จะให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สามารถพูดภาษาไทยได้การศึกษาที่นี่สำคัญมาก ให้พยายามจัดให้ดี ให้พลเมืองสามารถพูดภาษาไทยได้ แม้จะพูดได้ไม่มากนักเพียงแต่พอรู้เรื่องกันก็ยังดี เท่าที่ผ่านมาคราวนี้มีผู้ไม่รู้ภาษาไทย ต้องใช้ล่ามแปลควรให้พูดเข้าใจกันได้ เ
- รัชกาลที่ 9 พระราชกรณียกิจด้านแร่ในภาคใต้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งเลียบฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่ระนองถึงภูเก็ต ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเห็นภูมิประเทศอันเป็นแหล่งกำเนิดแร่ดีบุก ทั้งภูเขาและลานแร่ พระองค์ทรงเข้
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ “เสด็จเมืองระนอง ๒๕๐๒”พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ “เสด็จเมืองระนอง ๒๕๐๒” ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๖ – ๒๖ มีนาคม ปี พุทธศักราช ๒๕๐๒ ![ คำอธ
- พ่อของแผ่นดินกับพสกนิกรชาวไทยมุสลิม" อิสลามิกชนมีพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน อันประกอบพร้อมด้วยบทบัญญัติทางศีลธรรม จริยธรรม นิติธรรม เป็นแม่บทศักดิ์สิทธิ์สำหรับการประพฤติปฏิบัติและการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่จึงมีชีวิตที่เจริญมั่นคง มีความฉลาด
- สงขลาใต้ร่มพระบารมีปี ๒๕๐๒ เสด็จสงขลา ครั้งแรก เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวสงขลาเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ครั้งแรก