สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

ราเขียวมหัศจรรย์ "ไตรโคเดอร์ม่า" ผู้พิทักษ์พืชผักตัวจริง!!

  • photo  , 640x480 pixel , 60,034 bytes.
  • photo  , 640x480 pixel , 50,358 bytes.

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ฮาร์เซียนั่ม (Trichoderma harzianum) เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์ หรือ ตัวเบียน) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียนหรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิตปฏิชีวนสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรค


 คำอธิบายภาพ : Trichoderma1


ไตรโคเดอร์มา เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในจำพวกของเชื้อราชั้นสูง (เส้นใยมีผนังกั้นแบ่งมีประโยชน์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืช ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้อย่างกว้างขวางทั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่เป็นเชื้อราชั้นสูงและชั้นต่ำ ได้แก่


เชื้อรา Pythium spp. สาเหตุโรคกล้าเน่าหรือโรคเน่าคอดิน เชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรครากและโคนเน่า เชื้อรา Rhizoctonia spp. สาเหตุโรครากและลำต้นเน่า เชื้อรา Sclerotium spp. สาเหตุโรครากและลำต้นเน่า เชื้อรา Fusarium spp. สาเหตุโรคเหี่ยว


ไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในดิน เช่น เชื้อราพิเทียม (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า) เชื้อราไฟทอฟธอรา (โรคโคนเน่า) เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว) เชื้อราสเคลอโรเทียม (โรคโคนเน่า เหี่ยว)เชื้อราไรซ็อค โทเนีย (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า) รูปแบบหรือวิธีการของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมเชื้อราโรคพืช


 คำอธิบายภาพ : Trichoderma2


1.) เป็นปาราสิตและแข่งขันการใช้แหล่งอาหารและปัจจัยต่าง ๆ ของเชื้อโรคพืช

2.) เส้นใยของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พันรัดรอบเส้นใยของเชื้อโรคและอาจแทงเข้าสู่เส้นใยของเชื้อโรคพืช เส้นใยเชื้อโรคพืชที่ถูกพันรัดจะเกิดช่องว่างหรือเหี่ยวแฟบแล้วสลายตัวไปในที่สุด

3.) เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าบางชนิดผลิตเอนไซม์ ทำให้เกิดการเหี่ยวสลายของเส้นใยเชื้อโรคพืช


สำหรับในประเทศไทย ได้มีการศึกษาค้นคว้าประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโค เดอร์มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเพื่อควบคุมโรคเมล็ดเน่า (Seed rot) โรคเน่าระดับดิน (Damping off) โรคกล้าไหม้ (seedling blight) โรครากเน่า (Root rot) โรคโคนเน่า (Stem rot, trunk rot, basal rot) บนพืชหลายชนิด เช่นมะเขือเทศ ถั่วเหลืองฝักสด พริก ฝ้าย ข้าวบาร์เลย์ ส้ม ทุเรียน ยับยั้งเชื้อราไฟท๊อปธอร่า ก่อโรคดอกเน่า โรคเน่าคอดินต้นกล้า โรครากเน่า จากเชื้อพิเทียม โรคเหี่ยวในมะเขือเทศจากเชื้อฟิวซาเรียม โรคราเมล็ดผักกาด จากเชื้อสเคลอโรเทียม โรตแอนแทรกโนส โรคกาบใบแห้งในข้าว ทำลายเชื้อราในพืชสวน พืชไรได้หลายชนิด พบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคต่าง ๆ ดังกล่าวได้ดี


ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช มีข้อจำกัดดังต่อไปนี้

1.) ค่า pH ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์มา อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 คือเป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งเป็นช่วง pH ที่พืชปลูกส่วนใหญ่ เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการวัด pH ของดิน และปรับให้เหมาะสมก่อน

2.) เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชั้นสูง จึงถูกทำลายได้ด้วยสารเคมีที่ใช้ในการป้องกัน และกำจัดเชื้อราชั้นสูงโดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มเบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ได้แก่ เบนโนมิล (benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึม หากจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมี ควรจะทิ้งช่วงประมาณ 2 สัปดาห์เป็น อย่างต่ำ

3.) ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง คือต้นฝน และปลายฝน ห่างกัน 6 เดือน เพราะถ้าอาหาร สภาพแวดล้อม และปัจจัยอื่นๆในดินไม่เหมาะสม เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะหยุดการเจริญเติบโต

4.) สามารถทดลองผลิตใช้เอง โดยเชื้อราบริสุทธิ์และใช้ข้าวเปลือกเป็นอาหารเลี้ยง


ชนิดของพืชที่เหมาะสำหรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคพืช โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคได้แบ่งออกเป็น


1.) ไม้ผล โรคไม้ผลที่เกิดจากเชื้อราไฟท็อปธอร่า เกิดอาหารโรครากเน่า โคนเน่า ในทุเรียนและส้ม ควบคุมโรคได้โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พร้อมส่วนผสมรองก้นหลุมก่อนปลูกหรือโรยรอบโคนต้นตามรัศมีทรงพุ่มไม้ผล

2.) พืชไร่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ยาสูบ หม่อน มันส าปะหลัง ฝ้าย ที่เกิดอาการโรคยอดเน่าของต้นกล้า โรครากเน่า - โคนเน่า โรคโคนและต้นเน่า โรคเน่าคอดิน ควบคุมโรคโดยการโรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พร้อมส่วนผสมรอบโคนต้นพืช หรือคลุกเมล็ดในพืชบางชนิด เช่น ฝ้ายก่อนน าไปปลูก

3.) พืชผัก - พืชสวน มะเขือเทศ พริก มะเขือเปราะ แตง กระเจี๊ยบ ถั่วฝักยาว หอมใญ่ เกิดอาการ โรคราเมล็ดผักกาด โรคเหี่ยว รากเน่า - โคนเน่า เน่าคอดิน ควบคุมโรคโดยการโรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พร้อมส่วนผสมรอบโคนต้นหรือคลุกเมล็ดก่อนปลูก

4.) ไม้ดอกไม้ประดับ มะลิ ซ่อนกลิ่นโป๊ยเซียน เยอบีร่า กล้วยไม้พันธุ์ Mokara เกิดอาการโรคเหี่ยว ควบคุมโดยโรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พร้อมส่วนผสมโรยรอบโคนต้น


วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

1.) นำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่เจริญบนเมล็ดข้าวฟ่างผสมกับร าและปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกตาม อัตราส่วนดังนี้ เชื้อรา 1 กก. + ร า 4 กก. + ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 100 กก. คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน นำไปหว่านใน แปลงหรือรองก้นหลุม

2.) นำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่เจริญบนเมล็ดข้าวฟ่าง 1 กิโลกรัมผสมกับน้ า 200 ลิตร ฉีดพ่นรอบๆทรงพุ่ม และโคนต้นการควบคุมโรคข้าวด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า การควบคุมโรคข้าวควรเริ่มต้นจากการปลูกข้าวด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สมบูรณ์เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง การแช่เมล็ดข้าวเปลือกในน้ า 1 คืน ก่อนน าไปแช่ในน้ าเชื้อสดของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ได้จากการใช้เชื้อสด 1 กิโลกรัม (หรือเชื้อชนิดน้ า 1ลิตร) ผสมน้ า 100 ลิตร ยกถุงเมล็ดพันธุ์ข้าวให้สะเด็ดน้ าเชื้อก่อนน าไปบ่มในสภาพชื้น (หุ้มข้าว) เพื่อให้เมล็ดงอก


วิธีนี้จะช่วยให้ได้กล้าข้าวที่สมบูรณ์แข็งแรง เมื่อน าไปหว่านในข้าว เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะช่วยปกป้องรากข้าวจากการเข้าท าลายของเชื้อรา และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกล้าข้าวได้ด้วย ในระยะข้าวเริ่มแตกกอ การปล่อยเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปตามน้ าที่สูบเข้านา เป็นวิธีที่สะดวกอัตราของเชื้อที่ใช้คือ 2 กิโลกรัมต่อไร่ (หรือเชื้อชนิดน้ า 2 ลิตร) จ านวน 1 – 2 ครั้ง โดยน าเชื้อสดผสมน้ าในถังแล้วกวนให้เชื้อหลุดจากเมล็ดข้าว ก่อนจะตักหรือเทตรงบริเวณที่น้ าออกจากปากท่อ ขณะที่สูบน้ าเข้านา เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะแพร่กระจายไปทั่วทั้งพื้นที่ ช่วยป้องกันเชื้อราที่เกิดกับกอข้าว เช่น โรคกาบใบแห้งเนื่องจากสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา จะมีน้ าหนักเบาและลอยไปตามผิวน้ าได้เช่นเดียวกับส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุโรคกาบใบแห้งเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะยับยั้งเชื้อโรคไม่ให้สามารเจริญและเข้าท าลายได้ท าให้การเกิดโรคกาบใบแห้งลดลง ในระหว่างที่ข้าวก าลังเจริญเติบโตจนถึงระยะตั้งท้อง การฉีดพ่นข้าวด้วยน้ าเชื้อสด ทุก10 – 15 วัน ด้วยอัตราเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด 1 กิโลกรัม (หรือเชื้อชนิดน้ า 1 ลิตร) ต่อน้ า 200 ลิตร (ผสมน้ ายาจับใบ) จะช่วยป้องกันโรคใบจุด ใบไหม้ ที่เกิดจากเชื้อราชนิดต่าง ๆ ได้ช่วยให้ต้นข้าวมีความแข็งแรง สามารถออกรวงได้ตามปกติ การพ่นน้ าเชื้อสดอัตราเดียวกัน หลังจากข้าวตั้งท้องจนถึงข้าวเริ่มออกรวง อีก 1-2 ครั้ง เป็นช่วงที่ส าคัญควรพ่นเชื้อสดจะช่วยป้องกันการเกิดโรคใบจุด และโรคเมล็ดด่าง ซึ่งเกิดจากการเข้าท าลายของเชื้อราสาเหตุโรคหลายชนิด ท าให้ได้เมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ช่วยเพิ่มน้ าหนักของผลผลิตโดยรวมได้ ข้อควรระวัง : ฟางข้าวที่ได้จากนาข้าวที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ไม่ควรน าไปใช้ในการเพาะเห็ดใด ๆ เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ติดอยู่กับฟางข้าวจะแย่งอาหารจากกองเห็ด แล้วเจริญอย่างรวดเร็วท าให้เห็ดเจริญไม่ดีเท่าที่ควร แต่การกระจายฟางเหล่านี้กลับสู่แปลงนา หรือการน าไปใช้คลุมแปลงปลูกผัก จะเกิดประโยชน์อย่างมากเพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มา จะช่วยท าลายเชื้อสาเหตุโรคพืชในนาหรือแปลงผักจนมีปริมาณลดลงได้


ชีวภัณฑืไตรโคเดอร์ม่า

การขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าอย่างง่าย โดยใช้กากน้ำตาล


ไตรโคเดอร์มา ในผักไฮโดรโพนิกส์


การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา แบบสด

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 1397
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง