สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

“ตักศิลาเรือหัวโทงอันดามัน” อาจสิ้นสลายในยุคโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่

by sator4u_team @24 ต.ค. 57 00:54 ( IP : 113...89 ) | Tags : ทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม-นวัตกรรม , กระบี่
  • photo  , 500x375 pixel , 262,191 bytes.
  • photo  , 500x375 pixel , 243,604 bytes.
  • photo  , 500x375 pixel , 248,347 bytes.
  • photo  , 500x375 pixel , 224,370 bytes.

“ASTVผู้จัดการภาคใต้” ลงพื้นที่บ้านคลองรั้ว ต.ตลิ่งชัน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ บริเวณที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.กำหนดให้เป็นพื้นที่ก่อสร้างท่าเทียบเรือถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหิน กำลังการผลิตขนาด 870 เมกะวัตต์ ซึ่งถูกคัดค้านจากชาวบ้านในพื้นที่ที่พึ่งพาทรัพยากรทางทะเลบริเวณนี้เป็นแหล่งทำมาหากินมาหลายชั่วอายุคน ทั้งด้านการประมง การท่องเที่ยว และเกษตรกรรม


พวกเขากังวลว่าผลกระทบที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จากการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าจะก่อให้เกิดมลพิษทั้งในน้ำ ดิน และอากาศ ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารจากพืช และสัตว์ไปสู่คน ดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในหลายประเทศ รวมทั้งการขนส่งถ่านหินยังทับซ้อนกับพื้นที่เดินเรือของชาวประมงขนาดเล็กที่หากินใกล้ชายฝั่ง ซึ่งเฉพาะ 4 หมู่บ้านของ ต.ตลิ่งชัน มีรายได้จากการทำประมงปีละกว่า 3,000 ล้านบาท รายได้นี้จะต้องสูญเสียไปอย่างแน่นอน


เมื่อการทำประมงเผชิญภาวะเสี่ยง อีกอาชีพหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบตามมาเป็นห่วงโซ่คือ อาชีพช่างต่อเรือ เป็นที่รับรู้กันว่า บ้านคลองรั้ว ถือเป็นตักศิลาสำหรับช่างต่อเรือหัวโทง ซึ่งเป็นเรือประมงที่ชาวประมงทางฝั่งอันดามันใช้ในการออกทะเลหาปลามานับหลายร้อยปี เรือชนิดนี้มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ และเป็นภูมิปัญญาที่สร้างรายได้ให้แก่ช่างต่อเรือปีละเกือบ 10 ล้านบาทต่อคน ในขณะที่บ้านคลองรั้ว มีช่างชำนาญการต่อเรืออยู่กว่า 30 คน


โดยนายสุพัตร์ เชื้อทะเล เป็น 1 ในจำนวนช่างเหล่า เหตุใดอาชีพนี้จึงมีความสำคัญและเหตุใดพวกเขาจึงกังวลต่อผลกระทบที่จะตามมาจากโรงไฟฟ้า และท่าเรือถ่านหิน ทำความรู้จักกับช่างเรือหัวโทงบ้านคลองรั้วได้จากบทสัมภาษณ์และคลิปวิดีโอ


“ตักศิลาเรือหัวโทงอันดามัน” อาจสิ้นสลายในยุคโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่


ช่วยเล่าความเป็นมาของการทำเรือหัวโทงให้ทราบหน่อยครับ


การต่อเรือของที่นี่มีมายาวนานกว่า 100 ปี ซึ่งตกทอดมาหลายชั่วอายุคน เนื่องจากเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม “เรือหัวโทง” เป็นเรือที่ชาวประมงพื้นบ้านทางภาคใต้ฝั่งอันดามันนิยมใช้เพราะมีลักษณะเป็นเรือหางยาว โดยเครื่องจะตั้งอยู่ส่วนท้าย ใช้ได้ดีกับพื้นที่ฝั่งอันดามันที่มีคลื่นมาก และเรือประเภทนี้ยังมีลักษณะเด่นตรงส่วนหัว โดยเรือหัวโทงที่ดีขั้นตอนการผลิตทุกอย่างต้องละเอียด พิถีพิถันทั้งลำ หัวเรือต้องเชิดสูงงอน


ผู้ที่มาสั่งทำเรือประเภทนี้มักจะอยู่ทางภาคใต้ ได้แก่ สตูล ตรัง ภูเก็ต กระบี่ พังงา ส่วนระนอง พอจะมีมาสั่งบ้างไม่มากเหมือนจังหวัดอื่นๆ


อาชีพการทำเรือหัวโทงทำมาแล้วกว่า 10 ปี สืบทอดมาจากพ่อที่เสียชีวิตไป ซึ่งตกทอดมากว่า 3 รุ่น ในการทำเรือหัวโทงจะไม่มีตำรา แต่จะอาศัยการเรียนรู้ ศึกษาด้วยตนเอง โดยจะใช้สมองในการจดจำเป็นการดูแล้วจำ เพื่อสั่งสมประสบการณ์


เรือหัวโทงที่ทำจะมีขนาดเล็กสุดอยู่ที่ 11 กง หรือประมาณ 3 เมตรกว่า จนไปถึง 14-15 เมตร ส่วนค่าจ้างในการทำเรือจะขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ เช่น หากขนาด 21 กง ค่าแรงจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 บาทโดยคนที่มาสั่งทำจะนำไม้มาเอง และเรามีหน้าที่สร้างให้เป็นเรือ ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 10 วันต่อ 1 ลำ ไม้ที่ใช้ส่วนใหญ่คือ ไม้ชิง ไม้พะยอม ไม้กระถิน ไม้เทียม ในเวลา 1 เดือน สามารถจะทำเรือหัวโทงได้ประมาณ 3 ลำ ผมทำอาชีพนี้มาแล้ว 10 กว่าปี


วิธีการต่อเรือหัวโทงมันมีขั้นตอนอย่างไรบ้างครับ


ทำเรือหัวโทงนั้นจะเริ่มจากการเตรียมมาดเรือ หรือกระดูกงูโดยการขึ้นกระดาน และแต่งรูป เมื่อเสร็จก็ใส่กงที่ทำมาจากไม้เทียม หรือไม้พะยอม ใส่หัวเรือท้ายเรือด้านข้าง และท้องเรือ เมื่อใส่กงเสร็จก็ถอดของที่แต่งรูปออก พร้อมทำข้างบนกับส่วนท้าย และตอกหมันเรือก็เป็นอันเสร็จ


การทำเรือนั้นมีความยาก หากคนอื่นที่ไม่มีความรู้เดิมมาเรียนทำเรือต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ถึงจะชำนาญพอที่จะทำเรือได้ เพราะการทำเรือหัวโทงมีขั้นตอนที่ยาก ต้องใช้ความประณีต พิถีพิถัน เพราะไม่มีแบบ


ปัจจุบัน เมื่อเทียบขนาดเรือหัวโทงกับในสมัยก่อน มีการพัฒนาให้ใหญ่ขึ้นมาก เนื่องจากในอดีตนั้นมีความกว้างประมาน 11 กง มีความกว้างของปากประมาณ 1.6 เมตร แต่ปัจจุบันมีความกว้างถึง 2 เมตรกว่า ขนาดของเรือจะยาวขึ้น


สาเหตุที่ชาวประมงนิยมใช้เรือขนาดใหญ่ขึ้น เพราะชาวประมงต้องการใช้เดินเรือเพื่อไปจับปลาในระยะทางที่ไกลกว่าเดิม จึงต้องใช้เครื่องยนต์เดินเรือที่ใหญ่ และแรงขึ้น เพื่อใช้บรรทุกของ อุปกรณ์จับปลา และสะดวกต่อการเดินเรือประมง ทั้งนี้ ทะเลมีความสมบูรณ์มากกว่าแต่ก่อน ชาวประมงจึงสามารถจับปลาได้ไกลกว่าเดิมที่เคยจับอยู่แค่ริมชายฝั่ง ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ราคาปลาก็สูงขึ้นตามไปด้วย


โดยคนที่จะมาประกอบอาชีพทำเรือนั้น ต้องมีความรักในงาน รักในอาชีพ และต้องใช้เวลาในการศึกษานาน รวมถึงอาจต้องอาศัยพรสวรรค์ส่วนตัวประกอบ


เรือที่ใช้ไม้ ดีกว่าเรือที่ทำมาจากไฟเบอร์อย่างไร

จากที่ชาวประมงได้ทดลองใช้มาแล้วพบว่า เรือไฟเบอร์จะไม่ขึ้นคลื่น แต่เรือไม้จะขึ้นคลื่นดีกว่า และเล่นคลื่นดีกว่า ซึ่งการออกไปทำประมงในพื้นที่ไกลๆ เรือไม้จะสามารถใช้งานได้ดีกว่า มีการเก็บรักษาที่ง่าย มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ซึ่งเคยพบว่าเรือไฟเบอร์หากเกิดอุบัติเหตุจะจมไปทันที แต่หากเป็นเรือไม้จะสามารถเกาะลอยตัวได้


  ที่กังวลเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินมีผลกระทบต่ออาชีพทำเรืออย่างไรบ้างครับ


จากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้นมีผลกระทบมากต่ออาชีพนี้ เพราะหากชาวประมงออกจับปลาไม่ได้ แล้วช่างจะสร้างเรือไว้เพื่ออะไร หรืออนาคตคงต้องเข้าเป็นพิพิธภัณฑ์ (หัวเราะ) เพราะที่สามารถอยู่ได้จากรุ่นปู่ย่ามาถึงปัจจุบัน ก็เพราะประกอบอาชีพทำเรือ


วอนรัฐบาลเห็นใจชาวบ้าน และชาวประมงที่ทำอาชีพเดินเรือจับสัตว์น้ำ เพราะหากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีการขนถ่ายทางเรือ และเขตที่ใช้ขนถ่ายนั้น เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านใช้เดินเรือทำการประมงออกจับปลาเพื่อเลี้ยงชีพ รัฐบาลควรหาทางออกที่ดีกว่านี้ ยุติการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะจะส่งผลกระทบต่อชาวบ้านอย่างมาก


ที่มา @ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 ตุลาคม 2557 11:54 น.

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 5941
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง