ควายน้ำ หรือ ควายทะเล ทะเลน้อยพัทลุง “ใสกลิ้ง-หัวป่า” ถนนข้ามทะเล ชมวิถี “ควายน้ำ” ดำกินหญ้า
ช่วงฤดูน้ำหลาก ทุ่งหญ้าที่เป็นแหล่งหากินต้องจมอยู่ใต้ผืนน้ำเป็นเวลา 5 เดือนใน 1 ปี จำเป็นต้องปรับตัวด้วยการว่ายน้ำเป็นระยะทางไกลขึ้น เพื่อดำน้ำลงไปกินหญ้าที่จมอยู่ใต้น้ำ บางตัวสามารถดำน้ำได้นาน โดยมุดหัวลงน้ำเท้าหลังชี้ขึ้นฟ้ากินหญ้าน้ำได้คราวละหลายนาที !!!
ภาพจาก @ ASTV ภาคใต้
ชาวบ้านทะเลน้อยนำควายมาเลี้ยงในพื้นที่นานกว่า 100 ปีมาแล้ว เป็นการปล่อยออกไปกินหญ้าเองตามทุ่งหญ้าขนาดใหญ่เหมือนชาวบ้านในพื้นที่อื่น แต่ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของทะเลน้อย ทำให้ในช่วงฤดูน้ำหลาก ทุ่งหญ้าที่เป็นแหล่งหากินของควายต้องจมอยู่ใต้ผืนน้ำเป็นเวลา 5 เดือนใน 1 ปี ส่งผลให้ควายต้องปรับตัวอาศัยหากิน ด้วยการว่ายน้ำเป็นระยะทางไกล เพื่อดำน้ำลงไปกินหญ้าที่จมอยู่ใต้น้ำ บางตัวสามารถดำน้ำได้นานจะมุดหัวลงน้ำ เท้าหลังชี้ขึ้นฟ้ากินหญ้าน้ำได้คราวละ หลายนาที ส่วนลูกควายตัวเล็กจะดำน้ำลงไปทั้งตัว เป็นภาพที่ชาวทะเลน้อยเห็นชินตามาหลายชั่วอายุคน จนเรียกขานควายในทะเลน้อยว่า "ควายน้ำ" ตามลักษณะการหากิน
แต่เดิมเป็นควายบ้านที่ชาวบ้านนำมาเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งให้หากินหญ้ากันเอง ทำให้มีการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ จนประชากรควายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีวิถีชีวิตคล้ายควายป่าโดยควายน้ำแต่ละฝูงจะมีขนาดเล็กใหญ่ตั้งแต่ ฝูงละ 5 - 6 ตัว ไปจนถึงฝูงใหญ่เกือบ 100 ตัว มีจ่าฝูงคอยควบคุมพาฝูงออกจากคอกไปหากินในทุกเช้า และกลับเข้าคอกเองในช่วงเย็น บางฝูงอาศัยนอนตามโคกเนิน หรือเกาะแก่งกลางน้ำ
ปัญหาการเรียกชื่อของสัตว์เท้ากลีบหรือเจ้าควาย หรือควายน้ำ หรือ ควายทะเล ซึ่งมีความสับสนกันเป็นอย่างมากทีเดียว เมื่อผมได้ไปเที่ยวพัทลุง ที่ทะเลน้อย ทำใหตั้งคำถามในใจ ว่าถึงแม้ผมจะเรียกมันว่าควายทะเลก็ตาม แต่ควายทะเลของผมหมายถึง”ควายทะเลน้อย” นั้นเองครับ ไม่ใช่ควายน้ำเค็มแต่ประการใด
ควายในป่าพรุแถบรอบลุ่มทะเลสาบสงขลาประกอบด้วยตำบลพนางตุง ตำบลทะเลน้อย จ.พัทลุง และต.บ้านขาว อ.ระโนด สงขลา ประมาณ 100 คอก เกือบ 5000 ตัว เป็นควายเลี้ยงปล่อยแบบเช้าไป-เย็นกลับ อาศัย และหากิน อยู่ในป่าพรุ และในทะเลสาบสงขลาตอนบน ทำให้ผู้คนเข้าใจว่าควายแถบนี้เป็น “ควายน้ำ” และเรียกว่า “ควายทะเล” เป็นการเข้าใจผิดในเรื่องสายพันธุ์ควายอย่างแรง
ภาพจาก @ ASTV ภาคใต้
ชนิดของควาย ควายที่พบในโลกนี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่คือควายป่าและควายบ้าน ควายบ้านแบ่งได้เป็น ๒ ชนิด คือ ควายปลัก(swamp bufffalo)และควายน้ำหรือควายแม่น้ำ (river buffalo)ทั้งควายปลักและควายน้ำจัดเป็นสปีชี(species)เดียวกันมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bubalus bubalis แต่ก็มีความแตกต่างกันทางสรีระ รูปร่างอย่างเห็นได้ชัดเจน การศึกษาทางด้านชีวโมเลกุล นักวิทยาศาสตร์พบว่า ควายปลักมีจำนวนโครโมโซม ๒๔ คู่ ส่วนควายน้ำมีจำนวนโครโมโซม ๒๕ คู่ แต่ควายทั้งสองชนิดนี้สามารถผสมพันธุ์กันได้
ควายปลักมีนิสัยชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำ อาจมีสีขาวเผือก มีขนบางขึ้นตามตัว ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบนโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบนราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่ และอกนูนเห็นชัด
ควายแม่น้ำ พบมากในประเทศอินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ประเทศในยุโรปตอนใต้ และยุโรปตะวันออก เป็นควายที่ให้นมมาก ตัวเมียมีเต้านมขนาดใหญ่ให้น้ำนมมากประมาณวันละ 5 ลิตร นิยมเลี้ยงไว้เพื่อรีดนม ไม่ชอบลงแช่โคลนแต่จะชอบน้ำที่สะอาด มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์มูร่าห์ นิลิ เม-ซานี ราวี เซอติ และเมดิเตอเรเนียน เป็นต้น
ควายในทุ่งพรุทะเลน้อย ควายที่เลี้ยงกันในทุ่งพรุทะเลน้อยเป็นชนิดควายปลัก เลี้ยงสืบทอดติดต่อกันมา 3-4 ชั่วอายุคน เป็นเวลานานร่วม 100 กว่าปี วิถีการเลี้ยงนิยมเลี้ยงเป็นฝูงปล่อยทุ่งและมีคอกสำหรับให้ควายพักผ่อนหลังจากกลับจากกินหญ้าโดยเฉพาะยามค่ำคืน ควายฝูงหนึ่ง ๆจะมีควายที่ทำหน้าที่คุมฝูง 1 ตัว เจ้าของควายจะเปิดคอกปล่อยควายออกกินหญ้าเวลาเช้าประมาณ 09:00 น. ควายจะกลับเข้าคอกเองในตอนเย็นเวลาประมาณ 15:00-16:00น. เป็นเช่นนี้ทุกวัน ในบางปีที่น้ำท่วมหนัก ระดับน้ำในทุ่งหญ้าท่วมสูงมากจนหญ้าจมมิดอยู่ใต้น้ำแต่ควายก็สามารถดำน้ำลงกินหญ้าที่จมอยู่ใต้น้ำได้
Cr. // ครูไพฑูรย์ ศิริรักษ์ วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ , ASTV ภาคใต้
Relate topics
- ตลาดปล่อยของ จ.ภูเก็ตตลาดนัดสุดบรรเจิดท่ามกลางบรรยากาศกลางแจ้งแบบสบาย ๆ ใน Limelight Avenue ใจกลางเมืองภูเก็ต ที่มีพื้นที่สำหรับปลดปล่อยสินค้าไอเดีย โดยภายในตลาดจะมีพ่อค้าแม่ขายมาวางของแฮนด์เมดดีไซน์เก๋ ๆ แฟชั่นแนว ๆ อาทิ
- 20 สถานที่ท่องเที่ยว "พังงา" ที่ชาตินี้ต้องไปเยือนให้ได้!!!แร่หมื่นล้านบ้านกลางน้ำถ้ำงามตา ภูพาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร
- เจดีย์ปะการัง โบราณสถานเก่าแก่ของเมืองขนอม เชื่อกันว่ามีอายุมากกว่า 1000 ปีเจดีย์ปะการัง โบราณสถานเก่าแก่ของเมืองขนอม เชื่อกันว่ามีอายุมากกว่า 1000 ปี ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาธาตุ ในวัดจันทน์ธาตุทาราม เจดีย์เป็นรูปโอคว่ำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เมตร สร้างขึ้นโดยนำหินปะการั
- มารู้จัก "โลมาสีชมพู" พระเอกแห่งท้องทะเลขนอม จ.นครศรีธรรมราช กันเถอะ! ก่อนอื่น! ลองมาทำความรู้จัก "ขนอม ...อัญมณีแห่งอ่าวไทย" กันสักฮี
- เจดีย์ไตรภพไตรมงคล หรือ เจดีย์สเตนเลสส์ ตั้งสถิตโดดเด่นเป็นสง่า อยู่บนยอดเขาคอหงส์เจดีย์ไตรภพไตรมงคล หรือเจดีย์สเตนเลสส์ อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำด้วยวัสดุสเตนเลสส์ ตั้งสถิตโดดเด่นเป็นสง่า อยู่บนยอดเขาคอหงส์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านในไร่ ถนนปุณณกัณฑ์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหว
- เกาะรอก แม้จะเป็นเพียงเกาะเล็กๆ คู่กันสองเกาะ แต่มีธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่นักเกาะรอก ไกลจากเกาะลันตาใหญ่ออกสู่ทะเลกว้างอีก 47 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเกาะรอก แม้จะเป็นเพียงเกาะเล็กๆ คู่กันสองเกาะ แต่มีธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่นัก เป็นเจ้าของหาดทรายขาว น้ำทะเลสีมรกต มีปะการังฝูงปลาหลา
- อบจ.เมืองลุงพาลงแขกเกี่ยว‘ข้าวหอมชลสิทธิ์’ให้ผลผลิตดีอบจ.พัทลุง นำเจ้าหน้าที่มาร่วมกับชาวนา ลงแขกเกี่ยวข้าวในแปลงนา ที่ปลูกข้าวพันธุ์พระราชทาน ‘ข้าวหอมชลสิทธิ์’ เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องกลัวว่าน้ำจะท่วม พบให้ผลผลิตดี 1 ไร่ได้ข้าวถึง 900 กก. เตรียมขายเมล็
- เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล"เกาะหลีเป๊ะ (Koh Lipe)" เป็นหนึ่งในหลายๆ เกาะของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ซึ่ง หลีเป๊ะ จะตั้งอยู่สุดเขตแดนใต้ อยู่ในกลุ่มของหมู่เกาะอาดัง - ราวี และอยู่ห่างจาก ท่าเรือปากบารา 62 กิโลเมตร ตัวเกาะเ
- เที่ยวบากันใหญ่-หัวทาง กลางมรสุมอันดามันเที่ยวบากันใหญ่-หัวทาง กลางมรสุมอันดามัน (อ.ส.ท.) จริยา ชูช่วย...เรื่อง นภดล กันบัว...ภาพ “ไปทำไมอันดามันหน้ามรสุม” ปลายเดือนมิถุนายนไม่ใช่ฤดูกาลท่องเที่ยวของฝั่งอันดามันเป็นแน่ เกาะตะรุเตา เกา
- วิทยาลัยชุมชนสงขลา จัดกิจกรรมทดลองการนำเที่ยวเชิงนิเวศตำบลบ้านขาว อ.ระโนด นำร่อง การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน “อเมซอนแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา”วิทยาลัยชุมชนสงขลา จัดกิจกรรมทดลองการนำเที่ยวเชิงนิเวศตำบลบ้านขาว อ.ระโนด นำร่อง การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน “อเมซอนแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” ที่จุดลงเรือ ตำบลบ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา วิทยาลัยชุ