ปลาขี้ตัง ของดีจากทะเลสาบสงขลา
ปลาขี้ตัง ทะเลสาบสงขลา หรือ ปลาตะกรับ มีชุกชุมในทะเลสาบสงขลา ราคาขายสูงถึงกิโลกรัมละ 350 - 650 บาท มีเนื้อนุ่มหวานมัน รสชาติอร่อย สำหรับปลาขี้ตังที่อาศัยอยู่ในแหล่งอื่นๆ เช่น ทะเลสตูลหรือทะเลปัตตานี (อ่าวไทยและอันดามัน) จะไม่นิยม เพราะมีรสชาติจืด เนื้อแข็ง ไม่อร่อย ซึ่งมีราคาขายเพียง 60 - 80 บาทเท่านั้น
ปลาขี้ตังทะเลสาบสงขลา มีลักษณะป้อมสั้น เกล็ดเล็ก ครีบหลังยาว มีจุด สีดำเทากลมกระจายอยู่ทั่วลำตัวคล้ายเสือดาว รูปร่างแบนข้างรูปสี่เหลี่ยมคล้าย ปลาผีเสื้อ ซึ่งเป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย ประชาชนในแถบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา นิยมบริโภคกันมาก โดยเฉพาะแถบ จ.สงขลา พัทลุง ตามร้านอาหารต่าง ๆ จะนำมาทำเป็นเมนูเด็ดหลากหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น นำมาแกงส้ม หรือทอด ย่าง เผา เป็นต้น
ขอขอบคุณ @ คลิปวีดีโอจาก YoulikeSouth by Sator4U.com
ปลาขี้ตัง ขี้เกง หรือ ปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus) เป็นปลาน้ำเค็ม แต่ก็เติบโตได้ดีในน้ำกร่อยเช่นกัน ลักษณะลำตัวป้อมสั้นแบนข้างเป็น สี่เหลี่ยมคล้ายปลาผีเสื้อ เกล็ดเล็ก ครีบหลังยาว มีจุดสีดำเทากลมกระจายอยู่ทั่วลำตัวคล้ายเสือดาว
ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมากที่สุดบริเวณ ทะเลสาบสงขลา เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยจึงเป็นที่นิยมบริโภคโดยเฉพาะแถวภาคใต้ ร้านอาหารต่างๆโดยทั่วไป จะนำมาเป็นเมนูเด็ดหลากหลายรูปแบบ ทั้งแกง ย่าง เผา ทอด ปัจจุบันมีราคาแพง เพราะรสชาติที่อร่อย เนื้อหวานและมีไขมันแทรกอยู่ทำให้เนื้อนิ่ม ที่เป็น อาหารท็อปฮิต ติดอันดับคือ "แกงส้มปลาขี้ตัง" แทบทุกร้านทางใต้ต้องมีเมนูนี้ และนอกจากคนไทยแล้วในหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และ ฮ่องกง ยังชื่นชอบปลาตัวนี้ จึงมีการจับส่งออกไปจำหน่ายซึ่งกำลังกลายเป็นปลา เศรษฐกิจในอนาคตข้างหน้านี้
อย่างไรก็ตาม จากความนิยมมักสวนกับปริมาณ ด้วยตลาดมีความต้องการสูงทำให้ปลาขี้ตังขายได้ราคาดี นักประมงจึงจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติจำนวนมาก จึงทำให้ประชากรปลาขี้ตังลดลงอย่างต่อเนื่อง จนหมิ่นเหม่ ต่อการสูญพันธุ์
ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง มีความตระหนักในการรับผิดชอบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ จึงมอบหมายให้ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (NICA) ทำการศึกษาวิจัยการเพาะขยายพันธุ์ปลาขี้ตัง ปัจจุบันประสบผลสำเร็จในการ เพาะพันธุ์ด้วยวิธีการผสมเทียม
จากนั้นก็พัฒนาจนครบวงจร ตั้งแต่ฟักไข่ อนุบาลลูกปลาในวัยอ่อนให้มีชีวิตรอดในอัตราสูงถึง 25% จนถึงลูกปลาวัยเด็กที่มีขนาด 2-3 ซม. และได้ถึง 20,000-30,000 ตัวต่อรุ่น
กรมประมงผสมเทียม ปลาขี้ตัง สำเร็จเป็นครั้งแรกของไทย
กรมประมงผสมเทียม “ปลาขี้ตัง” ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของไทย เตรียมฟื้นคืนสู่ทะเลสาบสงขลา และแจกจ่ายพันธุ์ปลาให้เกษตรกร ชี้เป็นปลาเศรษฐกิจตัวใหม่ ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ เปิดเผยว่า กรมประมงประสบความสำเร็จในการผสมเทียมปลาขี้ตัง หรือปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus) ซึ่งเป็นปลาน้ำกร่อยที่มีรสชาติอร่อย นิยมบริโภคในหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน รวมทั้งไทย โดยเฉพาะภาคใต้จะมีเมนูอาหารยอดนิยม คือ แกงส้มปลาขี้ตัง ปลาชนิดนี้มีลักษณะป้อมสั้น เกล็ดเล็ก ครีบหลังยาว มีจุดสีดำเทากลมกระจายอยู่ทั่วลำตัวคล้ายเสือดาว รูปร่างแบนข้างรูปสี่เหลี่ยมคล้ายปลาผีเสื้อ อย่างไรก็ตาม จากความนิยมในการบริโภคและมีราคาดี ส่งผลให้มีการจับจำนวนมาก เป็นสาเหตุให้ปลาลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง จนใกล้จะสูญพันธุ์จากทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิด รวมทั้งแหล่งน้ำชายฝั่งทะเลอีกหลายจังหวัด
กรมประมงโดยสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จึงได้ศึกษาวิจัยการเพาะขยายพันธุ์ปลาขี้ตัง จนประสบผลสำเร็จโดยวิธีการผสมเทียม สามารถพัฒนาเทคนิคการเพาะและอนุบาลลูกปลาได้อัตรารอดสูงถึง 25% ได้ลูกปลาขนาด 2-3 ซม.จำนวน 20,000 – 30,000 ตัว/รุ่น และเพื่อเป็นการช่วยฟื้นฟูทรัพยากรปลาขี้ตังให้กลับคืนสู่ทะเลสาบสงขลา จะมีงาน “ขี้ตัง คืนถิ่น” ในวันศุกร์ที่ 4 เม.ย.นี้ ที่วัดท้ายยอ ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา โดยจะมีการปล่อยพันธุ์ปลาขี้ตังและสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ เช่น ปลากะพงขาว ปลาดุกทะเล และกุ้งทะเล รวม 3,000,000 ตัว และมีนิทรรศการโครงการในทะเลสาบสงขลา เช่น โครงการฟาร์มทะเลชุมชน โครงการเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ฯ รวมทั้งแจกจ่ายพันธุ์ปลาขี้ตังให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาด้วย
ธรรมชาติเปลี่ยนเร่งเพาะปลาขี้ตังทดแทน
จากการที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลาประสบปัญหาในการเพาะเลี้ยงปลาขี้ตัง สาเหตุจากระบบนิเวศของทะเลสาบสงขลาเปลี่ยนไป หลังเกิดอุทกภัยในพื้นที่โดยรอบทะเลสาบสงขลาเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเลสาบสงขลามีไข่ที่ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ส่งผลให้การผสมเทียมปลาขี้ตังมีปัญหา
สถาบันวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลาก็ไม่ละความพยายามในการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ ยังคงทำการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่ใช้ในการผสมเทียมจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเลสาบสงขลามาฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมนและรีดไข่ผสมเทียม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เลี้ยงปลาขี้ตัวในกระชังหลังขาดแคลนลูกปลาขี้ตังมาหลายเดือน เพราะผลิตออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร
นายมาวิทย์ อัศอารีย์ นักวิชาการประมงชำนาญการ รักษาการหัวหน้ากลุ่มวิจัยการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา เปิดเผยว่า ตามปกติเราต้องอาศัยชาวประมงในการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาให้เรา โดยการไปวางลอบบริเวณปากทะเลสาบสงขลา โดยเราจะออกไปรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หลังจากนั้นก็จะเช็กความพร้อมของพ่อแม่พันธุ์ก่อนที่จะนำมาผสมเทียม โดยการดูดไข่ออกมาดูว่าไข่มีความพร้อมที่จะกระตุ้นฮอร์โมนหรือยัง หากไข่มีความพร้อมที่จะกระตุ้นฮอร์โมนก็จะนำพ่อพันธุ์มากระตุ้นฮอร์โมนที่สถาบันวิจับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยจะใช้ระยะเวลาฉีดผสมเทียมหลังจากที่เราฉีดกระตุ้นฮอร์โมน 32-36 ชั่วโมง พ่อแม่พันธุ์ปลาโดยเฉพาะแม่พันธุ์ปลาจะมีไข่สุกแล้ว จะรีดออกมาผสมกับน้ำเชื้อตัวผู้ในการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาต่อ 1 ครั้งจะอยู่ที่ 10-15 ตัว ขึ้นอยู่กับความพร้อมของพ่อแม่พันธุ์ปลา ปกติช่วงที่ปลาขี้ตังจะวางไข่ในรอบปีมี 2 ช่วงคือ ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม และเดือนสิงหาคม-กันยายน การฟักตัวของไข่ปลาขี้ตังจะใช้เวลา 17 ชั่วโมงหลังจากผสมเทียมแล้ว หลังจากรุ่นนี้ในสัปดาห์หน้าก็จะรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาผสมเทียมในรุ่นต่อไปอีก เนื่องจากยังเหลือเวลาผสมเทียมในเดือนพฤษภาคมนี้อีก จากนั้นก็จะพ้นช่วงปลาวางไข่ จึงต้องพยายามเพาะพันธุ์ให้ได้มากที่สุดในช่วงนี้
นายมาวิทย์กล่าวด้วยว่า ทางเราได้ต้งเป้าไว้ว่าเมื่อเพาะพันธุ์ปลาขี้ตังได้แล้วจะนำลูกพันธุ์ปลาที่ได้มาเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ จึงจะสามารถควบคุมคุณภาพของพ่อแม่พันธุ์ปลาได้ แต่การทดลองยังให้ไข่ไม่ค่อยดี คาดว่าคงจะเกี่ยวกับเรื่องของอาหารซึ่งจะต้องศึกษาต่อไป
"ในปี 2554 ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา สามารถผลิตลูกปลาเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรได้ปีละ 200,000-300,000 ตัว โดยผลิตได้ปีละ 4-5 รุ่น รุ่นละ 50,000-70,000 ตัว โดยจะมีพันธุ์ปลาจำหน่ายปีละ 2 ช่วงคือ เดือนมีนาคม-พฤษภาคม และเดือนกันยายน-พฤศจิกายนเท่านั้น จำหน่ายได้รุ่นละ 50,000 ตัว ขนาด 2-3 เซนติเมตร ในราคาตัวละ 3 บาท"
ความต้องการลูกปลาขี้ตังของเกษตรกรยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่สถาบันฯ ผลิตลูกปลาได้ยังไม่ถึงเป้า ปีนี้ทางสถาบันฯ ตั้งเป้าในการผลิตลูกปลาขี้ตังไว้ที่ 50,000-100,000 ตัว เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ คือทะเลสาบสงขลา
สำหรับพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาขี้ตังในทะเลสาบสงขลาก็จะเป็นพื้นที่บริเวณเกาะนางคำ อ.ปากพยูน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีเกษตรกรหลายรายมาสั่งจองไปเลี้ยงในกระชังในบ่อกุ้งที่ทิ้งร้าง ใช้เวลาเลี้ยงนานประมาณ 7 เดือน จะได้ปลาขนาด 7-8 ตัวต่อกิโลกรัม มีอัตราการรอดตายประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 250 บาท.
สถาบันวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ สงขลา เร่งขยายพันธุ์ปลาขี้ตังหลังขาดแคลน
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา เร่งรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตัง และทำการผสมเทียมเพื่อผลิตลูกพันธุ์ปลาขี้ตัง หลังเกษตรกรขาดแคลนลูกพันธุ์ปลาขี้ตังอย่างหนัก
จากการที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา ประสบปัญหาในการเพาะพันธุ์ปลาขี้ตัง สาเหตุจากระบบนิเวศของทะเลสาบสงขลาเปลี่ยนไป หลังเกิดอุทกภัยในพื้นที่โดยรอบทะเลสาบสงขลาเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเลสาบสงขลา มีไข่ที่ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ส่งผลให้การผสมเทียมปลาขี้ตังมีปัญหา
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา ก็ไม่ได้ละความพยายามในการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ ยังคงทำการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่ใช้ในการผสมเทียมจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเลสาบสงขลา โดยในวันนี้ (3 พ.ค.) ได้นำพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่รวบรวมได้จำนวน 10 ตัว มาทำการฉีดผสมเทียมกระตุ้นด้วยฮอร์โมน และรีดไข่ผสมเทียม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เลี้ยงปลาขี้ตังในกระชัง หลังขาดแคลนลูกปลาขี้ตังมาหลายเดือน ซึ่งผลิตออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร
นายมาวิทย์ อัศวอารีย์ นักวิชาการประมงชำนาญการ รักษาการหัวหน้ากลุ่มวิจัยการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ปกติเราก็ต้องอาศัยชาวประมงในการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาให้เรา โดยการไปวางลอบบริเวณปากทะเลสาบสงขลา โดยเราจะออกไปรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หลังจากนั้น เราก็จะเช็กความพร้อมของพ่อแม่พันธุ์ปลาก่อนที่จะนำมาผสมเทียม โดยการดูดไข่ออกมาดูว่าไข่มีความพร้อมในการที่จะกระตุ้นฮอร์โมนหรือยัง หากไข่มีความพร้อมที่จะกระตุ้นฮอร์โมน เราก็จะนำพ่อแม่พันธุ์ปลามาทำการกระตุ้นฮอร์โมนที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยจะใช้ระยะเวลาฉีดผสมเทียมหลังจากที่เราฉีดกระตุ้นฮอร์โมน 32-36 ชั่วโมง พ่อแม่พันธุ์ปลา โดยเฉพาะแม่ปลาจะมีไข่สุกแล้วเราจะรีดไข่มาผสมกับน้ำเชื้อตัวผู้ นั่นคือขั้นตอนการผสมเทียม
ขอขอบคุณ @ รูปจาก manager.co.th/South
ในการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาต่อ 1 ครั้ง เฉลี่ยอยู่ที่ 10-15 ตัว ตรงนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของพ่อแม่พันธุ์ปลาซึ่งเราจะทำการคัด ปกติช่วงที่ปลาขี้ตังจะวางไข่ในรอบปีมี 2 ช่วง คือช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม และเดือนสิงหาคม-กันยายน การผสมเทียมในวันนี้ก็ยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่ประมาณ 50% สำหรับการฟักเป็นตัวของไข่ปลาขี้ตังจะใช้ระยะเวลา 17 ชั่วโมง หลังจากผสมเทียม แล้วปลาก็จะฟักเป็นตัว หลังจากรุ่นนี้แล้วในสัปดาห์หน้า ก็จะดำเนินการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่ใช้ในการผสมเทียมจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเลสาบสงขลามาทำการผสมเทียมในรุ่นต่อไป เนื่องจากยังเหลือระยะเวลาในการผสมเทียมเดือนพฤษภาคมเพียงเดือนเดียวเท่านั้น ก็จะพ้นช่วงที่ปลาขี้ตังวางไข่ โดยสถาบันฯเองก็จะพยายามเพาะพันธุ์ปลาขี้ตังให้ได้มากที่สุดในช่วงนี้
เมนูแนะนำ!!!
แกงส้มลูกเถาคัน กับปลาขี้ตัง (ปลาขี้เกง)
References ::: // ASTV ภาคใต้ , สถาบันวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา , บรรณภรณ์
Relate topics
- 10 เมนู "ยำ" แดนสะตอ ที่ร่ำลือกันว่า ...หรอยจังฮู้วววว!เคล็ดลับ! สำคัญอยู่ที่วัตถุดิบพื้นบ้านที่สดใหม่ ผสมผสานกับเครื่องยำที่เข้มข้น รสชาติโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะปักษ์ใต้สไตส์สะตอ มีทั้ง เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม และแน่นอน ต้อง "เผ็ด" ด้วยนานาพืชผักสมุนไ
- โร้แล้วหม้าย! "เคย" ไม่ใช่เท่าแต่หรอย แต่ยังมีข้อดีถึง 10 อย่าง!!!"เคย" คำเรียกสั้นๆ แต่หรอยแรง เคยก็คือกะปิ หรือ shrimp paste, shrimp sauce ในภาษาอังกฤษ เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดอยู่คู่ครัวใต้มาแต่โบราณ และ "เคย" ก็ยังแพร่หลาย
- ไอย๊ะ หรอยอย่างแรง! 15 Unseen เมนูหรอยแดนสะตอ ที่ชาตินี้ พันพรื่อ! คุณต้องลองให้ได้!! ![ คำอธิบายภาพ : pic5583a6cf629dc ](http://sator4u.com/upload/pics
- ขนมจีนแกงปักษ์ใต้ ขนมจีน เป็นอาหารพื้นบ้าน ที่คนไทยทุกภาคทุกท้องถิ่นรู้จักกันดีขนม
- สาหร่ายผมนาง หรือสาย ...สูตรเด็กปักษ์ใต้ ลวกจุ้มน้ำชุบก็หรอย เอามายำสูตรเกาะยอก็หรอยสาย ชื่อเรียกสำเนียงบ้านๆในพื้นถิ่นปักษ์ใต้ ก็คือ สาหร่าย ในภาษากลางนั่นเอง ยำสาหร่าย หรือ "สายลวก" เป็นที่นิยมมากในแถบชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยการเลือกเอาสาหร่ายที่สดใหม่ นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วน
- แกงคั่วหอยขม ...สุดยอดแกงใต้ รสชาดจัดจ้านสะใจ!เมนูเด็ด แกงคั่วหอยขม ส่วนผ
- ว่ากันด้วยเรื่อง "แกงส้ม" -ชาวปักษ์ใต้แกงส้ม เป็นอาหารไทย ประเภทแกงที่มีรสเปรี้ยว โดยเป็นแกงที่ใส่เนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นปลาหรือกุ้ง ผักที่ใช้อาจเป็นผักบุ้ง มะละกอ หัวไชเท้า กะหล่ำดอก ดอกแค หรือไข่เจียวชะอม ใช้น้ำพริกแกงส้มละลายน้ำ ต้มให้
- คั่วสมรม แกงคั่วสมรม สุดยอดความอร่อยแดนใต้แกงคั่วสมรม เป็น แกงกะทิ แบบแกงคั่ว น้ำขลุกขลิก โดยคำว่า สมรม เป็นภาษาใต้ หมายถึง การนำเอาผักและส่วนผสมนานาชนิดมาผสมกันในตัวแกง เช่น กุ้งสด ปลาย่าง หน่อไม้สับ มะเขือยาว เห็ดแครง เป็นแกงที่เป็นพระเอ
- ชาวหัวเขาแดง รวมพลังต่อสู้คัดค้านหัวชนฝา ไม่เห็นด้วยรื้อโพงพางชาวบ้านตำบลหัวเขา สงขลา รวมพลังต่อสู้คัดค้านหัวชนฝา ไม่เห็นด้วยกับจังหวัดที่มีมติให้รื้อโพงพาง ที่ทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เผยไม่ใช่ต้องการเพียง 200 เมตรเพื่อใช้เป็นร่องน้ำทางเดินเรือ มีการหมกเม็ดรื้อโ
- พบโลมาอิรวดีลอยตายเป็นตัวที่ 5 ในรอบปี เร่งวางเเนวทางอนุรักษ์ก่อนสูญพันธุ์วันที่ 21 ส.ค. 57 โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลายังคงทยอยตายอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดพบโลมาอิรวดีเพศเมียอายุ 20 ปี ความยาวประมาณ 2 เมตร น้ำหนัก 80 กิโลกรัม ลอยตายในทะเลสาบสงขลาใกล้กับหน้าที่ว่าการอำเภอกระแสสินธ