สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

‘ไป’ หรือ ‘ไม่ไป’ เลือกตั้ง 2 ก.พ. กับผลที่ตามมา

by sator4u_team @29 ม.ค. 57 19:13 ( IP : 180...46 ) | Tags : คลังสมอง-น่ารู้-สัพเพเหระ
  • photo  , 638x638 pixel , 98,762 bytes.
  • photo  , 400x280 pixel , 63,985 bytes.
  • photo  , 640x427 pixel , 49,166 bytes.

ในบรรยากาศทางการเมืองที่มีความเห็นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในเรื่องการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ซึ่งฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรเดินหน้าเลือกตั้ง ขณะที่อีกฝ่ายเห็นว่าควรเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน หลังจากกระบวนการปฏิรูปประเทศดำเนินการแล้วเสร็จ

ณ วันนี้ ซึ่งใกล้ถึงวันเลือกตั้งแล้ว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยยังขาดความเข้าใจหรือมีความสับสนว่าควรตัดสินใจอย่างไรกับการเลือกตั้งครั้งนี้เนื่องจากข่าวสารที่ถาโถมเข้ามาจากแต่ละฝ่ายนั้นแตกต่างกันสุดขั้ว ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งดังกล่าว  จึงใคร่เสนอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้พิจารณา ดังนี้ การไปใช้สิทธิเลือกคนที่รัก พรรคที่ชอบ

ผู้ที่เห็นว่าการเลือกตั้งต้องเดินหน้าเพราะเป็นกลไกสำคัญของประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีกฏหมายเลือกตั้งรองรับ และจะทำให้ชาวต่างชาติเข้าใจได้ง่าย ตรงไปตรงมา ขณะที่ประชาชนผู้สนับสนุนเลือกตั้งครั้งนี้ตัดสินใจใช้สิทธิเลือกตั้งได้ไม่ยาก โดยเฉพาะมีพรรคใหญ่เพียงพรรคเดียว ผู้มีสิทธิเลือกผู้สมัครที่ตัวเองรัก เลือกพรรคที่ตัวเองชอบ  อันเป็นวิถีปฏิบัติสากล ไปเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 26 มค. 2557 หรือไปเลือกวันที่ 2 กพ.2557 ล้วนแต่เป็นการรักษาสิทธิของตนเอง ในส่วนนี้ไม่ได้ซับซ้อนอะไร การใช้สิทธิกาช่อง “ไม่ประสงค์ลงคะแนน”

สำหรับผู้ที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งวันที่ 2 กพ.ศกนี้ แต่กังวลว่าการเลือกตั้งครั้งนี้อาจถูกนักการเมืองใช้อ้างความชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจในลักษณะเดิม และอาจใช้อำนาจเกินขอบเขตกลายเป็นชนวนนำมาสู่การประท้วงยืดเยื้อตามมา

ทางเลือกที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มนี้กระทำได้ คือ ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและเลือกกาช่อง “ไม่ประสงค์ลงคะแนน” หรือที่เรียกว่า"โหวตโน" และหากคะแนนส่วนนี้มีจำนวนมากกว่าคะแนนของผู้สมัครที่ชนะการเลือกตั้งด้วยแล้ว จะทำให้ความชอบธรรมของผู้ชนะการเลือกตั้งมีความหมายน้อยลงหรือไม่มีน้ำหนักความเป็นตัวแทนที่ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชน  ในอีกแง่หนึ่ง การเลือกกาช่อง “ไม่ประสงค์ลงคะแนน” ยังสามารถแสดงให้เห็นถึงจำนวนผู้ที่สนับสนุนเห็นด้วยกับการชุมนุมที่เป็นอยู่ได้ด้วย

นอกจากนี้ ในกรณีเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว และผลคะแนน“ไม่ประสงค์ลงคะแนน” มากกว่าคะแนนที่ผู้สมัครได้รับ จะมีผล ให้กกต.ต้องประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ และรับสมัครรับเลือกตั้งใหม่

อย่าฉีกบัตรเลือกตั้ง
เพื่อมิให้เป็นการกระทำผิดกฎหมาย ไม่ควรฉีกบัตรเลือกตั้งทั้งสองประเภท หรือทำลายบัตรด้วยวิธีการใด แต่สามารถทำให้บัตรเลือกตั้งเป็นบัตรเสียหรือเป็นโมฆะได้ด้วยการใช้สัญลักษณ์อื่น เช่น ทำเครื่องหมายถูก หรือ  ที่ไม่ใช่การ “กากบาท”หรือแม้แต่การเขียนข้อความ ภาพวาด ตัวอักษรที่แสดงความรู้สึก ความคิดเห็นเชิงอุดมการณ์ ก็จะทำให้เป็นบัตรเสียได้ทั้งสิ้น

การไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

ผู้ที่ไม่ชอบใจการเลือกตั้งครั้งนี้ จะด้วยเหตุผลสนับสนุนให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง หรือไม่ต้องการถูกนักการเมืองนำไปกล่าวอ้าง หรือเหตุผลอื่นใดก็ตาม มีทางเลือก คือ ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งควรเคารพการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้อื่น และไม่ขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง

อย่างไรก็ตาม ควรตระหนักว่าการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้ใด ผู้นั้นมีหน้าที่แจ้งเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิ ต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือ ท้องถิ่นภายใน 7 วันก่อนหรือหลังวันเลือกตั้งเพื่อรักษาสิทธิต่อไปนี้

1)สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.

2)สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

3)สิทธิการสมัครรับเลือกเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
หากไม่ไปแจ้ง จะได้สิทธิดังกล่าวกลับคืนมาก็ต่อเมื่อได้ไปเลือกตั้ง สส สว หรือการเลือกตั้งท้องถิ่น ครั้งต่อไป

ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครคนเดียว  หากมีผู้ไปใช้สิทธิ์น้อยเท่าไร โอกาสที่ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งก็ยิ่งน้อยลง เพราะคะแนนของผู้สมัครที่จะได้รับเลือกตั้งจะต้องได้ไม่น้อยกว่า 20 % ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น  หากผู้สมัครรายนั้นไม่ได้รับเลือก กกต.ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยการเปิดรับสมัครใหม่

วิกฤติการเลือกตั้ง

สำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 2 ก.พ. อาจจะเกิดวิกฤติการณ์ในการจัดการเลือกตั้งดังที่มีการวิเคราะห์กัน ซึ่งอาจสรุปประเด็นการวิเคราะห์ได้ดังนี้ คือ

  1. ในวันเลือกตั้ง 2 กพ. อาจมีหน่วยเลือกตั้งหลายหน่วยที่ไม่สามารถหากรรมการประจำหน่วย (กปน.)ได้ครบ โดยเฉพาะในเขตเลือกตั้งที่มีการอารยะขัดขืน และหากปรากฎว่าหน่วยเลือกตั้งใดแม้เพียงหน่วยเดียวไม่มีการลงคะแนนเลือกตั้ง (เพราะไม่มี กปน.หรือมี กปน.แต่ กปน.ไม่ทำหน้าที่ในการเลือกตั้ง หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถใช้สิทธิลงคะแนนได้) จะส่งผลต่อการไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งต้องอาศัยผลคะแนนรวมจากทุกหน่วยเลือกตั้งทั้งประเทศ รวมทั้งไม่สามารถประกาศผลคะแนนของผู้สมัครแบบแบ่งเขต ซึ่งต้องอาศัยคะแนนรวมจากทุกหน่วยเลือกตั้งภายในเขตเลือกตั้งนั้น ๆ ทำให้ในที่สุดต้องมีการเลือกตั้งใหม่

  2. มีจำนวน 28 เขตเลือกตั้งใน 8จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีผู้สมัครแบบแบ่งเขต  ทำให้ กกต.ไม่สามารถประกาศจำนวนผู้ได้รับเลือกตั้งได้ถึง 95% ส่งผลให้ไม่สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้

  3. เมื่อจำนวน ส.ส. มีไม่ถึง 95% ไม่สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงไม่สามารถเลือกประธานสภาและนายกรัฐมนตรีได้

  4. กกต. ต้องจัดการเลือกตั้งให้ได้ ส.ส. ครบ 100 % หรือ 500 คนภายใน 180 วัน (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 93 ) จึงต้องมีการเลือกตั้งหลายครั้ง หากไม่สามารถดำเนินการลุล่วง อาจต้องมีการออกพรฏ.เลือกตั้งทั่วไปใหม่

  5. ต้องคำนึงว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีเดิมพันงบประมาณ 3,800 ล้านบาทที่อาจจะจ่ายไปแบบสูญเปล่า

    ในกรณีที่มีความพยายามใช้อารยะขัดขืนขัดขวางการเลือกตั้งในวันที่ 2 กพ. ก็อาจมีฝ่ายที่สนับสนุนการเลือกตั้งออกมาต่อต้าน แล้วนำไปสู่การกระทบกระทั่งกันเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงระหว่างกันได้  กกต. จึงควรจะต้องหามาตรการป้องกันอย่างเต็มกำลังความสามารถ มิให้เกิดการปะทะระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยการให้นโยบายและส่งต่อมอบอำนาจไปสู่คณะกรรมการการเลือกตั้งระดับจังหวัดและเขต ให้หลีกเลี่ยงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น
    กระนั้นก็ตาม ลำพังเพียง กกต.หน่วยงานเดียวคงไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้สำเร็จราบรื่น  ดังนั้นนำเป็นต้องได้รับความร่วมมืออย่างแข็งขันจากหน่วยงานหลักภายใต้การกำกับของรัฐบาล ทั้งฝ่ายมหาดไทย ทหาร ตำรวจ กระทรวงศึกษา รัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อมิให้การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ กลายเป็นการเลือกตั้งบนความขัดแย้งที่ต้องลงทุนด้วยเลือดเนื้อและชีวิตของคนในชาติเดียวกัน


    มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย 23 มกราคม 2557

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 1304
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง