สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

10 เหตุผล! ทำไมราคายางพาราจึงตกจาก 180 ถึง 40 บาท ?? อ่อๆ มันเป็นพันนี้นี่เอง !!!

by sator4u_team @25 มิ.ย. 58 00:33 ( IP : 49...217 ) | Tags : คลังสมอง-น่ารู้-สัพเพเหระ

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ราคายางไทยเคยแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ด้วยราคา 174.44 บาทต่อกิโลกรัม แต่หลังจากนั้นกลับมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จนกระทั่งเดือนสิงหาคม 2557 ราคายางดิ่งลงเหลือ 53.63 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี และเป็นราคาที่ตกต่ำกว่าต้นทุนการผลิตที่ระดับ 64.90 บาทต่อกิโลกรัม


 คำอธิบายภาพ : pic558aedc031090


ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางฯ ใน 56 จังหวัด โดยเฉพาะพี่น้องภาคใต้ 14 จังหวัด และอีก 42 จังหวัด ซึ่งกระจายทั่วประเทศทั้งภาคกลาง-อีสาน-เหนือ จำนวนเกือบ 2 ล้านคน ต่างก็ได้รับความเดือดร้อนกันอย่างถ้วนหน้า


ทำไม ? ราคายางพาราจึงตกต่ำ!!! สะตอฟอร์ยู ได้รวบรวม 10 สาเหตุหลัก มาฝากเพื่อนๆครับ



1.) ไทยซึ่งเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ส่งออกยางมากที่สุดในโลก เคยผลิตยางได้ต่อปีประมาณ 1,500,000 ตันต่อปี กว่าร้อยละ 80-90 ส่งออก ส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ภาคใต้ แต่เมื่อเศรษฐกิจโลกเติบโต ความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น หลายคนหันมาลงทุนปลูกยางกันเกือบทั่วประเทศ จนถึงปี 2556 ไทยผลิตได้ต่อปีประมาณ 4,100,000 ตัน เพิ่มขึ้นเกือบๆ 4 เท่า โดยไม่มีการจัดโซนนิ่งและควบคุมปริมาณให้เหมาะสม


2.) ราคายางมีทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน เนื่องจากว่าในโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้ยางสังเคราะห์จากยางพาราหรือจากพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ถ้าเมื่อใดราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นซึ่งพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันเองก็จะมีราคาแพงด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจึงหันมาซื้อยางพารามาใช้ในการผลิตแทน ทำให้ความต้องการยางพาราสูงขึ้น ราคายางพาราก็ปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเมื่อใดราคาน้ำมันปรับตัวลดลงซึ่งพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันเองก็จะมีราคาลดลงด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจึงหันมาซื้อพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันมาใช้ในการผลิตแทน ทำให้ความต้องการยางพาราลดลง ราคายางพาราก็ปรับตัวลงเช่นกัน


3.) จีน ซึ่งถือเป็นผู้ใช้ยางพารามากที่สุดในโลก ข้อมูลปี 2556 จีนใช้ยางราวๆ 4,000,000 ตันต่อปี ส่วนใหญ่นำเข้า แต่ขณะนี้จีนกำลังลดการนำเข้ายางเพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เศรษฐกิจจีนยังไม่ฟื้น อุตสาหกรรมรถยนต์ลดกำลังการผลิต ขณะเดียวกันจีนก็เปลี่ยนบทบาทจากผู้ซื้อมาเป็นผู้ผลิตเองด้วย จีนเริ่มปลูกยางเองและเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ลาว กัมพูชา ตอนนี้ครบอายุกรีดยางแล้ว ยางจะถูกส่งกลับไปจีน ขณะนี้จีนมียางอยู่ในสต็อคราวๆ 900,000 ตัน ขณะที่ไทยมีสต๊อคราวๆ 200,000 ตัน หลายปัจจัยจึงกดดันราคายางให้ตกต่ำอยู่ในขณะนี้


4.) เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในช่วง 2-3 ปี เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศกลุ่ม G3 ประกอบกับเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคยางอันดับ 1 ของโลก โดยเป็นฐานการผลิตล้อยางของบริษัทชั้นนำของโลก และเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนเติบโตในระดับสูงมาตลอด แต่เริ่มชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในช่วง 2-3 ปีนี้ ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางของโลกอยู่ในระดับต่ำ โดยในช่วงปี 2554-2556 ความต้องการใช้ยางโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.9 ในขณะที่ผลผลิตยางโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.1


5.) สต็อกยางจีน ณ เมืองชิงเต่าและสต็อกยางไทยอยู่ในระดับสูง ชิงเต่าเป็นเมืองที่มีการนำเข้ายางมากที่สุดเพื่อผลิตล้อยาง ที่ผ่านมาพบว่าสต็อกยางชิงเต่าเร่งตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2556 เนื่องจากการเร่งนำเข้าในช่วงงดเก็บเงินสงเคราะห์ (CESS) ซึ่งเป็นเงินที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เรียกเก็บจากผู้ส่งออกยาง และการนำเข้ายางของเทรดเดอร์จีนที่สูงเกินความต้องการใช้จริง เพื่อทำกำไรการค้ายางจากวิธีการซื้อขายระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน โดยสต็อกยาง ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 249,600 ตัน ขณะเดียวกันสต็อกยางไทยใน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557อยู่ที่ 374,527 ตัน ซึ่งสูงกว่าระดับปกติที่เคยอยู่ประมาณ 2 แสนตัน


6.) ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ผลิตและส่งออกในรูปของสินค้าเกษตรโดยไม่มีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ดังนั้นเมื่ออุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าจากยางพาราในต่างประเทศลดการผลิต และสั่งซื้อยางน้อยลง ในขณะที่การผลิตเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของประเทศไทย และประเทศอื่นก็ทำให้ราคายางพาราตกต่ำหนักขึ้นไปอีก และเชื่อว่าภาวะเช่นนี้จะยังคงเป็นไปอีกหลายปี


7.) ต้นทุนการผลิตยางมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนในด้านปุ๋ยเคมีและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร โดยต้นทุนเฉลี่ยในการผลิตยางในไทยอยู่ที่กิโลกรัมละ 52 บาท ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งมีต้นทุนการผลิตยางโดยเฉลี่ยต่ำกว่าไทยกิโลกรัมละ 15-20 บาท ดังนั้น ราคาส่งออกยางของไทยจึงสูงกว่าอินโดนีเซีย โดยเฉพาะยางแท่ง ทำให้ประเทศคู่ค้าของไทยหันไปซื้อยางแท่งจากอินโดนีเซีย จะเห็นได้ว่าการส่งออกยางแท่งของไทยมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ กล่าวคือ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 มูลค่าการส่งออกยางแท่งลดลงเหลือ 731 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วลดลงร้อยละ 43.3


8.) วิกฤติภาคการเงินสหรัฐฯที่ส่งให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอย สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกยางของไทยที่มีความสำคัญอันดับสี่ รองจากจีน มาเลเซีย และญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐฯร้อยละ 9.0 ของมูลค่าการส่งออกยางทั้งหมด ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง โดยเฉพาะยางสำหรับยานพาหนะนั้น สหรัฐฯ เป็นตลาดที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีสัดส่วนการส่งออกถึงร้อยละ 28.2 ของมูลค่าการส่งออกยางยานพาหนะทั้งหมด วิกฤตสินเชื่อในสหรัฐฯ สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ในสหรัฐฯค่อนข้างสูง โดยในเดือนกันยายน 2551 ยอดขายรถยนต์ลดลงเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน และยอดขายรถยนต์แบรนด์ของภูมิภาคเอเชียในสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน 2551 ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคถดถอยลง อีกทั้งยังเป็นการยากมากขึ้นที่ผู้ต้องการซื้อรถจะสามารถกู้เงินมาซื้อรถได้ เนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดมาตรฐานการปล่อยกู้มากกว่าเดิม ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ต้องการลดค่าใช้จ่ายลงด้วย


9.) ราคาชี้นำในตลาดล่วงหน้าของโลกลดลง ราคายางในตลาดล่วงหน้าโตเกียว (TOCOM) และตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ (SICOM) อยู่ในช่วงขาลง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลกับปัญหาผลผลิตส่วนเกิน (Oversupply) และสต็อกยางที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ความต้องการใช้ยางอยู่ในช่วงชะลอตัว และยังไม่มีปัจจัยบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมากนัก ทำให้คาดการณ์ราคายางอนาคตปรับตัวลดลง


10.) นักเก็งกำไรสินค้าโภคภัณฑ์เทขายยาง ในช่วงที่ผ่านมา การที่ราคายางปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากการซื้อขายเก็งกำไรยางผ่านทางตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า แต่ในช่วงราคายางขาลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา การเข้ามาเก็งกำไรมีแนวโน้มที่จะลดลง บรรดานักลงทุนหันไปสนใจตลาดหุ้น และโลหะมีค่า โดยเฉพาะทองคำแทน ทำให้ราคายางตกลงเร็วผิดปกติ


@ บทความโดย สะตอฟอร์ยูดอทคอมทีม  / เวสท์สงขลา

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 5787
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง