สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: ตรัง ::: เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ประการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา

สัมผัสธรรมชาติแบบแปลกใหม่ ที่ “สวนพฤกษศาสตร์ฯทุ่งค่าย” เมืองตรัง

by sator4u_team @2 พ.ย. 54 06:23 ( IP : 101...34 ) | Tags : ท่องเที่ยวและกิจกรรม
photo  , 350x525 pixel , 62,055 bytes.

สนุกสนานกับการเดินบนสะพานศึกษาธรรมชาติเรือนยอดไม้

ใครว่า “ธรรมชาติ” อยู่ไกลตัวเรา อันที่จริงแล้วธรรมชาติอยู่ใกล้ตัวเรานี่แหละ เพียงแต่ว่าเราต้องออกเดินทางไปหาธรรมชาติกัน อย่างถ้าหากใครอยากจะสัมผัสกับธรรมชาติของผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์อย่างใกล้ชิดในเมืองไทยมีอนู่หลากหลาย
แต่หากอยากจะสัมผัสกับธรรมชาติในบรรยากาศโลดโผน ในมุมมองที่แปลกตา ด้วยการมองลงมาจากมุมสูงในมุมมองของนก “สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)” แห่งจังหวัดตรัง นับเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีความแปลกแตกต่างเหล่านั้นรอให้ผู้สนใจได้เดินทางไปสัมผัสกัน

บรรยากาศของการเดินเที่ยวศึกษาธรรมชาติที่สวนพฤกษศาสตร์ฯ ทุ่งค่าย

สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้(ทุ่งค่าย) หรือ ที่เรียกสั้นๆว่า “สวนพฤกษศาสตร์ทุ่งค่าย” จัดเป็นป่าใหญ่ที่เพียบพร้อมไปด้วยแหล่งเรียนรู้ของธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของจังหวัดตรังอีกด้วย ซึ่งใครจะเชื่อว่าผืนป่าที่กว้างใหญ่นั้นจะสามารถสัมผัสได้แม้กระทั่งยอดไม้ที่อยู่สูงเหยียดฟ้า
ทวิวาพร สุทธิสวาท มัคคุเทศก์ประจำสวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) ได้เล่าถึงความเป็นมาของสวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) ให้ฟังว่า สวนแห่งนี้เดิมทีเป็นค่ายทหารมาก่อน ซึ่งมีลักษณะเป็นป่าจึงเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “สวนรุกขชาติทุ่งค่าย” จากนั้นไม่นาน นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอยากให้สวนแห่งนี้ได้รับมาตรฐานระดับประเทศในท้องที่ภาคใต้ จึงได้มีการปรับปรุงสวนรุกขชาติทุ่งค่ายเดิมและเปลี่ยนเป็นสวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) ในปี 2536 จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เน้นในเรื่องของการให้ความรู้ ที่แตกต่างจากสวนพฤกษศาสตร์ธรรมดาทั่วไป

ความร่มรื่นของเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ

“สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)” มีพื้นประมาณ 2,600 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งค่าย หมู่ที่ 2, 3, และ 9 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง และในบริเวณผืนป่าแห่งนี้ได้แบ่งเนื้อที่ออกเป็นสัดส่วนเพื่อง่ายต่อการเดินทางในการศึกษาประเภทต่างๆ ของพรรณไม้ให้เป็นที่เข้าใจมากยิ่งขึ้น
ภายในสวนพฤกษศาตร์มีความร่มรื่นด้วยธรรมชาติของป่าไม้เป็นอย่างมาก มีการจัดสรรเป็นสวนต่างๆ ให้ได้เดินเที่ยวชมมากมาย อาทิ สวนอนุกรมวิธาน (แหล่งรวบรวมพันธุ์พืชถิ่นใต้), สวนสัณฐานวิทยา (แหล่งเรียนรู้ลักษณะต่างๆ ชองพืช) และยังมีสวนกล้วยไม้, สวนพืชทนแล้ง, สวนเฟิร์น, พืชกินแมลง, พืชวงศ์ปาล์ม พืชวงศ์ยาง รวมทั้งสวนพฤกษศาสตร์พื้นบ้านที่สามารถใช้ประโยชน์จากพรรณพืชได้อีกด้วย

สะพานศึกษาธรรมชาติเรือนยอดไม้ แห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมีเส้นทางให้ได้เดินศึกษาธรรมชาติอย่างหลายหลายเส้นทาง ซึ่งมีระยะทางไป-กลับ โดยเดินเป็นวงกลมกลับสู่จุดเดินเป็นระยะทางทั้งสิ้น 3 กิโลเมตร ซึ่งในแต่ละเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายและบอกเส้นทางเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว หรืออ่านรายละเอียดของพืชพรรณต่างๆ รวมทั้งมีจุดพักผ่อนหย่อนใจให้ได้นั่งพักเหนื่อย ก่อนที่จะอกเดินทางตระเวนรอบป่ากันอีก ซึ่งเส้นทางที่เดินนั้นจะตัดผ่านป่าดิบชื้นที่ลุ่มต่ำ รวมทั้งป่าพรุชื้นซึ่งมีพืชพรรณที่น่าสนใจมากมาย

ศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชิดบนสะพานศึกษาธรรมชาติเรือนยอดไม้

อีกทั้งที่สวนพฤกษศาสตร์ฯ ทุ่งค่ายแห่งนี้ ยังมีทางเดินป่าที่สำคัญและถือว่าเป็นไฮไลต์ที่ดึงดูดให้ทุกคนอยากจะมาเดินเที่ยวศึกษาธรรมชาติกันที่นี่ นั่นคือ การได้เดินชมธรรมชาติอย่างใกล้ชิดบน “สะพานศึกษาธรรมชาติเรือนยอดไม้” ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย(ณ ขณะนี้) โดยนายชนะ พรหมเดช หัวหน้าสวนพฤกษาสาตร์ฯ ในขณะนั้นได้ผลักดันให้มีการจัดสร้างสะพานเรือนยอดไม้แห่งนี้ขึ้นมา โดยได้รับงบประมาณส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจำนวน 4,600,000บาท สร้างเสร็จและเปิดให้ใช้บริการเมื่อประมาณเดือนมกราคมปี พ.ศ.2547

เถาวัลย์ขนาดใหญ่มีให้เห็นที่สวนพฤกษศาสตร์ฯ ทุ่งค่าย

สะพานศึกษาธรรมชาติเรือนยอดไม้ สร้างขึ้นโดยใช้โครงสร้างเป็นเหล็ก สามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 300กิโลกรัม/1ตารางเมตร มีระยะทางให้เดินศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชินถึง 175 เมตร ซึ่งนักท่องเที่ยวที่อยากจะเดินศึกษาธรรมชาติอย่าใกล้ชิดบนสะพานฯ นี้ ต้องเตือนไว้ก่อนว่าหากเป็นโรคกลัวความสูงคงจะแย่สักหน่อย เพราะว่าตัวสะพานฯ มีความสูงถึง 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 10 เมตร, 15 เมตร และ 18 เมตร ประกอบด้วย 5 ช่วงสะพานและ 6 หอคอย
หากใครเป็นโรคกลัวความสูง อาจจะเดินก้าวขาไม่ออก หรือว่าออกแนวแบบเดินไปแบบขาสั่นๆ เพราะว่าตัวสะพานไม่กว้างมาก ควรเดินเรียงหนึ่ง และไม่ควรวิ่งสะพาน ควรจะค่อยๆ เดินและซึมซับธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม เพราะบนสะพานฯ สามารถมองเห็นธรรมชาติของป่าไม้อันสมบูรณ์ มีต้นไม้หลายสายพันธุ์ขึ้นเขียวครึ้มไปทั่ว และยังจะได้ศึกษาธรรมชาติของสังคมพืชระดับเรือนยอดไม้สูงๆ ได้อย่างชัดเจนในระดับสายตาด้วยไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอกและผล อีกทั้งบนนี้ยังถือว่าเป็นจุดดูนก และสัตว์ชนิดอื่นๆ อาจจะได้พบกับสัตว์จำพวก นก กระแต ลิง พญากระรอกดำ ได้ตลอดทางโดยไม่ต้องแหงนหน้าขึ้นฟ้าให้เมื่อยคอหรือไม่ต้องใช้กล้องส่องทางไกลเลย

ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ที่สวนพฤกษาศาสตร์ฯ ทุ่งค่าย

และนอกจากจะมีเส้นทางสะพานศึกษาธรรมชาติเรือนยอดไม้แล้ว ก็ยังมีอีกหนึ่งเส้นทางที่จะพาไปศึกษาธรรมชาติกัน นั่นคือ “ทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าพรุ” ซึ่งเส้นทางการเดินป่าพรุนี้จะมีระยะทางประมาณ 1,200 เมตร ใช้เวลาในการเดินเท้าเที่ยวชมประมาณ 30-45 นาที สำหรับเส้นทางการเดินชมธรรมชาติป่าพรุ นั้นเป็นเส้นทางเดินแบบสบายๆ ทางสวนพฤกษศาสตร์ ทำทางเดินด้วยปูนให้มีความกลมกลืนกับธรรมชาติของป่าพรุซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นไม้ล่างที่เกิดขึ้นได้ดีในพื้นที่ลุ่มชุ่มน้ำ ตลอดทางเดินจะได้ศึกษากับพืชพรรณชนิดต่างๆ อาทิ ไผ่ หวาย ระกำ หลุมพี(ลักษณะคล้ายระกำ ออกพลเป็นทะลาย) หม้อข้าวหม้อแกงลิง และถี่โถปีนัง ดอกไม้สวยๆ หลากหลายสายพันธุ์ เป็นต้น

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าพรุ

“ทางสวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) ยังได้จัดสถานที่ไว้สำหรับบริการหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ายพักแรมที่ได้ใกล้ชิดธรรมชาติอย่างแท้จริง มีบ้านพักรับรอง หรือจะกางเต็นท์นอนสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิดก็ยังได้ แต่ต้องเตรียมเต็นท์มาเอง และทางสวนพฤกษศาตร์ฯ ยังมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเรื่องความปลอดภัย ไร้กังวลในเรื่องของการโดนบุกรุกของพื้นที่เนื่องจากเป็นชุมชนล้อมป่า มาเที่ยวพักผ่อนและศึกษาธรรมชาติกันได้” ทวิวาพร มัคคุเทศก์ประจำสวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) กล่าวทิ้งท้ายแบบเชิญชวน

“สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)” ตั้งอยู่ที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ไปทางทิศตะวันตก ตามทาง หลวงแผ่นดินหมายเลข 404 (ตรัง-ปะเหลียน) ประมาณ 11 กม. เปิดให้เที่ยวชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-7528-0166 และสามารถสอบถามสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆในจังหวัดตรังได้ที่ ททท. สำนักงานตรัง โทร. 0-7521-5867, 0-7521-1058, 0-7521-1085


ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพทั้งหมดจาก : http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000182048


สะตอฟอร์ยูสะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 6525
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง