สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: ยะลา ::: ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

อุทยานแห่งชาติบางลาง

by sator4u_team @2 พ.ย. 54 06:06 ( IP : 101...34 ) | Tags : ท่องเที่ยวและกิจกรรม
photo  , 533x357 pixel , 71,017 bytes.

ข้อมูลทั่วไป

อุทยานแห่งชาติบางลาง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ใน 5 ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 ประกอบด้วยบริเวณพื้นที่ป่าเหนือเขื่อนบางลาง บริเวณป่ารอบๆ อ่างเก็บน้ำที่สมบูรณ์ ทะเลสาบ เกาะ ตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติทิวทัศน์ที่สวยงาม รวมเนื้อที่ประมาณ 163,125 ไร่ หรือ 261 ตารางกิโลเมตร


ความเป็นมา: สำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี ได้มีหนังสือที่ กส 0714(ปน)/1020 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2525 ว่า เขตปัตตานีและจังหวัดยะลาได้ตรวจสอบพื้นที่ในเขตนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดยะลา ที่ได้รับคืนจากกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2523 แล้วปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 310/2526 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2526 ให้ นายสมเกียรติ ม้าแก้ว นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปทำการสำรวจเบื้องต้นซึ่งได้รับรายงานว่าขณะนี้พื้นที่ดังกล่าวมีเหตุการณ์ไม่ปกติ อยู่ในระหว่างการปราบปรามผู้ก่อการร้ายของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร จึงขอระงับการสำรวจไว้ก่อนจนกว่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดีตามหนังสือรายงานที่ กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 19 เมษายน 2526


ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้มีหนังสือที่ กษ 0713/15627 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2527 และที่ กษ 0713/530 ลงวันที่ 10 มกราคม 2528 ถึงป่าไม้เขตปัตตานีขอทราบสถานการณ์ในพื้นที่ดังกล่าวว่าสามารถเข้าไปทำการสำรวจได้หรือไม่ ซึ่งป่าไม้เขตได้มีหนังสือที่ กษ 0714 (ปน)/181 ลงวันที่ 28 มกราคม 2528 แจ้งว่า ได้สอบถามไปยังจังหวัดยะลาแล้ว ได้รับรายงานว่าบริเวณพื้นที่ที่ได้รับคืนจากกรมประชาสงเคราะห์ ในขณะนี้สถานการณ์ปกติสามารถเข้าไปทำการสำรวจได้ ตามหนังสือจังหวัดยะลา ที่ ยล.0009/1085 ลงวันที่ 21 มกราคม 2528


กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 467/2528 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2528 ให้ นายอภัย หยงสตาร์ นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นในบริเวณพื้นที่เขตนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ ที่ได้รับคืนจากกรมประชาสงเคราะห์ พื้นที่ป่าเหนือเขื่อนบางลาง และบริเวณใกล้เคียงในท้องที่จังหวัดยะลา ผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713/- ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2528 รายงานว่า พื้นที่ที่ได้รับคืนจากกรมประชาสงเคราะห์ยังอยู่ในระหว่างการปราบปรามโจร จ.ค.ม. ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่สามารถทำการสำรวจได้ ส่วนพื้นที่ป่าเหนือเขื่อนบางลางและบริเวณใกล้เคียง ในท้องที่อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต และอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีพื้นที่ป่าสมบูรณ์ มีจุดเด่นตามธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์ และมีทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสำหรับจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ


กองอุทยานแห่งชาติ ได้มีหนังสือที่ กษ 0713/2120 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2528 เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 966/2528 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2528 ให้นายอภัย หยงสตาร์ นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการจัดตั้งและปรับปรุงป่าเหนือเขื่อนบางลางและบริเวณใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ในจำนวน 5 แห่งของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ เพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งต่อมาอุทยานแห่งชาติบางลางได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713(บล)/42 ลงวันที่ 25 เมษายน 2529 แจ้งขอให้รวมพื้นที่วนอุทยานธารโต ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี เนื้อที่ประมาณ 9.25 ตารางกิโลเมตร เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติบางลาง และกรมป่าไม้ได้มีหนังสือด่วนมาก ที่ กษ 0713/3373 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 ถึงป่าไม้เขตปัตตานี ให้โอนวนอุทยานน้ำตกธารโต เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติบางลาง ทำให้มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 461.04 ตารางกิโลเมตร


ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติบางลางได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 163,125 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าลาบู ป่าถ้ำทะลุ และป่าเบตง ในท้องที่ตำบลถ้ำทะลุ ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา ตำบลแม่หวาด ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต และตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 88 ของประเทศไทย


ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติบางลางเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน สลับกับเนินเขาและพื้นที่ราบบางตอน พื้นที่ลาดเทจากด้านทิศใต้ลงสู่ทิศเหนือ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยเขาฮาลา เขาลาซะ เขาบูโละ และเขาฮันกุล ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนดินเหนียวมีดินลูกรังเป็นบางส่วน เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำหลายสายไหลมาบรรจบเป็นแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรี ประกอบด้วยคลองและลำห้วยหลายสาย อาทิเช่น คลองชาลี คลองนีโล คลองกาวะ คลองกือนือฮง คลองโต๊ะโมะ คลองฮาลา คลองกาบู และคลองฮาลาซะห์


ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพอากาศเย็นชุ่มชื้น มีลมมรสุมตะวันออกพัดผ่านทำให้มีฝนตกเกือบตลอดปีระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม จะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน - พฤศจิกายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,200 มิลลิเมตรต่อปี และฤดูร้อน ระหว่างเดือนมกราคม - เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 29 องศาเซลเซียส


พืชพรรณและสัตว์ป่า

สภาพป่าประกอบด้วยป่าดงดิบชื้น มีไม้นานาชนิดขึ้นอยู่หนาแน่น ได้แก่ ยาง หลุมพอ สมพง ขนุนป่า ตะเคียนทอง สยาขาว งิ้ว ทัง ตะโก ตีนเป็ด ตีนนก ตะแบก มะกอกป่า ยางน่อง นาคบุตร หยีน้ำ มะม่วงป่า โสกเหลือง เป็นต้น และพันธุ์เฉพาะถิ่นขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ใบไม้สีทอง ปาล์มบังสูรย์ เฟินต้น บัวผุด ปุด กระวาน ดาหลา เป็นต้น


เนื่องจากสภาพป่าบริเวณอุทยานแห่งชาติมีความอุดมสมบูรณ์มาก จึงเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า เสือ เลียงผา กระทิง วัวแดง สมเสร็จ กวางป่า เก้ง กระจง หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี เม่น นากใหญ่ขนเรียบ ชะมด พังพอน นกกางเขนดง นกกรงหัวจุก นกโพระดก นกพญาปากกว้าง นกเงือกมีอยู่ 11 ชนิด เช่น นกชนหิน นกเงือกปากดำ นกกาฮัง เต่า กิ้งก่า จิ้งเหลน กบภูเขา และงู เป็นต้น ในบริเวณแหล่งน้ำมีปลาพวงชมพู ปลาสลาด ปลากด และปลาหมูหางแดง


อุทยานแห่งชาติบางลาง ตู้ ปณ.1 ปณจ.ธารโต  อ. ธารโต  จ. ยะลา  95150 โทรศัพท์ 0 7336 0529 (VoIP), 0 7329 7099, 0 7320 1716  อีเมล reserve@dnp.go.th


ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพทั้งหมดจาก : http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=116&lg=1


สะตอฟอร์ยูสะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 4999
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง