พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ต
ข้อมูลทั่วไป
อาคารที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ตหลังเก่า เป็นอาคารเก่าแก่อีกแห่งในจังหวัดภูเก็ตที่มีความงดงามในด้านสถาปัตยกรรม และทรงคุณค่ายิ่ง ด้วยมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นจังหวัดชายทะเลตะวันตก อาคารสีขาวโดดเด่นงามสง่า ตั้งประจักษ์แก่สายตาบุคคลทั่วไปมาหลายยุคสมัย
จากหลักฐานที่ปรากฏในจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ของรัชกาลที่ 6 ทำให้ทราบว่า อาคารแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2473? แต่เดิมเคยเป็นเรือนที่พักอาศัยของพระอนุรักษ์โยธา (นุด) ข้าหลวงรักษาราชการหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ภายหลังไม่นาน อาคารแห่งนี้ถูกนำมาใช้ในส่วนของราชการ นอกจากอาคารที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแล้ว ยังมีสำนักงานการไฟฟ้า สุขาภิบาลเมืองภูเก็ต และธนาคารออมสิน อยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกันด้วย
ลักษณะสถาปัตยกรรม สร้างเป็นอาคารชั้นเดียวคอนกรีตเสริมเหล็ก ทาสีขาว ด้านหน้าเป็นบันไดทางขึ้น 5 ขั้น เสาเป็นสี่เหลี่ยมเซาะร่องห่าง ราวลูกกรงปูนเรียบยาว กรอบหน้าต่างสีโอ๊ค มีหน้าต่างแบบเปิดบานคู่ เหนือบานเปิดเป็นช่องแสงไม้ตารางสี่เหลี่ยมติดกระจกใส ภายในตีฝ้าเพดานไม้ตีชิดทาสีขาว ประตูภายในเปิดปิดบานคู่ลูกฟักไม้ ก่อนถึงหลังคามีแนวกันสาดยื่นเป็นกันสาดคอนกรีตเสริมเหล็กบางๆ ประมาณ 10 เซนติเมตร ยื่นออกมาประมาณ 80 เซนติเมตร หลังคาเป็นทรงปั้นหยา กระเบื้องจีนดินเผาทรงกระบอกผ่าซีก ป้ายหน้าอาคารเขียนด้วยตัวหนังสือแบบเก่าว่า ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข POST & TELAGRAPH OFFICE?
มาในปีพ.ศ.2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในตัวเมืองจังหวัดภูเก็ต น้ำในคลองบางใหญ่ได้เอ่อล้นไหลเข้าท่วมในส่วนด้านหน้าของที่ทำการฯ ไปจนถึงสำนักงานประมง (ปัจจุบัน) ตัดช่วงถนนมนตรีขาดเป็น 2 ช่องคูคลอง กลายเป็นทะเล ชาวบ้านสามารถนำเรือมาจอดเทียบท่าได้ มีทั้งเรือที่มาจากเกาะยาว เกาะสิเหร่ ฯลฯ เพื่อเดินทางต่อไปยังตลาด (บันซ้าน) บริเวณถนนถลาง(ตลาดใหญ่) และตลาดเหนือ บริเวณถนนกระบี่ และถนนวิชิตสงคราม เพื่อทำการซื้อขายกัน
ต่อมาทางกองมรดกของพระพิทักษ์ชินประชามีความประสงค์จะถมที่ดินตรงส่วนนั้นเพื่อขายออกไป เทศบาลได้ขอร้องให้ยกลำคลองไว้เพื่อให้น้ำสามารถไหลผ่านออกสู่ทะเลได้ ที่ดินผืนใหญ่ได้ขายออกไปให้แก่ตระกูลถาวรว่องวงศ์ และงานทวี? ทำการขุดหาแร่ดีบุก แล้วจัดสรรเป็นศูนย์การค้าในโอกาสต่อมา ตรงบริเวณโรงแรมเพิร์ลในปัจจุบันที่อยู่ตรงข้ามกับอาคารที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขภูเก็ต ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นขุมเหมืองก็ถูกพัฒนาเป็นอาคารพาณิชย์ของขุนเลิศโภคารักษ์ในที่สุด ท่านได้พัฒนาพื้นที่ตรงนั้นให้เป็นศูนย์การค้าเลิศโภคารักษ์ นับเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต จึงจัดได้ว่าบริเวณที่ทำการไปรษณีย์ฯ ในอดีตเป็นพื้นที่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก
เคยมีความพยามจะทำการรื้อถอนอาคารแห่งนี้มาแล้วครั้งหนึ่งในปีพ.ศ.2524 เมื่อสำนักงานจังหวัดภูเก็ตได้ทำหนังสือถึงสำนักงานไปรษณีย์เขต 8 แจ้งความประสงค์จะขอรื้อถอนอาคารเพื่อสร้างอาคารที่ทำการหลังใหม่ แต่กรมศิลปากรไม่อนุญาตให้รื้อถอน เนื่องจากอาคารดังกล่าวเป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่สมควรแก่การอนุรักษ์ไว้
ต่อมาในปีพ.ศ.2537 ได้มีการปรับปรุงอาคารไปรษณีย์ภูเก็ตหลังเก่า จัดสร้างให้เป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ตขึ้น เพื่อเป็นที่รวบรวมความรู้เรื่องแสตมป์และการสื่อสารต่างๆ ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ โดยเปิดให้เข้าเยี่ยมชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547
ภายในส่วนของอาคารพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงตราไปรษณีย์ยากร หรือดวงตราไปรษณียากรชุดต่างๆ ของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการสื่อสารของไทยสมัยก่อน ตั้งแต่ครั้งยังเป็นกรมไปรษณีย์โทรเลข อาทิ เครื่องชั่งไปรษณียภัณฑ์แบบตัวเลขรุ่นแรก เครื่องประทับตราไปรษณียากร เครื่องรับส่งสัญญาณโทรสาร ฯลฯ
ห้องด้านหลังภายในพิพิธภัณฑ์ยังจัดเป็นห้องสมุดที่รวบรวมความรู้และเรื่องราวต่างๆ ประวัติความเป็นมาของแสตมป์ทั้งของโลกและของประเทศไทย และความเป็นมาของไปรษณีย์ไทย ฯลฯ หากมาเยี่ยมชมแล้วสนใจจะซื้อของที่ระลึกจากไปรษณีย์ติดไม้ติดมือกลับไปด้วยก็ตามแต่อัธยาศัย
ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว : พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ต เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.30-17.30 น. ยกเว้นวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่เสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด ที่ตั้ง : บริเวณที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ต ถ.มนตรี อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 ?โทร.0 7621 6951
การเดินทาง : พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ต?ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ตปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://phuketbulletin.co.th/Travel/view.php?id=502
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook
Relate topics
- ตลาดปล่อยของ จ.ภูเก็ตตลาดนัดสุดบรรเจิดท่ามกลางบรรยากาศกลางแจ้งแบบสบาย ๆ ใน Limelight Avenue ใจกลางเมืองภูเก็ต ที่มีพื้นที่สำหรับปลดปล่อยสินค้าไอเดีย โดยภายในตลาดจะมีพ่อค้าแม่ขายมาวางของแฮนด์เมดดีไซน์เก๋ ๆ แฟชั่นแนว ๆ อาทิ
- 20 สถานที่ท่องเที่ยว "พังงา" ที่ชาตินี้ต้องไปเยือนให้ได้!!!แร่หมื่นล้านบ้านกลางน้ำถ้ำงามตา ภูพาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร
- เจดีย์ปะการัง โบราณสถานเก่าแก่ของเมืองขนอม เชื่อกันว่ามีอายุมากกว่า 1000 ปีเจดีย์ปะการัง โบราณสถานเก่าแก่ของเมืองขนอม เชื่อกันว่ามีอายุมากกว่า 1000 ปี ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาธาตุ ในวัดจันทน์ธาตุทาราม เจดีย์เป็นรูปโอคว่ำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เมตร สร้างขึ้นโดยนำหินปะการั
- มารู้จัก "โลมาสีชมพู" พระเอกแห่งท้องทะเลขนอม จ.นครศรีธรรมราช กันเถอะ! ก่อนอื่น! ลองมาทำความรู้จัก "ขนอม ...อัญมณีแห่งอ่าวไทย" กันสักฮี
- เจดีย์ไตรภพไตรมงคล หรือ เจดีย์สเตนเลสส์ ตั้งสถิตโดดเด่นเป็นสง่า อยู่บนยอดเขาคอหงส์เจดีย์ไตรภพไตรมงคล หรือเจดีย์สเตนเลสส์ อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำด้วยวัสดุสเตนเลสส์ ตั้งสถิตโดดเด่นเป็นสง่า อยู่บนยอดเขาคอหงส์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านในไร่ ถนนปุณณกัณฑ์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหว
- เกาะรอก แม้จะเป็นเพียงเกาะเล็กๆ คู่กันสองเกาะ แต่มีธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่นักเกาะรอก ไกลจากเกาะลันตาใหญ่ออกสู่ทะเลกว้างอีก 47 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเกาะรอก แม้จะเป็นเพียงเกาะเล็กๆ คู่กันสองเกาะ แต่มีธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่นัก เป็นเจ้าของหาดทรายขาว น้ำทะเลสีมรกต มีปะการังฝูงปลาหลา
- เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล"เกาะหลีเป๊ะ (Koh Lipe)" เป็นหนึ่งในหลายๆ เกาะของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ซึ่ง หลีเป๊ะ จะตั้งอยู่สุดเขตแดนใต้ อยู่ในกลุ่มของหมู่เกาะอาดัง - ราวี และอยู่ห่างจาก ท่าเรือปากบารา 62 กิโลเมตร ตัวเกาะเ
- เที่ยวบากันใหญ่-หัวทาง กลางมรสุมอันดามันเที่ยวบากันใหญ่-หัวทาง กลางมรสุมอันดามัน (อ.ส.ท.) จริยา ชูช่วย...เรื่อง นภดล กันบัว...ภาพ “ไปทำไมอันดามันหน้ามรสุม” ปลายเดือนมิถุนายนไม่ใช่ฤดูกาลท่องเที่ยวของฝั่งอันดามันเป็นแน่ เกาะตะรุเตา เกา
- วิทยาลัยชุมชนสงขลา จัดกิจกรรมทดลองการนำเที่ยวเชิงนิเวศตำบลบ้านขาว อ.ระโนด นำร่อง การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน “อเมซอนแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา”วิทยาลัยชุมชนสงขลา จัดกิจกรรมทดลองการนำเที่ยวเชิงนิเวศตำบลบ้านขาว อ.ระโนด นำร่อง การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน “อเมซอนแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” ที่จุดลงเรือ ตำบลบ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา วิทยาลัยชุ
- เขาไข่นุ้ย ...จุดชมทะเลหมอกของพังงา อะเมซิ่งทะเลหมอกสุดเจ๋งเขาไข่นุ้ย ตั้งอยู่ที่ บ้านฝายท่า ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดยทางอบต.ทุ่งมะพร้าวมีโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้วยการปรับพื้นที่ จัดแต่งภูมิทัศน์ให้เหมาะสม ปรับแต่งลานการเต็นท์ จัดสร้างห้องน