สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

photo  , 850x1164 pixel , 135,723 bytes.

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์
(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังนี้

1.การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  1. การบริการอินเทอร์เน็ต

  2. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

  3. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สํานักงานทะเบียน พาณิชย์กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล ที่สํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยูในเขตท้องที่ หรือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเฉพาะในท้องที่นอกเขตเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตําบล
    ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังกล่าวไม่จดทะเบียนพาณิชย์ แสดงรายการเท็จ หรือไม่มาให้นายทะเบียนพาณิชย์ สอบสวน ไม่ยอมให้ถ้อยคํา หรือไม่ยอมให้ทะเบียนพาณิชย์ตรวจสอบมีความผิด เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ถ่ายโอนอํานาจจดทะเบียนพาณิชย์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจํากัด
บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และนิติบุคคลต่างประเทศ ที่มาตั้งสํานักงานสาขาในประเทศไทย ซึ่งประกอบกิจการ อันเป็นพาณิชยกิจ ดังนี้

  1. การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  2. การบริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) หมายถึง หน่วยงานที่บริการในการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต โดยให้บริการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน
    ต่าง ๆ เข้ากับ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทัวโลก ทําให้เราสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

  3. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) คือ ผู้ให้บริการเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อทําหน้าที่
    ในการรับฝากเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถออนไลน์ หรือมองเห็นบนอินเทอร์เน็ตได้

  4. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย
    อินเทอร์เน็ต (e-Marketplace) คือ เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมสินค้าและร้านค้าเป็นจํานวนมาก
    เพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อ-ขายสินค้าระหว่างกัน

เว็บไซต์ที่ ไม่ ต้องจดทะเบียน มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเตอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจโทร.ติดต่อ… หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทางค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม

การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือสินค้า

เว็บไซต์ที่เสนอข่าวประจำวัน จะมีป้ายโฆษณา (banner) ด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น thairath.com, bangkokpost.com, innnews.co.th, เป็นต้น

เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว

เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ

ร้านอินเตอร์เน็ตที่ให้บริการในการเล่น net ที่เจ้าของร้านได้รายได้จากค่าชั่วโมงการเล่นอินเตอร์เน็ต(อินเตอร์เน็ตคาเฟ่) และ เกมส์คอมพิวเตอร์ ประเภทนี้มีประชาชนเกิดความสับสนเป็นจำนวนมากว่าต้องจดทะเบียน (เจ้าของร้านอินเตอร์เน็ตฯ ไม่ต้องจดทะเบียน)

สถานที่การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. ผู้ประกอบการที่มีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนพาณิชย์ ณ ฝ่ายปกครอง สํานักงานเขต 50 เขต (รับบริการจดทะเบียนพาณิชย์เฉพาะสถานประกอบการที่มีสํานักงาน เขตตั้งอยู่ในท้องที่ของตน ) หรือ สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง สํานักการคลัง ศาลาว่าการ กทม. (ครอบคลุม ทั้ง 50 เขตของ กทม.)
  2. ผู้ประกอบการที่มีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอจดทะเบียน
    พาณิชย์ ณ เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล ที่สํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ หรือ
    องค์การบริหารส่วนจังหวัดเฉพาะในท้องที่นอกเขตเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตําบล

    เอกสารที่ใช้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  3. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ

  4. แบบคําขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)

  5. รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบแบบ ทพ.) กรอก 1 ใบ ต่อ 1 เว็บไซต์ (ทําสําเนาเพื่อขอใช้ เครื่องหมาย DBD Registered)

  6. เอกสารการจดโดเมนเนม (ชื่อผู้จดทะเบียนโดเมนเนม ต้องเป็นชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์)

  7. Print หน้าแรกของเว็บไซต์

  8. วาดแผนที่ตั้งการประกอบพาณิชยกิจ

  9. หนังสือรับรองการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (กรณีจดในนามนิติบุคคล)

  10. หนังสือมอบอํานาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสําเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ
    (กรณีมอบอํานาจ)

กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมิได้เจ้าบ้าน (เอกสารเพิ่มเติม)

  1. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่หรือสัญญาเช่า

  2. สําเนาบัตรประชาชนเจ้าของสถานที่ พร้อมสําเนาทะเบียนบ้าน หรือเอกสารสิทธิ์ ที่แสดงวาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ เข้ามาตั้งสาขาดําเนินกิจการในประเทศไทย ให้แนบเอกสารเพิ่มเติม

  3. สําเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล

  4. หนังสือแต่งตั้งผู้ดําเนินกิจการในประเทศไทย
    2.1 ใบอนุญาตทํางาน (กรณีผู้ดําเนินกิจการเป็ นคนต่างด้าว)
    2.2 ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือหนังสือรับรองการใช้สิทธิ (ถ้ามี)

ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. สร้างความน่าเชื่อถือ ความมีตัวตนของผู้ประกอบการ
2. ผู้ประกอบการสามารถขอรับเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียน DBD Registered จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(ดูรายละเอียดการออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์) และเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ
DBD Verified ซึ่งได้รับการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(ดูรายละเอียดการออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ)

  1. ได้รับสิทธิ์ ในการเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด

ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 8674
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง