นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมืองปัตตานี ชมพหุวัฒนธรรม “จีน-พุทธ-มุสลิม”
เมื่อเอ่ยถึง “จังหวัดชายแดนภาคใต้” หลายๆ คนมักจะโยงไปถึงภาพเหตุการณ์ไม่สงบ เสียงระเบิด และกระสุนปืน แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งพื้นที่นี้กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยความศรัทธาท่ามกลางความเชื่อหลากหลาย เกิดเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม “จีน-พุทธ-มุสลิม” ที่อยู่ร่วมกันมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี
จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นอีกที่หนึ่งที่โดดเด่นในแง่สังคมพหุวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยวอันเลื่องชื่อของจังหวัดนี้มีทั้งวัด มัสยิด และศาลเจ้าของพี่น้องชาวจีน โดยเฉพาะมัสยิดกรือเซะ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.ตันหยงลูโละ อ.เมืองปัตตานี เป็นศาสนสถานของพี่น้องมุสลิมนั้น ใช้ปฏิบัติศาสนกิจมากันตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และยังคงใช้ปฏิบัติศาสนกิจต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ถัดจากมัสยิดกรือเซะ ก็เป็นสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ศาสนสถานที่พี่น้องชาวจีนเคารพนับถือ
ส่วน ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือ “ศาลเจ้าเล่งจูเกียง” นั้น ตั้งอยู่ที่ ถ.อาเนาะรู ต.อาเนาะรู อ.เมืองปัตตานี เป็นศาลเจ้าเก่าแก่เดิมเรียกว่า “ศาลเจ้าโจ้วซูกง” เมื่อ พ.ศ.2407 หลวงสำเร็จกิจกรจางวางได้ร่วมกับชาวจีนในเมืองปัตตานีบูรณะศาลเจ้าขึ้นใหม่ และต่อมา หลวงจีนคณานุรักษ์ได้อัญเชิญรูปจำลององค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ที่บ้านกรือเซะมาประจำศาลเจ้าแห่งนี้ และเรียกชื่อใหม่ว่า “ศาลเจ้าเล่งจูเกียง” โดยจะมีพิธีสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว และองค์พระอื่นๆ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เคยเสด็จเยือนศาลเจ้าแห่งนี้ถึงสองครั้งสองครา เมื่อครั้งเสด็จประพาสแหลมมลายู ใน พ.ศ.2431 และ พ.ศ.2443 และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เคยเสด็จเยือนเมื่อคราวเสด็จประพาสมณฑลปัตตานีใน พ.ศ.2453 โดยทรงพระราชทานกระถางธูปแก่ศาลเจ้าด้วย
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จเยือนใน พ.ศ.2519 พร้อมพระราชทานกระถางธูปแก่ศาลเจ้า
ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์ นิยมเดินทางมานมัสการขอพรจากเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว และเที่ยวงานสมโภชที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี
นอกจากนี้ จ.ปัตตานี ยังมีวัดชื่อดังอีกแห่งที่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศนิยมเดินทางไปนมัสการขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นั่นก็คือ “วัดช้างให้” หรือชื่อเต็มว่า วัดราษฎร์บูรณะ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ โดยตามตำนานเล่าว่า พระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสร้างเมืองให้น้องสาว จึงได้เสี่ยงสัตย์อธิษฐานปล่อยช้างเจ้าเมืองและไพร่พลเดินตามไป เมื่อมาถึงป่าแห่งหนึ่ง (ที่วัดช้างให้ปัจจุบัน) ช้างก็เดินวนเวียน และส่งเสียงร้อง 3 ครั้ง พระยาแก้มดำจึงถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะสร้างเมือง แต่ปรากฏว่า น้องสาวไม่ชอบใจ จึงได้เสี่ยงสัตย์ปล่อยช้างใหม่
ต่อมา ช้างได้เดินไปยังบริเวณชายทะเลแห่งหนึ่ง (ตำบลกรือเซะในปัจจุบัน) ช้างไม่ได้ส่งเสียงร้อง แต่น้องสาวของพระยาแก้มดำรู้สึกพอใจชัยภูมิดังกล่าว จึงขอให้พระองค์สร้างเมืองขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “เมืองปัตตานี” เมื่อสร้างเมืองแล้วเสร็จก็ได้เดินทางกลับผ่านทางเดิม พระยาแก้มดำก็ได้ให้ขบวนหยุดพักที่กลางป่าซึ่งช้างร้องบอกคราวแรก และให้ไพร่พลแผ้วถางป่าบริเวณดังกล่าวสร้างเป็นวัดขึ้น โดยตั้งชื่อว่า “วัดช้างให้” และมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั้งในพื้นที่ภาคใต้ และจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย รวมไปถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ คือ “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด”
ข้อมูลการเดินทาง
มัสยิดกรือเซะ ตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ ต.ตันหยงลูโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร ติดกับถนนสายปัตตานี-นราธิวาส
ศาลเจ้าเล่งจูเกียง หรือศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ตั้งอยู่ที่เลขที่ 63 ถ.อาเนาะรู อ.เมือง จ.ปัตตานี โทรศัพท์ 0-7333-2851
วัดช้างให้ หรือวัดราษฎร์บูรณะ ตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก หรือทางรถยนต์สายปัตตานี-หนองจิก-นาเกตุ-นาประดู่-ยะลา ห่างจากตลาดนาประดู่ประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองปัตตานี 30 กิโลเมตร โทรศัพท์ 0-7335-8586
ขอขอบคุณ : ASTV Manager ภาคใต้
Relate topics
- ตลาดปล่อยของ จ.ภูเก็ตตลาดนัดสุดบรรเจิดท่ามกลางบรรยากาศกลางแจ้งแบบสบาย ๆ ใน Limelight Avenue ใจกลางเมืองภูเก็ต ที่มีพื้นที่สำหรับปลดปล่อยสินค้าไอเดีย โดยภายในตลาดจะมีพ่อค้าแม่ขายมาวางของแฮนด์เมดดีไซน์เก๋ ๆ แฟชั่นแนว ๆ อาทิ
- 20 สถานที่ท่องเที่ยว "พังงา" ที่ชาตินี้ต้องไปเยือนให้ได้!!!แร่หมื่นล้านบ้านกลางน้ำถ้ำงามตา ภูพาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร
- เจดีย์ปะการัง โบราณสถานเก่าแก่ของเมืองขนอม เชื่อกันว่ามีอายุมากกว่า 1000 ปีเจดีย์ปะการัง โบราณสถานเก่าแก่ของเมืองขนอม เชื่อกันว่ามีอายุมากกว่า 1000 ปี ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาธาตุ ในวัดจันทน์ธาตุทาราม เจดีย์เป็นรูปโอคว่ำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เมตร สร้างขึ้นโดยนำหินปะการั
- มารู้จัก "โลมาสีชมพู" พระเอกแห่งท้องทะเลขนอม จ.นครศรีธรรมราช กันเถอะ! ก่อนอื่น! ลองมาทำความรู้จัก "ขนอม ...อัญมณีแห่งอ่าวไทย" กันสักฮี
- เจดีย์ไตรภพไตรมงคล หรือ เจดีย์สเตนเลสส์ ตั้งสถิตโดดเด่นเป็นสง่า อยู่บนยอดเขาคอหงส์เจดีย์ไตรภพไตรมงคล หรือเจดีย์สเตนเลสส์ อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำด้วยวัสดุสเตนเลสส์ ตั้งสถิตโดดเด่นเป็นสง่า อยู่บนยอดเขาคอหงส์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านในไร่ ถนนปุณณกัณฑ์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหว
- เกาะรอก แม้จะเป็นเพียงเกาะเล็กๆ คู่กันสองเกาะ แต่มีธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่นักเกาะรอก ไกลจากเกาะลันตาใหญ่ออกสู่ทะเลกว้างอีก 47 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเกาะรอก แม้จะเป็นเพียงเกาะเล็กๆ คู่กันสองเกาะ แต่มีธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่นัก เป็นเจ้าของหาดทรายขาว น้ำทะเลสีมรกต มีปะการังฝูงปลาหลา
- เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล"เกาะหลีเป๊ะ (Koh Lipe)" เป็นหนึ่งในหลายๆ เกาะของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ซึ่ง หลีเป๊ะ จะตั้งอยู่สุดเขตแดนใต้ อยู่ในกลุ่มของหมู่เกาะอาดัง - ราวี และอยู่ห่างจาก ท่าเรือปากบารา 62 กิโลเมตร ตัวเกาะเ
- เที่ยวบากันใหญ่-หัวทาง กลางมรสุมอันดามันเที่ยวบากันใหญ่-หัวทาง กลางมรสุมอันดามัน (อ.ส.ท.) จริยา ชูช่วย...เรื่อง นภดล กันบัว...ภาพ “ไปทำไมอันดามันหน้ามรสุม” ปลายเดือนมิถุนายนไม่ใช่ฤดูกาลท่องเที่ยวของฝั่งอันดามันเป็นแน่ เกาะตะรุเตา เกา
- วิทยาลัยชุมชนสงขลา จัดกิจกรรมทดลองการนำเที่ยวเชิงนิเวศตำบลบ้านขาว อ.ระโนด นำร่อง การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน “อเมซอนแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา”วิทยาลัยชุมชนสงขลา จัดกิจกรรมทดลองการนำเที่ยวเชิงนิเวศตำบลบ้านขาว อ.ระโนด นำร่อง การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน “อเมซอนแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” ที่จุดลงเรือ ตำบลบ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา วิทยาลัยชุ
- เขาไข่นุ้ย ...จุดชมทะเลหมอกของพังงา อะเมซิ่งทะเลหมอกสุดเจ๋งเขาไข่นุ้ย ตั้งอยู่ที่ บ้านฝายท่า ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดยทางอบต.ทุ่งมะพร้าวมีโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้วยการปรับพื้นที่ จัดแต่งภูมิทัศน์ให้เหมาะสม ปรับแต่งลานการเต็นท์ จัดสร้างห้องน