สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: ชุมพร ::: ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ชึ้นชื่อรังนก

หุ่นจำลองวิถีชีวิตชาวชุมพรที่ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร"

by sator4u_team @2 พ.ย. 54 02:03 ( IP : 101...34 ) | Tags : ท่องเที่ยวและกิจกรรม
photo  , 486x430 pixel , 72,996 bytes.

จากร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้พบหลายแห่ง ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า กลุ่มชนรุ่นแรกที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดชุมพรมีเชื้อสายสืบเนื่องมาจากชนเผ่าออสโตรเนเชียน ซึ่งเคลื่อนย้ายมาจากภาคพื้นแผ่นดินตอนเหนือของจีนลงมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา มนุษย์เหล่านี้อาศัยอยู่ในถ้ำหรือเพิงหินในเทือกเขาหินปูนแถบอำเภอทุ่งตะโก อำเภอสวี หรือตามลานตระพักริมน้ำ เขตอำเภอปะทิวและอำเภอพะโต๊ะ โบราณวัตถุที่ได้พบเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกและพัฒนามาเป็นลำดับ สู่ต้นสมัยประวัติศาสตร์จนถึงสมัยปัจจุบัน ซึ่งเรื่องราวความเป็นมาเหล่านี้ ได้ถูกนำมาจัดแสดงเป็นหุ่นจำลองไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร สำหรับให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและง่ายต่อการเข้าใจ

หุ่นจำลองที่น่าสนใจมีอยู่หลายชิ้น เช่น หุ่นจำลองการดำรงชีวิตในสังคมเก็บของป่าล่าสัตว์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ การดำรงชีวิตในสังคมเกษตรกรรม หุ่นจำลองสภาพเมืองท่าโบราณที่เขาสามแก้ว หุ่นจำลองเรือนพื้นถิ่นในจังหวัดชุมพร หุ่นจำลองการเสด็จประพาสต้นในสมัยรัชการที่ ๕ ที่เกาะลังกาจิว หุ่นจำลองหมู่บ้านชาวประมงในเขตปากน้ำชุมพร หุ่นจำลองร้านค้าในชุมพรเมื่อ ๕๐ ปีที่ผ่านมา และหุ่นจำลองสภาพบ้านเรือนราษฎรก่อนเกิดพายุใต้ฝุ่นและสภาพความเสียหายหลังจากเกิดพายุใต้ฝุ่นแล้ว เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒
ในบรรดาหุ่นจำลองสภาพวิถีชีวิตของชาวชุมพรเหล่านี้ หุ่นจำลองที่น่าสนใจและน่าศึกษาที่สุดคือ หุ่นจำลองสภาพท่าเรือโบราณที่เขาสามแก้ว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองฯ เนื่องจากชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ได้พบหลักฐานมากกว่าที่อื่น ๆ มีอายุตั้งแต่ปลายยุคก่อนประวัติศาสตร์และเริ่มแรกยุคประวัติศาสตร์ภาคใต้ มีบริเวณพื้นที่เป็นดอนกว้าง ตั้งอยู่บนเนินและพื้นที่ราบในอาณาบริเวณเดียวกัน อยู่ใกล้กับลำน้ำสายใหญ่ที่สามารถใช้เป็นแหล่งอุปโภคบริโภค ตลอดจนเส้นทางคมนาคมติดต่อกับชุมชนที่อยู่ห่างไกล เป็นทำเลที่เหมาะสมต่อการพัฒนาชุมชน และสามารถพ้นจากภัยพิบัติจากการเกิดน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากได้เป็นอย่างดี

จากหลักฐานที่พบเป็นจำนวนมากที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่รับแบบอย่างมาจากชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประเภทขวานหินขัด ภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้เหล็ก ลูกปัดดินเผา รวมทั้งหุ่นจำลองรูปคน รูปสัตว์ และสิ่งของขนาดเล็กทำด้วยสำริดแสดงให้เห็นว่า ชุมชนแห่งนี้มีความเจริญทางวัฒนธรรมในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๕-๑๐ เป็นชุมชนที่สืบทอดวัฒนธรรมของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์อย่างผสมกลมกลืนจากภายนอก ทั้งบริเวณใกล้เคียงและจากถิ่นไกล เช่น อินเดียและประเทศทางแถบเอเชียอาคเนย์ โดยมีลักษณะเป็นชุมชนสถานีการค้าสมัยแรกที่ผลิตลูกปัด เครื่องประดับ เป็นสินค้าออก

นอกเหนือจากหุ่นจำลองสภาพวิถีชีวิตของชาวชุมพรที่น่าสนใจแล้ว ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ซึ่งถือเป็นสถาบันการศึกษานอกระบบที่เอื้อประโยชน์ในเรื่องการเรียนการสอนในวิชาท้องถิ่นศึกษาให้สมบูรณ์ ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เสริมสร้างความภาคภูมิใจในมรดกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่นตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี ยังประกอบไปด้วยการจัดแสดงตามเนื้อหาต่าง ๆ ที่กำหนดเป็น ๗ หัวข้อ ได้แก่ จังหวัดชุมพร เป็นเรื่องข้อมูลของจังหวัดชุมพรปัจจุบัน มีภาพโปร่งแสงและคำบรรยายเป็นสื่อนำ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในชุมพร เป็นเรื่องร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีในการอธิบาย ประกอบด้วยหุ่นจำลองขนาดเท่าจริง โบราณวัตถุ และภาพถ่ายแหล่งโบราณคดีที่พบ พัฒนาการในช่วงต้นประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องที่กล่าวถึงหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงต้นประวัติศาสตร์ที่พบในแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองฯ ด้วยหุ่นจำลองขนาดเล็ก โบราณวัตถุ และภาพถ่ายโบราณวัตถุสมัยนั้น สมัยประวัติศาสตร์ในชุมพรแบ่งเนื้อหาออกเป็นสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยโบราณวัตถุที่พบและหุ่นจำลองขนาดเล็กแสดงเหตุการณ์และภาพถ่ายเมื่อครั้งกองกำลังทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ชุมพรกับการเป็นเมืองในเส้นทางผ่านของพายุใต้ฝุ่น โดยการสร้างฉากจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ผู้เข้าชมสามารถรับรู้เสมือนร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้น และหัวข้อสุดท้าย คือ ธรรมชาติวิทยาและมรดกดีเด่นของจังหวัดชุมพร แสดงภาพถ่าย ภาพลายเส้น หุ่นจำลองขนาดใหญ่และขนาดเล็กของแหล่งชีวภาพใต้ทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศ การได้ชมพิพิธภัณฑ์เพียงแห่งเดียวก็เหมือนได้เที่ยวทั่วชุมพร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ตั้งอยู่บริเวณเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองฯ เป็นอาคารผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่มีลักษณะโดดเด่นและเอื้อประโยชน์ใช้สอย บนพื้นที่ ๗ ไร่ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันนักขัตฤกษ์

ข้อมูลการเขียน

๑. สูจิบัตร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร

๒. สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๒.

๓. เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร


ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  http://www.osotho.com/


สะตอฟอร์ยูสะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 6525
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง