สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: พัทลุง ::: เมืองหนังโนราห์ อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบ เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ จ.พัทลุง

by sator4u_team @30 มิ.ย. 55 15:12 ( IP : 113...240 ) | Tags : ท่องเที่ยวและกิจกรรม
photo  , 640x240 pixel , 30,017 bytes.

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ  จ.พัทลุง

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ จ.พัทลุง หรือที่เรียกกันว่า “พระสี่มุมเมือง” เป็นพระพุทธรูปประจำภาคใต้ และพระคู่บ้านคู่เมืองของพัทลุง พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ประดิษฐานอยู่ภายในศาลาจตุรมุข บริเวณด้านหน้าระหว่างศาลากลางจังหวัด กับศาลจังหวัดพัทลุง เป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ 9) โปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ที่จังหวัดพัทลุง เมื่อ พ.ศ. 2511

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ หรือ "พระพุทธรูปสี่มุมเมือง" ซึ่งมีอยู่ 4 องค์ ถูกจัดสร้างขึ้นตามความเชื่อและโบราณประเพณีของบ้านเมืองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่จะต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องขอบขัณฑสีมาทั้งสี่ทิศ โดยการสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศนั้นเป็นการสร้างพระพุทธรูปแบบ "จตุรพุทธปราการ" กล่าวคือเป็นการนำเอาวัดหรือพระพุทธรูปเป็นปราการทั้งสี่ด้าน เพื่อปกป้องภยันตรายจากอริราชศัตรู ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย เสริมสร้างดวงชะตาแก่บ้านเมืองและคุ้มครองพสกนิกรทั้งมวลให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข

สถานที่ประดิษฐาน

ปัจจุบันพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศทั้ง 4 องค์ ได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ จังหวัดต่างๆ ตามทิศทั้งสี่ของประเทศไทย ดังนี้ ทิศเหนือ - ศาลหลักเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
ทิศใต้ - จังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันออก - วัดศาลาแดง จังหวัดสระบุรี
ทิศตะวันตก - เขาแก่นจันทน์ จังหวัดราชบุรี

ประวัติการจัดสร้าง

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัตน์จตุรทิศ ถูกจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2511 โดยกรมการรักษาดินแดน กองทัพบก กระทรวงกลาโหม นำโดยพลโทยุทธ สมบูรณ์ เจ้ากรมการรักษาดินแดนในขณะนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนื่ยวจิตใจและปกป้องคุ้มภัยให้กับประชาชนทุกทิศตามความเชื่อแต่โบราณ โดยได้นำต้นแบบมาจาก "พระพุทธนิรโรคันตราย" พระพุทธรูปประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นพระผู้ทรงมีพระราชทานก่อตั้งกรมการรักษาดินแดน อีกทั้งเมื่อพิจารณาความหมายของพระนามของพระพุทธรูป อันหมายถึง "การปราศจากซึ่งภยันตรายทั้งปวง" นับว่าเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะสถาปนาให้เป็นพระสี่มุมเมืองของไทย

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเททอง ณ กรมการรักษาดินแดน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2511 และได้โปรดเกล้าฯพระราชทานแก่ตัวแทนจากทั้ง 4 จังหวัด เพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจำทิศทั้งสี่ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2511

พระพุทธลักษณะ

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิราบตามแบบศิลปะสุโขทัย โดยมีพระพักตร์แจ่มใส พระเนตรเปิด พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปจัตุรมุข ก่ออิฐถือปูน โครงสร้างสร้างคาเป็นเครื่องไม้มุงทับด้วยกระเบื้องอย่างไทยโบราณ บานประตู หน้าต่าง และหน้าลงรักปิดทองทั้งสี่ด้าน


ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก :  www.thai-tour.com และ  th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัตน์จตุรทิศ


สะตอฟอร์ยูสะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 4143
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง