สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: นครศรีธรรมราช ::: เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัด มากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู

วัดวังตะวันตก

by sator4u_team @2 พ.ค. 55 15:36 ( IP : 101...72 ) | Tags : ท่องเที่ยวและกิจกรรม
photo  , 434x386 pixel , 97,186 bytes.

วัดวังตะวันตก

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน บริเวณที่เชื่อว่าตรงข้ามกับวังตะวันออกอันเป็นนิวาสสถานของเจ้าจอมปราง เดิมเป็นอุทยาน ต่อมาเจ้าพระนคร (น้อย) ยกวังตะวันออก และอุทยานตรงข้ามให้เป็นวัดเช่นเดียวกัน จึงเป็นวัดวังตะวันตก พ.ศ. 2431 พระครูกาชาด (ย่อง)

พร้อมด้วยสานุศิษย์ได้สร้างกุฎิขึ้นหมู่หนึ่ง เป็นเรือนเครื่องสับ 3 หลัง มีหลังคาจั่ว แต่ละหลังคาคลุมเชื่อมต่อกัน ตัวเรือนฝาปะกน ตามประตู หน้าต่างและช่องลม ประดับด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองนคร ปี พ.ศ. 2535 สมาคมสถาปนิก สยามคัดเลือกกุฎิวัดวังตะวันตกให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม

กุฏิหลังนี้เป็นกุฏิเก่าแก่สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2431 คือเมื่อหนึ่งร้อยปีเศษที่ผ่านมา โดยพระครูกาชาด นามเดิมว่า ?ย่อง? เจ้าอาวาสวัดวังตะวันตกในเวลานั้น มุ่งหมายจะให้เป็นที่สำหรับอาศัยเล่าเรียนพระธรรม โดยใช้เวลาก่อสร้างถึง 13 ปี จุดเด่นที่น่าสนใจของกุฏิหลังนี้ คือหน้าต่างแต่ละบาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความวิจิตรของผู้ออกแบบ และความบรรจงของช่างผู้ก่อสร้าง


ประวัติความเป็นมา  วัดวังตะวันตก

สถานที่ ตั้งวัดวังตะวันตกแต่เดิมเป็นป่าขี้แรดใช้เป็นที่ค้างศพของคนในเมืองซึ่งนำ ออกมาทางประตูผี ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมือง แล้วนำล่องเรือมาตามคลองท้ายวังเขาคลองทา แล้วเอาศพไว้ในที่ที่เป็นป่าขี้แรด ต่อมากลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเพราะประเพณีการค้างศพได้เลิกนิยมไป ที่บริเวณนี้จึงกลายเป็นบ้านตากแดด คือปล่อยทิ้งไว้ให้แดดเผา เพื่อล้างสถานที่ที่เคยค้างศพและไม่มีผู้คนกล้าเข้ามาอาศัยอยู่ ต่อมาเจ้าจอมปราง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า แม่นางเมืองหรือแม่วัง เห็นเป็นที่ว่างและอยู่ใกล้กับวังของท่านเพียงคนละฟาก จึงเกิดความคิดที่จะดัดแปลงที่ว่างนั้นให้เป็นอุทยาน เพื่อเป็นที่พักผ่อนของเจ้าพระยานคร (น้อย) บุตรชาย ประกอบกับเจ้าพระยานคร (พัด) ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช จึงได้ดัดแปลงป่าขี้แรดให้เป็นอุทยาน ต่อมาถึงสมัยเจ้าพระยานคร (น้อย) ได้ตำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ต้องรับภาระจัดการพระศพเจ้าจอมมารดาปราง ได้เลือกเอาอุทยานแห่งนี้เป็นที่ฌาปนกิจศพ และได้ปรับปรุงวังตะวันออกให้เป็นวัดวังตะวันออกพร้อม ๆ กันนี้ได้แปรสภาพอุทยานแห่งนี้ให้เป็นวัดอีกวัดหนึ่ง เรียกว่า " วัดวังตะวันตก "

มื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๘๐ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ได้สร้างพระพุทธรูปสูงใหญ่ขึ้นองค์หนึ่งไว้ทางทิศใต้ของบริเวณวัด โดยสร้างไว้บนเนินดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุทยาน ถวายชื่อว่า "พระศรีธรรมโศกราช" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของผู้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช คนทั่วไปนิยมเรียกว่า "พระสูง" เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ ประชาชนได้ร่วมกันสร้างวิหารคลุมไว้

ภายในวัดวังตะวันตกมีกุฏิทรงไทยหลังหนึ่งมีลักษณะเป็นหมู่ เรือนไทยสร้างด้วยไม้ เป็นเรือนฝากระดานแบบเรือนสร้างสับ ๓ หลัง หลังคาหน้าจั่วหันไปทางทิศตะวันออกทั้งหมด ตัวเรือนเป็นกุฏิไม้ฝาประกน มีลวดลายแกะสลักไม้ ตกแต่งตามส่วนต่าง ๆ เป็นรูปบุคคลมีปีกประกอบลายพรรณพฤกษา ลายหัวบุคคลมีลำตัวเป็นก้านต้นไม้ กรอบหน้าต่างด้านล่างสลักเป็นลายเครือเถาและลายเรขาคณิต เรือนหลังกลางเป็นห้องโถงโล่ง และเรือนอีก ๒ หลัง เป็นปีกยกพื้นสูงทั้ง ๒ ข้าง มีฐานที่มีหลังคาคลุมต่อเชื่อมกัน หลังคามุงกระเบื้องไม่เคลือบ ด้านทิศตะวันตกเป็นเรือนครัว ซึ่งได้ย้ายมาประชิดกุฏิภายหลัง ใต้กุฏิยกพื้นสูงเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีปัจจุบันมีชานเรือนทำด้วยปูนซิ เมนต์ เชื่อมหมู่กุฏิและเรือนครัวเข้าด้วยกัน

มีจารึกสลักบนไม้เหนือบนประตูหลังกลางทางด้านตะวันออก กล่าวถึงการสร้างกุฏิหลังนี้ว่า "...กุฏิสามหลังข้างครัวข้างโน้น ข้าพเจ้าอาจารย์ย่อง พร้อมด้วยญาติบรรณาแลสานุศิษย์ ได้เตรียมการจัดหาเครื่องเสาตั้งแต่ปีมเมียจัตวาศก มาได้ยกขึ้นเมื่อ ณ วัน ๒ฯ๔ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก พุทธศักราชล่วงแล้ว ๒๔๓๑ พรรษา ก็ทำต่อมาก็ทั่ง ณ วัน ๓ฯ๕ ค่ำปีมแมสัปตศก เป็นวันฉลอง ๑๓ ปีแล้วเสร็จ ก็ทำครั้งนี้เพื่อจะเปลื้องธุระสงฆ์ที่กังวนด้วยฟากฝา แลจะได้อยู่อาไสยเอาเรียนพระธรรม์บำรุงพุทธศาสนาให้จิรัง ท่านผู้อ่านผู้ฟังจงอนุโมทนารับส่วนบุญด้วยเทอญฯ..." นั่นมายถึงว่าอาคารหลังนี้เริ่มสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ใช้เวลาสร้าง ๑๓ ปี เพื่อให้พระสงฆ์ได้อาศัยเรียนพระธรรมบำรุงพุทธศาสนา ผู้สร้างคือ พระครูกาชาด(ย่อง) ร่วมกับบรรดาญาติโยม สานุศิษย์

ความเป็นมา (๒)

จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่สืบต่อกันมาว่า เดิมเป็นที่วัดของพระยาศรีธรรมาโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ในสมัยสุโขทัย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา คงจะย้ายวังจากที่ตั้งเดิมไปหรือหมดวงศ์ของพระยาศรีธรรมมาโศกราช จึงปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า โดยเป็นทรัพย์สินของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่ ๔ ได้มีพระภิกษุสงฆ์เดินธุดงค์มาปักกลดอาศัยพักเป็นครั้งคราว ทายาทของพระยานคร (น้อย) จึงยกถวายให้เป็นที่วัด เพื่อให้พระภิกษุมาอาศัยอยู่เป็นประจำ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) พระครูกาชาด (ย่อง อินทสุวณฺโณ) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และได้ขอพระราชทาน วิสุงคามสีมา สร้างอุโบสถ ก่อด้วยอิฐ ถือปูนขาว สร้างศาลาการเปรียญ กุฏิทรงไทย และหอพระไตรปิฏก จึงเป็นวัดที่สมบูรณ์

วัดวัง ตะวันตก มีเนื้อที่วัดทั้งหมด ไม่รวมธรณีสงฆ์ จำนวน ๑๑ ไร่ ๒ งาน ๔๑ ตารางวา

โบราณสถานและโบราณวัตถุของวัดวังตะวันตก  ประกอบด้วยพระพุทธรูปปางสดุ้งมาร ก่อด้วยอิฐ ถือปูนขาว หน้าตักกว้าง ๑ วา เศษ สูง ๒ วาเศษ ประดิษฐานอยู่บนอาสน์ดินสูง ๒ วาเศษ ชาวบ้านเรียกว่า พระศรีธรรมาโศก

สิ่งก่อสร้างภายในวัด ประกอบด้วย

๑. อุโบสถตามแบบ กรมการศาสนา ขนาด ๘.๕๐ X ๒๓ เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก

๒. ศาลาการเปรียญ ทรงไทยประยุกต์ ขนาด ๑๐ X ๒๐ เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก

๓. หอพระไตรปิฏก ขนาด ๑๒ X ๑๒ เมตร สร้างด้วยอิฐถือปูนขาว ๒ ชั้น

๔. หอรูปพระครูกาชาด ขนาด ๓.๗๐ X ๓.๒๐ เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก

๕. กุฏิเจ้าอาวาส ทรงไทยประยุกต์ ขนาด ๒๐.๕ X ๒๒.๒๕ เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก

๖. หอฉัน ตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้น ทรงปั้นหยา ขนาด ๑๓.๗๕ X ๒๘ เมตร

๗. กำแพงวัด คอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๑.๗๐ เมตร

  • ด้านทิศตะวันออกยาว ๑๐๕ เมตร

  • ด้านทิศใต้ ยาว ๗๒ เมตร

๘. กุฏิทรงไทย ๑๐๐ ปี ขนาด ๙.๘๕ X ๑๔ เมตร

กุฏิทรงไทยเป็นอาคารเรือนไทยหลังงามระดับหนึ่งในภาคใต้ หรืออาจติดอันดับต้นของประเทศก็ว่าได้ ลักษณะเป็นหมู่เรือนไทยสร้างด้วยไม้ เป็นเรือฝากระดานแบบเรือนสร้างสับ ๓ หลัง หลังคาหน้าจั่วหันไปทางทิศตะวันออกทั้งหมด เรือนหลังกลางเป็นห้องโถงโล่งและเรือนอีก ๒ หลัง เป็นปีกยกพื้นสูงทั้ง ๒ ข้าง มีฐานที่มีหลังคาคลุมต่อเชื่อมกัน หลังคามุงกระเบื้องไม่เคลือบ ด้านทิศตะวันตกเป็นเรือนครัว ซึ่งได้ย้ายมาประชิดกุฏิภายหลัง ปัจจุบันมีชานเรือนทำด้วยปูนซิเมนต์เชื่อมหมู่กุฏิและเรือนครัวเข้าด้วย กัน ตัวเรือนกุฏิไม้เป็นแบบเรือฝาประกน มีลวดลายแกะสลักไม้ ตกแต่งตามส่วนต่าง ๆ เป็นรูปบุคคล มีปีกประกอบลายพรรณพฤกษา ลายหัวบุคคลมีลำตัวเป็นก้านต้นไม้ กรอบหน้าต่างด้านล่างสลักเป็นลายเครือเถาและลายเรขาคณิต ใต้กุฏิยกพื้นสูงเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี

ประวัติการ อนุรักษ์

๒๕๓๓ คณะกรรมการดำเนินการบูรณะกุฏิทรงไทยมีมติเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๓ ให้ย้ายกุฏิไปตั้งไว้ทางด้านทิศเหนือของวัด

๒๕๓๔ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิทรงไทยทั้งหลังเป็นเงินงบประมาณ ๑,๒๒๔,๔๗๕ บาท ในจำนวนนี้เป็นเงินงบประมาณของกรมศิลปากร ๘๐๐,๐๐๐ บาท และเงินบริจาคของจังหวัดนครศรีธรรมราช ๔๒๔,๔๗๕ บาท บริษัทศิวกรการช่างเป็นผู้ดำเนินการ

๒๕๓๖ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานคณะกรรมาธิการ อนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ มีมติให้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี ๒๕๓๖

๒๕๕๒ สำนักศิลปากรที่ ๑๔ เสนอของบประมาณสำหรับการบูรณะ งบประมาณ ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ลำดับเจ้าอาวาส ครองวัดวังตะวันตก ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ รวมทั้งหลักฐานที่เป็นภาพวาดและภาพถ่ายในงานทำบุญประจำปีอดีตเจ้าอาวาส  มีดังนี้

๑. พระครูกาชาด (ย่อง อินฺทสุวณฺโณ)

๒. พระปลัดเจียม รตโน

๓, พ่อท่านรอด

๔. พระมหาสะอาด สุวรรณนพรัตน์

๕. พระครูประโชติศาสนกิจ ถึง พ.ศ.๒๕๒๕

๖. พระเทพสิริโสภณ พ.ศ.๒๕๒๖ ถึงปัจจุบัน


ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.nakhontourism.org/travel/details.php?imageid=12&sessionid=sp7r0f97h7i6gcrmcofcu8ff84 และhttp://www.panoramio.com/user/3228596/tags/กุฏทรงไทย%20วัดวังตะวันตก%20นครศรีธรรมราช และ http://leklao.blogspot.com/2010/09/blog-post23.html


สะตอฟอร์ยูสะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 9217
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง