สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

ชำแหละ “กล่องดำ” อุปกรณ์บอกเหตุก่อนเครื่องบินตก

by sator4u_team @16 ม.ค. 58 03:01 ( IP : 113...202 ) | Tags : คลังสมอง-น่ารู้-สัพเพเหระ

What is it : กล่องดำ คืออะไร ทำไมใคร ๆ ก็ให้ความสำคัญ?


กล่องดำมี 2 ประเภท คือ


1.) กล่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน (Cockpit Voice Recorder - CVR) รับและบันทึกเสียงจากไมโครโฟนของนักบิน และไมโครโฟนที่แผงอุปกรณ์บนเพดานที่นั่ง ไปเก็บเป็นข้อมูลไว้


2.) กล่องบันทึกข้อมูลทางการบิน (Flight Data Recorder – FDR) จะบันทึกสภาวะต่าง ๆ ในระหว่างการบิน
ซึ่งของทั้ง 2 อย่างนี้แหละ คือ ที่มาของอุปกรณ์ขั้นเทพที่เรียกว่า กล่องดำ


 คำอธิบายภาพ : 201409011317316315


พูดง่ายๆ เลยคือ กล่องดำมันก็เป็นเสมือนฮาร์ดดิสก์อัจฉริยะที่บันทึกข้อมูลที่สำคัญทุกอย่างอัตโนมัติ เพราะมันจะคอยเก็บข้อมูลสำคัญอย่าง เส้นทางการบิน เวลา ระดับความสูง ความเร็ว ทิศทาง รวมไปถึงท่าทางการบิน ว่าตอนนั้นน่ะเครื่องบินเอียงซ้าย หรือเทขวาได้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์โคตรเทพเลยทีเดียว กล่องดำมีความสำคัญรองลงมา หลังจากการค้นหาผู้รอดผู้ชีวิตหลังจากเหตุเครื่องบินตก เพราะมันคืออุปกรณ์เพียงอย่างเดียวที่ทำให้เรารู้ว่า ก่อนที่เครื่องมันจะดิ่งลงสู่พื้นนั้น บนเครื่องมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น และยังช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถจำลองภาพเหตุการณ์ของเที่ยวบิน เพื่อใช้ในกระบวนการสืบค้นและหาสาเหตุการเกิดเครื่องบินตก


 คำอธิบายภาพ : 201409011315202957


Found it : โฉมหน้าค่าตากล่องดำ

ถึงจะชื่อ “กล่องดำ” แต่สีของมันหาใช่สีดำจริงๆ ไม่ ความจริงแล้วกล่องดำมีสีส้ม แถมไม่ใช่ส้มธรรมดาแต่เป็นส้มสดจนเกือบจะเรืองแสงก็ว่าได้ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาไม่ว่าจะไปตกอยู่ซอกไหน ถ้าเห็นวัตถุส้มๆ จะได้รีบกระโจนเข้าไปกู้ได้โดยไว แต่ที่เรียกกล่องดำกันจนคุ้นชินนั้น คาดว่าอาจจะเป็นสภาพของกล่องดำที่ไหม้เกรียมหลังจากเครื่องบินเกิดการเผาไหม้ หรือไม่ก็อาจเป็นการออกแบบกล่องดำในยุคแรกๆ ที่เป็นสีดำสนิทก็ได้ โดยกล่องดำทั้ง 2 กล่องจะติดตั้งอยู่ที่ส่วนแพนหางของเครื่องบิน ซึ่งเป็นจุดที่ว่ากันว่า จะได้รับความเสียหายน้อยที่สุดเมื่อเครื่องเกิดอุบัติเหตุ


 คำอธิบายภาพ : 201409011315213763


Technology : ความสามารถที่มีในกล่องดำ

กล่องดำมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า Underwater Locator Beacon (ULB) หรือปิงเจอร์ (Pinger) เครื่องระบุตำแหน่งสำหรับกรณีที่เกิดอุบัติเหตุในน้ำ มันจะส่งสัญญาณคลื่นความถี่อัลตราโซนิกทันทีเมื่อสัมผัสกับน้ำ เพื่อแจ้งตำแหน่งปัจจุบันไปที่อุปกรณ์ค้นหาสัญญาณ โดยส่งได้ลึกถึง 6,1000 เมตร ภายในรัศมี 2,000 เมตร เป็นเวลานานถึง 30 วัน นอกจากนั้นกล่องดำยังมีความสามารถพิเศษเข้าขั้นถึก เช่น - Crash impact : ทนแรงกระแทกได้ 3,400 เท่า ของน้ำหนักกล่องดำ - Pin drop : ต้านทานการถูกเจาะด้วยเข็มขนาด 6.35 มิลลิเมตร น้ำหนัก 227 กิโลกรัม ด้วยความเร็ว 7.6 เมตร/ วินาที - Static crush : ทนแรงดันได้ถึง 5,000 ปอนด์ - Fire test : ทนไฟได้ถึง 1,100 องศาเซลเซียส ในเวลา 1 ชั่วโมง


 คำอธิบายภาพ : 201409011315224752


Go to the Future : จากอดีตสู่อนาคตของกล่องดำ

กล่องดำเกิดขึ้นเมื่อปี 1950 ซึ่งต้องขอบคุณ ดร.เดวิด วอร์เรน (David Warren) นักวิทยาศาสตร์แห่งห้องปฏิบัติการวิจัยทางอากาศออสเตรเลีย (Aeronautical Research Laboratory) ที่คิดค้นอุปกรณ์นี้ขึ้นเนื่องจากเขาเป็นหนึ่งในทีมผู้สืบสวนการตกของเครื่องบินไอพ่นโคเมต แต่ตอนนั้นหาสาเหตุไม่ได้ โดยได้แรงบันดาลใจจากเครื่องบันทึกเสียงขนาดจิ๋วในงานแสดงสินค้าแห่งหนึ่ง จนถึงปี 1960 หลังเหตุเครื่องบินตกที่รัฐควีนส์แลนด์ ทางการออสเตรเลียออกกฎหมายบังคับใช้กล่องดำกับเครื่องบินทุกลำเป็นประเทศแรก ตามด้วยสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ


กล่องดำถือเป็นอุปกรณ์ที่น่าเชื่อถือที่สุดแล้วในด้านความปลอดภัยทางการบิน เท่าที่มนุษย์จะคิดผลิตและเอาออกมาใช้จริงได้ในขณะนี้ แต่ยังมีปัญหาของเรื่องแบตเตอรี่อายุสั้น แต่หลังจากเหตุการณ์เครื่องบินแอร์ ฟรานซ์ เที่ยวบินที่ 447 ซึ่งใช้เวลาควานหากันถึง 2 ปี และเที่ยวบิน MH370 ของมาเลเซียแอร์ไลน์ที่หายไป ทำให้สำนักงานความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) ออกมาตรการยืดอายุแบตเตอรี่ของกล่องดำจากเดิม 30 วัน ให้กลายเป็น 90 วัน รวมถึงเพิ่มเวลาการบันทึกเสียงในห้องนักบินจาก 2 ชั่วโมง เป็น 20 ชั่วโมงด้วย


นอกจากนั้น มาร์ค โรเซนเกอร์ (Mark Rosenker) อดีตประธานคณะกรรมการความปลอดภัยทางคมนาคมแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NTSB) เรียกร้องให้เชื่อมโยงข้อมูลในกล่องดำเข้าระบบคลาวด์ เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ใช้ข้อมูลได้ทันที จะได้ไม่ต้องไปเสียเวลางมหากันอีกต่อไป
กล่องดำนอกจากจะติดตั้งบนเครื่องบินแล้ว ล่าสุดทางการสหรัฐเอมริกายังได้อนุมัติให้ติดตั้งบนรถยนต์ โดยมีผลบังคับใช้กับรถยนต์ใหม่ทุกคันในเดือนกันยายนนี้ เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และยังหวังให้เทคโนโลยีนี้ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ใช้รถอีกด้วย...คราวนี้ก็ไม่ต้องมายืนเถียงกันแล้วว่าใครถูกใครผิด เพราะกล่องดำที่ติดอยู่ในรถนั่นแหละจะบอกเราเอง


ทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตของเรามากซะจนแทบแยกไม่ออก บางครั้งส่งผลดี แต่บางครั้งถ้าใช้ผิดวิธีมันก็อาจส่งผลร้าย เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ พฤติกรรมในการใช้ชีวิตของเรานั่นเอง





Cr. @ fhm.in.th/What-is-a-Black-Box-article/ , ภาพ @ artician.com, flickr, forums.macrumors.com, independent.co.uk, linkedin.com , “คิด” Creative Thailand ฉบับเดือนสิงหาคม 2557, Wikipedia, teen.mthai.com, vicharkarn.com

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 5588
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง