อุทยานแห่งชาติบางลาง ยะลา
ที่ตั้งและแผนที่
อุทยานแห่งชาติบางลาง
หมู่ที่ 5 ต.ถ้ำทะลุ อ.บันนังสตา จ.ยะลา 95130
โทรศัพท์ : 0 7320 6119 โทรสาร :0 7320 6119
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายสรรเสริญ เทพโอสถ
อุทยานแห่งชาติบางลาง เป็นอุทยานแห่งชาติ ที่เริ่มดำเนินการสำรวจจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 และเป็น 1 ใน 5 ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 และได้รับการประกาดตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 ประกอบด้วยบริเวณที่ดินป่าลาบู-ถ้ำทะลุ และป่าเบตง ในท้องที่ ตำบลถ้ำทะลุ ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา ตำบลแม่หวาด ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต และตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โยเฉพาะป่าเหนือเขื่อนบางลาง ทะเลสาบ เกาะ ตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติทิวทัศน์ที่สวยงาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงต่ำสลับซับซ้อน
อุทยานแห่งชาติบางลาง ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย ท้องที่หมู่ที่ 5 ตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา 95130 มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมดประมาณ 163,125 ไร่ หรือ 261 ตร.กม. แยกพื้นที่ทางน้ำเหนือเขื่อนบางลางประมาณ 31,250 ไร่ หรือ 50 ตร.กม. พื้นที่ทางบกประมาณ 131,875 ไร่ หรือ 211 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโตและอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
สำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี ได้มีหนังสือที่กษ 0714 (ปน)/1020 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2525 ว่าเขตปัตตานีและจังหวัดยะลา ได้ตรวจสอบพื้นที่ในเขตนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดยะลา ที่ได้รับคืนจากกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อกำหนดใหเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2523 แล้วปรากฎว่า พื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 310/2526 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2526 ให้นายสมเกียรติ ม้าแก้ว นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปทำการสำรวจเบื้องต้น ซึ่งได้รับรายงานว่าขณะนี้พื้นที่ดังกล่าวมีเหตุการณ์ไม่ปกติ อยู่ระหว่างการปราบปรามผู้ก่อการร้ายของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร จึงขอระงับการสำรวจไว้ก่อนจนกว่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดีตามหนังสือรายงานที กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 19 เมษายน 2526
ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้มีหนังสือ กษ 0713/15627 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2527 และที่ กษ 0713/530 ลงวันที่ 10 มกราคม 2528 ถึงป่าไม้ปัตตานี ขอทราบสถานการณ์ในพื้นที่ดังกล่าวว่าสามารถเข้าไปทำการสำรวจได้หรือไม่ ซึ่งป่าไม้เขตได้มีหนังสือ กษ 0714 (ปน)/181 ลงวันที่ 28 มกราคม 2528 แจ้งว่า ได้สอบถามไปยังจังหวัดยะลาแล้ว ได้รับรายงานว่าบริเวณพื้นที่ที่ได้รับคืนจากกรามประชาสงเคราะห์ ในขณะนี้สถานการณ์ปกติสามารถเข้าไปทำการสำรวจได้ ตามหนังสือจังวัดยะลา ที่ ยล 0009/1085 ลงวันที่ 21 มกราคม 2528 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 467/2528 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2528 ให้นายอภัย หยงสตาร์ นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นในบริเวณพื้นที่เขตนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ ที่ได้รับคืนจากกรมประชาสงเคราะห์ยังอยู่ในระหว่างการปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา (จ.ค.ม.) ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่สามารถทำการสำรวจได้ ส่วนพื้นที่ป่าเหนือเขื่อนบางลาง และบริเวณใกล้เคียง ในท้องที่อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต และอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีพื้นที่ป่าสมบูรณ์ มีจุดเด่นตามธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์และมีทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติ ได้มีหนังสือที่ กษ 0713/2120 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2528 เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 966/2528 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2528 ให้นายอภัย สตาร์ นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการการจัดตั้งและปรับปรุงพื้นที่เหนือเขื่อนบางลางและบริเวณใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ในจำนวน 5 แห่งของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมาอุทยานแห่งชาติบางลางได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713 (บล)/42 ลงวันที่ 25 เมษายน 2529 แจ้งขอให้รวมพื้นที่วนอุทยานน้ำตกธารโตให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี เนื้อที่ประมาณ 9.25 ตารางกิโลเมตร เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติบางลาง และกรมป่าไม้ได้มีหนังสือด่วนมาก ที่ กษ 0713/3373 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 ถึงป่าไม้เขตปัตตานี ให้โอนวนอุทยานน้ำตกธารโต เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติบางลาง
ปัจุบันอุทยานแห่งชาติบางลาง ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้วประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 163,125 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎากำหนดที่ดินป่าลาบู ป่าถ้ำทะลุ และป่าเบตง ในท้องที่ตำบลถ้ำทะลุ ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา ตำบลแม่หวาด ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต และตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 88 ของประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติบางลางตั้งอยู่ในเขตร้อนบริเวณเส้นละติจูดที่ 5 องศา 49 ลิปดา 20 พิลิปดา เหนือถึง 6 องศา 13 ลิปดา 00 ฟิลิปดาเหนือ และเส้นลองจิจูดที่ 101 องศา 06 ลิปดา 20 ฟิลิปดาตะวันออก 101 องศา 27 ลิปดา 30 ฟิลิปดาตะวันออก มีฤดูกาล 2 ฤดู คือฤดูฝน (พฤษภาคม – มกราคม) และฤดูร้อน (กุมภาพันธ์ – เมษายน) ฝนจะตกชุกใน (พฤศจิกายน – มกราคม) มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้
- ทิศเหนือ ติด อำเภอบันนังสตา ตำบลถ้ำทะลุ ตำบลเขื่อนบางลาง
- ทิศตะวันออก ติด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง
- ทิศใต้ ติด ตำบลยะรม ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง
- ทิศตะวันตก ติด พรมแดนประเทศมาเลเซีย
ขนาดพื้นที่ 163125.00 ไร่
หน่วยงานในพื้นที่ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ บล.1 (บ้านวังไทร) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ บล.2 (น้ำตกฮาลาซะ) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ บล.3 (บ้านจุฬาภรณ์ 10) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ บล.4 (น้ำตกละอองรุ้ง)
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติบางลาง มีสภาพภูมิประเทศหลากหลายส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน สลับกับที่ราบ ซึ่งเป็นทุ่งหญ้า มีทั้งเป็นภูเขาหินปูน หินแกรนิต หินอัคนี และหินกรวดขนาดใหญ่ และเป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ ซึ่งเกิดจากจากการก่อสร้างเขื่อนบางลาง มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 100 – 1,200 เมตร ประกอบด้วยเขาฮาลา เขาลาซะ เขาบูโละ และเขาฮันกุล ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนดินเหนียวมีดินลูกรังเป็นบางส่วน เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำหลายสายไหลมาบรรจบเป็นแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรี ประกอบด้วยคลองและลำห้วยหลายสาย อาทิเช่น คลองชาลี คลองนีโล คลองกาวะ คลองกือนือฮง คลองโต๊ะโมะ คลองฮาลา คลองกาบู และคลองฮาลาซะห์
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติบางลางสภาพอากาศเย็นชุ่มชื้น มีลมมรสุมตะวันออกพัดผ่านทำให้มีฝนตกเกือบตลอดปีระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม จะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน - พฤศจิกายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,200 มิลลิเมตรต่อปี และฤดูร้อน ระหว่างเดือนมกราคม - เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 29 องศาเซลเซียส
พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
สภาพเป็นป่าประเภทป่าดิบชื้นที่มีความชื้นสูงตลอดปี และมีปริมาณน้ำฝนมากเกือบตลอดปี สภาพป่าจึงมีสภาพเป็นป่าทึบ มีไม้นานาชนิดขึ้นอยู่หนาแน่น ตั้งแต่เถาวัลย์จนกระทั่งต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่และสูง 30 -40 เมตร มีพรรณไม้ที่สำคัญและมีค่าหายากขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไม้หลุมพอ ยาง ตะเคียน สยาขาว สมพง ขนุนป่า งิ้ว มะกอกป่า ทัง ตะโก ไม้กล้วย ตีนเป็ด ตีนนก ตะแบก ยางน่อง จิกหว้า นาคบุตร หยีน้ำ ไม้เนียน มะยมป่า ไม้กาลอ นมสาว มะตูมป่า ขี้หนอน มะม่วงป่า ศรียะลาหรือโศกเหลือง เป็นต้น และพันธุ์เฉพาะถิ่นขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ใบไม้สีทอง ปาล์มบังสูรย์ เฟิร์นต้น บัวผุด ปุด กระวาน ดาหลา เป็นต้น
สัตว์ป่า
เนื่องจากสภาพป่าบริเวณอุทยานแห่งชาติบางลางมีความอุดมสมบูรณ์มาก จึงเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า เสือ เลียงผา กระทิง วัวแดง สมเสร็จ กวางป่า เก้ง กระจง หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี เม่น นากใหญ่ขนเรียบ ชะมด พังพอน นกกางเขนดง นกกรงหัวจุก นกโพระดก นกพญาปากกว้าง นกเงือกมีอยู่ 10 ชนิด เช่น นกชนหิน นกเงือกปากดำ นกกาฮัง เต่า กิ้งก่า จิ้งเหลน กบภูเขา และงู เป็นต้น ในบริเวณแหล่งน้ำมีปลาพวงชมพู ปลาสลาด ปลากด และปลาหมูหางแดง
การเดินทาง
จากตัวเมืองยะลา ตามทางหลวงแผ่นดินสายยะลา – เบตง หมายเลข 410 แยกทางขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 56 ไปเส้นทางเข้าน้ำตกประมาณ 150 เมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติบางลางและเข้าไปอีกประมาณ 900 เมตร ถึงน้ำตกที่มีความงามถึง 9 ชั้น ของน้ำตกธารโตสามารถเดินทางโดยรถยนต์ ส่วนตัวหรือรถโดยสารประจำทาง
ข้อมูลการเดินทาง
รถทัวร์ปรับอากาศ กรุงเทพ ฯ – ยะลา – เบตง
รถไฟสายใต้ รถเร็วกรุงเทพ ฯ – ยะลา
รถด่วนพิเศษ กรุงเทพ ฯ – ยะลา
เครื่องบิน กรุงเทพ ฯ – หาดใหญ่ และต่อรถไฟหรือรถประจำทางหรือรถยนต์รับจ้างหาดใหญ่ – ยะลา
รถยนต์ กรุงเทพ ฯ – ยะลา ไปตามถนนเพชรเกษมใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 มุ่งสู่จังหวัดยะลา จากตัวเมืองจังหวัดยะลา ตามทางหลวงแผ่นดินสาย ยะลา – เบตง หมายเลข 410 แยกทางขวาตรงกิโลเมตรที่ 56
การเดินทาง รถยนต์ ยะลาอยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ 1,084 กิโลเมตร ผ่านชุมพร – สุราษฎร์ธานี – นครศรีธรรมราช – สงขลา – ปัตตานี – ยะลา
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยบริการเดินรถกรุงเทพฯ – ยะลา ทุกวัน ทั้งรถด่วนและรถเร็ว
รถโดยสารประจำทาง มีรถปรับอากาศของขนส่งและเอกชนบริการ
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1089
Relate topics
- ตลาดปล่อยของ จ.ภูเก็ตตลาดนัดสุดบรรเจิดท่ามกลางบรรยากาศกลางแจ้งแบบสบาย ๆ ใน Limelight Avenue ใจกลางเมืองภูเก็ต ที่มีพื้นที่สำหรับปลดปล่อยสินค้าไอเดีย โดยภายในตลาดจะมีพ่อค้าแม่ขายมาวางของแฮนด์เมดดีไซน์เก๋ ๆ แฟชั่นแนว ๆ อาทิ
- 20 สถานที่ท่องเที่ยว "พังงา" ที่ชาตินี้ต้องไปเยือนให้ได้!!!แร่หมื่นล้านบ้านกลางน้ำถ้ำงามตา ภูพาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร
- เจดีย์ปะการัง โบราณสถานเก่าแก่ของเมืองขนอม เชื่อกันว่ามีอายุมากกว่า 1000 ปีเจดีย์ปะการัง โบราณสถานเก่าแก่ของเมืองขนอม เชื่อกันว่ามีอายุมากกว่า 1000 ปี ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาธาตุ ในวัดจันทน์ธาตุทาราม เจดีย์เป็นรูปโอคว่ำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เมตร สร้างขึ้นโดยนำหินปะการั
- มารู้จัก "โลมาสีชมพู" พระเอกแห่งท้องทะเลขนอม จ.นครศรีธรรมราช กันเถอะ! ก่อนอื่น! ลองมาทำความรู้จัก "ขนอม ...อัญมณีแห่งอ่าวไทย" กันสักฮี
- เจดีย์ไตรภพไตรมงคล หรือ เจดีย์สเตนเลสส์ ตั้งสถิตโดดเด่นเป็นสง่า อยู่บนยอดเขาคอหงส์เจดีย์ไตรภพไตรมงคล หรือเจดีย์สเตนเลสส์ อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำด้วยวัสดุสเตนเลสส์ ตั้งสถิตโดดเด่นเป็นสง่า อยู่บนยอดเขาคอหงส์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านในไร่ ถนนปุณณกัณฑ์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหว
- เกาะรอก แม้จะเป็นเพียงเกาะเล็กๆ คู่กันสองเกาะ แต่มีธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่นักเกาะรอก ไกลจากเกาะลันตาใหญ่ออกสู่ทะเลกว้างอีก 47 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเกาะรอก แม้จะเป็นเพียงเกาะเล็กๆ คู่กันสองเกาะ แต่มีธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่นัก เป็นเจ้าของหาดทรายขาว น้ำทะเลสีมรกต มีปะการังฝูงปลาหลา
- เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล"เกาะหลีเป๊ะ (Koh Lipe)" เป็นหนึ่งในหลายๆ เกาะของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ซึ่ง หลีเป๊ะ จะตั้งอยู่สุดเขตแดนใต้ อยู่ในกลุ่มของหมู่เกาะอาดัง - ราวี และอยู่ห่างจาก ท่าเรือปากบารา 62 กิโลเมตร ตัวเกาะเ
- เที่ยวบากันใหญ่-หัวทาง กลางมรสุมอันดามันเที่ยวบากันใหญ่-หัวทาง กลางมรสุมอันดามัน (อ.ส.ท.) จริยา ชูช่วย...เรื่อง นภดล กันบัว...ภาพ “ไปทำไมอันดามันหน้ามรสุม” ปลายเดือนมิถุนายนไม่ใช่ฤดูกาลท่องเที่ยวของฝั่งอันดามันเป็นแน่ เกาะตะรุเตา เกา
- วิทยาลัยชุมชนสงขลา จัดกิจกรรมทดลองการนำเที่ยวเชิงนิเวศตำบลบ้านขาว อ.ระโนด นำร่อง การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน “อเมซอนแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา”วิทยาลัยชุมชนสงขลา จัดกิจกรรมทดลองการนำเที่ยวเชิงนิเวศตำบลบ้านขาว อ.ระโนด นำร่อง การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน “อเมซอนแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” ที่จุดลงเรือ ตำบลบ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา วิทยาลัยชุ
- เขาไข่นุ้ย ...จุดชมทะเลหมอกของพังงา อะเมซิ่งทะเลหมอกสุดเจ๋งเขาไข่นุ้ย ตั้งอยู่ที่ บ้านฝายท่า ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดยทางอบต.ทุ่งมะพร้าวมีโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้วยการปรับพื้นที่ จัดแต่งภูมิทัศน์ให้เหมาะสม ปรับแต่งลานการเต็นท์ จัดสร้างห้องน