วิธีชาร์จแบตที่ถูกต้องของจริงครับ
เคล็ดลับที่หลายคนไม่รู้ เกี่ยวกับการชาร์จไฟและถนอมแบตเตอรี่ "มือถือ/แท๊บเลท" อย่างถูกวิธี
เรามาทำความรู้จักกับแบตเตอรี่ในมือถือและแท๊บเลทกันก่อน
โดยแบตเตอรี่ในมือถือและแท๊บเลทส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นจะเป็นแบบ Li-ion และ Li-Polymer ทั้งสองแบบมีลักษณะการทำงานในลักษณะ "นับรอบการชาร์จ(Cycle)" แต่ไม่ได้นับเป็นจำนวนครั้ง โดยแรงดันในการชาร์จจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับก็คือ 1C หมายถึง การชาร์จ ณ ระดับพลังงานแบตเตอรี่ มากกว่า 65-70% , 2C หมายถึง การชาร์จ ณ ระดับพลังงานแบตเตอรี่ 35-60% และ 3C หมายถึงการชาร์จ ณ ระดับพลังงานต่ำกว่า 30% (เดี๋ยวค่อยไปดูกันว่าควรชาร์จช่วงไหน)
ไม่เหมือนกับแบตในสมัยก่อนจำพวก Ni-Cad ที่จะนับเป็นจำนวนครั้งในการชาร์จเลย ดังที่เราจะได้ยินกันบ่อยๆว่า "ซื้อไปแล้วต้องชาร์จทิ้งไว้ 12-14 ชั่วโมง พอเต็มแล้วก็ใช้ให้หมดเกลี้ยงด้วย" เนื่องด้วยความที่มันนับเป็นจำนวนครั้ง ดังนั้นยิ่งชาร์จบ่อยๆ Cycle มันก็จะเยอะ แบตก็จะเสื่อมเร็วตามมา เอาให้เข้าใจคร่าวๆกันประมาณนี้ คงไม่เจาะลึกลงไปถึงชั้นวัตถุดิบในการทำ
แต่ไม่ว่าจะเป็นแบตชนิดใดในโลก ถึงแม้จะปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานประมาณ 3-5 ปี ก็ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (ตามคุณภาพแบต) อันเนื่องมาจากแบตมันปล่อยประจุตัวเองออกจนหมด และสารเคมีในแบตเสื่อมประสิทธิภาพ แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีมันก็จะยิ่งเสื่อมเร็วขึ้นไปอีกนั่นเอง ^^
วิธีที่จะทำให้แบตไม่เสื่อมเร็ว
เมื่อพวกเราได้รู้จักกับแบตเตอรี่ชนิดต่างๆกันไปแล้ว ต่อไปเรามาดูกันว่าเราจะถนอมแบตและชาร์จแบตอย่างไรให้อย่างไรให้ถูกวิธีกันดีกว่า(จะบอกเฉพาะแบตเตอรี่ชนิด Li-ion และ Li-Polymer เท่านั้น เพราะเป็นแบตที่ใช้กันอยู่ในมือถือและแท๊บเลทในปัจจุบันอยู่แล้ว)
1.) ควรชาร์จไฟก็ต่อเมื่อระดับแบตเต อรี่อยู่ที่ 65-70%(1C) จะดีที่สุด แต่การใช้งานจริงคงจะได้ระดับ 35-60%(2C) ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่พอรับได้ ซึ่งจากผลการทดสอบจากต่างประเทศได้ ระบุว่า หากชาร์จแบตเตอรี่ที่ระดับ 3C จะสามารถชาร์จได้ประมาณ 300 รอบ(Cycle) แต่หากเราชาร์จที่ระดับ 1C และ 2C จะสามารถชาร์จได้มากกว่า 400-500 รอบ (Cycle) "ดังนั้นไม่ควรชาร์จในขณะที่แบตต่ำกว่า 30% นั่นเอง เพราะมันจะเสื่อมเร็ว"
2.) จะชาร์จเมื่อไรก็ชาร์จไป (ตามข้อที่ 1) แต่ห้ามใช้แบตจนหมดเกลี้ยงในระดับเปิดเครื่องไม่ติด (แบตเหลือ 0%) โดยเด็ดขาดเพราะแบตมันจะพังไวมาก!!
3.) ถ้าหากไม่ได้ใช้มือถือเป็นเวลานาน และแบตเตอรี่สามารถถอดออกมาได้ ควรถอดแบตเตอรี่เก็บไว้ในขณะที่มีประจุประมาณ 40% และควรที่จะเก็บเอาไว้ในที่เย็น และไม่มีความชื้นครับ โดยค่า 40% นั้นเป็นตัวเลขที่มาจากห้องทดลองเลยทีเดียว
4.) มือถือและแท๊บเลทในปัจจุบันนั้น มีระบบตัดไฟเมื่อชาร์จแบตจนเต็ม 100% และมันจะต่อไฟตรงเหมือนกับที่เราเห็นมันขึ้นเป็นรูปสายไฟแทนฟ้าผ่านั่นแหละ แต่ถ้าหากแบตมันลดลงเพียง 1% มันก็จะชาร์จใหม่ ดังจะเห็นว่าไม่ว่าเราจะเล่นเกมส์หนักหน่วงขนาดไหนในขณะที่ชาร์จมันก็จะเต็มตลอด (ไม่เหมือนโน๊ตบุ๊คที่จะตัดไฟเมื่อแบตเต็ม และชาร์จใหม่เมื่อแบตลดลงเหลือ 90%) ซึ่งจะทำให้เราสูญเสียรอบการชาร์จไปโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่อเราชาร์จเสร็จก็ควรถอดปลั๊กเพื่อนำมาใช้งาน และเมื่อถึงระดับ 35-70% ค่อยนำกลับไปชาร์จใหม่จะดีที่สุด
5.) ควรใช้ที่ชาร์จที่มีคุณภาพ และหลีกเลี่ยงที่ชาร์จปลอมเพราะอาจจะทำให้จ่ายไฟไม่นิ่งได้ และสิ่งที่หลายคนนั้นมองข้ามไปนั่นก็คือ สายไฟที่เราใช้ชาร์จนั่นเอง ก็ควรที่จะเป็นสายที่มีคุณภาพในการนำไฟฟ้าได้ดีในระดับหนึ่งเหมือนกัน (เช่นสาย micro-USB ของ Nokia ที่ทั้งถึก ทน และไม่เคยมีปัญหาการใช้งานเลย)
6.) หลีกเลี่ยงการทำแบตเตอรี่ตกพื้น เพราะอาจจะทำให้สารเคมีในแบตรั่วไหล หรือขั้วแบตอาจจะหลุดออกมาก็เป็นได้ ซึ่งจะส่งผลให้จ่ายไฟไม่นิ่ง และการใช้งานกับตัวเครื่องมือถือหรือแท๊บเลทมีปัญหาได้
7.) เวลาชาร์จควรเสียบที่ชาร์จกับปลั๊กไฟก่อน แล้วค่อยเอาหัวชาร์จมาเสียบกับมือถือ/แท๊บเลทอีกทีเพื่อป้องกันไฟกระชาก
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ต้องไปซีเรียสมาก อุปกรณ์เหล่านี้มันเกิดมาเพื่อให้ชีวิตเราสะดวกสบายขึ้น ไม่ใช่มาเป็นภาระของเรา ส่วนตัวแล้วถ้าไม่ลืมก็พยายามทำ แต่ถ้าลืมก็ปล่อยมันไปเถอะ ไม่ต้องซีเรียส ยังไงวันนึงมันก็จากเราไปอยู่ดี เพียงแค่ถ้ารู้วิธีหน่อยมันก็จะอยู่กับเรานานขึ้นเท่านั้นเอง ^^
Cr. @ ฟาร์มดี (ฟาร์มไส้เดือนของคนพิการ) , PANTIP.COM
Relate topics
- ประเพญีสงกรานต์เมืองปักษ์ใต้หากปีใดเป็นปีที่มีเดือนแปด 2 ครั้ง ให้ถือว่าวันว่าง (วันเนา) มีสองวัน ดังนั้น วันที่ 13 เมษายน จึงเป็นวันมหาสงกรานต์หรือวันส่งเจ้าเมืองเก่า วันที่ 14 - 15 เมษายน เป็นวันว่าง และวันที่ 16 เมษายน เป็
- ชะงัด!!! ถอนพิษตะขาบและแมงป่อง สุดยอดภูมิปัญญาไทยโบราณตะขาบ (centipede) จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นสัตว์กินเนื้อที่ชอบออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมักหลบตามกองไม้ เศษใบไม้หรือตามเศษปะรักหักพังต่างๆ เหยื่อที่เป็นอาหารจะเ
- พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 "คุก 3 เดือน - ปรับ 100,000 จริงหรือ ?"ปรับ 10,000 – 100,000 บาท แต่หากการกระทำเพื่อการค้า จำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หัวใจหลักของกฎหมายลิขสิทธิ์อยู่ที่การห้ามทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพ
- 35 เรื่อง "ทุเรียน" ที่อยากให้คุณได้รู้ !!!“ ทุเรียน ” ได้รับขนานนามว่า “King of Fruits" หรือ “ราชาแห่งผลไม้” ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ชื่นชอบของไทยและเทศ เพราะมากมายด้วยประโ
- 10 เหตุผล! ทำไมราคายางพาราจึงตกจาก 180 ถึง 40 บาท ?? อ่อๆ มันเป็นพันนี้นี่เอง !!!ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ราคายางไทยเคยแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ด้วยราคา 174.44 บาทต่อกิโลกรัม แต่หลังจากนั้นกลับมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จนกระทั่งเดือนสิงหาคม 2557 ราคายางดิ่งลงเหลือ 53.63 บาทต่อกิโล
- โรคเมอร์ส (MERS) Middle East Respiratory syndromeโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) หรือ โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนา (Coronavirus) ที่มีการศึกษาและรู้จักมายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เป็นตระกูลไวรัสที
- “ทุเรียน” ที่ได้รับขนานนามว่า “King of fruits" หรือ “ราชาแห่งผลไม้” มีดีกว่าที่คิด!!!เมืองไทยของเราไม่ว่าจะฤดูกาลไหน ก็มีของอร่อยๆ มาให้รับประทานกันได้ไม่ขาดปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทุเรียน” ที่ได้รับขนานนามว่า “King of fruits" หรือ “ราชาแห่งผลไม้” เป็นที่นิยมของคนไทยตลอดกาลเลยทีเดียว
- โอ้ววแม่จ้าว! สูงที่สุดในโลก! "น้ำตกนางฟ้า" แห่งเวเนซูเอลา สูงกว่าไนแองการา 18 เท่า!!!เชื่อกันว่า น้ำที่ไหลลงมาจาก "น้ำตกนางฟ้า" แห่งนี้ จะไม่สามารถตกถึงพื้นได้ ด้วยเพราะความสูงของน้ำตกที่มีมากจนทำให้น้ำที่ตกลงมานั้นกลายเป็นหมอกไปซะก่อน จึงทำให้พื้นที่บริเวณป่าโดยรอบน้ำตกแห่งนี้ ถู
- มารู้จัก! TYPHOON เรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากรัสเซียกันเรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกลำนี้ที่ชื่อว่า Typhoon หรือ The Project 941 ในภาษารัสเซียเรียกว่า Akula ซึ่งแปลว่าฉลามครับ เรือดำน้ำใด้ฝุ่นนี้เป็นเรือดำน้ำติดขีปนาวุธพลังงานนิวเคลียร์ ที่ถูกสร้างขึ้
- ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไรเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ผู้นำ (Leader) เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งต่อความสำเร็จขององค์การทั้งนี้ เพราะผู้นำมีภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบโดยตรงที่จะต้องวางแผนสั่งการดูแล และควบคุมให้บุคลากรขององ