สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: ตรัง ::: เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ประการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา

ท่องตรัง นั่งตุ๊กตุ๊กหัวกบ

by sator4u_team @21 มี.ค. 55 14:49 ( IP : 182...91 ) | Tags : ท่องเที่ยวและกิจกรรม
photo  , 640x480 pixel , 59,708 bytes.

ท่องตรังนั่งรถตุ๊กตุ๊กกบ นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในอำเภอเมือง ตรัง โดยใช้บริการรถตุ๊กตุ๊กหัวกบ ซึ่งเป็นรถโดยสารสาธารณะของจังหวัด โดยมีเส้นทางบริการ 3 เส้นทาง คือ

เส้นทางที่ 1 แวะแหล่งท่องเที่ยว 17 จุด ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง อัตราเหมาบริการตลอดเส้นทาง ราคา 600 บาท ได้แก่

1.แม่น้ำตรังที่บ้านท่าจีน 2.วัดท่าจีน 3.ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย 4.วัดตันตยาภิรม พระอารามหลวง 5.สวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ 95 6. โบสถ์คริสตจักร 7. อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) 8. สระกะพังสุรินทร์ 9. ตึกชิโนโปรตุกีส 10. สถานีรถไฟ 11. โรงยางพารา 12. ศาลเจ้าท่ามกงเยี้ย 13.หอนาฬิกา / ลานวัฒนธรรม / ศูนย์กลางจำหน่าย OTOP จังหวัดตรัง / ศาลากลางจังหวัดตรัง 14. บ้านนายชวน หลีกภัย 15. หอสมุด และ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง 16. วัดมัชฌิมภูมิ (วัดหน้าเขา) 17. ศาลเจ้าเปากง

เส้นทางที่ 2 แวะแหล่งท่องเที่ยว 9 จุด ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง อัตราเหมาบริการ ราคา 400 บาท ได้แก่

1.โบสถ์คริสต์จักร 2. ตึกชิโนโปรตุกีส 3. สถานีรถไฟ 4. หอนาฬิกา / ลานวัฒนธรรม / ศูนย์กลางจำหน่าย OTOP จังหวัดตรัง / ศาลากลางจังหวัดตรัง 5. บ้านนายชวน หลีกภัย 6. อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) 7.ศาลเจ้าทามกงเยี้ย 8.วัดมัชฌิมภูมิ (วัดหน้าเขา) 9. สวนสาธารณสมเด็จพระศรีนครินทร์ 95

เส้นทางที่ 3 แวะแหล่งท่องเที่ยว 5 จุด ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง อัตราเหมาบริการ ราคา 200 บาท ได้แก่

1.โบสถ์คริสตจักร 2. ตึกชิโนโปรตุกีส 3. สถานีรถไฟตรัง 4. หอนาฬิกา / ลานวัฒนธรรม / ศูนย์กลางจำหน่าย OTOP จังหวัดตรัง / ศาลากลางจังหวัดตรัง 5. บ้านนายชวน หลีกภัย

ติดต่อสอบถามที่

  • งานส่งเสริมการท่องเที่ยวเทศบาลนครตรัง อาคารเอนกประสงค์เทศบาลนครตรัง (ในเวลาราชการ) โทร 0-7521-8071 ต่อ 1164
  • ชมรมรถสามล้อเครื่องจังหวัดตรัง คุณยี่เค้ง วงศ์สัมพันธ์ โทร 0-7521-0903, 0 1090 952
  • สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง โทร 0-7521-5580
  • ททท. สำนักงานตรัง 199/2 ถนนวิเศษกุล อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000 โทรศัพท์. 0 7521 5867-8 โทรสาร. 0 7521 5868 อีเมลล์ : tattrang@tat.or.th

ท่องตรังนั่งรถตุ๊กตุ๊กหัวกบกันแล้ว....เราก็มาทำความรู้จักประวัติของรถตุ๊กตุ๊ก กันหน่อยดีกว่า

เมื่อเอ่ยถึง "รถตุ๊กตุ๊ก" ในความรู้สึกของคนทั่ว ๆ ไปแล้ว ก็มักจะนึกถึง "รถตุ๊กตุ๊ก" ในกรุงเทพฯ แต่สำหรับที่เมือง ตรังจะเรียกกันว่า"รถสามล้อ" หรือเรียกกันตามรูปร่าง ของมันว่า "รถหัวกบ" โดยในส่วนหน้าคนขับ กับผู้โดยสาร จะนั่งคู่กันได้แค่เพียง ๒ คน และรถชนิดนี้ จะใช้พวงมาลัย เหมือนกับรถยนต์ทั่วไป ทำให้แตกต่างจาก "รถตุ๊กตุ๊ก" ของกรุงเทพฯ หรือที่อื่นๆ จนขณะนี้เหลือเพียงแห่งเดียว ในประเทศไทย "รถสามล้อ" เมืองตรังนั้น ได้รับอิทธิพล มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเป็นสินค้าที่ นำเข้ามา จากบริษัทไดฮัทสุ จำกัด

อย่างไรก็ตาม "รถสามล้อ" ที่เราได้เห็นรูปร่างตามแบบในปัจจุบันนี้ ได้ผ่านการพัฒนากันมาเป็นจำนวน ๓ ช่วงด้วยกัน โดยเฉพาะการปรับเครื่องยนต์ จากเดิมสูบเดียวมาเป็นเครื่องยนต์ ๒ สูบ เพราะวิ่งได้เร็วกว่า เสียงเบา ไม่มีควัน แต่เปลือง น้ำมัน ทำให้สามารถเพิ่มรอบในการรับผู้โดยสารได้มากขึ้น หากจะนับจำนวน "รถสามล้อ" เมืองตรังที่ขับกันทั่วเมือง จากข้อมูลของสำนักงานขนส่งจังหวัดพบว่ามีอยู่ประมาณ ๖๖๔ คัน แต่ปัจจุบันที่ยังเห็นๆ กันอยู่ก็เหลือประมาณ ๕๐๐ คัน ทั้งนี้ ป้ายข้างจะมีลักษณะแปลกคือเป็นตัวอักษร ๑ ตัว และตัวเลข ๓ ตัว อยู่ทางด้านซ้ายของรถ เป็นตัวเลขที่ทำขึ้นนอกเหนือจาก ป้ายทะ เบียนรถ เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถที่จะจำรถคันนั้นได้ง่ายขึ้น และเพื่อเป็นการป้องกัน ความปลอดภัย หากเกิดเหตุร้าย ขึ้นมา ปัญหาที่ทำให้ "รถสามล้อ" ค่อยๆ เหลือน้อยลง นอกจากจะมีปัญหาเรื่องของความนิยมที่ ลดน้อยถอยลง เพราะรถ จักรยานยนต์รับจ้างเข้ามาแทนที่แล้ว ยังประสบปัญหาในการซ่อมแซมเพราะอะไหล่หายากและมีราคาแพง นอกจากนั้น ก็ยังจะมีความยุ่งยากในการขึ้นทะเบียนรถเป็นอย่างมาก เพราะเจ้าของรถถอดใส้ ในท่อพักออกเพื่อ ให้รถวิ่งดีแต่มีปัญหา เสียงดังมาก ขณะเดียวกันการที่น้ำมันมีราคาแพงก็ทำให้ต้นทุนสูงมากขึ้น ที่สำคัญก็คือรถรุ่นนี้ ไม่มีการผลิตอีกแล้ว คันใดพังไปก็เท่ากับจบสิ้นไปเลย

นายอานนท์ กรณีย์ อายุ ๔๓ ปี เล่าว่า เมื่อ ๑๐ ปีก่อนนั้นมีรายได้จากอาชีพนี้ประมาณวันละ ๒๐๐–๓๐๐ บาท แต่ปัจจุบันยอมรับว่าทั้งค่าน้ำมันที่เพิ่มประกอบกับจำนวนผู้โดยสารที่ลดน้อยลง เนื่องจากขณะนี้มี รถจักรยานยนต์ รับจ้าง มากขึ้น ถึง ๑,๐๐๐ กว่าคัน ทำให้รายได้ลดลงอย่างมากจนบางวันเหลือเพียงแค่ ๗๐–๘๐ บาทเท่านั้น และเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วแทบจะไม่เหลืออะไรเลย แต่ตนก็ยังคงทำต่อไปเพราะรักในอาชีพนี้ ส่วนนายธาดา รักษศรี อายุ ๕๑ ปี เล่าว่า ยึดอาชีพขับ "รถสามล้อ" รับจ้างมากว่า ๓๐ ปีแล้ว และเห็นว่าผู้ประกอบอาชีพนี้เริ่มจะลดน้อยถอยลงทุกวัน เนื่องจากมีรายได้ ที่ไม่เพียงพอ จุนเจือครอบครัว แต่ตนก็เป็นผู้หนึ่งที่ยังต้องการอนุรักษ์รถชนิดนี้ให้เหลืออยู่ เข้าใจว่าประชาชนในจังหวัดตรัง เริ่มมีรถส่วนตัว กันมากขึ้น รวมทั้งรถจักรยานยนต์รับจ้างที่มีจำนวนมาก จึงอยากให้ประชาชนสนใจมาใช้บริการเหมือนเมื่อครั้งในอดีต ซึ่งก็จะทำให้เมืองตรังมี "รถสามล้อ" เป็นสัญลักษณ์ และยังทำให้มีจุดเด่นในการท่องเที่ยวด้วย นางสาวสุขฤดี ตะเส็น อายุ ๓๖ ปี ผู้โดยสารรายหนึ่ง กล่าวว่า ใช้บริการ "รถสามล้อ" มาเป็นระยะเวลา ๑๐ ปีแล้ว มีความปลอดภัยสูง อีกทั้งเมื่อฝนตก แดดออก ก็ยังปลอดภัยกว่ารถโดยสารชนิดอื่น ส่วนค่าบริการแม้จะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ราคา ๕ บาท ราคา ๑๐ บาท มาจนถึง ขณะนี้ ราคา ๑๕ บาท แต่เข้าใจว่าค่าน้ำมันราคาแพงขึ้นและราคานี้ก็มิได้ถือว่าสูงจนเกินไป และยังคงยังยืนยันที่จะใช้บริการ "รถสามล้อ" อีกต่อไป แม้ "รถสามล้อ" เมืองตรังในยุคปัจจุบันจะมีความนิยมน้อยลง เนื่องจากผู้คนหันไปนิยมของใหม่อย่าง รถรับจ้างประเภทอื่นๆ ซึ่งอาจจะสืบเนื่องมาจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการต้องการความคล่องตัว ในการทำงาน ท่ามกลางภาวะที่แข่งขันกัน แต่ชาวตรังหลายคนก็ยังเชื่อว่า"รถสามล้อ"ยังคงไม่สูญหาย และมีผู้สืบสาน เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรังอีกต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : tuktukc03.tripod.com และ www.mochit.com


สะตอฟอร์ยูสะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook

Relate topics

Comment #1
กิตติภพ เพชรรัตน์ (Not Member)
Posted @28 มี.ค. 55 21:14 ip : 124...247

อยากให้แนะนำสภานที่ท่องเที่ยวทางทะะล น้ำตก และแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดตร้งด้วยครับ....

แสดงความคิดเห็น

« 6525
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง