สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: ระนอง ::: คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง

วิคตอเรียพอยท์ หรือเกาะสอง, ระนอง

by sator4u_team @20 มี.ค. 55 17:23 ( IP : 113...157 ) | Tags : ท่องเที่ยวและกิจกรรม
photo  , 640x480 pixel , 51,797 bytes.

วิคตอเรียพอยท์ หรือเกาะสอง  เป็นดินแดนในฝั่งสหภาพพม่า ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับประเทศไทย โดยมีแม่น้ำกระบุรีกั้นขวางตรงตัวจังหวัดระนองพอดี นักท่องเที่ยวที่ต้องการไปชมหรือซื้อสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เช่น พลอย เครื่องหวาย เครื่องเขินพม่า เครื่องประดับทำจากเปลือกหอยและงาช้าง ฯลฯ สามารถเช่าเรือหางยาวจากท่าสะพานปลาในอัตราลำละ 200-300 บาท ใช้เวลาข้ามฟากประมาณ 20 นาที อนุญาตให้ข้ามไปเที่ยวได้เฉพาะคนไทยเท่านั้น แต่ต้องทำบัตรผ่านแดนก่อน โดยติดต่อด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระนอง ถนนสะพานปลา โทร. 0 7782 2016, 0 7781 2331 โทรสาร 0 7782 1216

เราสามารถนั่งเรือโดยสารออกจากท่าเรือสะพานปลา  อำเภอเมือง  จังหวัดระนอง  ประมาณ 45 นาทีก็ถึงจุดหมายปลายทางที่เกาะสอง[Kawthaung] ซึ่งชาวต่างชาติรู้จักกันในชื่อวิคตอเรียพอยต์  จังหวัดหนึ่งของมณฑลตะนาวศรีหรือตะนิ้นตายีดิวิชั่น[Tanintharyi Division] สหภาพเมียนม่าร์
ทุกวันนี้เกาะสองเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่ง      บนเส้นทางการท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง  นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางข้ามแดนจากระนองได้ 2 วิธี  คือทำบัตรผ่านแดน ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ตั้งอยู่บริเวณท่าเรือ  วิธีนี้จะอยู่เกาะสองได้ไม่เกิน 7 วัน  ออกไปเที่ยวได้ไม่ไกลไปกว่า 5 ไมล์จากตัวเมือง  อีกวิธีคือขอวีซ่าจากสถานฑูตพม่าที่กรุงเทพฯ    ซึ่งสามารถไปเที่ยวได้ทั่วประเทศ  ในข้อแม้ว่าต้องเป็นสถานที่ซึ่งทางการพม่าเปิดให้เข้าได้เท่านั้น นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่มาเกาะสองแบบไปกลับเพื่อซื้อหาสินค้าพื้นเมืองที่วางขายในตลาดใกล้ท่าเรือ หรือไปไหว้พระและชมอนุสาวรีย์บุเรงนองซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาอันเป็นจุดที่สามารถชมวิวเกาะสองจากมุมสูง  ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ  มักจะเลยไปเที่ยวตามเกาะต่างๆของพม่า  โดยผ่านทางบริษัทท่องเที่ยวบรรยากาศเกาะสองอวลไปด้วยกลิ่นอายพม่า    โดยเฉพาะบริเวณตลาดและท่าเรือซึ่งจอแจไปด้วยผู้คนและสินค้า
ก้าวแรกที่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง  สิ่งที่ต้องเจอคือ กลุ่มผู้ชายชาวพม่าที่กรูเข้ามาเสนอบริการนำเที่ยวสถานที่ต่างๆไม่มีอะไรเลวร้ายหรืออันตรายนอกจากความน่ารำคาญ  บางคนเดินตามตื๊อไม่ยอมเลิกราแม้จะถูกปฏิเสธหรือถึงขั้นออกปากไล่ตรงๆก็ตาม  ผู้ที่เข้ามาเสนอบริการมักจะเป็นคนที่พูดภาษาไทยได้  เพราะมีหลายคนที่เคยผ่านการทำงานจากเมืองไทย นักท่องเที่ยวที่เพิ่งรู้จักเกาะสอง  กำลังตื่นกับบรรยากาศแบบพม่าๆ หูกำลัง งง ๆ กับภาษาที่ไม่คุ้นเคย  อาจหลงพยักหน้าให้ไกด์เหล่านี้นำทางไปซื้อของ ไปไหว้พระ ไปกินข้าว  แล้วก็เสียสตางค์ไปตามระเบียบ แต่อย่างที่บอก...ไม่มีอะไรมากกว่าความน่ารำคาญ และที่เกาะสองไม่จำเป็นต้องมีคนนำเที่ยวก็ได้ผู้ที่เคยมา  จะรู้ว่าเพียงแค่เดินลึกเข้าไปในตลาดก็จะพบแหล่งซื้อของและรถเครื่องรับจ้าง  ซึ่งหลายคนสามารถใช้ภาษาไทย  อย่าใจร้อน ชวนพูดคุยต่อรองใจเย็นๆ  ก็จะไปไหนมาไหนในเกาะสองได้ด้วยราคายุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย

เมื่อมาถึงเกาะสอง  ก็สามารถเดินทางไปเยือนมะลิวัลย์  ตำบลหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเกาะสอง ประเทศพม่า  ตามข้อมูลที่ได้มาจากคนไทยพลัดถิ่นในจังหวัดระนอง  ว่ามะลิวัลย์ยังมีคนไทยอยู่อาศัยและยังมีวัดไทยตั้งอยู่  ทั้งเป็นสถานที่ซึ่งน่าจะไปได้ง่าย  หากเทียบกับเมืองอื่นๆที่ยังมีคนไทยอาศัยอยู่ เช่น ตะนาวศรี  สิงขร  ปกเปี้ยน ลังเคี๊ยะ  ด้วยว่าทางการพม่าไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าไปในเมืองเหล่านี้

คนไทยพลัดถิ่นที่กล่าวถึง  คือคนไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี  ดินแดนซึ่งเคยเป็นของไทยมาก่อน  ในยุคที่นักล่าอาณานิคมจากยุโรปเข้ามารุกรานทวีปเอเชีย
เพื่อตักตวงทรัพยากรอันมั่งคั่งในประเทศแถบนี้ไปหล่อเลี้ยงประเทศตนเอง  จนมาถึงเอเชียอาคเนย์ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่รายรอบบ้านเมืองเราล้วนตกเป็นเมืองขึ้นของนักล่าอาณานิคม  สยามประเทศจึงถูกกดดันบีบรัดรอบด้านกระทั่งจำต้องเสียดินแดนบางส่วนเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้

ในการปักปันดินแดนระหว่างสยามกับอังกฤษซึ่งปกครองพม่าอยู่ในขณะนั้น  เริ่มขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2408 – 2410  โดยเขตปักปันนั้นไล่มาตั้งแต่เขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน  จนถึงจังหวัดระนอง  การปักปันเขตแดนครั้งนั้น  ส่งผลให้ดินแดนทะวาย มะริด ตะนาวศรีต้องตกอยู่ในเขตประเทศพม่าซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษอยู่ในเวลานั้น
คนไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตปักปัน  จึงต้องกลายเป็นพลเมืองชั้นสองของพม่าไปโดยปริยาย  และอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวมาก่อน  หลังเผชิญกับปัญหาและภาวะกดดันในแผ่นดินที่ไม่ใช่ของตนอีกต่อไป  คนไทยส่วนหนึ่งจึงทยอยข้ามพรมแดนกลับมาอาศัยในแผ่นดินมาตุภูมิ

ทว่าปัจจุบัน ยังมีคนไทยอีกมากที่อยู่ในแผ่นดินพม่าตราบถึงทุกวันนี้


ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=117378  และ http://www.thai-tour.com/thai-tour/south/ranong/data/place/pic-koh-song.htm


สะตอฟอร์ยูสะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 6525
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง