สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: ชุมพร ::: ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ชึ้นชื่อรังนก

แหล่งโบราณคดี ชุมชนโบราณเขาสามแก้ว

by sator4u_team @20 มี.ค. 55 16:34 ( IP : 113...157 ) | Tags : ท่องเที่ยวและกิจกรรม
  • photo  , 640x480 pixel , 89,441 bytes.
  • photo  , 640x480 pixel , 56,513 bytes.

สถานที่ตั้ง หมู่ ๑ บ้านสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

ประวัติความเป็นมา

ชุมชนโบราณเขาสามแก้ว ตั้งอยู่ที่ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ ๑,๕๐๐ ปี และน่าจะเป็นเมืองร่วมสมัยกับนครศรีธรรมราช ที่ตั้งขึ้นในราวศตวรรษที่ ๑๘ เมืองโบราณที่เขาสามแก้วในอดีต น่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนจากหลักฐานที่ขุดพบโดยเฉพาะกลองมโหระทึกซึ่งเป็นกลองที่มีใช้เฉพาะในราชสำนักตามลัทธิพราหมณ์ แต่สาเหตุของการเป็นเมืองร้างไม่ปรากฏชัดเจน


ลักษณะทั่วไป

ปัจจุบันเขาสามแก้วเป็นที่ตั้งบ้านเรือน และเป็นสถานที่ตั้งของส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดชุมพร

หลักฐานที่พบ

มีการขุดพบกลองมโหระทึก ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกลองที่ขุดพบที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี
แต่มีความแตกต่างที่ลวดลายข้างกลอง ซึ่งกรมศิลปากรได้ประมาณอายุของกลองไว้ว่าประมาณ ๑,๗๐๐ - ๒,๐๐๐ ปี นอกจากนี้ยังพบว่ามีลูกปัดสีประเภทต่าง ๆ เก็บซ่อนในกลองมโหระทึกอีกจำนวนหนึ่ง

เส้นทางสู่ชุมชนเขาสามแก้ว

จากตลาดเมืองชุมพร ใช้เส้นทางถนนสายชุมพร-สะพลี ประมาณ ๒.๒ กิโลเมตร ถึงชุมชนโบราณเขาสามแก้วอยู่ทางซ้ายมือ

ประวัติโบราณสถาน

แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว  เป็นแหล่งโบรารคดีแหล่งใหญ่ที่สำคัญแหล่งหนึ่งซึ่งแสดงหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยแรกเริ่มรับอารยธรรมจากดินแดนโพ้นทะเล  จากการสำรวจและขุดค้นโดยกองโบราณคดี  กรมศิลปากร  ในปี พ.ศ. 2525  ได้พบหลักฐานสำคัญได้แก่  กลองมโหระทึกสำริด  หุ่นจำลองรูปคน, สัตว์ ( ช้าง  ม้า  กวาง)  สำริด  เครื่องมือเหล็กรูปหอกใบข้าว  รูปขวาน  ขวานหินขัด  แท่นหินบดมีลายสลักรูปทอนส่วนสถูปและธรรมจักร  ลูกปัด  และกำไลทำจากหินและแก้ว  เครื่องทองรูปพรรณ  และแผ่นทอง ลูกปัดคาร์เนเลี่ยนแกะสลักอักษรโบราณ

จากการขุดค้น  สามารถแบ่งชั้นวัฒนธรรมได้ 2 ชั้นคือ ชั้นวัฒนธรรมที่ 1  พบเครื่องมือถ้วยเคลือบสมัยรัตนโกสินทร์  ชั้นวัฒนธรรมที่ 2  พบเครื่องปั้นดินเผาเนื้อดินธรรมดารูปหม้อกลม หม้อมีสีสัน  ตกแต่งลายเชือกทาบ  ตุ้มถ่วงแหดินเผา  ชิ้นส่วนกำไลสำริด  ลูกปัดหินและแก้ว  เศษแก้วหลอม  เศษเครื่องมือเครื่องใช้สำริด ( อาจเป็นส่วนของกลองมโหระทึกสำริด )  ชื้นส่วนเครื่องมือเหล็กและเศษภาชนะดินเผา
ผลการขุดค้น  ทำวิเคราะห์ได้ว่าบริเวณพื้นที่เขาสามแก้ว  เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มคน 2 ช่วงสมัยคือ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ร่วมสมัยรัตนโกสินทร์  หลักฐานที่พบทั้งจากการสำรวจและขุดค้น  ส่วนใหญ่เป็นของชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่บนเนินและพื้นที่ราบ  โดยเป็นชุมชนที่ยังคงสืบทอดวัฒนธรรมของสมัยก่อนประวัติศาสตร์  ในขณะเดียวกันก็มีการติดต่อกับชุมชนที่มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีก้าวหน้ากว่าโดยใช้เส้นทางน้ำเป็นสำคัญ  วัฒนธรรมที่พอจะนำมาเปรียบเทียบกับที่อื่น ๆ ซึ่งพบในแหล่งนี้ได้แก่  พิธีกรรมเกี่ยวกับกลองมโหระทึก ( กลองมโหระทึกพบฝังอยู่ร่วมกับหุ่นจำลองสำริดรูปคน สัตว์ ในท่าทางต่าง ๆ  เป็นลักษณะคล้ายกันกับที่พบในยูนาน  ประเทศจีน )

ลูกปัดแก้วและหินสีต่าง ๆ ลัทธิศาสนาและวัฒนธรรมจากประเทศอินเดีย  ( ลูกปัดคาร์เนเลียนแกะสลักอักษรพราหมี  ภาษาสันสกฤต และแท่นหินบดมีลายสลักรูปสถูปและธรรมจักร  สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาในช่วงสมัยก่อนการสร้างรูปเคารพ )  นอกจากนี้การพบเศษแก้วหลอม หินวัตถุดิบที่มีร่องรอยขัดแต่ง  ลูกปัดหินที่ยังทำไม่แล้วเสร็จ  ตลอดจนลูกปัดและเครื่องประดับจำนวนมาก  พอจะกล่าวได้ว่า  ชุมชนโบราณที่เขาสามแก้วเป็นแหล่งผลิตลูกปัดและเครื่องประดับ  เพื่อป้อนให้กับชุมชนอื่น ๆ  และยังอาจกล่าวได้อีกว่า  น่าจะเป็นชุมชนรุ่นแรก ๆ ที่ติดต่อรับวัฒนธรรมอินเดีย  มีลักษณะเป็นเมืองท่าที่มีมาก่อนชุมชนเมืองท่าในภาคใต้อีกหลายแห่งเท่าที่พบหลักฐานแล้วในขณะนี้
สภาพปัจจุบัน

ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการ จ.ชุมพร และบริเวณพื้นที่ดินทิศตะวันตกของเขาสามแก้วยังคงมีชาวบ้านลักลอบขุดหาลูกปัดอยู่อย่างต่อเนื่อง


ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1463.0


สะตอฟอร์ยูสะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 6525
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง