สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

ไอรอน โดม (Iron Dome) เสาค้ำเมฆา ...เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศทุกกาลอากาศเคลื่อนที่ พัฒนาโดยบริษัท Rafael Advanced Defense Systems

by sator4u_team @2 ส.ค. 57 11:06 ( IP : 180...25 ) | Tags : คลังสมอง-น่ารู้-สัพเพเหระ
  • photo  , 622x414 pixel , 49,152 bytes.
  • photo  , 640x360 pixel , 9,772 bytes.
  • photo  , 1024x576 pixel , 92,640 bytes.
  • photo  , 512x288 pixel , 54,426 bytes.

ไอรอน โดม (Iron Dome) เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศทุกกาลอากาศเคลื่อนที่ พัฒนาโดยบริษัท Rafael Advanced Defense Systems โดยมีรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ทุนในการสนับสนุนการพัฒนา และยังมีบริษัทเรธีออน ส่งทีมร่วมวิจัยเพื่อนำมาใช้งานร่วมกับระบบป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพบกสหรัฐฯ อย่าง C-RAM หลัง ทบ.สหรัฐฯ สนใจในประสิทธิภาพการทำงาน และมีข่าวเมื่อช่วงต้นปี 2555 ว่า ทางกองทัพสหรัฐฯ ให้ความสนใจซื้อไปใช้งานในมูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจะนำเอาไปวางกำลังในอิรักและอัฟกานิสถาน เพื่อป้องกันหน่วยทหารของสหรัฐฯ ที่มีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางอากาศที่มาจากจรวด Katyusha ขนาด 107 มม.ที่ถูกค้นพบว่ามีการใช้ในอิรักมาก่อน

ไอรอน โดม ถูกออกแบบมาให้ใช้ในการสกัดกั้นและทำลายจรวดและกระสุนปืนใหญ่ ที่ยิงมาจากระยะ 4-70 กม. ฐานยิงมีรัศมีครอบคลุมในการป้องกัน 150 ตร.กม.โดยขีปนาวุธมีมูลค่าลูกละ 40,000 เหรียญ และฐานยิงมีมูลค่าประมาณ 50 ล้านเหรียญ ปรากฏตัวครั้งแรกในการทดสอบเมื่อเดือน มี.ค.2554 และในวันที่ 7 พ.ค.ปีเดียวกัน ก็ประสบความสำเร็จในการสกัดกั้นจรวดที่ถูกยิงมาจากฉนวนกาซา ขณะที่สื่ออิสราเอลรายงานว่า ไอรอนโดม สามารถสกัดจรวดที่ถูกยิงมาจากฉนวนกาซาได้มากกว่า 90% หรือตลอดทั้งเดือน สกัดไปกว่า 93 นัด อีกทั้งยังสามารถใช้ไอรอนโดมสกัดกันเครื่องบินรบได้ในระดับความสูงไม่เกิน 10,000 ฟุตอีกด้วย

ระบบไอรอน โดม ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ในการทำงาน ได้แก่

1 ระบบตรวจจับและติดตามเป้าด้วยเรดาร์ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท Elta ของอิสราเอล 2 ระบบควบคุมอาวุธและอำนวยการรบ (BMC) ที่เป็นศูนย์ควบคุมการทำงาน สร้างโดย mPrest Systems ที่เป็นบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับ Rafael
3 หน่วยยิงอาวุธปล่อย (Missile Firing Unit) ที่เป็นหน่วยยิงอาวุธปล่อยพื้น-สู่-อากาศ ทาร์เมีย (Tarmir Interceptor Missile) ที่ติดระบบนำวิถีอิเล็กโทรออปติคอล และครีบควบคุมทิศทางที่มีความคล่องแคล่วสูง พร้อมชนวนจุดระเบิดแบบเฉียดระเบิด สร้างขึ้นโดย Rafael

ปฏิบัติการ 'Protective Edge'

เมื่อวันที่ 11 ก.ค.2557 กลุ่มติดอาวุธฮามาสได้โจมตีอิสราเองจากฝั่งฉนวนกาซาอีกครั้ง โดยในจำนวนนี้จรวด 118 ลูก ถูกสกัดกั้นโดยระบบไอรอนโดม มีคนอิสราเอลบาดเจ็บไป 22 คนไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต และกองทัพอิสราเอลได้ตอบโต้กลับด้วยการโจมตีทางอากาศใส่เป้าหมายในฉนวนกาซา คือ กลุ่มติดอาวุธ รวมถึงอาคารสถานที่ที่เป็นของกลุ่มติดอาวุธ บ้านพักของฝ่ายแกนนำ ในวันที่ 12 ก.ค.ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตไปกว่าร้อยคน ทั้งนี้ อิสราเอลเริ่มเปิดฉากโจมตีทางอากาศในฉนวนกาซาเมื่อวันอังคาร (8 ก.ค.) ภายใต้ชื่อ 'ปฏิบัติการปกป้องเขตแดน' (Operation Protective Edge) เพื่อยุติการยิงมิสไซล์และปืนครกข้ามพรมแดนฝีมือกลุ่มติดอาวุธของกลุ่มฮามาส โดยรายงานข่าวระบุว่า คาดว่ามีจรวดทั้งนำวิถีและไม่นำวิถีถึง 1,150 ลูกยิงเข้ามายังเขตแดนของอิสราเอล

ต่อมาในวันที่ 13 ก.ค.2557 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) มีมติเมื่อเรียกร้องให้อิสราเอลและกลุ่มฮามาสในปาเลสไตน์ยุติเหตุความรุนแรงในฉนวนกาซา รวมทั้งขอให้ทั้งสองฝ่ายเคารพในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และหยุดการสูญเสียชีวิต พร้อมทั้งเรียกร้องให้อิสราเอลและปาเลสไตน์กลับสู่โต๊ะเจรจา เพื่อหาทางบรรลุข้อตกลงสันติภาพที่ครอบคลุมทุกฝ่าย.

ข้อมูลอ้างอิง

http://en.wikipedia.org/wiki/OperationProtectiveEdge http://en.wikipedia.org/wiki/Iron_Dome

เพิ่มเติม ..

Iron Dome, Missile Defense, and scientific ideologues

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 8499
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง