สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

::: นครศรีธรรมราช ::: เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัด มากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู

กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช

by sator4u_team @19 มี.ค. 55 13:48 ( IP : 182...184 ) | Tags : ท่องเที่ยวและกิจกรรม
photo  , 400x300 pixel , 47,929 bytes.

สถานที่ตั้ง ริมคลองหน้าเมือง ถนนมุมป้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติความเป็นมา
การสร้างกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช  ปรากฏหลักฐานจากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช  เมื่อตั้งเมืองขึ้นที่หาดทรายแก้ว  แล้วจึงสร้างกำแพงเมืองเป็นกำแพงดิน  มีคูล้อมรอบ  สันนิษฐานว่ามีการบูรณะกำแพงเมืองส่วนต่าง ๆ กันมาหลายครั้ง  ทุกครั้งคงพยายามรักษาแนวกำแพงเดิมไว้
ใน  พ.ศ.๑๙๕๐ สมเด็จพระราเมศวรแห่งกรุงศรีอยุธยาตีล้านนาไทยได้ ได้กวาดต้อนผู้คนมาไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช    ชาวล้านนาไทยจึงนำเอาแบบอย่างการสร้างกำแพงเมืองมาจากเมืองเชียงใหม่ มาซ่อมกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช โดยทำเป็นกำแพงแบบปักเสาพูนดิน
ในราว  พ.ศ.๒๑๐๐ เมื่อชาวโปรตุเกสนำวิธีการสร้างแบบก่ออิฐและตั้งฐานปืนใหญ่เข้ามากำแพงเมืองนครศรีธรรมราชคงถูกดัดแปลงเป็นกำแพงก่ออิฐขึ้น เพื่อให้เป็นป้อมปราการที่แข็งแรง
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  นายช่างวิศวกรและสถาปนิกของฝรั่งเศสเข้ามาเมืองไทย  จึงมีการสร้างกำแพงเมืองตามแบบชาโต  (Chateau)กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน  จึงเป็นกำแพงเมืองที่สร้างขึ้นสมัยพระนารายณ์มหาราช
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งตรงกับสมัยที่พระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์)ครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้มีการซ่อมกำแพงอีกครั้ง
เจ้าพระยายมราช(ปั้น  สุขุม)ครั้งเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต  ข้าหลวงสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช  สั่งให้รื้อกำแพงเมืองซึ่งชำรุดแต่ยังคงเห็นรูปทรงและใบเสมาชัดเจน เอาอิฐมาทำถนนที่เลียบริมกำแพงด้านในทุกด้าน
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ทำการซ่อมกำแพงด้านเหนือเพียงบางส่วน ใบเสมาและแนวป้อมจึงยังคงปรากฏให้เห็น ส่วนด้านอื่น ๆ นั้น พังทลายเห็นเพียงซากอิฐหรือดินเท่านั้น

ความสำคัญต่อชุมชน
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช  เป็นเครื่องแสดงถึงความเก่าแก่ ความแข็งแกร่ง ความเจริญรุ่งเรืองและประวัติศาสตร์อันยาวนาน

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
อาณาเขตของกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีอาณาเขตดังนี้
ด้านทิศเหนือ
กว้าง  ๑๑  เส้น  ๑๐  วา  ปัจจุบันแนวซากกำแพงด้านนี้ทิศตะวันออกจดวัดมุมป้อม ทิศตะวันตกจดมุมของเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช มีคลองหน้าเมืองเป็นคูเมือง
ด้านทิศใต้
กว้าง ๑๑ เส้น ๑๐ วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงเมืองด้านนี้ ทิศตะวันออกจดโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช ทิศตะวันตกจดหัวท่าและที่ทำการประปา มีคลองป่าเหล้าเป็นคูเมือง
ด้านทิศตะวันออก
ยาว  ๕๕  เส้น  ๕  วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงเมืองด้านนี้ ทิศเหนือจดวัดมุมป้อม ทิศใต้จดโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช    คูเมืองด้านนี้ตื้นเขินเป็นส่วนใหญ่ประชาชนได้สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย
ด้านทิศตะวันตก
ยาว ๕๕ เส้น ๕ วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงเมืองด้านนี้ ทิศเหนือจดมุมเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช ทิศใต้จดหัวท่าและที่ทำการประปา มีคลองท่าดีเป็นคูเมือง

ลักษณะกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช ความสูงถึงยอดเสมา ๑๕ ศอก เชิงเทินหนา ๒๒ ศอก ริมเชิงเทินสูง ๒ ศอก กำแพงลึก ๘ ศอก มีป้อมทั้งหมด ๑๐ ป้อม แม่ไฟรองรับฐานกำแพงเป็นไม้ทองหลาง บนเชิงเทินมีช่องปืนตลอดแนวโดยรอบ ๔ ด้าน

รอบ ๆ เมืองมีกำแพงชั้นนอกแต่ปัจจุบันพังทลายจนไม่มีซากอีกแล้วมีอยู่ทั้ง ๔ ทิศ คือ

กำแพงถมอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงบริเวณท่าแพปัจจุบัน กำแพงเซาอยู่ทางทิศตะวันตก บริเวณตำบลกำแพงเซาปัจจุบัน กำแพงโคกอยู่ทางทิศตะวันออกบริเวณทุ่งแพงโคกตำบลท่าไร่ปัจจุบัน กำแพงสูงอยู่ทางทิศใต้ บริเวณบ้านแพงสูงหรือแคสูงปัจจุบัน
ประตูกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช
ประตูชัยเหนือ เดิมชื่อประตูชัยศักดิ์
เป็นประตูเมืองด้านทิศเหนือ หรือด้านหน้าเมือง อยู่ตรงเชิงสะพานนครน้อยด้านใต้ในปัจจุบัน เดิมมีสะพานหกสำหรับเปิดปิดได้เป็นประตูขนาดใหญ่ช้างม้าพาหนะทุกชนิดผ่านเข้าออกได้ ทางด้านเหนือมีประตูเดียว
ประตูชัยใต้
เดิมชื่อประตูชัยสิทธิ์ เป็นประตูเมืองด้านใต้ อยู่ตรงสี่แยกประตูชัยในปัจจุบัน เป็นประตูที่มีลักษณะเช่นเดียวกับประตูชัยเหนือ ทางด้านใต้มีประตูเดียวเช่นกัน
ประตูลัก
เป็นประตูแรกของกำแพงด้านตะวันออก นับมาทางทิศเหนือเป็นประตูขนาดเล็ก
เรียกว่าประตูผีเพราะเป็นทางคนตายออกไปนอกกำแพง ด้วยไม่นิยมนำคนตายออกทางประตูชัยเหนือและใต้
ประตูโพธิ์
เป็นประตูที่สองของกำแพงด้านตะวันออก นับมาจากทิศเหนือ
ประตูลอด
เป็นประตูที่สามของกำแพงด้านตะวันออก นับมาจากทิศเหนือ
ประตูท่าม้า
เป็นประตูแรกของกำแพงด้านตะวันตก นับมาจากทิศเหนืออยู่ตรงข้ามกับประตูโพธิ์
ประตูท่าชี
เป็นประตูที่สองของกำแพงด้านตะวันตก นับมาจากทิศเหนือ เรียกกันว่า ประตูผี เช่นเดียวกับประตูลัก อยู่ตรงข้ามกับประตูพานยม(สะพานยม)
ประตูท้ายวัง
เป็นประตูที่สามของกำแพงด้านตะวันตก  นับมาจากทิศเหนือตรงข้ามกับประตูลอด
ประตูพานยม (สะพานยม)
เป็นประตูที่สี่ของกำแพงด้านตะวันตก นับมาจากทิศเหนือ เรียกกันว่าประตูผีเช่นเดียวกับประตูลักและประตูท่าชี
ประตูนางงาม
เป็นประตูที่ห้าของกำแพงด้านตะวันตก  นับมาจากทิศเหนือ

เส้นทางเข้าสู่กำแพงเมือง
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชที่ยังคงความสมบูรณ์อยู่บางส่วนคือทางด้านตะวันออก  มีเส้นทางเข้าสู่กำแพงเมือง ๒ ทางดังนี้
จากสี่แยกหัวถนนเข้าสู่ถนนราชดำเนินมาจนกระทั่งถึงเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช แล้วเลี้ยงขวาถนนมุมป้อม เข้าสู่กำแพงเมือง
จากสถานีรถไฟนครศรีธรรมราชตรงมายังสี่แยกท่าวัง เลี้ยวขวาเข้าถนนราช-ดำเนินผ่านสี่แยกตลาดแขก  สนามหน้าเมืองข้ามสะพานนครน้อย  เลี้ยวซ้าย  เข้าถนนมุมป้อม  เข้าสู่กำแพงเมือง


ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก: http://www.nakornsri.com/index.php?topic=37.0


สะตอฟอร์ยูสะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 5386
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง