สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

ท้องนอกมดลูก

photo  , 600x440 pixel , 21,383 bytes.

เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า "ตั้งท้อง" โดยทั่วไปจะเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมและยินดีเป็นอย่างยิ่งของคนในครอบครัว แต่บางครั้งก็อาจต้องเสียใจ เมื่อรู้ว่าการตั้งครรภ์ในครั้งนี้นั้นเป็น "การตั้งครรภ์นอกมดลูก" หรือ "ท้องนอกมดลูก"

การตั้งครรภ์แม้เป็นเรื่องที่น่ายินดีของครอบครัว ที่มารดาจะให้กำเนิดลูกน้อยตามความคาดหวังว่าจะเลี้ยงทารกที่คลอดให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในอนาคต

มีข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก็คือแม้มารดาจะแข็งแรงในแต่ละการตั้งครรภ์ อาจจะเกิดความสูญเสียได้ทั้งมารดาหรือทารก เพราะทางการแพทย์นั้นถือว่าการตั้งครรภ์ปกติก็เป็นความเจ็บป่วยโรคหนึ่ง จำเป็นต้องได้รับการดูแลตรวจครรภ์ เพื่อส่งเสริม ป้องกัน เฝ้าระวังและรักษาภาวะที่กระทบต่อสุขภาพ ทั้งของมารดาและทารกในครรภ์อย่างเหมาะสม

โดยทั่วไป เมื่อมีการปฏิสนธิตัวอ่อนจะแบ่งตัวจากหนึ่งเซลล์กลายเป็นทารก ที่เดินทางจากท่อรังไข่มาฝังตัวที่โพรงมดลูก แต่บางรายทารกในครรภ์ฝังตัวนอกมดลูก ซึ่งเป็นความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ของการตั้งครรภ์นอกมดลูก พบว่าตัวอ่อนจะฝังตัวที่ผนังท่อรังไข่ (บางราย) ส่วนน้อยฝังตัวที่รังไข่ บริเวณผนังด้านนอกของมดลูกหรือฝังตัวภายในช่องท้อง เช่น ผนังลำไส้ เป็นต้น

การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 1-2 ของการตั้งครรภ์ เมื่อทารกฝังตัวแล้ว จะมีการเจริญเติบโตของทารก แต่เนื่องจากตำแหน่งอวัยวะที่ฝังตัวไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต (ตามปกติ จึงไม่สามารถอยู่รอดได้) ท่อรังไข่ที่ตำแหน่งฝังตัว มักจะแตกในเวลาต่อมาได้ เพราะผนังของท่อรังไข่บาง ไม่เหมือนผนังโพรงมดลูกซึ่งหนามาก

เมื่อมีการลอกหลุดของการตั้งครรภ์หรือการแตกของผนังท่อรังไข่ อาจจะทำให้เลือดออกในช่องท้องปริมาณมาก จนกระทั่งเสียชีวิตได้

ก่อนศตวรรษที่ 19 อัตราการตายของการตั้งครรภ์นอกมดลูกมีมากถึงร้อยละ 50 แต่ปลายศตวรรษที่ 19 การแพทย์ได้พัฒนาเจริญขึ้นมาก ทำให้อัตราตายเหลือเพียงร้อยละ 5 เพราะเราสามารถวินิจฉัยการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้เร็วขึ้น และทำการผ่าตัดรักษาก่อนที่จะแตกหรือเกิดภาวะเลือดออกในช่องท้อง
อาการเริ่มต้นอาจเหมือนคนท้องทั่วๆ ไป เช่น คลื่นไส้ อาเจียน แพ้ท้อง เต้านมคัดตึง บางรายไม่มีอาการ ประจำเดือนขาดไป หรือบางรายประจำเดือนไม่ทันจะขาดก็แตกเสียแล้ว

หญิงตั้งครรภ์นอกมดลูก อาจจะมีอาการปวดท้อง โดยเฉพาะที่ท้องน้อยส่วนล่าง การตรวจปัสสาวะเพื่อดูว่าตั้งครรภ์หรือไม่ แม้พบว่าตั้งครรภ์ก็ไม่สามารถบ่งบอกว่าตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือในมดลูก อาจมาพบแพทย์ด้วยเรื่องภาวะเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด

ถ้าตั้งครรภ์นอกมดลูกและผนังท่อรังไข่แตกแล้ว จะมีอาการปวดท้องมาก เพราะเลือดที่ตกในจะไประคายผนังช่องท้องหรือกะบังลม

ถ้าเสียเลือดมากจะมีอาการหน้ามืดเป็นลม ความดันต่ำ หัวใจเต้นเร็ว ซีดและช็อก
แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย พบว่าซีด ตรวจหน้าท้อง พบว่าท้องโป่ง กดเจ็บและปล่อยเจ็บ ตรวจภายในจะพบเลือดในช่องคลอด โยกปากมดลูกรู้สึกเจ็บ ตรวจคลำพบก้อนผิดปกติ

อาจพบอาการแสดงว่ามีของเหลวหรือเลือดกองอยู่ในช่องเชิงกราน แต่ถ้าหากการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่ยังไม่แตก อาจตรวจวินิจฉัยได้ยากเพราะเพียงท่อรังไข่ที่โป่งขยายขึ้นกว่าปกติอาจจะสามารถตรวจหน้าท้องและตรวจภายใน พบความผิดปกติ

การตรวจอัลตร้าซาวนด์ทางช่องคลอดหรือทางหน้าท้อง อาจพบว่ามีก้อนที่บริเวณปีกมดลูก และไม่พบลักษณะของการตั้งครรภ์ในโพรงมดลูก บางรายอาจจะไม่สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจอัลตร้าซาวนด์
การตรวจโดยการส่องกล้องทางช่องท้อง เพื่อให้ใช้กล้องผ่านเข้าไปตรวจดูภายในช่องท้องได้ การตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนบีตาเอชซีจี (ß- hCG) 2 ครั้งห่างกัน 48 ชั่วโมง ถ้าพบว่าเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 66.6 ถือเป็นฮอร์โมนที่ขึ้นตามการตั้งครรภ์ปกติ แต่ถ้าไม่ถึงร้อยละ 66.6 หรือลดลงแสดงถึงการตั้งครรภ์ผิดปกติ อาจเกิดจากการแท้งบุตรหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

การขูดมดลูกในบางรายที่แน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ตามปกติแล้ว เมื่อจะส่งตรวจทางพยาธิวิทยาของเศษเนื้อในโพรงมดลูก แยกได้ว่าเป็นการตั้งครรภ์ในโพรงมดลูกหรือไม่ เพื่อประกอบการวินิจฉัยการตั้งครรภ์นอกมดลูก

จะเห็นว่าการตั้งครรภ์นอกมดลูก บางครั้งต้องใช้วิธีการต่างๆ ร่วมกับการวินิจฉัย บางกรณีอาจจำเป็นต้องเฝ้ารอสังเกตอาการดูการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด เพราะถ้าแตกแล้วอาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้

การรักษา
การเลือกใช้ยาเมโทเทร็กเซต (methotrexate) ทำให้ฝ่อลง เป็นการช่วยคงสภาพของท่อรังไข่ไว้ให้สามารถตั้งครรภ์คราวต่อไปได้ แต่จะต้องเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงต่อการแตกหรือภาวะเลือดออกในช่องท้อง จนเกิดอันตรายได้

การผ่าตัดเป็นการรักษามาตรฐาน สำหรับภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก ถ้าท่อรังไข่ขยายไม่มาก เช่น ไม่เกิน 2 เซนติเมตรไม่แตก การผ่าตัดอาจทำเพียงเปิดเข้าไปในท่อรังไข่ แล้วรีดเนื้อเยื่อการตั้งครรภ์และการฝังตัวอ่อนออก อาจเย็บซ่อมแซมผนังท่อรังไข่หรือวิธีปล่อยไว้โดยไม่เย็บ ก็เป็นการพยายามเก็บรักษาท่อรังไข่ไว้ได้

กรณีท่อรังไข่แตกหรือมีความเสียหายมากมักจำเป็นต้องผ่าตัดท่อรังไข่ออกไปพร้อมๆกับตัวอ่อนเลย

ดังนั้น เมื่อพบว่าตั้งครรภ์ คู่สมรสควรปรึกษา และฝากครรภ์กับแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อค้นหาความผิดปกติของการตั้งครรภ์ หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที




Cr. // คุยกับหมอไพโรจน์ นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 354

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 2706
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง