สะตอฟอร์ยู ::: สนับสนุนให้คนใต้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น!!!

สัญญาณบอกโรค จากประจำเดือน

by sator4u_team @9 ก.พ. 57 15:26 ( IP : 180...182 ) | Tags : สุขภาพ
photo  , 1024x682 pixel , 107,651 bytes.

ประจำเดือน (อังกฤษ: Menstruation) เป็นเลือดที่เกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก มีฮอร์โมนสองชนิดคือ Estrogen และ Progesteroneควบคุมการสร้างและหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งระดับฮอร์โมนทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กับการตกไข่จากรังไข่ โดยแต่ละรอบเดือนจะมีช่วงเวลาประมาณ 26-30 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ทำให้ประจำเดือน เกิดขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง


ประจำเดือน ไม่ได้เป็นแค่สิ่งที่บ่งบอกถึงการทำงานของระบบสืบพันธุ์ว่าเป็นปกติ รวมถึงการทำงาน ของร่างกายภายในมีความสมดุลลงตัวของผู้หญิงเท่านั้น แต่ประจำเดือนยังสามารถบอกถึงสุขภาพได้อีกด้วย โดยสังเกตจากสี กลิ่น และอาการดังต่อไปนี้


สีเข้มจัด ออกน้อย มีอาการเหนื่อยง่ายเวลาต้องออกแรง อ่อนเพลียกว่าปกติ เวียนศีรษะ อาจเป็นสัญญาณ บ่งบอกของโรค โลหิตจาง

กลิ่นผิดปกติ คัน เจ็บแสบใน ช่องคลอด ถ้าร่วมกับมีอาการตกขาว แสดงว่าตกขาวจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ-ในช่องคลอด หรือติดเชื้อในมดลูก อุ้งเชิงกรานอักเสบ

ปวดประจำเดือนมาก จนเกิดอาการหน้าซีด หากในวันท้ายๆ ยิ่งปวดมากขึ้น ควรไปตรวจโรค เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ หรือถุง ช็อกโกแลตซีสต์

ประจำเดือนมาน้อย มีอาการอ่อนเพลีย เฉื่อยเนือย เต้านมแฟบ ขนรักแร้และขนที่อวัยวะเพศร่วง อาจเคยตกเลือดอย่างรุนแรง หรือเป็น ลมขณะคลอดบุตร ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาโรคซีแฮน หรือโรคที่ ต่อมใต้สมองขาดเลือดทำงานน้อยลงและทำให้รังไข่ทำงานน้อยลงด้วย

มาไม่สม่ำเสมอไม่ปกติ ให้สังเกตว่ามีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ตามืดมัวลงเรื่อยๆ มีหนวดและขนขึ้นผิด ธรรมชาติ น้ำนมออกผิดปกติ หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาเนื้องอกของรังไข่ หรือตรวจหาความผิดปกติของต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง

มานานเกินกว่า 7 วัน อาจเป็นช่วงหลังคลอดใหม่ๆ หรือหลังใส่ห่วงคุมกำเนิดถือเป็นเรื่องปกติ ประจำเดือนที่ขาดๆ หายๆ พอมาก็มามากแต่ไม่ผิดปกติ มักจะเป็นในช่วงที่อ้วนเกินไป เครียด หรือออกกำลังกายมากเกินไป


มาเช็คกันว่าประจำเดือนคุณปกติหรือไม่

ระหว่างมีประจำเดือน สาวๆ มักมีอาการไม่พึงประสงค์ให้ได้กังวลกันไม่เว้นแต่ละเดือน เป็นแล้วได้แต่กุมมขมับ ไม่รู้ว่าอาการต่างๆ เหล่านี้เป็นปกติหรือเกินขีดความปกติไปแล้ว

สีประจำเดือน ปกติประจำเดือนจะมีสีแดงแต่เมื่ออยู่ในวันท้ายๆ ประจำเดือนอาจมีสีน้ำตาลหรือออกดำคล้ำ ซึ่งถือว่าเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ใช่ภาวะที่ผิดปกติ

เรื่องของลิ่มเลือด การมีลิ่มเลือดออกมากับเลือดประจำเดือนนั้นเป็นเรื่องปกติ ถ้าในช่วงวันแรกๆ ที่ประจำเดือนมามาก พบว่ามีลิ่มเลือดออกมามากเกินไปหรือมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ควรไปพบแพทย์เพราะลิ่มเลือดนั้นอาจเป็นเนื้องอก หรือแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน

ท้องเสีย ช่วงระหว่างมีประจำเดือน ระบบย่อยอาหารของหลายคนเริ่มรวน ซึ่งสาเหตุเกิดจากฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เกิดการหดตัว จึงเกิดอาการเหมือนถ่ายท้องหรือปวดท้องในช่วงมีประจำเดือน

ปวดประจำเดือน การปวดเกร็งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายปล่อยฮอร์โมนต่างๆ ออกมา หนึ่งในฮอร์โมนนั้นชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน ซึ่งทำให้มดลูกเกร็งตัว ปกติแล้วอาการนี้จะเป็นอยู่สองสามวนแล้วหายไป แต่ถ้าเป็นนานกว่านั้นหรือปวดรุนแรงมากกว่าปกติเป็นสองเท่า อาจเป็นอาการของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ควรไปพบแพทย์

มีประจำเดือนมากเกินไป ตามปกติผู้หญิงเราจะมีปริมาณเลือดประจำเดือนประมาณ 4-12 ช้อนชา และจะมาน้อยในวันแรกและเพิ่มมากขึ้นในวันที่ 2 แต่ถ้าประจำเดือนมามากตลอดเวลา เช่นใน 1 วันต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยถี่กว่าปกติ ควรไปพบแพทย์


กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome)

เป็นอาการที่เกิดขึ้นเป็นประจำก่อนมีประจำเดือน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงหลังไข่ตก อาการที่พบบ่อย ได้แก่ อาการทางกาย เช่น ปวดท้อง ปวดเมื่อยหลัง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย น้ำหนักขึ้น มีการคั่งของน้ำในร่างกายมากขึ้น เต้านมโตขึ้น รู้สึกตึง เจ็บ ความรู้สึกอยากรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น ท้องอืด ถ่ายเหลว มีสิว และมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม จิต อารมณ์ เช่น หงุดหงิด โกรธง่าย อารมณ์ตึงเครียด วิตกกังวล หลงลืม ขาดความสนใจไม่มีสมาธิ รู้สึกโศกเศร้า นอนไม่หลับ โดยอาการต่างๆ เหล่านี้จะลดลง และหายไปหลังมีประจำเดือนวันที่ 1-4 สาเหตุที่แน่ชัดยังอธิบายได้ยาก แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง และความไม่สมดุลของฮอร์โมนต่างๆ ในรอบประจำเดือน โดยเฉพาะโปรเจสเตอโรน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นในระยะหลังไข่ตก จากการศึกษาพบว่าสตรีที่มีอาการก่อนมีประจำเดือนจะมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงกว่าสตรีที่ไม่มีอาการก่อนมีประจำเดือน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับไทรอยด์ฮอร์โมน prostaglandin norepinephrine estradiol gonadotropin และ serotonin สารเคมีในสมอง ความเครียด รวมถึงการได้รับสารอาหาร แร่ธาตุ หรือวิตามินบางอย่างไม่เพียงพอ เช่น กรดไขมัน ลิโนลิอิก วิตามินอี วิตามินบี แคลเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส สตรีวัยเจริญพันธ์ประมาณร้อยละ 75-80 มีอาการก่อนมี ประจำเดือนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน ความรุนแรงอาจเป็นเล็กน้อย ปานกลาง หรือรุนแรง จนมีผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตประจำวันได้ เช่น ปวดท้องรุนแรงเป็นประจำ ปวดศีรษะปวดเมื่อยหลัง ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ต้องหยุดงาน


อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea)

เป็นอาการปวดท้องน้อยในระหว่างเริ่มมีประจำเดือนถึง 8-48 ชั่วโมง เนื่องจากร่างกายมีการหลั่งสาร prostaglandin ออกมา ทำให้มีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกมีการหดเกร็งร่วมกับมีอาการปวดเมื่อยหลัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดศีรษะ ง่วงนอน คล้ายจะเป็นลมความสนใจต่อสิ่งต่างๆ ลดลง บางรายงานการศึกษาเชื่อว่า สตรีวัยรุ่นจะไม่สุขสบาย ทุกข์ทรมานกับอาการ ปวดประจำเดือนมากกว่ากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน แต่สตรีวัยผู้ใหญ่ หรือวัยใกล้หมดประจำเดือนจะไม่สุขสบาย ทุกข์ทรมานกับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนมากกว่าวัยรุ่นสตรีที่มีอาการก่อนมีประจำเดือน หรือปวดประจำเดือนส่วนใหญ่จะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติของสตรีวัยเจริญพันธุ์ไม่ได้คิดว่าเป็นปัญหาสุขภาพของสตรี และไม่แสวงหาการตรวจรักษาเพียงแต่ใช้วิธีในการบรรเทาอาการไปในแต่ละเดือน เช่น การนอนพักผ่อน การรับประทานยาแก้ปวด การประคบร้อน มักจะปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานเกือบ 10 ปี หรือมากกว่าจึงไปรับการตรวจรักษาซึ่งปัจจุบันมีแนวทางในการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน โดยการใช้ยาต่างๆ และสารอาหารที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินบี


วิธีการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

การปฏิบัติในการบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน และ อาการปวดประจำเดือน สตรีส่วนใหญ่ ใช้ยาในการบรรเทาอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน หรือระหว่างมีประจำเดือนซึ่งเป็นการใช้ยาเอง ยาที่ใช้ได้แก่ paracetamol,Diclofenac ,ibuprofen ,metfenamic acid, buscopan ซึ่งการศึกษาในต่างประเทศก็พบว่า สตรีวัยรุ่นร้อยละ 90 ใช้ยาในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนเอง โดยยาที่ใช้คือ ibuprofen ร้อยละ 54 paracetamol ร้อยละ 41 midol ร้อยละ 28 และ naprosyn (Naproxen) ร้อยละ 17 ยาเหล่านี้เป็นยาในกลุ่มยาระงับปวด หรือกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีผลในการบรรเทาอาการปวด เนื่องจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกได้โดยยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด ์จะไปยับยั้งการสร้างสาร prostaglandin การปฏิบัติในการบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน และวิธีการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน โดยใช้วิธีอื่นๆ ได้แก่ การประคบกระเป๋าน้ำร้อน การดื่มน้ำอุ่น การนวดด้วยตนเอง การออกกำลังกายแบบแอโรบิค โยคะ หรือ นอนพัก ซึ่งเป็นวิธีที่สตรีส่วนใหญ่นิยมใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน โดยสตรีร้อยละ 84 ใช้วิธีนอนพักหรือนอนหลับ ร้อยละ 75 อาบน้ำอุ่น ร้อยละ 50 ประคบร้อน ร้อยละ 47 ดูโทรทัศน์ และร้อยละ 30 ออกกำลังกาย


ตัวอย่างขนาดยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือน

Diclofenac 25,50 มิลลิกรัม วันละ3 ครั้ง เมื่อมีอาการ Mefanamic acid 500 มิลลิกรัมรับประทานวันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที Ibuprofen 400 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที Paracetamol 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 เม็ด เมื่อมีอาการ ไม่เกิน 8 เม็ดต่อ 1 วัน

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 5614
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง