ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร ลืมกินยาตามเวลา อันตรายหรือไม่
ปัญหาที่มักพบเสมอเวลาจะรับประทานยา คือ ต้องรับประทานก่อนหรือหลังอาหาร และก่อนอาหารนานเท่าไหร่ หลังอาหารกี่นาที ก่อนนอนนานแค่ไหน ถ้าลืมแล้วจะทำอย่างไร
บทความนี้จึงขอสรุปหลักการและหลักปฏิบัติที่ถูกต้องทั่วไปของวิธีการรับประทานยาเหล่านี้
1.) ยาก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนอาหาร อย่างน้อย 30 นาที
ยาที่รับประทานก่อนอาหาร ควรรับประทานในช่วงที่ท้องว่าง ยังไม่ได้รับประทานอาหาร ซึ่งก็คือก่อนรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที เนื่องจาก
ยาอาจถูกทำลายและเสียประสิทธิภาพในการรักษา เมื่อพบกับกรดปริมาณมากที่กระเพาะอาหารจะหลั่งออกมาหลังมื้ออาหาร การรับประทานยาในช่วงที่ท้องว่าง ทำให้ยาไม่ถูกทำลาย และประสิทธิภาพของยาไม่ลดลง
อาหารและส่วนประกอบของอาหารอาจลดการดูดซึมของยาเข้าสู่ร่างกาย จึงไม่สามารถรับประทานยาพร้อมหรือหลังอาหารได้
ยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการหลั่งอินซูลิน จะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีก่อนที่จะออกฤทธิ์ การรับประทานยาก่อนอาหารจึงเป็นเสมือนการเตรียมพร้อมให้ระบบทางเดินอาหาร ก่อนจะรับประทานอาหาร
การลืมรับประทานยาก่อนอาหาร
ถ้าลืมรับประทานยาก่อนอาหาร หรือนึกได้ว่าต้องรับประทานยาก่อนที่จะทานอาหารไม่ถึงครึ่งชั่วโมง การทานยาก่อนอาหารทันที จึงไม่ต่างกับการรับประทานยาหลังอาหาร ควรข้ามยามื้อที่ลืมไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการหลั่งอินซูลิน กรณียาที่รับประทานก่อนอาหารเพราะยาจะถูกทำลายหรืออาหารอาจลดการดูดซึมของยา อาจรอให้กระเพาะอาหารว่างก่อนแล้วค่อยรับประทานยาก็ได้ ซึ่งก็คือประมาณ ๒ ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร แต่ยาที่ต้องรับประทานในมื้อถัดไปอยู่แล้ว ให้ทานยาก่อนอาหารมื้อถัดไปแทนได้เลย ไม่ต้องทานยาซ้ำ
2.) ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารทันทีและไม่ควรนานเกิน 15 นาทีหลังอาหาร
ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารทันที อาจทานพร้อมอาหารหรือก่อนรับประทานอาหารคำแรกก็ได้ เพราะไม่ว่าจะกรณีใด ยาจะเข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหารพร้อมกับอาหารที่รับประทานเหมือนๆ กัน ยาที่ควรรับประทานหลังอาหาร เนื่องจาก
ยามีผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
ต้องการกรดในกระเพาะอาหารช่วยในการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งกรดในกระเพาะอาหารจะหลั่งสูงสุดในระหว่างที่รับประทานอาหารเท่านั้น
การลืมรับประทานยาหลังอาหาร
ถ้าลืมรับประทานยาหลังอาหาร สามารถรับประทานยาได้ทันทีที่นึกได้และไม่เกิน 15 นาที แต่ถ้านึกได้หลังจากรับประทานอาหารมากกว่า 15 นาทีแล้ว ควรรอรับประทานหลังอาหารในมื้อถัดไปแทน หรืออาจรับประทานอาหารมื้อย่อยแทนมื้อหลักก่อนรับประทานยาก็ได้ กรณีที่ยานั้นมีความสำคัญมาก
3.) ยาก่อนนอน ควรรับประทานยาก่อนเข้านอน 15 – 30 นาท
ยาที่แนะนำให้รับประทานก่อนนอนมีหลายประเภท แต่โดยทั่วไป ควรรับประทานก่อนนอน 15 – 30 นาที เนื่องจาก
ยามีผลข้างเคียงสำคัญคือทำให้ง่วงนอนหรือวิงเวียนศีรษะมาก ถ้ารับประทานก่อนนอนนานเกินไป อาจส่งผลต่อให้ผู้รับประทานยาทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ กรณีที่ยังไม่พร้อมจะเข้านอน
ยาที่ช่วยให้นอนหลับ มักใช้เวลาประมาณ 15 – 30 นาทีก่อนที่จะออกฤทธิ์ช่วยให้หลับ
การลืมรับประทานยาก่อนนอน
ถ้าลืมรับประทานยาก่อนนอน มักนึกได้เมื่อถึงเช้าของวันรุ่งขึ้นแล้ว ไม่ควรรับประทานยานั้นอีก ควรรอให้ถึงเวลาก่อนเข้านอนในคืนถัดไปค่อยรับประทานยานั้น
4.) ยารับประทานเวลามีอาการ ควรรับประทานเมื่อมีอาการจริงๆ
ยาในกลุ่มนี้ มักระบุในฉลากว่ารับประทานทุก ๔ – ๖ ชั่วโมง ทุก ๘ ชั่วโมง หรือทุก ๑๒ ชั่วโมง เวลามีอาการ เมื่อมีอาการสามารถรับประทานยาได้เลย ไม่ต้องคำนึงถึงมื้ออาหาร เนื่องจากไม่ว่าจะรับประทานอาหารหรือไม่ ก็ไม่ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หลังรับประทานยาแล้วถ้ายังมีอาการอยู่สามารถทานยาซ้ำได้ ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ ไม่ควรรับประทานบ่อยกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก เมื่อหายแล้วสามารถหยุดยาได้เลย
สุขภาพแจ๋ว ตอนที่ 73 "ยาก่อนอาหาร/ยาหลังอาหาร/ยาหมดอายุ"
หมายเหตุ ยาบางประเภท อาจมีวิธีรับประทานยานอกเหนือไปจากยาโดยทั่วๆ ไปข้างต้น รวมทั้งยาบางประเภทอาจรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แล้วแต่สะดวก เนื่องจากยาอาจมีการออกฤทธิ์ที่พิเศษหรือมีผลข้างเคียงอื่นๆ ซึ่งผู้ทำหน้าที่ส่งมอบยาเหล่านี้จะอธิบายวิธีการรับประทานเป็นกรณีๆ ไป
ขอบคุณบทความจาก @ เภสัชกร ธีรัตถ์ เหลืองมั่นคง ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Relate topics
- 10 อาหารที่ควรทานหลังออกกำลังกายหลายคนที่ลดน้ำหนักอาจเข้าใจผิดไปว่า หลังออกกำลังกายแล้วนั้นไม่ควรรับประทานอาหารใดๆ ทั้งสิ้นเพราะจะทำให้ยิ่งอ้วน แต่หารู้ไม่ว่าช่วงหลังออกกำลังกายนี่แหละเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการอาหารอย่างเช่น น
- " ฝึกสมองให้ลดน้ำหนัก "การลดน้ำหนักหรืออดอาหารไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ยิ่งสำหรับบางคนมันเป็นความท้าทายที่หนักหนาสาหัสอย่างมากสำหรับร่างกายและ จิตใจของตัวเองในการที่จะลดอาหาร ลดไขมัน รวมไปถึงการควบคุมปริมาณแคลลอรี่ที่บริโภคเข
- ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพร่ำๆ!!! เตือนภัย 15 โรคติดต่อที่มาพร้อมฤดูฝน!อีกไม่นานประเทศไทยก็จะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัว หลายคนเริ่มตระเตรียมอุปกรณ์กันฝน แต่แค่นั้นยังไม่เพียงพอ เพราะเมื่อฤดูฝนย่างกรายเข้ามา ก็จะมี 15 เชื้อโรคติดต่อรอโจมตีเราอยู่อย่างเงียบๆ ![
- 'รากบัว' เสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย สรรพคุณทางยามหาศาลในรากบัวยังพบ “ฟลาโวนอยด์” ซึ่งเป็นสารกลุ่มโฟลีฟีนอล ที่จัดเป็นพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติเด่น ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สรรพคุณทางยามากมาย เช่น ลดไข้ บรรเทาอาการไอ อีกด้วย
- ข้าวโพดต้มสุก มีดีกว่าที่คิด!!!สีเหลืองเข้มอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ชื่อ ลูทีน และ ซีเซนทีน ยิ่งนำไปต้มหรือย่าง สารตัวนี้จะยิ่งออกมาเยอะขึ้น!!! ![ คำอธิบายภาพ : IMG20150517112917 ](http://sator4u.com/upload/pics/IMG
- ช็อค! Ending the War on Fat ความเชื่อคนทั้งโลก เมื่อผลวิจัยเผย “คอเรสเตอรอล” มีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษนิตยสารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง TIME ได้เผยถึงบทความเกี่ยวกับ Ending the War on Fat “ความจริงของคอเรสเตอรอล” ที่ทุกๆ คนเข้าใจผิดมาตลอด 60 ปี ที่ว่าคอเรสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจ
- ผัก-ผลไม้ 7 อย่าง! บำรุงสายตา!!!การเลือกรับประทานพืชผักบางชนิดนอกจากทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังสามารถช่วยบำรุงดวงตาให้มองเห็นแจ่มแจ๋ว ไม่ร่วงโรยตามอายุได้อีกด้วย ![ คำอธิบายภาพ : foods-for-eye-health-934934 ](http://sator4u.com
- โรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี
- โรคเก๊าท์ ...การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาถึงแม้ว่าโรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง และในปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงก็ตาม แต่การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาก็ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการรักษาผู้
- โรค…ไขมันในตับ ก่อให้เกิดการอักเสบ การอักเสบของตับแบบเช็คร่างกายเจอ แบบไม่มีอาการ และ ไม่รู้ต้องทำอย่างไรดีโรค…ไขมันในตับ ก่อให้เกิดการอักเสบ การอักเสบของตับแบบเช็คร่างกายเจอ แบบไม่มีอาการ และ ไม่รู้ต้องทำอย่างไรดี โดย น.พ. ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย ผู้เชี่ยวชาญแผนกทางเดินอาหาร และ โรคตับ ร.พ. พระรามเก้า