พนมเทียน (ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ) ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐
พนมเทียน เป็นนามปากกาของ ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ เกิดเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่จังหวัดปัตตานี แต่ไปเติบโตและเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ และได้สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดปัตตานีในฐานะผู้สร้างผลงานสาขาวรรณศิลป์ จนได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๐
ศิลปินแห่งชาติผู้นี้ เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทัศน์เทพวราราม ไปต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเมื่อสำเร็จชั้นมัธยมปลายแล้วได้ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจประมาณ ๑ ปี จากนั้นไปศึกษาด้านภาษาศาสตร์ที่เมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย จนสามารถอ่านเขียนภาษาสันสกฤตได้เป็นอย่างดี
นายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ เริ่มเขียนเรื่องตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน โดยเขียนลงในสมุดแจกให้เพื่อนๆ อ่านตั้งแต่สมัยเรียนอยู่มัธยมปีที่ ๕ ได้เขียนเรื่อง "เห่าดง" เมื่อตอนมีอายุได้ ๑๕ - ๑๖ ปี เป็นอาชญนิยายประเภทสวมหน้ากาก ลักษณะเนื้อเรื่องเป็นแบบเพ้อฝันของเด็กๆ และท่านได้เขียนเรื่องต่างๆ เรื่อยมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๗ ถึงปัจจุบัน
ต่อมาท่านได้เขียนเรื่อง จุฬาตรีคูณ ขณะที่เรียนเตรียมอักษรศาสตร์ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยใช้นามปากกาว่า "พนมเทียน" ซึ่งท่านบอกว่าชื่อของท่านหมายถึง เปลวไฟที่ติดอยู่บนปลายเทียน
เรื่องจุฬาตรีคูณนี้โด่งดังมากจากอดีตจนถึงปัจจุบันก็เพราะครูแก้ว อัจฉริยะกุล ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงชื่อก้องของวงสุนทราภรณ์ได้ร่วมมือกับครูเอื้อ สุนทรสนาน เจ้าของวงดนตรีสุนทราภรณ์ แต่งเพลงประจำเรื่องจุฬาตรีคูณให้อีก ๕ เพลง คือ เพลงจุฬาตรีคูณ เพลงเจ้าไม่มีศาล เพลงอ้อมกอดพี่ เพลงใต้ร่มมลุลี และเพลงปองใจรัก ซึ่งทั้ง ๕ เพลงนี้เป็นเพลงอมตะมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ชื่อของพนมเทียนผู้เขียนนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณดังไปทั่วประเทศไทยไปด้วย หลังจากนั้นพนมเทียนก็ได้เขียนนิยายอีกมากมายหลายเรื่องหลายแนว ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมของคนอ่านทั่วทั้งประเทศไทย
นิยายเรื่อง ศิวาราตรี เป็นนิยายที่พนมเทียนรักมาก มากจนท่านเคยพูดว่า ถ้าจะให้ท่านเขียนนิยายแนวนี้อีก ท่านคงเขียนให้เหมือนอย่างเรื่องศิวาราตรีไม่ได้อีกแล้ว เรื่องศิวาราตรีก็ได้ทำให้ชื่อของพนมเทียนดังขจรขจายอีกครั้ง (ศิวาราตรี หมายถึง คืนของพระศิวะ หมายความว่า คืนดังกล่าวจะมีพิธีลอยบาป นี่คือคำอธิบายเรื่องศิวาราตรีของพนมเทียน)
เนื่องจากพนมเทียนมีความรู้เรื่องปืนเป็นอย่างดี และในช่วงหนึ่งของชีวิตเคยเป็นเด็กเกเรมาก่อน เคยชกต่อย ตีรันฟันแทง ทำให้ได้ความรู้มาเขียนนิยายเรื่อง เล็บครุฑ ฑูตนรก ล่ามัจจุราช ล่าพระกาฬ มัจจุราชสีรุ้ง เด็กเสเพล ปฐพีเพลิง โดยเฉพาะเรื่องฑูตนรกเป็นเรื่องที่พนมเทียนสะท้อนเหตุการณ์ใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดี
นิยายแนวรักกระจุ๋มกระจิ๋มที่พนมเทียนเขียนไว้มีหลายเรื่อง อาทิ ละอองดาว สกาวเดือน รัศมีแข แววมยุรา รัตติกาลยอดรัก รัตติกัลยา ภูตสีชมพู ฯลฯ
นิยายที่พนมเทียนใช้เวลาเขียนนานที่สุด คือเรื่อง เพชรพระอุมา เขียนนานที่สุดเกือบ ๒๖ ปี คือเริ่มเขียนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗ มาจบเรื่องเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓
และในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๑ นานเกือบ ๘ ปีนี้ พนมเทียนได้หยุดเขียนนิยาย โดยหันมาเขียนเรื่องความรู้เกี่ยวกับปืนลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายวัน และยังได้ทำหนังสือชื่อ จักรวาลปืน เป็นการเขียนเรื่องการรายงานการทดสอบปืน คล้ายตำราเกี่ยงกับอาวุธศึกษา ใช้นามปากกาเขียนเรื่องนี้ว่า "ก้อง สุรกานต์"
เกือบ ๕๐ ปีที่นามปากกา พนมเทียน ได้สร้างงานประพันธ์จำนวน ๓๘ เรื่อง งานของพนมเทียนมีลักษณะเด่น คือ ส่วนมากจะเป็นเรื่องยาวมาก เมื่อพิมพ์เป็นเล่ม สามารถรวมชุดได้หลายเล่ม อาทิ ศิวาราตรี มี ๔ เล่ม เล็บครุฑ ๒ ตอนๆ ละ ๔ เล่ม รวม ๘ เล่ม มัจจุราชสีรุ้ง มี ๔ ตอนๆ ละ ๔ เล่ม รวม ๑๖ เล่ม เพชรพระอุมา มี ๔๘ เล่ม
ตัวละครหลายตัวของพนมเทียนเหมือนบุคคลในชีวิตจริง เช่น "ชีพ ชูชัย" จากเรื่องเล็บครุฑ "เจ้าชายอริยวรรต" กับ "เจ้าหญิงดารารายพิลาส" จากเรื่องจุฬาตรีคูณ "ดร.ทรงกลด" กับ "นางสาวกระต่าย" จากเรื่องสกาวเดือน "แงซาย" พรานป่ากะเหรี่ยงกู้ชาติ กับ "รพินทร์ ไพรวัลย์" จอมพรานผู้ยิ่งใหญ่จากเรื่องเพชรพระอุมา
เรื่อง เพชรพระอุมา เป็นนิยายที่ได้รับความนิยมสูงสุด และเป็นเรื่องยาวนานที่สุดเท่าที่เคยมีในประวัติวรรณกรรมไทยที่มียอดพิมพ์จำหน่ายสูงสุด นิยายของพนมเทียนแทบทุกเรื่องมีผู้นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมเสมอมา
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.kananurak.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=74142
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC) on Facebook
Relate topics
- ลุ่มน้ำตรังลุ่มน้ำตรังเป็นลุ่มน้ำย่อยที่มีความสำคัญลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ในเขตจังหวัดตรัง จัดเป็น 2 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย มีลำน้ำสำคัญ 2 สาย
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ
- สะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสะพานเกาะยอ หรือ สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิง
- พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3พระนอนแหลมพ้อ ถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดพระนอนแหลมพ้อถือได้ว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2330 หรือประมาณในสมัยรัชกาลที่ 3 สถาป
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปั
- เขาตังกวน พระธาตุเจดี กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลาเจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ป
- เรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุงจากเรื่องราวในจังหวัดพัทลุงที่มีการขุดพบทองคำ นำสันนิษฐานเชื่อมโยงไปสู่ #ทองห่อยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ #ทองห่อยอดพระธาตุวัดเขียนบางแก้วพัทลุง ทำให้หวนนึกถึง #ประวัตินางเลือดขาวผู้สร้างพ
- เกาะพยาม จ.ระนอง ...ดินแดนกาหยูหวานและหาดทรายขาวเกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง (ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมา ทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลางของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที
- ประวัติความเป็นมาของ ประเพณีรับเทียมดา ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลารับเทียมดา หรือ รับเทวดา เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพุทธในเขตชนบทภาคใต้ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่ออันสืบเนื่องกันมาในสังคมเกษตรกรรมในสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว
- เกาะละวะ (เกาะละวะใหญ่) เกาะเล็กๆในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทะเลไทยสวยไม่แพ้ที่ใดใน 3 โลก...และวันนี้จะพาเพื่อนๆไปพิสูจน์กันว่าที่กล่าวมานั้นไม่ได้เวอร์แต่อย่างใด กับการเดินทางท่องไปตามใจฉัน ณ เกาะละวะ หรือ เกาะละวะใหญ่ เกาะเล็กๆในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุ